กระเทียมต้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Amaryllidaceae
วงศ์ย่อย: Allioideae
สกุล: Allium
สปีชีส์: A.  ampeloprasum
สปีชีส์ย่อย: A.  ampeloprasum var. porrum
Trinomial name
Allium ampeloprasum var. porrum
(L.) J.Gay
หัวและใบของกระเทียมต้น
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน255 กิโลจูล (61 กิโลแคลอรี)
14.15 g
น้ำตาล3.9 g
ใยอาหาร1.8 g
0.3 g
1.5 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(10%)
83 μg
(9%)
1000 μg
1900 μg
ไทอามีน (บี1)
(5%)
0.06 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.03 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(3%)
0.4 มก.
(3%)
0.14 มก.
วิตามินบี6
(18%)
0.233 มก.
โฟเลต (บี9)
(16%)
64 μg
วิตามินซี
(14%)
12 มก.
วิตามินอี
(6%)
0.92 มก.
วิตามินเค
(45%)
47 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(6%)
59 มก.
เหล็ก
(16%)
2.1 มก.
แมกนีเซียม
(8%)
28 มก.
แมงกานีส
(23%)
0.481 มก.
ฟอสฟอรัส
(5%)
35 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
180 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ83 g

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

กระเทียมต้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Allium ampeloprasum var. porrum (L.), บางครั้งใช้ว่า Allium porrum เป็นพืชผักชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมและกระเทียม ในวงศ์ Amaryllidaceae วงศ์ย่อย Allioideae[1] ผักที่ใกล้เคียงคือกระเทียมโทน (elephant garlic) และ kurrat ซึ่งเป็นสปีชีส์ย่อยของ Allium ampeloprasum และใช้เป็นอาหารได้ต่างกัน ส่วนที่กินได้ของกระเทียมต้นคือส่วนของกาบใบซึ่งบางครั้งเรียกว่าต้นหรือก้าน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ไม้ล้มลุกสองปี สูง 0.4 - 1 ม. มีกลิ่นอ่อนกว่ากระเทียม มีเหง้าขนาดเล็ก รูปไข่ สีขาว ไม่แบ่งเป็นหลายกลีบเช่นกระเทียม[2]

ใบ แก้

ใบเดี่ยว ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 1.2 - 5 ซม. ยาว 30 - 90 ซม. ปลายแหลม ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนใบแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่จะมีสีขาวหรือขาวอมเขียว.[2]

ดอก แก้

ช่อดอกเป็นแบบช่อซี่ร่มแน่น ขนาดใหญ่ กลม มีดอกเล็ก ๆ จำนวนมากประมาณ 50 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1.2 - 2.5 ซม. ไม่มีตะเกียง มีใบประดับ 1 ใบ เป็นจะงอยยาวแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่พอช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลง ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 0.6 - 1 ม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ สีชมพู รูปไข่ ยาว 5 - 6 มม. แยกจากกันหรือติดกันที่โคน เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนของกลีบรวม อับเรณูมักยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง มีออวุล 1 - 2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้น ๆ มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ[2]

ราก แก้

กระเทียมต้นประกอบด้วยราก (root) สองระบบคือระบบรากฝอย (fibrous root system) และขนราก (root hair)[3]

ลำต้น แก้

มีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างลำต้นเทียม และราก

 
กระเทียมต้นพร้อมขาย

ถิ่นกำเนิด แก้

ทวีปยุโรปและทางตะวันตกของทวีปเอเชีย[2]

การใช้ประโยชน์ แก้

ใช้เป็นอาหาร โดยใช้ส่วนของลำต้นเทียมปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง ใช้ปรุงรสและแต่งกลิ่นอาหาร ในประเทศแถบอากาศหนาวใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นยาฆ่าเชื้อในลำไส้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บำบัดโรคไขข้ออักเสบ โรคตับ และใช้เป็นยาพอก [4]


อ้างอิง แก้

  1. Stevens, P.F. (2001 onwards), Angiosperm Phylogeny Website: Asparagales: Allioideae {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ, กระเทียมต้น
  3. ฐานข้อมูลพืชผัก บทความเกษตร, กระเทียมต้น (Leek)
  4. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ประโยชน์ของกระเทียมต้น