ประเทศเบลารุส
สาธารณรัฐเบลารุส Рэспу́бліка Белару́сь (เบลารุส) Респу́блика Белару́сь (รัสเซีย) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเบลารุส (เขียว) ในยุโรป (เทาเข้ม) — [คำอธิบายสัญลักษณ์] | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มินสค์ 53°55′N 27°33′E / 53.917°N 27.550°E |
ภาษาราชการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2019)[1] |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2011)[2] |
|
เดมะนิม | ชาวเบลารุส |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีภายใต้ระบอบเผด็จการ |
อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา [3][4] | |
รามัน ฮาลอว์แชนกา[5] | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | สภาสาธารณรัฐ |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ก่อตั้ง | |
ค.ศ. 987 | |
คริสต์ศตวรรษที่ 10 | |
ค.ศ. 1236 | |
9 มีนาคม ค.ศ. 1918 | |
25 มีนาคม ค.ศ. 1918 | |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 | |
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991 |
15 มีนาคม ค.ศ. 1994 | |
17 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 207,595 ตารางกิโลเมตร (80,153 ตารางไมล์) (อันดับที่ 84) |
1.4% (2.830 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.093 ตารางไมล์)a | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2021 ประมาณ | 9,349,645 (อันดับที่ 96) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2019 | 9,413,446 |
45.8 ต่อตารางกิโลเมตร (118.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 142) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 185.889 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 69) |
• ต่อหัว | 19,758 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 66) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 57.708 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 75) |
• ต่อหัว | 6,133 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 84) |
จีนี (ค.ศ. 2019) | 25.3[7] ต่ำ |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.823[8] สูงมาก · อันดับที่ 53 |
สกุลเงิน | รูเบิลเบลารุส (BYN) |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก[9]) |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +375 |
โดเมนบนสุด | |
เว็บไซต์ belarus.by | |
|
เบลารุส (อังกฤษ: Belarus; เบลารุส: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɛlaˈrusʲ]; รัสเซีย: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɪlɐˈrusʲ]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (อังกฤษ: Republic of Belarus; เบลารุส: Рэспу́бліка Белару́сь; รัสเซีย: Респу́блика Белару́сь) ในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบียโลรัสเซีย (อังกฤษ: Byelorussia; รัสเซีย: Белору́ссия) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ แบรสต์ ฆโรดนา โฆเมียล และวีเชปสก์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศคืออุตสาหกรรมบริการและการผลิต[11] จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันเคยถูกรัฐต่าง ๆ ในหลาย ๆ ยุคยึดครอง ซึ่งรวมถึงราชรัฐโปลอตสค์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14), แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย, เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และจักรวรรดิรัสเซีย
ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เบลารุสประกาศเอกราชในฐานะสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส แต่สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้เข้ายึดครอง สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซียได้กลายเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 และเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ดินแดนของเบลารุสเกือบครึ่งหนึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์หลังจากสงครามโปแลนด์–โซเวียตใน ค.ศ. 1919–1921 พรมแดนส่วนใหญ่ของเบลารุสมีลักษณะอย่างปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 1939 เมื่อดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ถูกผนวกเข้ากับเบลารุสอีกครั้งหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต และได้ข้อสรุปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[12][13][14] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการต่าง ๆ ทางทหารทำให้เบลารุสเสียหายอย่างรุนแรง โดยสูญเสียประชากรราวหนึ่งในสามและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่ง[15] สาธารณรัฐได้รับการพัฒนาขื้นใหม่อีกครั้งหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน[16]
รัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสประกาศอำนาจอธิปไตยของเบลารุสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 และในระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบลารุสได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991[17] อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นักข่าวตะวันตกบางคนได้ขนานนามเบลารุสว่าเป็น "เผด็จการสุดท้ายของยุโรป"[18][19] เนื่องมาจากรูปแบบรัฐบาลซึ่งลูกาแชนกาได้นิยามเองว่าเป็นอำนาจนิยม[20][21][22] ลูกาแชนกายังคงใช้นโยบายหลายประการจากยุคโซเวียต เช่น กรรมสิทธิ์ของรัฐในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ การเลือกตั้งภายใต้กฎของลูกาแชนกาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และตามรายงานของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ การต่อต้านทางการเมืองได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เบลารุสเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต[23][24][25] คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของเบลารุสนั้นต่ำที่สุดในยุโรป เบลารุสถูกระบุว่า "ไม่เสรี" โดยองค์การฟรีดอมเฮาส์ ถูกระบุว่า "ถูกกดขี่" ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพสื่อในยุโรป ในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำ ค.ศ. 2013–2014 ซึ่งองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเป็นผู้เผยแพร่โดยจัดเบลารุสอยู่ในอันดับที่ 157 จาก 180 ประเทศทั่วโลก[26]
ใน ค.ศ. 2000 เบลารุสและรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส กว่าร้อยละ 70 ของประชากรเบลารุสจำนวน 9.49 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวเบลารุส ชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ได้แก่ ชาวรัสเซีย, โปแลนด์ และยูเครน นับตั้งแต่การลงประชามติใน ค.ศ. 1995 ประเทศเบลารุสมีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย รัฐธรรมนูญของเบลารุสไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ศาสนาหลักของประเทศคือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับสองของเบลารุสคือนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีผู้นับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ถึงกระนั้นเบลารุสก็เฉลิมฉลองวันคริสต์มาสและอีสเตอร์ของทั้งออร์ทอดอกซ์และคาทอลิกในฐานะวันหยุดประจำชาติ[27] เบลารุสเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง, เครือรัฐเอกราช, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน, สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เบลารุสไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับองค์การ และในทำนองเดียวกันเบลารุสมีส่วนร่วมในโครงการสองโครงการของสหภาพยุโรป คือ หุ้นส่วนตะวันออกและการริเริ่มที่บากู
ประวัติศาสตร์
แก้ประเทศเบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟในอดีต เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิทัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ประเทศเบลารุส ได้รับเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2534 เป็นหนึ่งในสิบสองประเทศของเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Indepentdent State)
การเมืองการปกครอง
แก้การเมืองเบลารุสนั้นคล้ายคลึงกับประเทศรัสเซีย เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและได้รับอิทธิพลจากรัสเซียมาก่อน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ประเทศเบลารุสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น (voblast) ซึ่งตั้งชื่อแคว้นตามเมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของแคว้นนั้น ๆ แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเขต (raion) ส่วนกรุงมินสค์ซึ่งอยู่ในพื้นที่แคว้นมินสค์ มีสถานะพิเศษไม่ขึ้นกับแคว้นใด ๆ การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโซเวียต
หมายเลข (บนแผนที่) | ธงประจำแคว้น | ชื่อแคว้น | ชื่อภาษาเบลารุส | เมืองศูนย์กลางการบริหาร | ชื่อภาษาเบลารุส | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | มินสค์ (เมืองหลวงของเบลารุส) | Мінск | - | |||
2 | แคว้นแบรสต์ | Брэсцкая вобласць | แบรสต์ | Брэст | ||
3 | แคว้นโฆเมียล | Гомельская вобласць | โฆเมียล | Гомель | ||
4 | แคว้นฆโรดนา | Гродзенская вобласць | ฆโรดนา | Гродна | ||
5 | แคว้นมาฆีโลว์ | Магілёўская вобласць | มาฆีโลว์ | Магілёў | ||
6 | แคว้นมินสค์ | Мінская вобласць | มินสค์ | Мінск | ||
7 | แคว้นวีเชปสก์ | Віцебская вобласць | วีเชปสก์ | Віцебск |
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้โทรคมนาคม
แก้บริษัทโทรคมนาคมของรัฐเบลเทเลคอม (รัสเซีย: Белтелеком) ซึ่งผูกขาดธุรกิจ ได้รับสิทธิ์แต่เพียงรายเดียวในการเชื่อมต่อโครงข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนอกประเทศเบลารุส เบลเทเลคอมเป็นเจ้าของช่องสัญญาณหลักทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แก่ Lattelecom, TEO LT, Tata Communications (ในอดีตคือ Teleglobe), Synterra, Rostelecom, Transtelekom และ MTS เบลเทเลคอมยังเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับอนุญาตในการให้บริการ VoIP เชิงพาณิชย์ในเบลารุส[28]
ประชากร
แก้ศาสนา
แก้แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[2] ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) [29] ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย
ภาษา
แก้เบลารุสมีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน โดยทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิก มีไวยากรณ์ ระบบเสียง และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ประชากรโดยมากใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักและใช้เป็นภาษาแรกโดยมีผู้พูดประมาณ 6,670,000 คน ส่วนภาษาเบลารุส มีผู้พูดประมาณ 2,220,000 คน (ตรวจสอบเมื่อ ค.ศ. 2009) [30]
วัฒนธรรม
แก้แหล่งมรดกโลก
แก้เบลารุสมีแหล่งมรดกโลกที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนสี่แห่ง ได้แก่ ปราสาทมีร์ (Мірскі замак), ปราสาทเนียสวิซ (Нясьвіскі замак), ป่าดงดิบเบโลเวซสกายา (Белавежская пушча) (ร่วมกับโปแลนด์) และส่วนโค้งภูมิมาตรศาสตร์ชตรูเวอ (Struve Geodetic Arc - หมุดภูมิมาตรระบุเส้นโค้งเมอริเดียน) (ร่วมกับอีกเก้าประเทศ)[31]
อาหาร
แก้อาหารเบลารุสมักจะประกอบด้วย พืชผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์ (โดยมากเป็นเนื้อหมู) และขนมปัง ประชาชนโดยมากมักรับประทานอาหารประเภทที่ใช้เวลาหุงต้มช้า ๆ หรือจะเป็นอาหารประเภทตุ๋นจนสุกนิ่ม ชาวเบลารุสส่วนใหญ่มักจะรับประทานอาหารมื้อเช้าแบบเบา ๆ แต่ว่าอีกสองมื้อจะเป็นอาหารชุดใหญ่ โดยอาหารค่ำจะเป็นมื้อที่ใหญ่ที่สุด ชาวเบลารุสมักรับประทานขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีและข้าวไรย์ แต่ว่าข้าวไรย์เป็นวัตถุดิบที่ค้นหาได้ง่ายสะดวกกว่า เพราะว่าภูมิอากาศของประเทศทำให้การปลูกเพาะข้าวสาลียากกว่า เมื่อเวลามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้าน เจ้าของเจ้าบ้านมักจะนำขนมปังกับเกลือให้แก่แขกที่มาหา เพื่อแสดงบ่งบอกความเป็นมิตร[32]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Belarus in figures 2021" (PDF). National Statistical Committee of the Republic of Belarus. 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Religion and denominations in the Republic of Belarus" (PDF). Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Belarus. November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ "Belarus leader Lukashenko holds secret inauguration amid continuing protests". france24.com. 23 September 2020.
- ↑ "Belarus: Mass protests after Lukashenko secretly sworn in". BBC News. 23 September 2020.
- ↑ "Lukashenko appoints new government". eng.belta.by. 19 August 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate) – Belarus". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Time Zone & Clock Changes in Minsk, Belarus". www.timeanddate.com.
- ↑ "Icann Адобрыла Заяўку Беларусі На Дэлегаванне Дамена Першага Ўзроўню З Падтрымкай Алфавітаў Нацыянальных Моў.Бел". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ "Contents". Belstat.gov.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2012.
- ↑ Abdelal, Rawi (2001). National purpose in the world economy: post-Soviet states in comparative perspective. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3879-0.
- ↑ Taylor & Francis Group (2004). Europa World Year, Book 1. Europa publications. ISBN 978-1-85743-254-1.
- ↑ • Клоков В. Я. Великий освободительный поход Красной Армии. (Освобождение Западной Украины и Западной Белоруссии).-Воронеж, 1940.
• Минаев В. Западная Белоруссия и Западная Украина под гнетом панской Польши.—М., 1939.
• Трайнин И.Национальное и социальное освобождение Западной Украины и Западной Белоруссии.—М., 1939.—80 с.
• Гiсторыя Беларусі. Том пяты.—Мінск, 2006.—с. 449–474 - ↑ Axell, Albert (2002). Russia's Heroes, 1941–45. Carroll & Graf Publishers. p. 247. ISBN 0-7867-1011-X.
- ↑ "United Nations member States – Growth in United Nations membership, 1945–present". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ "The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Rausing, Sigrid (7 October 2012). "Belarus: inside Europe's last dictatorship". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
- ↑ "Belarus's Lukashenko: "Better a dictator than gay"". Berlin. Reuters. 4 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-01.
...German Foreign Minister's branding him 'Europe's last dictator'
- ↑ "Profile: Alexander Lukashenko". BBC News. BBC. 9 January 2007. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
'..an authoritarian ruling style is characteristic of me [Lukashenko]'
- ↑ "Essential Background – Belarus". Human Rights Watch. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.
- ↑ "Human rights by country – Belarus". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ January 22, 2020.
- ↑ "Office for Democratic Institutions and Human Rights – Elections – Belarus". สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
- ↑ "Belarus's election: What should the EU do about Belarus?". 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
- ↑ "Foreign Secretary expresses UK concern following Belarus elections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2010.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Press Freedom Index 2013/2014, Reporters Without Borders, มกราคม 2014, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2014
{{citation}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "The official Internet portal of the President of the Republic of Belarus. RusPDAVersion for Visually Impaired People".
- ↑ "ONI Country Profile: Belarus", OpenNet Initiative, 18 November 2010.
- ↑ "Belarusian Religion statistics, definitions and sources". Nationmaster.com. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
- ↑ Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2015. Ethnologue: Languages of the World, Eighteenth edition. Dallas, Texas: SIL International. [1]
- ↑ "Belarus – UNESCO World Heritage Centre". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2006. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.
- ↑ Canadian Citizenship and Immigration – Cultures Profile Project – Eating the Belarusian Way. Published in 1998. Retrieved 21 March 2007.
บรรณานุกรม
แก้- Birgerson, Susanne Michele (2002). After the Breakup of a Multi-Ethnic Empire. Praeger/Greenwood. ISBN 0-275-96965-7.
- Minahan, James (1998). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States. Greenwood. ISBN 0-313-30610-9.
- Olson, James Stuart; Pappas, Lee Brigance; Pappas, Nicholas C. J. (1994). Ethnohistorical Dictionary of the Russian and Soviet Empires. Greenwood Press. ISBN 0-313-27497-5.
- Plokhy, Serhii (2001). The Cossacks and Religion in Early Modern Ukraine. Oxford University Press. ISBN 0-19-924739-0.
- Richmond, Yale (1995). From Da to Yes: Understanding the East Europeans. Intercultural Press. ISBN 1-877864-30-7.
- Vauchez, André; Dobson, Richard Barrie; Lapidge, Michael (2001). Encyclopedia of the Middle Ages. Routledge. ISBN 1-57958-282-6.
- Zaprudnik, Jan (1993). Belarus: At a Crossroads in History. Westview Press. ISBN 0-8133-1794-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2016.[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่ม
แก้- Bennett, Brian M. The Last Dictatorship in Europe: Belarus under Lukashenko (Columbia University Press, 2011)
- Frear, Matthew. Belarus Under Lukashenka: Adaptive Authoritarianism (Routledge, 2015)
- Korosteleva, Elena A. (June 2016). "The European Union and Belarus: Democracy Promotion by Technocratic Means?" Democratization 23: 4 pp. 678–698. doi:10.1080/13510347.2015.1005009.
- Levy, Patricia; Spilling, Michael (2009). Belarus. New York: Benchmark Books. ISBN 978-0-7614-3411-5.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 18 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 555, 556.
- Marples, David. 'Our Glorious Past': Lukashenka's Belarus and the Great Patriotic War (Columbia University Press, 2014)
- Parker, Stewart. The Last Soviet Republic: Alexander Lukashenko's Belarus (Trafford Publishing, 2007)
- Rudling, Pers Anders. The Rise and Fall of Belarusian Nationalism, 1906–1931 (University of Pittsburgh Press; 2014) 436 pages
- Ryder, Andrew (1998). Eastern Europe and the Commonwealth of Independent States. Routledge. ISBN 1-85743-058-1.
- Silitski, Vitali & Jan Zaprudnik (2010). The A to Z of Belarus. Scarecrow Press. ISBN 9781461731740.
- Snyder, Timothy (2004). The Reconstruction of Nations: Poland, Ukraine, Lithuania, Belarus, 1569–1999
- Szporluk, Roman (2000). Russia, Ukraine, and the Breakup of the Soviet Union. Hoover Institution Press. ISBN 0-8179-9542-0.
- Treadgold, Donald; Ellison, Herbert J. (2018). Twentieth Century Russia (9th ed.). Routledge. ISBN 978-0-8133-3672-5.
- Vakar, Nicholas Platonovich. Belorussia: The Making of a Nation: A Case Study (Harvard UP, 1956).
- Vakar, Nicholas Platonovich. A Bibliographical Guide to Belorussia (Harvard UP, 1956)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Website of the Republic of Belarus เก็บถาวร 2018-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by BelTA news agency
- Belarus. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศเบลารุส ที่เว็บไซต์ Curlie
- FAO Country Profiles: Belarus