สาธารณรัฐประชาชนเบลารุส

สาธารณรัฐประชาชนเบลารุส[2][3][4] (BNR; เบลารุส: Беларуская Народная Рэспубліка, อักษรโรมัน: Bielaruskaja Narodnaja Respublika, БНР),หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุส เป็นรัฐที่สภาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุสประกาศในกฎบัตรรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1918 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สภาได้ประกาศให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุสเป็นอิสระในกฎบัตรรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 1918 ระหว่างการยึดครองเบลารุสโดยกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน[5]

สาธารณรัฐประชาชนเบลารุส

Беларуская Народная Рэспубліка
Bielaruskaja Narodnaja Respublika
1918–1919
เฉพาะกาล: 1919–ปัจจุบัน
เพลงชาติ"Ваяцкі марш"
"มาร์ชนักรบ"
ดินแดนที่อ้างสิทธิ์
ดินแดนที่อ้างสิทธิ์
สถานะรัฐที่ได้รับการยอมรับบางส่วนภายใต้การยึดครองของเยอรมัน (1918)
รัฐบาลพลัดถิ่น
(ตั้งแต่ปี 1918)
เมืองหลวง1918  มินสก์ · วิลนีอัส
1918–1919  ฆโรดนา
Capital-in-exile1919–1923  เกานัส
1923–1945  ปราก
1948–1970  ปารีส
1970–1983  โตรอนโต
1983–ปัจจุบัน  ออตตาวา
ภาษาทั่วไปภาษาเบลารุส
ภาษาชนกลุ่มน้อย:
รัสเซีย
โปแลนด์
ยิดดิช
ลิทัวเนีย
ยูเครน
เดมะนิมชาวเบลารุส
การปกครองสาธารณรัฐ ภายใต้ รัฐบาลเฉพาะกาล
ประธานาธิบดี 
• 1918
แจน เซียราดา
• 1918–1919
โจเซฟ เลซิก (รักษาการ)
ประธานาธิบดีเฉพาะกาล 
• 1919–1928
ปิโอตรา เครสเชสกี
• 1928–1943
วาซิล ซาคาร์กา
• 1944–1970
มิโควา อับรามชิค
• 1970–1982
วินเซนต์ จุค-ฮรีสเกียวิช
• 1982–1997
ยาเซป ซาซิช
• 1997–ปัจจุบัน
อิวอนกา เซอร์วิลา
สภานิติบัญญัติราดาร์
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• ก่อตั้ง[1]
6 มีนาคม 1918
• ประกาศเอกราช
25 มีนาคม 1918
• ล่มสลาย
1919
• เปลี่ยนสถานะเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล
1919-ปัจจุบัน
สกุลเงินรูเบิล
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐรัสเซีย
รัสเซียโซเวียต
ลิทัวเนีย–เบลารุส
โปแลนด์
รัฐบาลพลัดถิ่นเบลารุส

รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุสไม่เคยมีอำนาจเหนือดินแดนทั้งหมดของเบลารุส ใน ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตโซเวียตแห่งเบียโลรัสเซียซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของโซเวียตรัสเซีย (ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย–เบียโลรัสเซีย) ได้ก่อตั้งขึ้น ทำให้ต้องย้ายเมืองหลวงของรัฐบาลไปที่วิลนีอัสและฆโรดนา[6] แต่ต้องยุติลงเนื่องจากการแบ่งดินแดนเบลารุสทั้งหมดระหว่างกองทัพแดงของบอลเชวิคและกองทัพโปแลนด์อันเป็นผลจากสงครามโปแลนด์–โซเวียต ค.ศ. 1919–1921[7]

ปัจจุบัน รัฐบาลเฉพาะกาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุสเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่

อ้างอิง แก้

  1. Druhaja Ŭstaŭnaja Hramata da narodaŭ Bielarusi [The Second Constituent Charter to the Peoples of Belarus]. (n.d.). Retrieved December 29, 2017, from http://www.radabnr.org/usthramaty/hramata2/
  2. The Journal of Belarusian Studies 2018. Ostrogorski Centre. 14 March 2019. ISBN 9780244767938.
  3. Dungaciu, Dan; Naumescu, Valentin (5 February 2015). The European Union's Eastern Neighbourhood Today: Politics, Dynamics, Perspectives. Cambridge Scholars. ISBN 9781443875196.
  4. Fedor, Julie; Kangaspuro, Markku; Lassila, Jussi; Zhurzhenko, Tatiana (5 December 2017). War and Memory in Russia, Ukraine and Belarus. Springer. ISBN 9783319665238.
  5. Treciaja Ŭstaŭnaja Hramata Rady BNR [The Third Constituent Charter of the Council of the BNR]. (n.d.). Retrieved December 28, 2017, from http://www.radabnr.org/usthramaty/hramata3/
  6. Ladysieŭ, U. F., & Bryhandzin, P. I. (2003). BNR: stanaŭliennie, dziejnasć. Ministerstva bielaruskich spraŭ pry Litoŭskaj Tarybie [BNR, its formation and activities. The Ministry for Belarusian Affairs under the Council of Lithuania]. In Pamiž Uschodam i Zachadam. Stanaŭliennie dziaržaŭnasci i terytaryjaĺnaj celasnasci Bielarusi (1917–1939) [Between the East and the West. The formation of statehood and territorial integrity of Belarus (1917–1939)] (pp. 84–88). Minsk: Belarusian State University.
  7. Ladysieŭ, U. F., & Bryhandzin, P. I. (2003). BNR: stanaŭliennie, dziejnasć. Ministerstva bielaruskich spraŭ pry Litoŭskaj Tarybie [BNR, its formation and activities. The Ministry for Belarusian Affairs under the Council of Lithuania]. In Pamiž Uschodam i Zachadam. Stanaŭliennie dziaržaŭnasci i terytaryjaĺnaj celasnasci Bielarusi (1917–1939) [Between the East and the West. The formation of statehood and territorial integrity of Belarus (1917–1939)] (pp. 117–119). Minsk: Belarusian State University.