ระบบเสียง
ระบบเสียง หมายถึง การนำอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆมาต่อเชื่อมกันให้ทำงานอย่างเป็นระบบ จึงเป็นการรวบรวมอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดให้เกิดความสมดุลในการเชื่อมต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด[1]
ระบบเสียง ถือเป็นระบบที่ต้องอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เกี่ยวกับเสียง มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบเพื่อตอบสนองการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ และ อาจมีการใช้งานร่วมกับระบบภาพและแสง ต้องมีการรวมระบบ เข้าด้วยกันเป็นระบบภาพและเสียง หรือที่ผู้ใช้สื่อเรียกว่า มัลติมีเดีย และ บางครั้งอาจรวมระบบควบคุมแสง เข้ามาด้วยโดยเรียกรวมกันว่า AVL
ระบบขยายพลังเสียง เรียกกันอีกแบบว่าระบบ PA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Public Address ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักในระบบ คือ ภาครับสัญญาณเสียงขาเข้า (Audio signal inputs) จาก ไมโครโฟน เครื่องเล่นแผ่น CD และ แหล่งกำเนิดสัญญาณเสียงอื่นๆ มาผสมและปรับแต่งให้เข้ากันที่ Audio Mixer ซึ่งอาจรวมเครื่องประมวลสัญญาณเสียง อยู่ด้วยกัน หรือพ่วงต่อเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ เมื่อได้สัญญาณเสียงที่รวมกันมาและปรับแต่งตามความต้องการแล้ว จึงส่งออกไปที่ภาคสัญญาณเสียงขาออก Audio Signal Outputs และนำสัญญาณเสียงไปขยายด้วยเครื่องขยายเสียง Amplifiers เพื่อขับลำโพง Loudspeakers ให้เปล่งเสียงตามที่ผู้ออกแบบระบบเสียงนั้นกำหนดพื้นที่การกระจายเสียงและคุณลักษณะของเสียงไว้[2][3]
ระบบขยายพลังเสียง มีจุดประสงค์หลักคือให้คนได้ยินดังชัดเจนขึ้น หรือได้ยินเสียงโดยทั่วถึงกัน ทำให้เสียงดังขึ้นเพื่อเหตุผลด้านศิลป เพื่อให้คนสนใจหรือตื่นเต้นในพลังเสียงที่เหนือธรรมชาติ ทำให้คนสามารถได้ยินเสียงในบริเวณที่ต้องควบคุมจากระยะไกล คือ การส่งสัญญาณเสียงไปขยายให้คนในอีกพื้นที่หนึ่งได้ยินพร้อมกันกับพื้นที่กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง
อ้างอิง
แก้- ↑ Bruce Borgerson (November 1, 2003). Sound & Video Contractor (Prism Business Media). http://svconline.com/mag/avinstall_pa_sr/index.html เก็บถาวร 2008-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved February 18, 2007.
- ↑ Davis, Gary, and Ralph Jones. Sound Reinforcement Handbook. 2nd ed. Milwaukee: Hal Leonard Corporation, 1989: 4.
- ↑ Eargle, John, and Chris Foreman. Audio Engineering for sound reinforcement. Milwaukee: Hal Leonard Corporation, 2002. 299