วุยก๊ก
วุยก๊ก[4][c] (ค.ศ. 220–266) ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เว่ย์ (จีน: 魏[d]) เป็นหนึ่งในรัฐราชวงศ์ที่สำคัญของจีนในยุคสามก๊ก วุยก๊กก่อตั้งในปี ค.ศ. 220 โดยโจผี ก่อตั้งขึ้นจากรากฐานที่โจโฉบิดาของโจผีวางไว้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น นครหลวงของวุยก๊กเริ่มต้นคือฮูโต๋[a]หรือสฺวี่ชาง (許昌) ภายหลังย้ายไปลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง)
วุยก๊ก (เว่ย์) 魏 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 220–266 | |||||||||
จีนในปี ค.ศ. 262 อาณาเขตของวุยก๊กคือสีเหลือง | |||||||||
เมืองหลวง | |||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีนฮั่นตะวันออก | ||||||||
ศาสนา | ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาชาวบ้านจีน | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• ธันวาคม ค.ศ. 220 – มิถุนายน ค.ศ. 226 | โจผี | ||||||||
• มิถุนายน ค.ศ. 226 – มกราคม ค.ศ. 239 | โจยอย | ||||||||
• มกราคม ค.ศ. 239 – ตุลาคม ค.ศ. 254 | โจฮอง | ||||||||
• ตุลาคม ค.ศ. 254 – มิถุนายน ค.ศ. 260 | โจมอ | ||||||||
• มิถุนายน ค.ศ. – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | โจฮวน | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก | ||||||||
• การสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าเหี้ยนเต้ | 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 | ||||||||
• ง่อก๊กประกาศตนเป็นอิสระจากวุยก๊ก | ค.ศ. 222 | ||||||||
• วุยก๊กพิชิตจ๊กก๊ก | ค.ศ. 263 | ||||||||
• การสละราชบัลลังก์ของโจฮวน | 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 260 | 4,432,881 (เป็นที่ถกเถียง)[1][b] | ||||||||
สกุลเงิน | เหรียญเงินจีน (อู่จู) | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
วุยก๊ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 曹魏 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 曹魏 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Cáo Wèi | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ชื่อ "วุย" หรือ "เว่ย์" เดิมมีความเกี่ยวข้องกับโจโฉเมื่อโจโฉได้รับการตั้งให้เป็นวุยก๋ง (魏公 เว่ย์กง) โดยราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในปี ค.ศ. 213 และกลายเป็นชื่อรัฐเมื่อโจผีสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 220 นักประวัติศาสตร์มักเติมหน่วยคำอุปสรรคว่า "เฉา" (曹; หมายถึงชื่อสกุล "เฉา" หรือ "โจ") นำหน้าคำว่า "เว่ย์" เพื่อแยกความแตกต่างจากรัฐจีนอื่น ๆ ที่เรียกด้วยชื่อว่า "เว่ย์"
อำนาจปกครองของตระกูลโจอ่อนแอลงอย่างมาก ภายหลังจากโจซอง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของโจฮองจักรพรรดิลำดับที่ 3 ของวุยก๊ก ถูกปลดและประหารชีวิต สุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนค่อย ๆ รวบรวมอำนาจรัฐให้กับตนเองและเหล่าญาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 249 เป็นต้นมา โดยจักรพรรดิส่วนใหญ่ในช่วงปลายของวุยก๊กกลายเป็นผู้ปกครองหุ่นเชิดของตระกูลสุมา ในปี ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนหลานชายของสุมาอี้บังคับจักรพรรดิโจฮวนให้สละราชบัลลังก์ สุมาเอี๋ยนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิจิ้นอู่ตี้แห่งราชวงศ์จิ้นที่ก่อตั้งขึ้นใหม่
ประวัติ
แก้จุดเริ่มต้นและการสถาปนา
แก้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภาคเหนือของจีนอยู่ใต้การปกครองของโจโฉ อัครมหาเสนาบดีในพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ในปี ค.ศ. 213 พระเจ้าเหี้ยนเต้สถาปนาโจโฉขึ้นเป็น "วุยก๋ง" (魏公 เว่ย์กง) และพระราชทานเมืองให้ปกครองสิบเมือง พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า "วุย" (เว่ย์) ขณะนั้นภาคใต้ของจีนถูกแบ่งเป็นสองพื้นที่ที่ปกครองโดยอีกสองขุนศึกคือเล่าปี่และซุนกวน ในปี ค.ศ. 216 พระเจ้าเหี้ยนเต้เลื่อนโจโฉขึ้นเป็น "วุยอ๋อง" (魏王 เว่ย์หวาง) และมอบอาณาเขตให้ปกครองมากขึ้น
โจโฉถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 220 โจผีขึ้นสืบทอดตำแหน่งวุยอ๋อง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โจผีบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้สละราชสมบัติ โจผีขึ้นครองราชย์แทนและสถาปนาวุยก๊ก (รัฐวุย) ขึ้น เล่าปี่ตอบโต้การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของโจผีทันทีโดยการสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก" ในปีถัดมา ซุนกวนดำรงตำแหน่งอ๋องภายใต้วุยก๊ก แต่ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 222 และสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก" ในปี ค.ศ. 229
เพื่อแยกความแตกต่างของรัฐจากรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสร์จีนที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ได้เพื่ออักขระที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า "เว่ย์"(魏) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "เฉา เว่ย์" (曹魏)
รัชสมัยพระเจ้าโจผีและพระเจ้าโจยอย
แก้โจผีทรงปกครองมาเป็นเวลาหกปีจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 226 และถูกสืบราชสมบัติโดยราชโอรสของพระองค์ โจยอย ทรงปกครองจนกระทั่งทรงสวรรคตใน ค.ศ. 239 ตลอดรัชสมัยของโจผีและโจยอย วุยก๊กต้องต่อสู้รบในสงครามหลายครั้งกับสองรัฐที่เป็นคู่แข่งกันคือ จ๊กก๊กและง่อก๊ก
ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูกัดเหลียงผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและผู้แทนพระองค์ของจ๊กก๊ก ได้นำชุดของการทัพทางทหารห้าครั้งเพื่อเข้าโจมตีชายแดนทางตะวันตกของวุยก๊ก (ภายในมณฑลกานซู่และฉ่านซีในปัจจุบัน) โดยมีเป้าหมายเพื่อพิชิตเตียงอั๋น เมืองยุทธศาสตร์ซึ่งอยู่บนถนนสู่นครลกเอี๋ยง เมืองหลวงของวุยก๊ก การบุกครองของจ๊กก๊กได้ถูกขับไล่โดยกองทัพวุยก๊กที่นำโดยแม่ทัพ โจจิ๋น สุมาอี้ เตียวคับ และอื่น ๆ จ๊กก๊กไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญในการทัพครั้งนี้เลย
บนชายแดนทางใต้และตะวันออก วุยก๊กได้ต่อสู้รบกับง่อก๊กในชุดของความขัดแย้งทางอาวุธตลอดช่วงปี ค.ศ. 220 และ ค.ศ. 230 รวมทั้งยุทธการที่ต๋งเค้า (ค.ศ. 222-223) กังเหลง (ค.ศ. 223) และเซ็กเต๋ง (ค.ศ. 228) อย่างไรก็ตาม การสู้รบส่วนใหญ่ส่งผลก่อให้เกิดหนทางตันและทั้งสองฝ่ายไม่สามารถขยายอาณาเขตของตนได้มากนัก
การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้
แก้ภายหลังจากบู๊ขิวเขียม ได้ล้มเหลวในการปราบปรามตระกูลกองซุนในเมืองเลียวตั๋ง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 238 สุมาอี้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไท่เว่ย์( 太尉 หรือ มหาเสนา) เปิดฉากการบุกครองพร้อมกับทหารจำนวน 40,000 นาย ตามรับสั่งของจักรพรรดิโจยอยในการเข้าปะทะกับเลียวตั๋ง ซึ่งจุดที่แห่งนี้ได้ถูกหยั่งรากอย่างเหนียวแน่นภายใต้การควบคุมของตระกูลกองซุนมาเป็นเวลายาวนานถึงสี่ทศวรรษ ภายหลังจากการโอบล้อมเป็นเวลาสามเดือน โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาณาจักรโคกูรยอ สุมาอี้สามารถเข้ายึดเมืองหลวงเซียงเป๋งได้ ส่งผลทำให้สามารถพิชิตจังหวัดภายในช่วงปลายเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
ศึกโคกูรยอ-วุยก๊ก
แก้ในช่วงเวลานั้น เมื่ออาณาจักรโคกูรยอรวบรวมอำนาจ ได้ดำเนินการพิชิตดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน โคกูรยอได้ริเริ่มสงครามโคกูรยอ-เว่ย์ ใน ค.ศ. 242 โดยพยายามตัดขาดเส้นทางในการเข้าถึงดินแดนเกาหลีของจีน โดยพยายามเข้ายึดป้อมปราการของจีน อย่างไรก็ตาม เว่ย์ได้ตอบโต้ด้วยบุกรุกและเอาชนะโคกูรยอ ฮวันโดได้ถูกทำลายจากการล้างแค้นโดยกองทัพเว่ย์ใน ค.ศ. 244 การบุกครองครั้งนี้ทำให้กษัตริย์หลบหนีไป และทำลายความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอและชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีซึ่งก่อให้เกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ แม้ว่ากษัตริย์จะหลบหนีจากการถูกจับกุมและไปตั้งรกรากในเมืองหลวงแห่งใหม่ในที่สุด โคกูรยอก็ได้ถูกลดความสำคัญลงจนเหลือเพียงครึ่งทศวรรษ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีการเอ่ยถึงรัฐในตำราประวัติศาสตร์จีน
การล่มสลายของวุยก๊ก
แก้ในปี ค.ศ. 249 ในรัชสมัยของทายาทผู้สืบทอดต่อจากโจยอยคือโจฮอง สุมาอี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ยึดอำนาจควบคุมรัฐมาจากโจซอง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนนึงในการก่อรัฐประหาร เหตุการณ์นี้เป็นการบ่งบอกถึงการล่มสลายของอำนาจจักรพรรดิในวุยก๊ก เนื่องจากบทบาทของโจฮองถูดลดทอนลงเหลือเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิด ในขณะที่สุมาอี้ควบคุมอำนาจรัฐอย่างมั่นคงไว้ในกำมือของเขา หวาง หลิง แม่ทัพแห่งวุยก๊ก ได้พยายามที่จะก่อกบฏต่อต้านสุมาอี้ แต่ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วและต้องปลิดชีพตนเอง สุมาอี้ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 251 โดยส่งอำนาจต่อให้แก่สุมาสูบุตรชายคนโตของเขาในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
สุมาสูได้ปลดโจฮองออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 254 ด้วยเหตุผลในการวางแผนก่อกบฏต่อต้านเขาและแต่งตั้งโจมอขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แทน ในผลตอบสนอง บู๊ขิวเขียมและบุนขิมได้ร่วมมือกันก่อกบฏ แต่กลับถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยสุมาสู ด้วยเหตุการณ์นี้ยังได้ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพของสุมาสู ซึ่งได้รับการผ่าตัดที่ดวงตาช่วงก่อนการจลาจล ทำให้เขาต้องเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 255 แต่ได้มีการส่งมอบอำนาจต่อและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปให้กับสุมาเจียวน้องชายคนเล็กของเขา
ในปี ค.ศ. 258 สุมาเจียวได้ปราบปรามการก่อกบฏของจูกัดเอี๋ยน เป็นการยุติสิ่งที่ถูกเรียกว่า กบฏสามครั้งในฉิวฉุน ใน ค.ศ. 260 โจมอได้พยายามจะยึดอำนาจควบคุมรัฐกลับคืนมาจากสุมาเจียวในการก่อรัฐประหาร แต่กลับถูกสังหารโดยเซงเจ แม่ทัพทหารนายกองซึ่งรับใช้อยู่ภายใต้กาอุ้นซึ่งเป็นผู้ติดตามของตระกูลสุมา ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของโจมอ โจฮวนได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิวุยก๊กองค์ที่ห้า อย่างไรก็ตาม โจฮวนก็ยังคงเป็นเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของสุมาเจียวเช่นเดียวกับจักรพรรดิองค์ก่อน ใน ค.ศ. 263 กองทัพวุยก๊กซึ่งนำโดยจงโฮยและเตงงายสามารถพิชิตจ๊กก๊กมาได้ ภายหลังจากนั้นจงโฮยและเกียงอุยอดีตแม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ได้ร่วมมือกันและวางแผนเพื่อขับไล่สุมาเจียวลงจากอำนาจ อย่างไรก็ตาม แม่ทัพทหารวุยก๊กหลายคนได้หันมาต่อต้านพวกเขา เมื่อพบว่าเกียงอุยยุแยงจงโฮยให้กำจัดแม่ทัพทหารเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มก่อรัฐประหารตามแผน สุมาเจียวเองได้รับและในที่สุดก็ยอมรับบรรดาศักดิ์เก้าขั้นและได้รับสถาปนาเป็น จิ้นก๋ง ใน ค.ศ. 264 และต่อมาได้รับพระราชทานยศตำแหน่งเป็น จิ้นอ๋อง โดยโจฮวนใน ค.ศ. 264 แต่เขาได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 โดยทิ้งไว้เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายของการแย่งชิงอำนาจให้กับสุมาเอี๋ยนบุตรชายคนโตของเขา
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยน บุตรชายของสุมาเจียว ได้บีบบังคับให้โจฮวนสละราชบัลลังก์ และตัวเขาเองก็ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์วุยก๊ก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ส่วนโจฮวนเองทรงรอดชีวิตและมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ค.ศ. 302 ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์
ราชสำนัก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
แก้ลายสือศิลป์แบบไข่ชูได้รับการพัฒนาในระหว่างช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและราชวงศ์วุยก๊ก ผู้เชี่ยวชาญลายสือศิลป์แบบไข่ชูที่เป็นที่รู้จักคือจงฮิว ขุนนางแห่งวุยก๊ก[8]
รายชื่ออาณาเขต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนามกษัตริย์
แก้
นามวัด | สมัญญานาม | ชื่อสกุล (ตัวหนา) และชื่อตัว | ครองราชย์ (ค.ศ.) | ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
(-) | จักรพรรดิเกา (เกาหฺวังตี้) 高皇帝 |
โจเท้ง (เฉา เถิง) 曹騰 |
(-) | (-) | พระราชสมัญญานามของโจเท้งได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจยอย |
(-) | จักรพรรดิไท่ (ไท่หฺวังตี้) 太皇帝 |
โจโก๋ (เฉา ซง) 曹嵩 |
(-) | (-) | พระราชสมัญญานามของโจโก๋ได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี |
ไท่จู่ 太祖 |
จักรพรรดิอู่ (อู่หฺวังตี้) 武皇帝 |
โจโฉ (เฉา เชา) 曹操 |
(-) | (-) | ชื่อวัดและพระราชสมัญญานามของโจโฉได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี |
ชื่อจู่ 世祖 |
จักรพรรดิเหวิน (เหวินหฺวังตี้) 文皇帝 |
โจผี (เฉา ผี) 曹丕 |
220-226 |
|
|
เลี่ยจู่ 烈祖 |
จักรพรรดิหมิง (หมิงหฺวังตี้) 明皇帝 |
โจยอย (เฉา รุ่ย) 曹叡 |
227-239 | ||
(-) | (-) | โจฮอง (เฉา ฟาง) 曹芳 |
240-249 | โจฮองถูกลดขั้นเป็น "เจอ๋อง" (齊王 ฉีหวาง) หลังถูกถอดจากราชสมบัติ โจฮองได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เช่าหลิงลี่กง" (邵陵厲公) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก | |
(-) | (-) | โจมอ (เฉา เหมา) 曹髦 |
254-260 | โจมอได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เกากุ้ยเซียงกง" (高貴鄉公). | |
(-) | จักรพรรดิยฺเหวียน (ยฺเหวียนหฺวังตี้) 元皇帝 |
โจฮวน (เฉา ฮฺวั่น) 曹奐 |
260-266 |
|
พงศาวลีวุยก๊ก
แก้วุยก๊ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
- - - - - = เส้นประแสดงถึงการรับเป็นโอรสบุญธรรม
|
หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 ชื่อ "ฮูโต๋" ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตรงกับชื่อภาษาจีนกลางว่า "สวี่ตู" (許都) มีความหมายว่านครหลวง (都 ตู) ชื่อ "สวี่" (許) สวี่เป็นนครหลวงช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ต่อมาในยุคสามก๊กได้มีการเปลี่ยนชื่อ "สวี่" เป็น "สวี่ชาง" (許昌) ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกเป็น "ฮูโต๋" ตลอดทั้งเรื่องโดยไม่เปลี่ยนคำเรียก
- ↑ ตัวเลขนี้อ้างอิงจากตัวเลขที่ระบุในสามก๊กจี่ ซึ่งเป็นที่กังขาเนื่องจากระบบสำมะโนประชากรถูกอ้างว่ามีข้อบกพร้อง จำนวนประชากรที่แท้จริงอาจมีมากกว่านี้[2] แทนเนอร์ (ค.ศ. 2009) ประมาณการว่าประชากรของวุยก๊กน่าจะมากกว่า 2 ใน 3 ของประชากรชาวฮั่นทั้งหมด[3]
- ↑ คำว่า "ก๊ก" ตรงกับคำภาษาจีนกลางว่า "กั๋ว" (國) มีความหมายว่า "รัฐ"
- ↑ พินอิน: Wèi < จีนสมัยกลาง: ŋjweiC < จีนฮั่นตะวันออก: *ŋuiC[5] มีคำเรียกอื่น ๆ ว่า เฉาเว่ย์ (曹魏) หรือ เว่ย์ยุคแรก[6][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Zou Jiwan (鄒紀萬), Zhongguo Tongshi – Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
- ↑ Institute of Advanced Studies (December 1991). Barme, Gerome (บ.ก.). East Asian History: THE CONTINUATION OF Papers on Far Eastern History (PDF) (Number 2 ed.). Canberra, Australia: Australian National University. pp. 149–152. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- ↑ Tanner, Harold M. (13 March 2009). "The Age of Warriors and Buddhists". China: A History. Hackett. p. 142.
When it was established, Wu had only one-sixth of the population of the Eastern Han Empire (Cao Wei held over two-thirds of the Han population).
- ↑ (ราชอาณาเขตต์ของพระเจ้าโจผี คำหลวง (คือจีนเมืองหลวงเดิม) เรียกว่า ไวโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า วุยก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า งุ่ยก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า ง่ายโกะ จีนไหหลำเรียกว่าหงุ่ยก๊ก)"ตำนานหนังสือสามก๊ก บทที่ ๓ ว่าด้วยสำนวนแปลหนังสือสามก๊ก". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 16, 2024.
- ↑ Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawaiʻi. p. 291
- ↑ BSod-nams-rgyal-mtshan; Sørensen, Per K. (1994). The Mirror Illuminating the Royal Genealogies. Otto Harrassowitz Verlag. p. 80. ISBN 3-447-03510-2.
- ↑ Wu, Ching-hsiung, บ.ก. (1940). T'ien Hsia Monthly. Vol. 11. Kelly and Walsh. p. 370.
- ↑ Qiu Xigui (2000). Chinese Writing. Translated by Mattos and Jerry Norman. Early China Special Monograph Series No. 4. Berkeley: The Society for the Study of Early China and the Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley. ISBN 1-55729-071-7; p.142-3