สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ฉบับแปลไทยของนวนิยายจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง "ซานกั๋วเหยี่ยนอี้"
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) | |
---|---|
เอกสารตัวเขียน สามก๊ก จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร | |
ผู้ประพันธ์ | ล่อกวนตง |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | สามก๊ก |
ผู้แปล | เจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ภาษาไทย |
ประเภท | วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ |
สำนักพิมพ์ | หลายสำนักพิมพ์ |
ชนิดสื่อ | พงศาวดารจีน |