สุมาสู (ค.ศ. 208 - 23 มีนาคม ค.ศ. 255)[1][2][3] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า ชือ (จีน: 司馬師; พินอิน: Sīmǎ Shī; การออกเสียง) ชื่อรอง จื่อยฺเหวียน (จีน: 子元; พินอิน: Zǐyuán) เป็นขุนพลและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ในปี ค.ศ. 249 สุมาสูช่วยสุมาอี้ผู้เป็นบิดาในการโค่นล้มโจซองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจักรพรรดิโจฮอง ทำให้ตระกูลสุมากลายเป็๋นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ สุมาสูสืบทอดอำนาจหลังจากสุมาอี้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251 สุมาสูยังคงยึดกุมอำนาจได้อย่างเหนียวแน่น เมื่อจักรพรรดิโจฮองคิดการจะโค่นอำนาจสุมาสูในปี ค.ศ. 254 สูมาสูจึงชิงปลดจักรพรรดิโจฮองออกและตั้งโจมอที่เป็นพระญาติขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ภายหลังสุมาสูเสียชีวิตในปี ค.ศ. 255 อำนาจถูกส่งผ่านไปยังสุมาเจียวผู้เป็นน้องชาย และในท้ายสุดสุมาเอี๋ยนบุตรชายของสุมาเจียวได้ชิงบัลลังก์วุยก๊กและสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมา

สุมาสู (ซือหม่า ชือ)
司馬師
ภาพวาดของสุมาสูสมัยราชวงศ์ชิง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก
ดำรงตำแหน่ง
7 กันยายน ค.ศ. 251 – 23 มีนาคม ค.ศ. 255
กษัตริย์โจฮอง
โจมอ
ก่อนหน้าสุมาอี้
ถัดไปสุมาเจียว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 208[1]
เสียชีวิต23 มีนาคม ค.ศ. 255 (47 ปี)[2]
นครสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน
คู่สมรส
บุตรบุตรสาวห้าคน
บุพการี
ชื่อรองจื่อยฺเหวียน (子元)
สมัญญานามจักรพรรดิจิ่ง (景皇帝 จิ่งหฺวางตี้)

หลังจากสุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ พระองค์ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสุมาสูผู้เป็นพระปิตุลาในการวางรากฐานราชวงศ์จิ้น พระองค์จึงพระราชทานสมัญญานามเป็นเกียรติให้สุมาสูเป็น จักรพรรดิจิ่ง (景皇帝 จิ่งหฺวางตี้) และมีนามวัดว่า ชื่อจง (世宗)

ประวัติช่วงต้น แก้

สุมาสูเกิดในปี ค.ศ. 208[1] เป็นบุตรชายคนโตของสุมาอี้และจาง ชุนหฺวา (張春華) เมื่อสุมาสูอยู่ในวัยเยาว์เป็นที่รู้จักในเรื่องความความประพฤติและสติปัญญาที่ดีเลิศ ทำให้ขึ้นมามีชื่อเสียงเทียบเท่ากับแฮเฮาเหียนและโฮอั๋น ครั้งหนึ่งโฮอั๋นถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า "บุคคลเดียวที่สามารถประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในใต้ฟ้าอาจเป็นซือหม่า จื่อยฺเหวียน[a]" ระหว่างปี ค.ศ. 237 ถึง ค.ศ. 239 สุมาสูได้รับแต่งตั้งเป็นทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ) และได้รับการเลื่อนยศเป็นผู้พิทักษ์ทัพกลาง (中護軍 จงฮู่จวิน)

ภรรยาคนแรกของสุมาสูคือเซี่ยโหว ฮุย (夏侯徽) เสียชีวิตในปี ค.ศ. 234 สุมาสูมีบุตรสาวที่เกิดกับเซี่ยโหว ฮุยทั้งหมด 5 คนด้วยกัน สาเหตุการเสียชีวิตของเซี่ยโหว ฮุยนั้นเป็นที่ถกเถียง ชีวประวัติของเซี่ยโหว ฮุยในจิ้นชูระบุว่าเซี่ยโหว ฮุยในที่สุดก็ตระหนักรู้ว่าสามีไม่ได้ภักดีต่อวุยก๊ก สุมาสูจึงเริ่มระแวงเซี่ยโหว ฮุยมากขึ้นเพราะความสัมพันธ์ทางครอบครัวของเซี่ยโหว ฮุยที่มีต่อราชตระกูลโจแห่งวุยก๊ก ในปี ค.ศ. 234 เซี่ยโหว ฮุยเสียชีวิตเพราะถูกวางยาพิษ[4] ในจือจื้อทงเจี้ยนเข่าอี้ (资治通鉴考异) ซือหม่า กวางแสดงความกังขาต่อเรื่องราวนี้ โต้แย้งว่า ณ จุดนี้ สุมาอี้เพิ่งได้รับความไว้วางพระทัยจากจักรพรรดิโจยอย และไม่ได้แสดงท่าทีถึงความไม่จงรักภักดี ลูกชายของสุมาอี้ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ภักดีเช่นกัน ซือหม่า กวางจึงไม่ได้รวมเรื่องราวนี้ในจือจื้อทงเจี้ยน[5]

การรับราชการจนถึงปี ค.ศ. 251 แก้

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง แก้

เมื่อสุมาอี้เริ่มวางแผนก่อรัฐประหารโค่นอำนาจโจซอง ในจิ้นชูระบุว่าสุมาอี้ได้ปรึกษาเรื่องแผนการกับสุมาสู แต่ไม่ได้รวมสุมาเจียวน้องชายของสุมาสูมาร่วมปรึกษาด้วย (แม้ว่าซือหม่า กวางมีความเห็นว่าเรื่องไม่น่าเป็นเช่นนั้น และระบุไว้ในจือจื้อทงเจี้ยนว่าสุมาอี้วางแผนก่อรัฐประหารร่วมกันกับทั้งสุมาสูและสุมาเจียว) สุมาเจียวรวมกลุ่มคนผู้ภักดี 3,000 คนโดยไม่ให้โจซองและพรรคพวกรู้ และเมื่อสุมาอี้เริ่มดำเนินแผนในปี ค.ศ. 249 สุมาสูก็สามารถเรียกคนเหล่านั้นมาเข้าร่วมในการก่อรัฐประหารได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อสุมาอี้โค่นล้มโจซองและขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจักรพรรดิโจฮองแต่เพียงผู้เดียว ก็จะมอบบรรดาศักดิ์ให้สุมาสูเป็นฉางผิงเซียงโหว (長平鄉侯) มีศักดินา 1,000 ครัวเรือน ต่อมาไม่นานก็แต่งตั้งให้สุมาสูเป็นขุนพลรักษาพระราชวัง (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) สุมาสูกลายเป็นผู้ช่วยของสุมาอี้ผู้บิดา แม้ว่าจะไม่มีบันทึกถึงผลงานของสุมาสูในช่วงเวลานี้ หลังสุมาอี้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251 สุมาสูเข้ารับตำแหน่งสืบต่อจากบิดาโดยไม่มีการต่อต้าน หลังจากที่ก่อนหน้านั้นในปีเดียวกันสุมาอี้ได้ปราบกบฏของหวาง หลิง (王淩) และสังหารหมู่ตระกูลหวาง (王) หรือตระกูลอองและพรรคพวก

ในฐานะผู้กุมอำนาจสูงสุด แก้

ในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง แก้

ช่วงต้นของการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แก้

สุมาสูปกครองราชสำนักอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรม สั่งให้ขุนนางทุกคนแนะนำผู้มีความสามารถ กำหนดลำดับชั้นยศ ดูแลผู้ยากไร้และเด็กกำพร้า และจัดการกับกิจการด้านบุคลากรที่ล่าช้า

ไม่นานหลังจากสุมาอี้เสียชีวิต จักรพรรดิโจฮองทรงแต่งตั้งสุมาสูให้ดำรงตำแหน่งมหาขุนพลผู้สงบทัพ (撫軍大將軍 ฝู่จฺวินต้าเจียงจฺวิน)[6] ในปลายปี ค.ศ. 251 เตงงายเจ้าเมืองเฉิงหยาง (城陽) ถวายฎีกาถึงราชสำนักโดยทูลว่าชนเผ่าซฺยงหนูภายใต้การปกครองของหลิว เป้าขึ้นมามีแข็งแกร่งมากเกินไป จึงเสนอวิธีการให้มอบตำแหน่งและบำเหน็จแก่ชนเผ่าซฺยงหนูภายใต้หลิว เป้า (劉豹) เพื่อแบ่งแยกและลดทอนความแข็งแกร่งลง จากนั้นจึงให้ชนเผ่าซฺยงหนูตั้งถิ่นฐานในที่ห่างไกลจากราษฎรชาวจีนฮั่น รวมถึงให้ความการศึกษาแก่ชนเผ่าซฺยงหนูในด้านวัฒนธรรมประเพณีแบบจีนฮั่น สุมาสูเห็นด้วยข้อเสนอนี้ของเตงงาย[7]

เมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 252 สุมาสูได้เลื่อนยศเป็นมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)[8] รวมถึงได้รับตำแหน่งเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) ทำให้สุมาสูมีอำนาจควบคุมทหารทั้งในและนอกราชวัง สุมาสูยังได้รับตำแหน่งเป็นผู้กำกับกิจการสำนักราชเลขาธิการ (錄尚書事 ลู่ช่างชูชื่อ)

ครั้งหนึ่งมีผู้เสนอกับสุมาสูให้แก้ไขกฎหมาย สุมาสูตอบว่า "กวีเคยสรรเสริญผู้ที่ 'ปฏิบัติตามหลักการของฟ้าและดูราวกับว่าไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตนเอง' ขนบธรรมเนียมและกฎหมายที่กำหนดขึ้นโดยบรรพชนแห่งสามราชวงศ์ควรจะปฏิบัติตาม หากไม่มีสงคราม ก็ไม่ควรเร่งปฏิรูป"

ยุทธการที่หับป๋า แก้

สุมาสูเป็นนักการเมืองและนักบริหารผู้มีความสามารถ แต่ก็ยังต้องจะพิสูจน์เกียรติคุณทางทหารของตนให้ได้โดยเร็ว ในช่วงปลายปี ค.ศ. 252 สุมาสูเปิดการโจมตีครั้งใหญ่ต่อง่อก๊กซึ่งซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งเพิ่งสวรรคต และจักรพรรดิองค์ปัจจุบันคือซุนเหลียงภายใต้การสำเร็จราชการแทนโดยจูกัดเก๊ก จูกัดเก๊กสามารถเอาชนะทัพของสุมาสูที่นำโดยสุมาเจียวได้ในการโจมตีครั้งใหญ่ในยุทธการที่ตังหิน แต่สุมาสูยังคงวางตัวได้ดีโดยการยอมรับความผิดพลาดอย่างถ่อมตน และเลื่อนขั้นให้กับขุนพลที่เคยคัดค้านการทำศึก ในปี ค.ศ. 253 หลังสุมาสูเอาชนะจูกัดเก๊ก[9] ในยุทธการครั้งใหญ่ สุมาสูจึงขึ้นมามีชื่อเสียงเลื่องลือ ในขณะที่ชื่อเสียงของจูกัดเก๊กตกต่ำลง (เนื่องจากจูกัดเก๊กไม่ยอมรับความผิดพลาด) และจูกัดเก๊กสิ้นอำนาจในเวลาไม่นาน[10] ในขณะที่อำนาจของสุมาสูกลับยิ่งมั่นคง

ปลดจักรพรรดิโจฮอง แก้

ในปี ค.ศ. 254 สุมาสูดำเนินการอย่างรุนแรงเพื่อรวบรวมอำนาจโดยใช้ราชทรัพย์ของจักรพรรดิโจฮอง ฝ่ายโจฮองลอบสมคบกับเสนาบดีลิฮอง (李豐 หลี่ เฟิง) สุมาสูระแวงว่าโจฮองและลิฮองกำลังวางแผนจะล้มล้างตน จึงเรียกลิฮองมาไต่ถาม ลิฮองไม่ยอมเผยสิ่งที่ตนทูลกับจักรพรรดิโจฮอง สุมาสูจึงฟาดลิฮองด้วยด้ามดาบจนเสียชีวิต[11] แล้วกล่าวหาลิฮองและสหายคือแฮเฮาเหียน (夏侯玄 เซี่ยโหว เสฺวียน) และเตียวอิบ (張緝 จาง จี) ในข้อหากบฏ[12] และสั่งให้ประหารชีวิตพวกเขาทั้งหมดรวมถึงครอบครัว[13] จากนั้นจึงบีบบังคับจักรพรรดิโจฮองให้ปลดมเหสีเตียวฮองเฮาที่เป็นบุตรสาวของเตียวอิบออกจากตำแหน่ง[14] การดำเนินการเหล่านี้ทำให้เหล่าขุนนางต่างหวาดกลัวและยอมสยบต่อสุมาสู จักรพรรดิโจโฉทรงกริ้วอย่างมากต่อการเสียชีิวิตของลิฮองและเตียวอิบ ภายหลังในปี ค.ศ. 254 ขุนนางคนสนิทจึงทูลเสนอแผนว่าเมื่อสุมาเจียวน้องชายของสุมาสูมาเยี่ยมพระราชวังก่อนจะไปประจำตำแหน่งป้องกันที่เตียงฮัน ให้จับตัวสุมาเจียวสังหารและยึดกองกำลังของสุมาเจียว จากนั้นจึงใช้กองกำลังนั้นเข้าโจมตีสุมาสู[15] โจฮองทรงรู้สึกวิตกจึงไม่ได้ทำให้ดำเนินตามแผน[16] แต่ข่าวยังคงรั่วไหลล่วงรู้ไปถึงสุมาสู สุมาสูจึงบังคับโจฮองให้สละราชบัลลังก์[17] แต่สุมาสูยังคงไว้ชีวิตโจฮองและตั้งให้กลับมามีฐานันดรศักดิ์เป็นเจอ๋อง (齊王 ฉีหวาง) ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์ดั้งเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ สุมาสูทูลแจ้งต่อกวยทายเฮาผู้เป็นพระมารดาบุญธรรมของโจฮองว่าตนตั้งใจจะตั้งโจกี๋พระอนุชาของจักรพรรดิโจผีผู้เป็นแพเสียอ๋อง (彭城王 เผิงเฉิงหวาง) ให้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ กวยทายเฮาโน้มน้าวสุมาสูว่าการทำเช่นนั้นไม่เหมาะสม เพราะโจกี๋เป็นพระปิตุลา (อา) ของโจยอยผู้เป็นพระสวามีของกวยทายเฮา การสืบราชบัลลังก์เช่นนี้จะทำให้โจยอยไร้ทายาท[18] สุมาสูจำต้องคล้อยตามความเห็นของกวยทายเฮา และตั้งให้โจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทนตามข้อเสนอของกวนทายเฮา[19] โจมอในเวลานั้นอายุเพียง 14 ปีแต่ก็มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีสติปัญญา กวนทายเฮาอาจเชื่อว่าโจมออาจมีโอกาสตอบโต้ตระกูลสุมาได้

ในรัชสมัยจักรพรรดิโจมอ แก้

กบฏฉิวฉุนครั้งที่สอง และการเสียชีวิต แก้

แม้ด้วยเจตจำนงของกวยทายเฮาและสติปัญญาของจักรพรรดิโจมอ แต่ก็สร้างผลกระทบเพียงเล็กน้อยในการพยายามหยุดยั้งกระแสของอำนาจที่เพิ่มขึ้นของตระกูลสุมา จากการที่สุมาสูปลดโจฮองจึงทำให้ในปี ค.ศ. 225 ขุนพลบู๊ขิวเขียมแม่ทัพประจำเมืองฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคือนครลู่อาน มณฑลอานฮุย) ทางตะวันออก พร้อมด้วยขุนพลบุนขิม (文欽 เหวิน ชิน) ก่อกบฏต่อตระกูลสุมา[20] แต่ก็ถูกกำลังทหารของสุมาสูปราบอย่างรวดเร็ว บู๊ขิวเขียมถูกสังหาร[21] ตระกูลของบู๊ขิวเขียมก็ถูกกวาดล้าง[22] บุนขิมและบุตรชายหนีไปเข้าด้วยง่อก๊ก[23]

อย่างไรก็ตาม การทัพนี้ส่งผลกระทบต่อสุมาสูอย่างมาก สุมาสูกำลังป่วยดวยโรคตาในช่วงเวลาที่บู๊ขิวเขียมและบุนขิมเริ่มก่อกบฏ และสุมาสูเพิ่งได้รับการผ่าตัดตา ในตอนแรกสุมาสูจึงไม่เต็มใจที่จะนำทัพด้วยตนเองและต้องให้สุมาหูผู้อานำทัพไปรบกับบู๊ขิวเขียมและบุนขิม[24] แต่ด้วยการโน้มร้าวของอองซก, เปาต้าน (傅嘏 ฟู่ กู้) และจงโฮย[25] สุมาสูจึงนำทัพด้วยตนเอง[26] ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อชัยชนะเหนือบู๊ขิวเขียม แต่ในระหว่างการจู่โจมครั้งหนึ่งของบุนเอ๋ง (文鴦 เหวิน ยาง) บุตรชายของบุนขิม สุมาสูวิตกกังวลอย่างมาก ถึงขั้นทำให้ตาที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดเกิดอาการกำเริบถลนออกจากเบ้า อาการป่วยของสุมาสูจึงทรุดลงอย่างหนักในเวลาไม่นาน ไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังปราบกบฏได้ สุมาสูก็เสียชีวิตที่ฮูโต๋ (許昌 สฺวี่ชาง; ปัจจุบันคือนครสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน) โดยสุมาเจียวน้องชายของสุมาสูรับช่วงอำนาจต่อ

ครอบครัว แก้

  • จักรพรรดินีจิ่งหฺวาย แห่งตระกูลเซี่ยโหวหรือแฮหัว (景懷皇后 夏侯氏 จ่ิ่งหฺวายหฺวางโฮ่ว เซี่ยโหวชื่อ, ค.ศ. 211 – 234) ชื่อตัว ฮุย (徽) บุตรสาวของแฮหัวซง
    • ซือหม่าชื่อ (司馬氏) แห่งตระกูลซือหม่าหรือสุมา บุตรสาวคนแรก
    • ซือหม่าชื่อ (司馬氏) แห่งตระกูลซือหม่าหรือสุมา บุตรสาวคนที่สอง
    • ซือหม่าชื่อ (司馬氏) แห่งตระกูลซือหม่าหรือสุมา บุตรสาวคนที่สาม
    • ซือหม่าชื่อ (司馬氏) แห่งตระกูลซือหม่าหรือสุมา บุตรสาวคนที่สี่
    • ซือหม่าชื่อ (司馬氏) แห่งตระกูลซือหม่าหรือสุมา บุตรสาวคนที่หก
  • จักรพรรดินีจิ่งเซี่ยน แห่งตระกูลหยางหรือเอียว (景獻皇后 羊氏 จิ่งเซี่ยนหฺวางโฮ่ว หยางชื่อ, ค.ศ. 214 – 278) ชื่อตัว ฮุยยฺหวี (徽瑜)
  • ฮูหยิน แห่งตระกูลอู๋หรืองอ (吴夫人 อู๋ฟูเหริน) บุตรสาวของอู๋ จื้อ

บุตรบุตรธรรม: สุมาฮิว บุตรชายคนที่สองของสุมาเจียว

บรรพบุรุษ แก้

ซือหม่า เลี่ยง
ซือหม่า จฺวิ้น (ค.ศ. 113–197)
สุมาหอง (ค.ศ. 149–219)
สุมาอี้ (ค.ศ. 179–251)
สุมาสู (ค.ศ. 208–255)
จาง วาง
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189–247)
ชานชื่อแห่งโห้ลาย

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. จื่อยฺเหวียนเป็นชื่อรองของสุมาสู

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Theobald, Ulrich (12 January 2012). "Chinese History - Sima Shi". Chinaknowledge - a universal guide for China studies. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
  2. 2.0 2.1 Declercq, Dominik (1998). "Chapter 5". Writing Against the State: Political Rhetorics in Third and Fourth Century China. BRILL. p. 176. ISBN 9004103767. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015. Hardly was this rebellion crushed than Sima Shi died (in March 255); and his brother Sima Zhao took command...

  3. On the day xinhai (March 23), Sima Shi died at Xuchang. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.

  4. (后知帝非魏之纯臣,而后既魏氏之甥,帝深忌之。青龙二年,遂以鸩崩,...) จิ้นชู เล่มที่ 31
  5. (是时司马懿方信任于明帝,未有不臣之迹,况其诸子乎!徒以魏甥之故猥鸩其妻,俱非事实,盖甚之之辞,不然师自以他故鸠之也,今不取。) จือจื้อทงเจี้ยนเข่าอี้ เล่มที่ 3

  6. The Emperor appointed his son, the wei jiangjun Sima Shi to be fujun da jiangjun and lu shang-shu shi. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  7. The taishou of Cheng-yang Dent Ai sent up his opinion: “The Rong and Di barbarians have the hearts of beasts. They have no conception of loyalty and friendship. When they are strong they invade, when they are weak they submit. Therefore, in the time of King Xuan of Zhou there was the incursion of the Xianyun; and the Han Emperor Gaozu suffered adversity under them at Pingcheng. Whenever the Xiongnu have become powerful, they have been a heavy worry to past dynasties. Since the shan-yu came to the interior of China, the barbarians have lost their leader, and lack a ruler to control their unity or disunity. At present the dignity of the shan-yu daily declines, while the power of the outer territory daily increases. We must take deep-seated precautions against the barbarians. I hear there are dissenters among Liu Bao’s horde. We may well utilize this dissension and divide his country in two, so that his power will be reduced. Chubei distinguished himself under the previous dynasty, but his son has not succeeded him in his work. We should distinguish this son by a prominent title and have him live in Yan-men. Cleave their territory and weaken their force, give them posthumous honors – this is the best plan for defense of the frontiers.” He further set forth how those of the barbarians who were living together with the Chinese people should be gradually segregated and made to live outside the Chinese people, so they would respect the teachings of modesty and shame, and to obstruct the way to wantonness and villainy. Sima Shi followed all these proposals. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  8. First month (Jan. 29 – Feb. 26). On the day guimao (Jan. 30) the fujun da jiangjun Sima Shi was appointed da jiangjun. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  9. Autumn, seventh month (August 12-September 9). Zhuge Ke retreated with his troops. The wounded and sick soldiers wandered on and dragged themselves along the roads, some stumbling to their deaths in ditches and holes, some being captured and made prisoners. Alive or dying, they all lamented grievously; high or low, they all wailed. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  10. Summons after summons came to him from the Emperor, and he then slowly returned with the troops. Thereafter the masses lost their hopes of him, and resentment and complaint arose. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  11. During the two years when he served as zhongshu ling, Li Feng was frequently given private audience by the Emperor, no one knowing what they said. Sima Shi knew they discussed him, asked Li Feng to an interview and questioned him. Li Feng would not tell him the truth. Sima Shi in anger struck him with the ring of his sword hilt, killing him. He then sent the corpse to the tingyu. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  12. In the end, Li Feng's son Li Tao, as well as Xiahou Xuan, Zhang Qi, etc. were arrested and all committed to the tingyu. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  13. On the day gengxu (March 27), Li Tao, Xiahou Xuan, Zhang Qi, Su Shuo, Yue Dun and Liu Xian were put to death, and their relatives to the third degree were all annihilated. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  14. Third month (April 5-May 3), the Empress Zhang was degraded. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  15. Ninth month (September 29-October 28). Sima Zhao came to the capital with his troops to visit the Emperor. The Emperor went to the terrace Pingluo Guan to see the troops march past. His attendants advised the Emperor to kill Sima Zhao when the latter came to take his leave, and seizing his troops, use them to repulse the Generalissimo. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  16. The Imperial rescript was already placed before him. But the Emperor was afraid and dared not issue it. Sima Zhao led his troops into the city, whereupon the Generalissimo Sima Shi arranged to depose the Emperor. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  17. On the day jiaxu (October 17), Sima Shi convened an assembly of officials in the name of the Empress Dowager, which he informed that the Emperor was conducting himself with unbounded license and with indecent intimacy toward singing-girls, and was not worthy to carry on the celestial line. None of the crowd of officials dared disagree with him. Thereupon he memorialized the Empress Dowager to take the Imperial seal from the Emperor and send him to Qi as a vassal prince. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  18. Sima Shi again sent a messenger requesting the Imperial Seal from the Empress Dowager. The Empress Dowager said, “The Prince of Pengcheng is my junior uncle. Now he is coming to mount the throne. Where will I stand? Furthermore, must Ming Huangdi become forever hairless? I am considering that the Duke of Gaogui xiang is the eldest grandson of Wen Huangdi and a son of Ming Huangdi's younger brother. According to the Rites, a son of the collateral branch can become an heir to the main branch. Let this be discussed in detail.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  19. On the day dingchou (October 20), Sima Shi convened another assembly of officials and showed them the Empress Dowager's command. It was then decided to fetch the Duke of Gaogui Xiang, Cao Mao, from Yuancheng. Cao Mao was a son of the Prince Ding of Donghai, Cao Lin (曹霖); At this time, he was aged fourteen. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  20. Spring, first month (January 25-February 23). Guanqiu Jian and Wen Qin, counterfeiting the command of the Empress Dowager, rose up in arms at Shouchun and issued throughout the provinces and prefectures a call to arms for the purpose of punishing Sima Shi. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  21. Guanqiu Jian reached Shenxian. His attendants and troops gradually left Guanqiu Jian and went away. Guanqiu Jian, without any companion except his younger brother Guanqiu Xiu, and his grandson Guanqiu Zhong (毌丘重), went to hide in the grass along the bank of the water. On the day jiachen, Zhang Shu (張屬), a man of Anfengjin, killed Guanqiu Jian and sent his decapitated head to the capital. Zhang Shu was enfeoffed as a Lord. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  22. Members of Guanqiu Jian's family were exterminated to the third degree. Partisans of Guanqiu Jian, more than seven hundred persons, were sent to prison. The shiyushi Du You (杜友) sat in judgment of them. He sentenced only the ringleaders, ten in all, and set the remainder free by memorializing the throne. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  23. Wen Qin returned to Xiang, because his solitary army, lacking reinforcements, could not defend itself, he wanted to return to Shouchun. Shouchun had already fallen, and so he fled to Wu. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  24. At that time Sima Shi had recently had a tumor removed from his eye, and the wound was serious. Some thought the generalissimo should not go in person, and that it would be best to send the taiyu Sima Fu to make resistance. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  25. Only Wang Su, the shangshu Fu Ji, and the zhongshu Zhong Hui, advised Sima Shi to go in person. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  26. Sima Shi hesitated and made no decision. Fu Jia said, “The troops of Huai and Chu are strong. Guanqiu Jian and the others, trusting to their strength, have come a long way to fight. Their keen edge cannot easily be encountered. Should the subordinate generals fight unsuccessfully and the tide be turned against you, then your cause will be ruined.” Sima Shi jumped up from his seat and said, “I shall go in spite of my ailment.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.

บรรณานุกรม แก้