สามก๊กจี่[1][2] หรือ จดหมายเหตุสามก๊ก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า ซานกั๋วจื้อ (จีน: 三國志; พินอิน: Sānguó zhì) เป็นตำราประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการที่เขียนโดยตันซิ่ว (陳壽 เฉิน โช่ว) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 มีเนื้อหาครอบคลุมยุคสมัยช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น (ป. ค.ศ. 184 – ค.ศ. 220) และยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220–280) ที่ตามมา ถือเป็นตำราแหล่งข้อมูลซึ่งเชื่อถือได้เกี่ยวกับประวัตศาสตร์ในยุคสมัยดังกล่าว การรวบรวมสามก๊กจี่เกิดขึ้นหลังการรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของราชวงศ์จิ้น โดยบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง สังคม และการทหารภายในรัฐที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน 3 รัฐคือวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊กภายในตำราชุดกันที่จัดหมวดหมู่ตามชีวประวัติของแต่ละบุคคล

สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ)
ชิ้นส่วนชีวประวัติเปาจิดจากสามก๊กจี่ ส่วนหนึ่งของต้นฉบับตุนหฺวาง
ผู้ประพันธ์ตันซิ่ว (เฉิน โช่ว)
ชื่อเรื่องต้นฉบับ三國志
ประเทศจีน
ภาษาภาษาจีนโบราณ
วันที่พิมพ์ทศวรรษ 280 หรือ 290
สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม三國
อักษรจีนตัวย่อ三国
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามTam quốc chí
ฮ้าน-โนม三國志
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
삼국지
ฮันจา
三國志
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต三国志
คีวจิไต三國志
การถอดเสียง
โรมาจิSangokushi

สามก๊กจี่เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการประพันธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก หรือ สามก๊กเอี้ยนหงี[2] (三國演義 ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนที่เขียนด้วยภาษาจีนสามัญ

จุดเริ่มต้นและโครงสร้าง

แก้

ฮั่นชูและสามก๊กจี่ร่วมกับฉื่อจี้ที่เป็นตำราประวัติศาสตร์ดั้งเดิมที่เขียนในยุคราชวงศ์ฮั่น รวมกันเป็นตำราสามชุดแรกในสารบบตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด แต่ละชุดผลงานได้เน้นย้ำถึงคุณภาพทางวรรณกรรมและประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวใหม่ที่กำหนดโดยซือหม่า เชียน สามก๊กจี่ประกอบด้วยม้วนหนังสือ 65 ม้วนที่แบ่งเป็นภาคใหญ่ ๆ เป็น 3 ภาค ภาคละ 1 รัฐ รวมทั้งชุดประกอบด้วยอักษรจีนประมาณ 360,000 ตัว ภาควุยก๊ก (魏書 เว่ย์ชู) มี 30 ม้วน ภาคจ๊กก๊ก (蜀書 ฉู่ชู) มี 15 ม้วน และภาคง่อก๊ก (吳書 อู๋ชู) มี 20 ม้วน แต่ละม้วนหนังสืออยู่ในรูปแบบบทชีวประวติหนึ่งบทหรือมากกว่าหนึ่งบท

ตันซิ่วที่เป็นผู้เขียนสามก๊กจี่เกิดในบริเวณที่เป็นนครหนานชง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน ซึ่งเวลานั้นอยู่ในรัฐจ๊กก๊ก หลังการพิชิตจ๊กก๊กของวุยก๊กในปี ค.ศ. 263 ตันซิ่วได้กลายมาเป็นนักประวัติศาสตร์หลวงในราชสำนักของราชวงศ์จิ้น และเริ่มเขียนตำราประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุคสามก๊ก หลังการพิชิตง่อก๊กโดยราชวงศ์จิ้นในปี ค.ศ. 280 งานเขียนของตันซิ่วก็ได้รับการยกย่องจากจาง หฺวา (張華) ผู้เป็นเสนาบดีอาวุโส

ก่อนยุคราชวงศ์จิ้น ทั้งรัฐวุยก๊กและง่อก๊กต่างก็ได้จัดทำตำราประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของตัวเองแล้ว ได้แก่ เว่ย์ชู (魏書) จัดทำโดยอองซิม (王沈 หวาง เฉิ่น) สฺวิน อี่ (荀顗) และรฺเหวี่ยน จี๋ (阮籍) และอู๋ชู (吳書) จัดทำโดยเหวย์ เจา (韋昭) หอกหยก (華覈 หฺวา เหอ) เซฺว อิ๋ง (薛瑩) โจว เจา (周昭) และเหลียง กว่าง (梁廣) นอกจากนี้ ยฺหวี ฮฺว่าน (魚豢) ยังได้รวบรวมตำราประวัติศาสตร์วุยก๊กเป็นการส่วนตัวชื่อว่าเว่ย์เลฺว่ (魏略) ตันซิ่วใช้ตำราเหล่านี้่เป็นพื้นฐานของสามก๊กจี่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐจ๊กก๊กไม่มีสำนักประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ ภาคจ๊กก๊กในสามก๊กจี่จึงรวบรวมโดยตัวตันซิ่วเองโดยอิงจากบันทึกส่วนตัวของตนเองก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเหตุการณ์ในจ๊กก๊กและแหล่งข้อมูลปฐมภูมิอื่น ๆ ที่เก็บรวบรวมไว้ เช่นงานเขียนของจูกัดเหลียงที่รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้[3]

สามก๊กจี่ใช้ปี ค.ศ. 220 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าเหี้ยนเต้จักรพรรดิลำดับสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ให้โจผี เป็นปีที่ราชวงศ์ของวุยก๊กก่อตั้งขึ้น สามก๊กจี่กล่าวถึงผู้ปกครองของวุยก๊กว่าเป็น "จักรพรรดิ" ส่วนผู้ปกครองของจ๊กก๊กและง่อก๊กเรียกว่า "เจ้านาย" หรือเรียกตามชื่อตัว

ช่วงเวลาของเนื้อหา

แก้

เนื่องจากสามก๊กจี่จัดให้มีรูปแบบชีวประวัติบุคคลมากกว่าจะเป็นบันทึกตามลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ การระบุช่วงเวลาของเนื้อหาทางประวัติศาสตร์จึงไม่ชัดเจนและไม่ได้รับความสำคัญ บางม้วนหนังสือให้ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับบรรพบรุษของบุคคลย้อนหลังไปหลายศตวรรษก่อนเนื้อหาหลัก ตัวอย่างเช่นบทชีวประวัติเล่าเอี๋ยนที่เริ่มด้วยการกล่าวถึงการที่บรรพบุรุษคือหลิว ยฺหวี (劉餘) ได้รับฐานันดรศักที่จิ้งหลิง (竟陵; ปัจจุบันคือนครเทียนเหมิน มณฑลหูเป่ย์) เมื่อประมาณ ค.ศ. 85[4] เหตุการณ์แรกได้รับการการอธิยายโดยละเอียดในสามก๊กจี่คือกบฏโพกผ้าเหลืองในปี ค.ศ. 184 บทชีวประวัติหลายบทกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างผ่าน ๆ แต่ก็ให้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นอย่างเรื่องการติดต่อสื่อสารและการเคลื่อนกำลังพลในระหว่างเหตุการณ์การก่อกบฏพบได้ในรูปแบบที่ไม่ต่อเนื่องในอย่างน้อยสี่ม้วนหนังสือ ได้แก่ บทชีวประวัติเทียหยก,[5] อิกิ๋ม,[6] เล่าปี่,[7] และซุนเกี๋ยน[8]

สามภาคของสามก๊กจี่สิ้นสุดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยส่วนหลักของภาควุยก๊ก (เว่ย์ชู) สิ้นสุดด้วยการสละราชบัลลังก์ของโจฮวนในปี ค.ศ. 265 ภาคจ๊กก๊ก (ฉู่ชู) สิ้นสุดด้วยการถึงแก่อสัญกรรมของเล่าเสี้ยนในปี ค.ศ. 271 และภาคง่อก๊ก (อู๋ชู) สิ้นสุดลงด้วยการถึงแก่อสัญกรรมของซุนโฮในปี ค.ศ. 284[9]

ตัวอย่างข้อคัดย่อหนึ่งที่แสดงลำดับเหตุการณ์มีดังนี้:

ในปีที่ 24 (ของศักราชเจี้ยนอัน) เจ้านายองค์แรกขึ้นเป็นอ๋องแห่งฮันต๋ง ตั้งให้ (กวน) อูเป็นขุนพลหน้า ในปีเดียวกัน (กวน) อูนำทหารเข้าโจมตีโจหยินที่อ้วน (เสีย) ท่านโจส่งอิกิ๋มไปช่วย (โจ) หยิน ในฤดูใบไม้ร่วง เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมฮั่นซุย (อิ) กิ๋มและทั้งเจ็ดทัพถูกน้ำท่วม[10]

เนื้อหา

แก้

ภาควุยก๊ก (魏書 เว่ย์ชู)

แก้
# ชื่อม้วน คำแปล หมายเหตุ
ม้วนที่ 1 武帝紀 จดหมายเหตุจักรพรรดิอู่ตี้ โจโฉ
ม้วนที่ 2 文帝紀 จดหมายเหตุจักรพรรดิเหวินตี้ โจผี
ม้วนที่ 3 明帝紀 จดหมายเหตุจักรพรรดิหมิงตี้ โจยอย
ม้วนที่ 4 三少帝紀 จดหมายเหตุสามจักรพรรดิน้อย โจฮอง, โจมอ, โจฮวน
ม้วนที่ 5 后妃傳 พระประวัติจักรพรรดินีและพระชายา เปียนซี, เอียนซี, กุยฮุย, มอซือ, กวยทายเฮา
ม้วนที่ 6 董二袁劉傳 ชีวประวัติตั๋ง (ต่ง), สองอ้วน (ยฺเหวียน) และเล่า (หลิว) ตั๋งโต๊ะ, อ้วนเสี้ยว, อ้วนสุด, เล่าเปียว
ม้วนที่ 7 呂布臧洪傳 ชีวประวัติลิโป้และจาง หง เตียวเมา, ตันเต๋ง
ม้วนที่ 8 二公孫陶四張傳 ชีวประวัติสองกองซุน (กงซุน), โต (เถา) และสี่เตียว (จาง) กองซุนจ้าน, โตเกี๋ยม, เตียวเอี๋ยง, กงซุน ตู้, เตียวเอี๋ยน, เตียวสิ้ว, เตียวฬ่อ
ม้วนที่ 9 諸夏侯曹傳 ชีวประวัติแฮหัว (เซี่ยโหว) และโจ (เฉา) แฮหัวตุ้น, ฮันโฮ, แฮหัวเอี๋ยน, โจหยิน, โจซุน, โจหอง, โจฮิว, โจจิ๋น, โจซอง, แฮหัวซง, แฮเฮาเหียน
ม้วนที่ 10 荀彧荀攸賈詡傳 ชีวประวัติซุนฮก, ซุนฮิว และกาเซี่ยง
ม้วนที่ 11 袁張涼國田王邴管傳 ชีวประวัติอ้วน (ยฺเหวียน), เตียว (จาง), เหลียง, กั๋ว, เตียน (เถียน), ออง (หวาง), ปิ่ง และกว่าน ยฺเหวียน ฮฺว่าน, จาง ฟ่าน, จาง เฉิง, เหลียง เม่า, กัว เยฺวียน, เตียนติ๋ว, หวาง ซิว, ปิ่ง ยฺเหวียน, กว่าน หนิง
ม้วนที่ 12 崔毛徐何邢司馬傳 ชีวประวัติซุย (ชุย), มอ (เหมา), ซิ (สฺวี), โฮ (เหอ), สิง และสุมา (ซือหม่า) ซุยตำ, มอกาย, สฺวี อี้, เหอ ขุย, สิง หยง, เป้า ซฺวิน, ซือหม่า จือ
ม้วนที่ 13 鍾繇華歆王朗傳 ชีวประวัติจงฮิว, ฮัวหิม และอองลอง จง ยฺวี่, อองซก
ม้วนที่ 14 程郭董劉蔣劉傳 ชีวประวัติเทีย (เฉิง), ตัง (ต่ง), กุย (กัว), เล่า (หลิว), เจียว (เจี่ยง) และเล่า (หลิว) เทียหยก, เฉิง เสี่ยว, กุยแก, ตังเจี๋ยว, เล่าหัว, เจียวเจ้, เล่าฮอง
ม้วนที่ 15 劉司馬梁張溫賈傳 ชีวประวัติเล่า (หลิว), สุมา (ซือหม่า), เหลียง, เตียว (จาง), เวิน และกา (เจี่ย) เล่าฮก, หลิว จิ้ง, ซือหมา หล่าง, เหลียง สี, เตียวกี๋, เตียวอิบ, เวิน ฮุย, กากุ๋ย
ม้วนที่ 16 任蘇杜鄭倉傳 ชีวประวัติยิม (เริ่น), โซ (ซู), โต (ตู้), เตง (เติ้ง) และชาง ยิมจุ๋น, ซู เจ๋อ, ตู้ จี, เจิ้ง หุน, ชาง ฉือ
ม้วนที่ 17 張樂于張徐傳 ชีวประวัติเตียว (จาง), งัก (เยว่), อิ (ยฺหวี), เตียว (จาง) และซิ (สฺวี) เตียวเลี้ยว, งักจิ้น, อิกิ๋ม, เตียวคับ, ซิหลง
ม้วนที่ 18 二李臧文呂許典二龐閻傳 ชีวประวัติสองลิ (หลี่), จง (จาง), บุน (เหวิน), ลิ (ลฺหวี่), เคา (สฺวี่), เตียน (เตี่ยน), สองบัง (ผาง) และเยียม (เหยียน) ลิเตียน, ลีถอง, จงป้า, บุนเพ่ง, ลิยอย, เคาทู, เตียนอุย, บังเต๊ก, ผาง ยฺวี่, เหยียน เวิน
ม้วนที่ 19 任城陳蕭王傳 ชีวประวัติอ๋องแห่งเริ่นเฉิง, เฉิน และเซียว โจเจียง, โจสิด, โจหิม
ม้วนที่ 20 武文世王公傳 ชีวประวัติผู้สูงศักดิ์ในสมัยของจักรพรรดิอู่ตี้และเหวินตี้ โจงั่ง, เฉา ชั่ว, เฉา ชง, โจกี๋, โจฮู, เฉา หลิน (อ๋องแห่งไพก๊ก), เฉา กุน, เฉา เสฺวียน, เฉา จฺวิ้น, เฉา จฺวี่, เฉา ก้าน, เฉา จื่อช่าง, เฉา เปียว, เฉา จื่อฉิน, เฉา จื่อเฉิง, เฉา จื๋อเจิ่ง, เฉา จื่อจิง, เฉา จฺวิน, เฉา จื่อจี๋, เฉา ฮุย, เฉา เม่า, เฉา เสีย, เฉา หรุย, เฉา เจี้ยน, เฉา หลิน (อ๋องแห่งตองไฮ), เฉา หลี่, เฉา ยง, เฉา ก้ง, เฉา เหยี่ยน
ม้วนที่ 21 王衛二劉傳 ชีวประวัติออง (หวาง), เว่ย์ และสองเล่า (หลิว) อองซัน, เว่ย์ จี้, เล่าอี้, เล่าเซียว, เปาต้าน
ม้วนที่ 22 桓二陳徐衛盧傳 ชีวประวัติฮวน (หฺวาน), สองตัน (เฉิน), ซิ (สฺวี), เว่ย์ และโล (หลู่) ฮวนกาย, ตันกุ๋น, ต้านท่าย, เฉิน เจี่ยว, สฺวี เซฺวียน, เว่ย์ เจิน, หลู ยฺวี่
ม้วนที่ 23 和常楊杜趙裴傳 ชีวประวัติโอ (เหอ), เสียง (ฉาง), เอียว (หยาง), โต (ตู้), เตียว (เจ้า) และหุย (เผย์) โอจับ, ฉาง หลิน, หยาง จฺวิ้น, โตสิบ, เจ้า เหยี่ยน, เผย์ เฉียน
ม้วนที่ 24 韓崔高孫王傳 ชีวประวัติหัน (หาน), ซุย (ชุย), โก (เกา), ซุน และออง (หวาง) หันค่าย, ชุย หลิน, โกหยิว, ซุนเล้, อองก๋วน
ม้วนที่ 25 辛毗楊阜高堂隆傳 ชีวประวัติซินผี, เอียวหู และเกาถาง หลง
ม้วนที่ 26 滿田牽郭傳 ชีวประวัติหมัน (หมาน), เตียว (เถียน), คัน (เชียน) และกุย (กัว) หมันทอง, เตียวอี้, เชียน เจา, กุยห้วย
ม้วนที่ 27 徐胡二王傳 ชีวประวัติซิ (สฺวี), เฮา (หู) และสองออง (หวาง) สฺวี เหมี่ยว, เฮาจิด, อองซอง, อองกี๋
ม้วนที่ 28 王毌丘諸葛鄧鍾傳 ชีวประวัติออง (หวาง), บู๊ขิว (กว้านชิว), เตง (เติ้ง) และจง หวาง หลิง, บู๊ขิวเขียม, จูกัดเอี๋ยน, เตงงาย, จงโฮย
ม้วนที่ 29 方技傳 ชีวประวัติฟางชื่อและช่างฝีมือ ฮัวโต๋, ตู้ ขุย, จู เจี้ยนผิง, โจว เซฺวียน, กวนลอ
ม้วนที่ 30 烏丸鮮卑東夷傳 ชีวประวัติชนเผ่าออหวน (อูหฺวาน), เซียนเปย์ และตงอี๋ ชนเผ่าออหวน, เซียนเปย์, พูยอ, โคกูรยอ, อกจอ, อี้โหลว, เยแม็ก, ซัมฮัน, วะ (วาจินเด็ง) และเชิงอรรถขนาดยาวในช่วงท้ายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับซีหรงหรือ 'คนทางตะวันตก' จากเว่ย์เลฺว่ หรือ "บันทึกสังเขปราชวงศ์วุย" ที่รวบรวมโดยยฺหวี่ ฮฺว่านในช่วงสองในสามของคริสต์ศตวรรษที่ 3

ภาคจ๊กก๊ก (蜀書 ฉู่ชู)

แก้
# ชื่อม้วน คำแปล หมายเหตุ
ม้วนที่ 31 劉二牧傳 ชีวประวัติสองเจ้ามณฑลเล่า (หลิว) เล่าเอี๋ยน, เล่าเจี้ยง
ม้วนที่ 32 先主傳 ชีวประวัติเจ้านายองค์แรก เล่าปี่
ม้วนที่ 33 後主傳 ชีวประวัติเจ้านายองค์หลัง เล่าเสี้ยน
ม้วนที่ 34 二主妃子傳 ชีวประวัติชายาและโอรสของสองเจ้านาย กำฮูหยิน, งอซี, เตียวซี (องค์แรก), เตียวซี (องค์หลัง), เล่าเอ๋ง, เล่าลี, เล่ายอย
ม้วนที่ 35 諸葛亮傳 ชีวประวัติจูกัดเหลียง จูเก่อ เฉียว, จูกัดเจี๋ยม, ตังควด
ม้วนที่ 36 關張馬黃趙傳 ชีวประวัติกวน (กวาน), เตียง (จาง), ม้า (หม่า), ฮอง (หฺวาง) และเตียว (เจ้า) กวนอู, เตียวหุย, ม้าเฉียว, ฮองตง, เตียวจูล่ง
ม้วนที่ 37 龐統法正傳 ชีวประวัติบังทองและหวดเจ้ง
ม้วนที่ 38 許麋孫簡伊秦傳 ชีวประวัติเคา (สฺวี่), บิ (หมี), ซุน, กัน (เจี่ยน), อี และจิน (ฉิน) เคาเจ้ง, บิต๊ก, บิฮอง, ซุนเขียน, กันหยง, อีเจี้ย, จินปิด
ม้วนที่ 39 董劉馬陳董呂傳 ชีวประวัติตั๋ง (ต่ง), เล่า (หลิว), ม้า (หม่า), ตัน (เฉิน), ตั๋ง (ต่ง) และลิ (ลฺหวี่) ตั๋งโห, เล่าป๋า, ม้าเลี้ยง, ม้าเจ๊ก, ตันจิ๋น, ตั๋งอุ๋น, เฉิน จือ, ฮุยโฮ, ลิหงี
ม้วนที่ 40 劉彭廖李劉魏楊傳 ชีวประวัติเล่า (หลิว), แพ (เผิง), เลียว (เลี่ยว), ลิ (หลี่), เล่า (หลิว), อุย (เว่ย์) และเอียว (หยาง) เล่าฮอง, แพเอี้ยว, เลี่ยว ลี่, ลิเงียม, เล่าตำ, อุยเอี๋ยน, เอียวหงี
ม้วนที่ 41 霍王向張楊費傳 ชีวประวัติฮัก (ฮั่ว), ออง (หวาง), เอี่ยง (เซี่ยง), เตียง (จาง), เอียว (หยาง) และบิ (เฟ่ย์) ฮักจุ้น, ฮั่ว อี้, อองเลี้ยน, เอี่ยงลอง, เฮียงทง, เตียวอี้, เอียวฮอง, บิสี
ม้วนที่ 42 杜周杜許孟來尹李譙郤傳 ชีวประวัติโต (ตู้), จิว (โจว), เตา (ตู้), เคา (สฺวี่), เบง (เมิ่ง), ไล (หลาย), อิน ('อิน), ลิ (หลี่), เจา (เฉียว) และขับ (ซี่) โตบี, โจว ฉฺวิน, จาง ยฺวี่, เตาเขง, เคาจู, หู เฉียน, เบงกอง, ไลบิน, อินเบก, ลิจวน, เจาจิ๋ว, ขับเจ้ง
ม้วนที่ 43 黃李呂馬王張傳 ชีวประวัติอุย (หฺวาง), ลิ (หลี่), ลิ (ลฺหวี่), ม้า (หม่า), ออง (หวาง) และเตียว (จาง) อุยก๋วน, ลิอิ๋น, ลิคี, ม้าตง, อองเป๋ง, เตียวหงี
ม้วนที่ 44 蔣琬費禕姜維傳 ชีวประวัติเจียวอ้วน, บิฮุย และเกียงอุย
ม้วนที่ 45 鄧張宗楊傳 ชีวประวัติเตง (เติ้ง), เตียว (จาง), จอง (จง) และเอียว (หยาง) เตงจี๋, เตียวเอ๊ก, จองอี้, เลียวฮัว, หยาง ซี่

ภาคง่อก๊ก (吳書 อู๋ชู)

แก้
# ชื่อม้วน คำแปล หมายเหตุ
ม้วนที่ 46 孫破虜討逆傳 ชีวประวัติซุนปราบชนเผ่าและซุนโจมตีกบฏ ซุนเกี๋ยน, ซุนเซ็ก
ม้วนที่ 47 吳主傳 ชีวประวัติเจ้านายแห่งง่อก ซุนกวน
ม้วนที่ 48 三嗣主傳 ชีวประวัติสามทายาท ซุนเหลียง, ซุนฮิว, ซุนโฮ (ซุน เฮ่า)
ม้วนที่ 49 劉繇太史慈士燮傳 ชีวประวัติเล่าอิ้ว, ไทสูจู้ และชื่อ เซี่ย ฉกหยง, หลิว จี
ม้วนที่ 50 妃嬪傳 ชีวประวัติชายาและท่านหญิง งอฮูหยิน, งอเก๋ง, เซี่ยฟูเหริน, ซีฮูหยิน, ปู้ เลี่ยนชือ, ฮองฮูหยิน, จักรพรรดินีจิ้งหฺวาย, พัวฮูหยิน, เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ย, จักรพรรดินีจู, จักรพรรดินีเหอ พระพันปีหลวง, เถิง ฟานหลาน
ม้วนที่ 51 宗室傳 ชีวประวัติผู้สูงศักดิ์ ซุนเจ้ง, ซุนยี่, ซุนเกียว, ซุน ฮฺว่าน, ซุน เปิน, ซุน ฝู่, ซุนเซียง, ซุนของ, ซุนเสียว, ซุนหวน
ม้วนที่ 52 張顧諸葛步傳 ชีวประวัติเตียว (จาง), โกะ (กู้), จูกัด (จูเก่อ) และเปา (ปู้) เตียวเจียว, จาง เฉิง, เตียวหิว, โกะหยง, กู้ เช่า, กู้ ถาน, กู้ เฉิง, จูกัดกิ๋น, เปาจิด
ม้วนที่ 53 張嚴程闞薛傳 ชีวประวัติเตียว (จาง), เหยียม (เหยียน), เทีย (เฉิง), งำ (ค่าน), และซี (เซฺว) เตียวเหียน, เหยียมจุ้น, เทียเป๋ง, งำเต๊ก, ซีหอง
ม้วนที่ 54 周瑜魯肅呂蒙傳 ชีวประวัติจิวยี่, โลซก และลิบอง
ม้วนที่ 55 程黃韓蔣周陳董甘淩徐潘丁傳 ชีวประวัติเทีย (เฉิง), อุย (หฺวาง), ฮัน (หาน), เจียว (เจี่ยง), จิว (โจว), ตัน (เฉิน), ตัง (ต่ง), กำ (กาน), เลง (หลิง), ชี (สวี), พัว (พาน) และเตง (ติง) เทียเภา, อุยกาย, ฮันต๋ง, เจียวขิม, จิวท่าย, ตันบู, ตังสิด, กำเหลง, เล่งทอง, ชีเซ่ง, พัวเจี้ยง, เตงฮอง
ม้วนที่ 56 朱治朱然呂範朱桓傳 ชีวประวัติจูตี, จูเหียน, ลิห้อม และจูหวน ชือ จี, จูอี้
ม้วนที่ 57 虞陸張駱陸吾朱傳 ชีวประวัติงี (ยฺหวี), ลก (ลู่), เตียว (จาง), เล่ง (ลั่ว), ลก (ลู่), งอ (อู๋) และจู งีห้วน, ลกเจ๊ก, เตียวอุ๋น, เล่งทอง, ลู่ เม่า, งอซัน, จู จฺวี้
ม้วนที่ 58 陸遜傳 ชีวประวัติลกซุน ลกข้อง
ม้วนที่ 59 吳主五子傳 ชีวประวัติบุตรชายห้าคนของเจ้าแห่งง่อ ซุนเต๋ง, ซุน ลฺวี่, ซุนโฮ (ซุน เหอ), ซุน ป้า, ซุน เฟิ่น
ม้วนที่ 60 賀全呂周鍾離傳 ชีวประวัติเฮ่อ, จวน (เฉฺวียน), ลิ (ลฺหวี่), จิว (โจว) และจงหลี เฮ่อ ฉี, จวนจ๋อง, ลิต้าย, จิวหอง, จงหลี มู่
ม้วนที่ 61 潘濬陸凱傳 ชีวประวัติพัวโยยและลู่ ข่าย
ม้วนที่ 62 是儀胡綜傳 ชีวประวัติชื่อ อี๋และหู จง
ม้วนที่ 63 吳範劉惇趙達傳 ชีวประวัติอู๋ ฟาน, หลิว ตุน และเจ้า ต๋า
ม้วนที่ 64 諸葛滕二孫濮陽傳 ชีวประวัติจูกัด (จูเก่อ), เตง (เถิง), สองซุน และเอียง (ผูหยาง) จูกัดเก๊ก, เตงอิ๋น, ซุนจุ๋น, ซุนหลิม, เอียงเหียง
ม้วนที่ 65 王樓賀韋華傳 ชีวประวัติออง (หวาง), โหลว, เฮ่อ, อุย (เหวย์) และหอก (หฺวา) หวาง ฟาน, โหลว เสฺวียน, เฮ่อ เช่า, เหวย์ เจา, หอกหยก

อรรถาธิบาย

แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เผย์ ซงจือ (ค.ศ. 372–451) นักประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์หลิวซ่ง เขียนอรรถาธิบายให้สามก๊กจี่ของตันซิ่วโดยใช้แหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่หลากหลาย ขยายรายละเอียดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของสามก๊กจี่ต้นฉบับ งานเขียนอรรถาธิบายเสร็จในปี ค.ศ. 429 และกลายเป็นหนึ่งในตำราประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของยุคสามก๊กในชื่อว่าซานกั๋วจื้อจู้ (三国志注; จู้ มีความหมายว่า "หมายเหตุ") บันทึกบรรณานุกรมระบุว่าจนถึงยุคราชวงศ์หลิวซ่งที่เผย์ ซงจือมีชีวิตอยู่ สามภาคของสามก๊กจี่ของตันซิ่วได้รับการเผยแพร่ในฐานะงานเขียนเดี่ยว ๆ สำหรับแต่ละภาค มากกว่าจะเป็นงานเขียนชุดเดียวกัน[11]

เผย์ ซงจือรวบรวมบันทึกอื่น ๆ เพื่อเพิ่มข้อมูลที่ตนเห็นว่าควรเพิ่ม เผย์ ซงจือให้คำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์บางส่วนและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในสามก๊กจี่ต้นฉบับ ทั้งยังรวมบันทึกหลายกระแสที่อธิบายถึงเหตุการณ์เดียวกัน บางครั้งบันทึกที่เผย์ ซงจือเพิ่มเข้าไปก็มีความขัดแย้งกันเอง แต่เผย์ ซงจือก็รวมไว้ด้วยกันทั้งหมดเพราะไม่สามารถตัดสินว่าบันทึกไหนถูกต้อง หากเผย์ ซงจือเพิ่มบันทึกใด ๆ ที่น่าจะไม่ถูกต้อง เผย์ ซงจือก็จะเขียนบันทึกหรือเสนอจุดที่ควรแก้ไข ในส่วนของเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ เผย์ ซงจือยังได้เพิ่มความคิดเห็นของตนเอง เช่นเดียวกับที่ตันซิ่วทำในสามก๊กจี่ต้นฉบับ[12] ที่สำคัญคือเผย์ ซงจืออ้างอิงแหล่งข้อมูลในเกือบทุกกรณี

สิ่งตกทอด

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ("หนังสือสามก๊กไม่ใช่เปนพงศาวดารสามัญ จีนเรียกว่า “สามก๊กจี่” แปลว่าจดหมายเหตุเรื่องสามก๊ก") "ตำนานหนังสือสามก๊ก: ๑ ว่าด้วยหนังสือสามก๊ก". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 2, 2024.
  2. 2.0 2.1 "สามก๊กจี่และสามก๊กเอี้ยนหงี". สืบค้นเมื่อ August 2, 2024.
  3. Records of the Three Kingdoms, pp. i–ii.
  4. สามก๊กจี่ เล่มที่ 31.
  5. สามก๊กจี่ เล่มที่ 14.
  6. สามก๊กจี่ เล่มที่ 17.
  7. สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  8. สามก๊กจี่ เล่มที่ 46.
  9. สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  10. (二十四年,先主為漢中王,拜羽為前將軍,假節鉞。是歲,羽率眾攻曹仁於樊。曹公遣于禁助仁。秋,大霖雨,漢水汎溢,禁所督七軍皆沒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  11. Records of the Three Kingdoms, p. ii.
  12. de Crespigny, Rafe (2004). "Chapter Nine: An Essay on the Sources for the History of Wu 170-230" (PDF). Generals of the South: The foundation and early history of the Three Kingdoms state of Wu (Internet ed.). Canberra: Faculty of Asian Studies, The Australian National University. p. 2. ISBN 978-0731509010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2018. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.

บรรณานุกรม

แก้
  • Chen Shou (1977) [429]. Pei Songzhi (บ.ก.). Annotated Records of the Three Kingdoms 三國志注. Taipei: Dingwen Printing.
  • de Bary, WM. Theodore (2001), Sources of Japanese Tradition, Columbia University Press
  • Cutter, Robert Joe (2015). "San guo zhi" 三國志. ใน Chennault, Cynthia L.; Knapp, Keith N.; Berkowitz, Alan J.; Dien, Albert E. (บ.ก.). Early Medieval Chinese Texts: A Bibliographical Guide. Berkeley, CA: Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley. pp. 250–57. ISBN 978-1-55729-109-7.
  • Three Kingdoms: A Historical Novel. แปลโดย Roberts, Moss. University of California Press. 1991. ISBN 0-520-22503-1.
  • Zhang, Xiuping; และคณะ (1993). 100 Books That Influenced China: Sanguo Zhi (ภาษาจีน). Nanning: Guangxi People's Press. ISBN 9787219023396.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้