หวาง หลิง (จีน: 王淩; พินอิน: Wáng Líng; ค.ศ. 172—15 มิถุนายน ค.ศ. 251)[a] ชื่อรอง เยี่ยน-ยฺหวิน (จีน: 彥雲; พินอิน: Yànyún) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

หวาง หลิง
王淩
เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
28 มกราคม ค.ศ. 250 (250) – 15 มิถุนายน ค.ศ. 251 (251)
กษัตริย์โจฮอง
ก่อนหน้าเจียวเจ้
ถัดไปสุมาหู
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง)
ดำรงตำแหน่ง
ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 248 (248) – 28 มกราคม ค.ศ. 250 (250)
กษัตริย์โจฮอง
ก่อนหน้าโกหยิว
ถัดไปซุนเล้
ขุนพลทหารม้าและรถรบ
(車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม ค.ศ. 241 (241) – ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 248 (248)
กษัตริย์โจฮอง
ก่อนหน้าอุยก๋วน
ถัดไปกุยห้วย
ขุนพลโจมตีภาคตะวันออก
(征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 240 (240) – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 241 (241)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 172
อำเภอฉี มณฑลชานซี
เสียชีวิต15 มิถุนายน ค.ศ. 251[a]
บุตร
  • หวาง กว่าง
  • หวาง เฟย์เซียว
  • หวาง จินหู่
  • หวาง หมิงชาน
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองเยี่ยน-ยฺหวิน (彥雲)
บรรดาศักดิ์หนานเซียงโหว (南鄉侯)

ประวัติและการรับราชการช่วงต้น

แก้

ครอบครัวของหวาง หลิงหลบหนีไปอยู่ชนบทหลังอ้องอุ้น (王允 หวาง ยฺหวิ่น) อาของหวาง หลิงถูกประหารชีวิตในปี ค.ศ. 192 ฐานยุยงลิโป้ให้สังหารขุนศึกตั๋งโต๊ะ ต่อมาหวาง หลิงได้รับการเสนอชื่อเซี่ยนเหลียน (孝廉) ซึ่งเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อที่สำคัญสำหรับการพิจารณาแต่งตั้งให้รับราชการพลเรือน และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองของเมืองจงชาน (中山太守 จงชานไท่โฉ่ว) การทำงานรับราชการเป็นอย่างดีทำให้อัครมหาเสนาบดีโจโฉสังเกตเห็น หวาง หลิงจึงได้ย้ายมารับราชการในสำนักของโจโฉ

การรับราชการในวุยก๊ก

แก้

ในทัพโจโฉ หวาง หลิงเข้าร่วมในยุทธการที่รบกับง่อก๊กหลายครั้ง ช่วงที่หวาง หลิงดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว ได้โจมตีทัพของซุนกวนตามบัญชาของเตียวเลี้ยว ผลงานในการศึกทำให้หวาง หลิงได้เลื่อนยศเป็นขุนพลสถาปนายุทธ (建武將軍 เจี้ยนอู่เจียงจฺวิน) ในยุทธการที่รบกับง่อก๊กอีกครั้งหนึ่ง หวาง หลิงได้ช่วยเหลือขุนพลโจฮิวที่ถูกปิดล้อม หวาง หลิงจึงเลื่อนยศเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) หลังได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ต่อจวนจ๋องขุนพลง่อก๊ก

การก่อกบฏ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 พระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าหวาง หลิงฆ่าตัวตายในวันเจี่ยอิ๋น (甲寅) ในเดือน 5 ของศักราชเจียผิงปีที่ 3 ในรัชสมัยของโจฮอง[1] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 251 ในปฏิทินกริโกเรียน

อ้างอิง

แก้
  1. ([嘉平三年]五月甲寅,淩自殺。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.

บรรณานุกรม

แก้