สุมาหู
สุมาหู[5][6][7][8] (ค.ศ. 180 – 3 เมษายน ค.ศ. 272[b]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า ฝู (จีน: 司馬孚; พินอิน: Sīmǎ Fú) ชื่อรอง ชูต๋า (จีน: 叔達; พินอิน: Shūdá) เป็นที่รู้จักในสมัญญานามว่า อ๋องเซี่ยนแห่งอันเป๋ง (安平獻王 อานผิงเซี่ยนหวาง) เป็นเจ้าชายและรัฐบุรุษของราชวงศ์จิ้นตะวันตกของจีน[2] เดิมรับราชการเป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก ก่อนที่สุมาเอี๋ยนผู้เป็นหลานชายจะชิงราชบัลลังก์ของวุยก๊กในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 และก่อตั้งราชวงศ์จิ้น ซือหม่า กวาง (司馬光) ผู้เขียนจือจื้อทงเจี้ยน (資治通鑑) อ้างว่าตนเป็นผู้สืบเชื้อสายของสุมาหู
สุมาหู (ซือหม่า ฝู) 司馬孚 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อ๋องแห่งอันเป๋ง (安平王 อานผิงหวาง) | |||||||||
ดำรงฐานันดรศักดิ์ | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 – 3 เมษายน ค.ศ. 272 | ||||||||
ถัดไป | ซือหม่า หลง (司馬隆)[a] | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 180[2] อำเภอเวิน มณฑลเหอหนาน | ||||||||
สวรรคต | 3 เมษายน ค.ศ. 272 (92 พรรษา)[2] | ||||||||
คู่อภิเษก | หลี่ชื่อ (李氏; พระชายา)[3] ฟ่านชื่อ (范氏; อนุภรรยา)[4] | ||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชตระกูลสุมา | ||||||||
พระราชบิดา | สุมาหอง |
พระประวัติ
แก้สุมาหูเป็นบุตรชายคนที่ 3 จากบุตรชายทั้งหมด 8 คนของสุมาหอง (司馬防 ซือหม่า ฝาง) ผู้รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองเกงเตียว (京兆尹 จิงเจ้าอิ่น) ในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ป. ค.ศ. 184–220) สุมาหูเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ที่อ่านหนังสือมาก มีความสามารถสูงในฐานะข้าราชการ และใจกว้างต่อผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ สุมาหูยังเป็นเพื่อนสนิทของโจสิดด้วย
สุมาอี้พี่ชายคนที่ 2 ของสุมาหูขึ้นมามีอำนาจในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220–280) ภายหลังการสวรรคตของโจยอย สุมาอี้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของวุยก๊กหลังยึดอำนาจได้ในการก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 หลังสุมาอี้เสียชีวิตในเดือนกันยายน ค.ศ. 251 สุมาสูและสุมาเจียวบุตรชายของสุมาอี้ได้สืบทอดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และผู้นำโดยพฤตินัยของวุยก๊ก ในช่วงที่สุมาหูรับราชการกับวุยก๊ก สุมาหูได้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ในรัชสมัยโจยอย, เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) และราชครู (太傅 ไท่ฟู่)[c] ในรัชสมัยโจฮอง, โจมอ และโจฮวน สุมาหูยังทำหน้าที่เป็นแม่ทัพในบางยุทธการที่รบกับจ๊กก๊กและง่อก๊กซึ่งเป็นสองรัฐอริของวุยก๊ก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนบุตรชายของสุมาเจียวบังคับโจฮวนจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้ตน จึงเป็นการสิ้นสุดสมัยปกครองของวุยก๊ก สุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้นและขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรก
สุมาหูเป็นที่รู้จักในเรื่องความจงรักภักดีต่อวุยก๊ก แม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยราชวงศ์จิ้นแล้วก็ตาม[d] ในช่วงที่สุมาสูและสุมาเจียวดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก ทั้งสองพี่น้องถือว่าสุมาหูเป็นผู้อาวุโส และอนุญาตให้สุมาสูแสดงความภักดีต่อวุยก๊ก[13] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 260 เมื่อโจมอจักรพรรดิแห่งวุยก๊กถูกปลงพระชนม์ในระหว่างการพยายามก่อรัฐประหารเพื่อจะยึดอำนาจคืนจากสุมาเจียว สุมาสูเป็นหนึ่งในข้าราชการวุยก๊กเพียงไม่กี่คนที่ร้องไห้ในงานพระบรมศพของโจมอ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 หลังสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้นและขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์พระราชทานฐานันดรศักดิ์ให้กับพระญาติของพระองค์ รวมถึงสุมาหูผู้เป็นปู่น้อยซึ่งสุมาเอี๋ยนทรงแต่งตั้งให้เป็นอ๋องแห่งอันเป๋ง (安平王 อานผิงหวาง) สุมาหูตอบสนองต่อการแต่งตั้งนี้โดยกล่าวว่า "ข้าเป็นและยังคงเป็นข้าราชบริพารของวุยโดยเสมอมา"[e] สุมาหูยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดี (太宰 ไท่ไจ่) ในราชสำนักจิ้นตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[f] จนกระทั่งสุมาหูสิ้นพระชนม์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 272 ขณะมีพระชนมายุ 92 พรรษา พระองค์มีพระโอรสอย่างน้อย 9 องค์และพระนัดดาอย่างน้อย 14 องค์[15][g]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ซือหม่า หลงเป็นน้องชายของซือหม่า ฉง (司馬崇) ทั้งสองเป็นบุตรชายของซือหม่า ยง (司馬邕) เนื่องจากทั้งซือหม่า ยงและซือหม่าฉงเสียชีวิตก่อนสุมาหู ซือหม่า หลงจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอ๋องแห่งอันเป๋งในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 273[1]
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าสุมาสูสิ้นพระชนม์ในวันเหรินเฉิน (壬辰) ในเดือน 8 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 8 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน เทียบได้กับวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 272 ในปฏิทินจูเลียน[9]
- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 4 บันทึกว่าสุมาหูได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีมหาดไทยในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.251[10] และได้รับการแต่งตั้งเป็นราชครูในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 256[11] สุมาอี้เคยดำรงตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการรับราชการ
- ↑ อย่างไรก็ตาม สุมาหูมีส่วนร่วมในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงและได้รับบำเหร็จจากการมีส่วนร่วมนี้[12]
- ↑ นี่อาจถือเป็นการแสร้งถ่อมตัวของสุมาสู เพราะในโอกาสเดียวกันนี้ บุตรชายของสุมาหูอันได้แก่สุมาปอง (司馬望 ซือหม่า ว่าง) ผู้เป็นอ๋องแห่งงีหยง (義陽王 อี้หยางหวาง), ซือหมา ฝู่ (司馬輔) ผู้เป็นอ๋องแห่งปุดไฮ (勃海王 ปั๋วไห่หวาง), ซือหมา หฺว่าง (司馬晃) ผู้เป็นอ๋องแห่งแห้ฝือ (下邳王 เซี่ยพีหวาง), ซือหม่า กุย (司馬瓌) ผู้เป็นอ๋องแห่งไท่หยวน (太原王 ไท่-ยฺเหวียนหวาง), ซือหม่า กุย (司馬珪) ผู้เป็นอ๋องแห่งเกาหยาง (高陽王 เกาหยางหวาง), ซือหม่า เหิง (司馬衡) ผู้เป็นอ๋องแห่งเสียงสัน (常山王 ฉางชานหวาง), ซือหมา จิ่ง (司馬景) ผู้เป็นอ๋องแห่งไพก๊ก (沛王 เพ่ย์หวาง) และบุตรชาย 2 คนของสุมาปองคือซือหม่า หง (司馬洪; บิดาของซือหม่า เวย์ 司馬威) และซือหม่า เม่า (司馬楙) ต่างก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอ๋อง ตระกูลสาขาของสุมาหูเป็นตระกูลสาขาเดียวที่มีอ๋อง 10 พระองค์ใน 3 รุ่น
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าสุมาหูได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีในวันอี่ไห่ (乙亥) ในเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน เทียบได้กับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ในปฏิทินจูเลียน วันนี้ยังเป็นวันที่ 8 นับจากวันที่สุมาหูได้รับการแต่งตั้งเป็นอ๋องแห่งอันเป๋งซึ่งคือวันติงเหม่า (丁卯) ของเดือนเดียวกัน และเป็นวันที่ 9 หลังจากสุมาเอี๋ยนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิซึ่งคือวันปิ่งอิ๋น (丙寅) ในเดือนเดียวกัน[14]
- ↑ เนื่องจากสุมาสูเสียชีวิตในวัยชรา สุมาสูจึงมีอายุยืนกว่าบุตรชายและหลานชายบางคน
อ้างอิง
แก้- ↑ (邕字子魁。初为世子,拜步兵校尉、侍中。先孚卒,追赠辅国将军,谥曰贞。邕子崇为世孙,又早夭。泰始九年,立崇弟平阳亭侯隆为安平王。) จิ้นชู เล่มที่ 37; ([泰始九年]二月癸巳,....。立安平亭侯隆为安平王。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 de Crespigny (2007), p. 746.
- ↑ (安平献王李妃...) จิ้นชู เล่มที่ 20.
- ↑ ทงเตี่ยน เล่มที่ 82.
- ↑ ("โจผีกับขุนนางทั้งปวงร้องไห้รักอื้ออึงไป จึงมีคนหนึ่งร้องห้ามว่า อย่าเพ่อร้องไห้อื้ออึงไป กลั้นความโศกเสียก่อนเถิดจะได้คิดการใหญ่ คนทั้งปวงแลดูก็เห็นสุมาหู จึงถามว่าเหตุใดท่านจึงห้ามฉนี้ ฝ่ายสุมาหูจึงว่า เจ้านายเราหาไม่แล้วเกรงข้าศึกจะกำเริบ ขอให้ยกโจผีขึ้นเปนเจ้าว่าราชการ ราษฎรทั้งปวงจะได้วางใจเพราะมีเจ้านายแล้ว อนึ่งข้าศึกก็ไม่กำเริบ") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 27, 2025.
- ↑ ("สุมาอี้ออกมาแล้วจึงปรึกษาด้วยเจียวเจ้กับสุมาหูซึ่งเปนคนสนิธของตัว เข้าชื่อด้วยกันทำเรื่องราวใช้ให้ห้องหวุนตามออกไปถวายพระเจ้าโจฮอง") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 27, 2025.
- ↑ ("อันตัวข้าพเจ้าหาลืมคำสั่งพระบิดาของพระองค์ไม่ ข้าพเจ้ากับเจียวเจ้สุมาหูรำลึกถึงคุณพระบิดาของพระองค์ซึ่งชุบเลี้ยงมาแต่ก่อน ") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 27, 2025.
- ↑ ("สุมาหูซึ่งเปนขุนนางผู้ใหญ่เห็นดังนั้นก็ร้องไห้คำนับศพพระเจ้าโจมอแล้วว่า ซึ่งผู้ร้ายบังอาจล่วงเข้ามาทำอันตรายพระองค์นั้น โทษข้าพเจ้าก็ผิดอยู่เปนอันมาก") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 27, 2025.
- ↑ ([泰始八年二月]壬辰,太宰、安平王孚薨。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ ([嘉平三年]秋七月壬戌,....辛未,以司空司马孚为太尉。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
- ↑ ([甘露元年]八月...癸酉,以太尉司马孚为太傅。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
- ↑ (及宣帝诛爽,孚与景帝屯司马门,以功进爵长社县侯,加侍中。) จิ้นชู เล่มที่ 37.
- ↑ (景文二帝以孚属尊,不敢逼。) จิ้นชู เล่มที่ 7
- ↑ ([泰始元年十二月]乙亥,以安平王孚为太宰...) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ จิ้นชู เล่มที่ 37.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.