กุยห้วย หรือ โกฉุย หรือ กวยหวย (เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 255)[a] หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า กัว ไหฺว (จีน: 郭淮) ชื่อรอง ปั๋วจี้ (伯濟) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกภายใต้ขุนศึกโจโฉ อยู่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนศึกของโจโฉคือแฮหัวเอี๋ยนและเตียวคับ ในยุคสามก๊ก กุยห้วยรับราชการวุยก๊ก รัฐที่ก่อตั้งโดยโจผีบุตรชายของโจโฉ และมีชีวิตในรัชสมัยของจักรพรรดิวุยก๊ก 4 พระองค์ (โจผี โจยอย โจฮอง และโจมอ) ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 220 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 255 กุยห้วยปกครองและป้องกันชายแดนด้านตะวันตกของที่มณฑลเองจิ๋วและมณฑลเลียงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลกานซู่ มณฑลส่านซี เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย มณฑลชิงไห่ และเขตปกครองตนเองมองโกเลียในในปัจจุบัน) ในช่วงเวลานั้นกุยห้วยมีบทบาทในการต้านการบุกของจ๊กก๊กอันเป็นรัฐข้าศึกหลายครั้ง และมีบทบาทในการปราบปรามกบฏของชนเผ่าเกี๋ยง เผ่าตี และชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอื่น[2]

กุยห้วย (กัว ไหฺว)
郭淮
ขุนพลทหารรถศึกและทหารม้า (車騎將軍)
ดำรงตำแหน่ง
มิถุนายนหรือกรกฎาคม ค.ศ. 250 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 255
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ
ก่อนหน้าหวัง หลิง
ขุนพลโจมตีตะวันตก (征西將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – มิถุนายนหรือกรกฎาคม ค.ศ. 250
กษัตริย์โจฮอง
ขุนพลทัพหน้า (前將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 240 (240) – ค.ศ. 249 (249)
กษัตริย์โจฮอง
ขุนพลซ้าย (左將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 240
กษัตริย์โจฮอง
ข้าหลวงมณฑลเองจิ๋ว (雍州刺史)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจผี / โจยอย / โจฮอง / โจมอ
นายพัน (司馬)
ดำรงตำแหน่ง
215–220
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
อำเภอหยางฉฺวี่ มณฑลชานซี
เสียชีวิต23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255[a]
คู่สมรสน้องสาวของหวัง หลิง
บุตร
  • กัว ถ่ง
  • บุตรชายอีกอย่างน้อย 4 คน
บุพการี
  • กัว ยฺวิ่น (บิดา)
อาชีพขุนพล
ชื่อรองปั๋วจี้ (伯濟)
สมัญญานามเจินโหฺว (貞侯)
บรรดาศักดิ์หยางชฺวีโหฺว (陽曲侯)

ชีวประวัติช่วงต้น แก้

กุยห้วยเป็๋นชาวอำเภอหยางฉฺวี่ (陽曲縣 หยางฉฺวี่เซี่ยน) เมืองไท่ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอหยางฉฺวี่ มณฑลชานซี[3] ปู่ของกุยห้วยชื่อ กัว เฉฺวียน (郭全) รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งเสนาบดีการเกษตร (大司農 ต้าซือหนง) บิดาของกุยห้วยชื่อ กัว ยฺวิ่น (郭縕) รับราชการเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเยี่ยนเหมิน (ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองซินโจว มณฑลชานซี) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4]

กุยห้วยเริ่มรับราชการในช่วงกลางของรัชศกเจี้ยนอัน (ค.ศ. 196–220) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ได้รับการเสนอชื่อเป็นเซี่ยวเหลียน (ผู้สมัครเข้ารับราชการขุนนางฝ่ายพลเรือน) ต่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยในเมืองเพงงวน (ผิงยฺเหวียน)[5]

รับใช้โจโฉ แก้

เมื่อโจผีดำรงตำแหน่งขุนพลองครักษ์ห้าตำแหน่ง (五官中郎將; อู่กวันจงหลางเจี้ยง) ระหว่างปี ค.ศ. 211 ถึง ค.ศ. 220 ได้รับกุยห้วยมาเป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักบังคับกฎหมายที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของโจผี ภายหลังกุยห้วยได้รับตำแหน่งเป็นเสมียนในสำนักกิจการทหารที่ขึ้นตรงต่ออัครมหาเสนาบดี[6] ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยโจโฉบิดาของโจผี ขุนศึกผู้กุมอำนาจในราชสำนักฮั่นและควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ในฐานะจักรพรรดิหุ่นเชิดตั้งแต่ ค.ศ. 196[7]

ในปี ค.ศ. 215[8] กุยห้วยติดตามโจโฉไปร่วมในการรบกับขุนศึกเตียวฬ่อในเมืองฮันต๋ง หลังปราบเตียวฬ่อและยึดเมืองฮันต๋งได้ โจโฉมอบหมายให้ขุนพลแฮหัวเอี๋ยนอยู่รักษาฮันต๋งเพื่อป้องกันการบุกของขุนศึกเล่าปี่ที่อยู่ที่มณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ที่อยู่ใกล้เคียง กุยห้วยยังคงอยู่ที่ฮันต๋งด้วยเช่นกัน และทำหน้าที่เป็นนายพัน (司馬; ซื่อหม่า) ภายใต้บังคับบัญชาของแฮหัวเอี๋ยน[9]

ในปี ค.ศ. 217[10] เล่าปี่เริ่มทำศึกเพื่อชิงเมืองฮันต๋งจากทัพโจโฉ กุยห้วยไม่ได้เข้าร่วมในศึกแรก ๆ เพราะล้มป่วย หลังจากแฮหัวเอี๋ยนถูกสังหารในยุทธการที่เขาเตงกุนสัน ในปี ค.ศ. 219[10] เกิดความตื่นตระหนกและหวาดกลัวในหมู่กองกำลังของโจโฉในฮันต๋งเพราะสูญเสียผู้บัญชาการ กุยห้วยจัดการฟื้นฟูระเบียบและความมั่นคงในทัพโจโฉในสองทาง ทางแรกกุยห้วยรวบรวมและรวมกลุ่มทหารที่แตกพ่ายหลังแฮหัวเอี๋ยนถูกสังหาร ทางที่สองได้เสนอชื่อเตียวคับให้เป็นผู้บัญชาการทัพโจโฉในฮันต๋งแทนที่แฮหัวเอี๋ยน[11]

วันถัดมา เมื่อทัพโจโฉได้ข่าวว่าทัพเล่าปี่กำลังเตรียมจะข้ามแม่น้ำฮั่นซุยเพื่อเข้าโจมตีพวกตน นายทหารส่วนใหญ่ของโจโฉแนะนำว่าควรแต่งค่ายริมฝั่งแม่น้ำและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเป็นปราการธรรมชาติต้านข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่า[12] กุยห้วยไม่เห็นด้วยและพูดว่า "นี่ไม่ใช่การเคลื่อนกำลังที่ดีที่สุด เพราะเป็นการเผยจุดอ่อนของเราแก่ข้าศึกและจะไม่อาจยับยั้งข้าศึกไว้ได้ ทำไมเราไม่ตั้งค่ายให้ห่างจากแม่น้ำ ลวงข้าศึกให้โจมตีค่าย และโต้กลับระหว่างที่ข้าศึกกำลังข้ามแม่น้ำเล่า ถ้าทำเช่นนี้ก็จะเอาชนะเล่าปี่ได้"[13] เตียวคับและนายทหารคนอื่น ๆ ทำตามแผนของกุยห้วย เมื่อเล่าปี่เห็นค่ายข้าศึกอยู่ห่างจากแม่น้ำก็สงสัยและไม่ส่งกองกำลังข้ามแม่น้ำไปโจมตี กุยห้วยยังได้สั่งให้ทหารเสริมการป้องกันและทำให้เล่าปี่เห็นว่าพวกตนเตรียมพร้อมตั้งมั่นแล้ว[14] โจโฉพอใจมากเมื่อได้ยินเรื่องที่กุยห้วยทำ และยังอนุมัติคำสั่งของเตียวคับ สั่งให้กุยห้วยยังคงทำหน้าที่เป็นนายพันภายใต้การบัญชาของเตียวคับ[15]

รับใช้โจผี แก้

ในปีต่อมา (พ.ศ. 763) โจโฉได้เสียชีวิตลง และโจผีได้ขึ้นครองอำนาจต่อ โจผีได้มอบตำแหน่งพระยามหาดไทย (Interior Marquis) แก่ กุยห้วย และมอบหมายให้ไปช่วยเตียวคับ (Zhang He) ในการดูแลการรุกรานจากทางจ๊กก๊กของขงเบ้งและเล่าปี่ ตลอดจนเพิ่มตำแหน่งผู้พิทักษ์แห่งชนเผ่าเกี๋ยง(Warlord Protector of the Qiang tribe) ซึ่งทำให้นับจากนี้กุยห้วยต้องรับผิดชอบชนเผ่านอกด่านนี้

โดยตั้งแต่ พ.ศ. 764 ถึง พ.ศ. 770 เป็นเวลาหกปีที่กุยห้วยได้ช่วยเตียวคับปราบปรามดูแลพื้นที่พายัพโดยเฉพาะปีแรกๆนั้นเขาสามารถปราบ ปู๋ฟ่ง (Pi Fán)หัวหน้ากบฏแห่งเผ่าเกี๋ยงที่ยึดครองอันดิง (Anding) ลงได้ อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่เตียวคับไม่อยู่ในช่วงพ.ศ. 765 และ พ.ศ. 766 เมื่อเตียวคับต้องร่วมทัพโจผีในการบุกง่อก๊ก

รับใช้โจยอย แก้

ใน พ.ศ. 771 ขงเบ้งได้ยกทัพบุกเหนือ(ยุทธการเขากิสาน)โดยมี ม้าเจ็ก (Ma Su), เตงจี๋ (Deng Zhi), จูล่ง (Zhao Yun) และโกเสียง(Gao Xiang)

ขงเบ้งได้ให้จูล่งและเตงจี๋ จู่โจมและปลุกระดมพื้นที่โดยรอบเพื่อลดกำลังการป้องกันของฝ่ายวุยก๊ก ส่งผลให้เกิดการปลุกระดมต่อต้านและกบฏมากมายในพื้นที่ไป๋เสีย (Mei) อันได้แก่ เทียนซุย (Tianshui), ลำอั๋น (Nán An) และอันดิง (Anding) แล้วไปบรรจบรวมกับทัพของม้าเจ็กและขงเบ้ง ที่เผชิญหน้าอยู่กับทัพของเตียวคับและโจจิ๋น (Cao Zhen) ในระหว่างนั้นขงเบ้งได้ให้โกเสียงไปรวบรวมเสบียงสนับสนุนที่หลิวเซีย (Lieliu) กุยห้วยได้คาดการณ์ถึงแผนการนี้ออก จึงนำทัพโจมตีและขับไล่โกเสียงที่หลิวเซีย

ขณะที่ภายหลังม้าเจ็กพ่ายต่อเตียวคับ ทำให้การศึกครั้งนี้จบลง และขงเบ้งได้นำทัพล่าถอยกลับไปตั้งมั่นที่ฮันต๋ง

จากนั้นโจจิ๋น,เตียวคับและกุยห้วย ได้ช่วยกันปราบปรามกบฏต่างๆที่เกิดขึ้น โดยกุยห้วยได้ปราบตองถู่ (Tang Ti) หัวหน้ากบฏชนเผ่าเกี๋ยงลงได้

ในปีถัดมา (พ.ศ. 772) ขงเบ้งได้รวบรวมกองกำลังเพื่อบุกเขากิสานอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มอบหมายให้ตันเซ็ก (Chen Shi) โจมตีอิมเป๋ง (Ying Ping) และปูเต๋า (Wu Du) ในขณะที่ขงเบ้งนำทัพบุกเจียนเว่ย (Jian Wei)

โดยแผนการของขงเบ้งคือการตรึงกุยห้วยไว้ที่อิมเป๋งและปูเต๋าเพื่อไม่ให้สามารถนำทัพไปช่วยทางกิสานและเตียงฮัน (Chang An)

อย่างไรก็ตามกุยห้วยมองแผนการออก และได้ละทิ้งเมืองทั้งสอง และรวบรวมทหารไปสกัดทางขงเบ้งแทน ซึ่งทำให้ขงเบ้งไม่สามารถรุกคืบไปได้มากกว่านี้และต้องล่าถอยเมื่อขาดเสบียง แต่อย่างไรก็ตามขงเบ้งสามารถยึดอิมเป๋งและปูเต๋าไว้ได้สำเร็จ

ใน พ.ศ. 773 กองทัพวุยก๊ก นำโดยโจจิ๋น เตียวคับและสุมาอี้ (Sima Yi) ได้ตัดสินใจโจมตีจ็กก็กที่มีขงเบ้งนำทัพที่ฮันต๋ง โดยมอบหมายให้กุยห้วยนำกองกำลังส่วนหนึ่งไประดมพันธมิตร,เสบียงตลอดจนกองกำลังสนับสนุนจากบริเวณโดยรอบของชนเผ่าเกี๋ยง ในขณะเดียวกันทางฝ่ายจ็กก๊กเอง ก็ได้ส่งอุยเอี๋ยน (Wei Yan) ออกไปทำภารกิจเดียวกัน เมื่อกองกำลังทั้งสองมาเผชิญหน้ากัน ด้วยเชิงการต่อสู้ที่เหนือกว่าของอุยเอี๋ยนทำให้กุยห้วยต้องล่าถอยทัพไป

อย่างไรก็ตามทัพวุย ประสบกับภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม จึงตัดสินใจถอยทัพไปโดยไม่ได้มีการสู้รบกับฝ่ายจ๊กก๊กในฮันต๋งเลยแม้แต่น้อย

ในปีถัดมา (พ.ศ. 774) ขงเบ้งได้ดำเนินการบุกเหนืออีกครั้ง โดยครั้งนี้โจจิ๋นที่ได้ล้มป่วยลงตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งคาดว่าจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ทำให้สุมาอี้ถูกสลับมาที่เตียงฮันเพื่อนำทัพป้องกันขงเบ้งแทนโจจิ๋น โดยมอบหมายเรื่องปกป้องเสบียงกรังทั้งหมดแก่กุยห้วย และด้วยการนำทัพของสุมาอี้ ขงเบ้งจึงได้ถอยทัพไปในที่สุด

อีกสองปีถัดมาใน พ.ศ. 776 ขงเบ้งได้นำทัพบุกเหนืออีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย

ในครั้งนี้ขงเบ้งได้รุกทัพมาจนถึงบริเวณไป๋เสีย (Mei) ในขณะที่สุมาอี้ได้ตั้งรับบริเวณแม่น้ำอุยโฮ (Wei river)

กุยห้วยได้แสดงความกังวลต่อสุมาอี้ว่า ขงเบ้งอาจจะแบ่งทัพอ้อมไปตี ปี่อ้วน (Beiyuan) อันเป็นอีกจุดยุทธศาสตร์เพื่อขนาบทัพล้อมสุมาอี้ได้ สุมาอี้เห็นด้วยจึงให้กุยห้วยนำทัพอย่างเร่งด่วนไปตั้งค่ายชั่วคราวที่ ปี่อ้วน เพื่อตั้งรับทัพขงเบ้งที่อาจจะปารกฏตัวขึ้นมาได้ และเป็นไปดั่งที่กุยห้วยคาดการณ์ กองทัพขงเบ้งได้ลอบจู่โจมปี่อ้วน แต่ก็ถูกทัพกุยห้วยที่ป้องกันไว้ตีกลับไปโดยง่าย ส่งผลให้ขงเบ้งต้องชะงักอยู่ที่ทุ่งอู่จั้งหยวน กองทัพของทั้งขงเบ้งและสุมาอี้ทั้งสองตั้งค่ายเผชิญกันและรบพุ่งกันอยู่เป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งขงเบ้งถึงแก่กรรม ณ สมรภูมินั้น ทำให้ทัพจ๊กเกิดการแย่งชิงต่อสู้กันเองในการแย่งการนำทัพ (กบฏอุยเอี๋ยน) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อวุยก๊กอีกต่อไป

ในปีถัดมาด้วยผลงานนี้ทำให้สุมาอี้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาธิการใหญ่(Grand Commander)และกลับไปเตียงฮัน เมื่อสิ้นขงเบ้ง ภูมิภาคตะวันตกของวุยก๊กจึงสงบอยู่เป็นเวลาสองสามปี

รับใช้โจฮอง แก้

อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 783 เกียงอุย (Jiang Wei) ได้นำกำลังผสมชนเผ่าต่างๆบุกโจมตีทัพวุยอีกครั้ง แต่กุยห้วยสามารถต้านทานและชนะโดยง่ายด้วยกำลังที่เหนือกว่ามาก หลังจากนั้นกุยห้วยได้ขยายแนวรบติดตามพวกชนเผ่าต่างๆให้ออกไปอีก โดยเฉพาะเผ่าเกี๋ยงQiangและเผ่าตี้Di tribeกุยห้วยได้จัคการหัวหน้าชนเผ่าลงหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัคการปีต๋อง (Mi Dang) ข่านของพวกเกี๋ยนลงได้ ผลจากการนี้ทำให้ชนเผ่านอกด่านต้องอพยพออกไปไกลขึ้นอีกจากบริเวณรอบฮันต๋งและไป๋เสีย ซึ่งกุยห้วยทำเพื่อป้องกันการกลับมาร่วมมือกับจ็กก๊กในอนาคตผลงานครั้งนี้ทำให้กุยห้วยได้รับตำแหน่งเจ้าพระยาฝ่ายซ้าย (General of the left)

ใน พ.ศ. 787 โจซอง (Cao Shuang) และ แฮหัวเทียน (Xiahou Xuan) ต้องการแสดงฝีมือ ทั้งสองเป็นทายาทของตระกูลอิทธิพล การบุกครั้งนี้น่าจะเพราะประเด็นทางการเมืองภายในวุยก๊กเอง

ทั้งสองได้นำกำลังบุกโจมตีจ๊กก๊ก โดยกุยห้วยได้รับมอบหมายให้คอยดูแลคุ้มครองกองกำลังสนับสนุนและเสบียง

กุยห้วยไม่เห็นด้วยกับการศึกครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยมองว่าแผนการไม่มีการวางแผนที่ดีพอ,ประมาทและไม่รอบคอบ จึงได้ส่งคำเตือนอย่างจริงจังไปยังโจซองและแฮหัวเทียนให้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ แต่สุดท้าย อองเป๋ง (Wang Ping) ขุนพลแห่งจ็กก็ก ก็ได้ตรึงกองกำลังทัพวุยไว้ในค่ายกลได้สำเร็จ ทำให้ทัพวุยไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ และกุยห้วยไม่ได้พยายามที่จะขับไล่อองเป๋งไปเพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์

ในที่สุดเมื่อ บิฮุย (Fei Yi) แม่ทัพใหญ่แห่งจ็กก็กนำกองหนุนมาถึงอองเป๋ง แฮหัวเทียนและโจซองจึงจำเป็นต้องล่าถอย และด้วยการเตรียมการไว้แล้วของกุยห้วย ทัพทั้งหมดจึงสามารถถอนทัพได้อย่างง่ายดาย

ในอีกสามปีถัดมา (790) ชนเผ่าเกี๋ยงได้ก่อกบฏรุกรานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง และนำกำลังร่วมกับเกียงอุยของจ็กก็กบุกโจมตีทัพวุย ครั้งนี้กุยห้วยได้นำแฮหัวป๋า(Xiahuo Ba)ออกตั้งรับการบุกและปราบปราม กุยห้วยได้รุกคืบไปถึงเต็กโตเสีย(Didao)และจัคการกลุ่มกบฏได้สำเร็จที่โป่ยฮ่าน(Fuhan) แต่ในขณะเดียวกันแฮหัวป๋าได้ถูกเกียงอุยรุกคืบและพยายามโอบล้อมและโดดเดี่ยวทัพของแฮหัวป๋า ซึ่งกุยห้วยได้คาดการไว้แล้วจึงได้นำทัพไปสนับสนุนแฮหัวป๋า และวางกับดักทัพเกียงอุย

ส่งผลให้ทัพเกียงอุยตกในกับดักและพ่ายแพ้ไปอย่างรวดเร็ว ทัพกบฏแตกพ่ายบางส่วนได้หนีกลับไปยังจ็กก็กพร้อมกับเกียงอุย หลังจากนั้นกุยห้วยก็ได้เข้าควบคุมปราบปรามพื้นที่ต่างๆให้สงบลงได้

อย่างไรก็ตามในปีถัดไปเมื่อปี791 ชนเผ่าเกี๋ยงยังคงก่อการกบฏรุกรานเข้าสู่ดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องอีกครั้ง ในครั้งนี้นำโดยข่าน เอ่อลือให้(E Zhesai) และ ข่าน ก่อตั๋น( Wudai) ทั้งสองได้นำกำลังตั้งค่ายไปตามแม่น้ำอุยโฮ

กุยห้วยได้ระแวงอยู่แล้วว่าทางจ็กก๊กพยายามจะหาเส้นทาง และวิธีการใหม่ต่างๆเพื่อเข้าสู่แคว้นวุยก๊ก ดังนั้นเค้าจึงต้องการจัคการกลุ่มกบฏเหล่านี้โดยเร็ว กุยห้วยได้เคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำจัคการ ข่านเอ่อลือให้ อย่างรวดเร็วด้วยกำลังที่เหนือกว่า ข่านก่อตั๋น พยายามส่งกำลังไปสนับสนุนแต่ถูกกุยห้วยวางกับดักสกัดทัพและแตกพ่ายไปที่ หลงเส (Long Xi) ในระหว่างนั้น ทัพหลักจ็กก๊กของเกียงอุย ได้เคลื่อนทัพ ตั้งค่ายที่ จิวฉวน(Qiangchuan) ในขณะที่อีกทัพนำโดย เลียวฮัว(Liao Hua) ไปตั้งค่ายบนเขาเสียดก๊ก (Mount Chengzhong) เพื่อรวบรวมกองทัพชนเผ่าต่างๆที่เหลืออยู่และแตกพ่ายไปนั้น

กุยห้วยพยายามที่จะโจมตีเลียวฮัวแต่ไม่เป็นผล เลียวฮัวสร้างป้อมค่ายบนจุดยุทธศาสตร์ที่ดีกว่าและป้องกันอย่างเข้มแข็ง ในขณะเดียวกัน กุยห้วยก็ไม่สามารถบุกตีเกียงอุยได้ด้วยกำลังที่น้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม กุยห้วยได้ออกแผนการด้วยการแบ่งกำลังสกัดชนเผ่านอกด่านที่จะเข้าไปรวมกับเกียงอุยก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อไม่ให้ขนาดทัพเกียงอุยเติบโตมากไปกว่านี้ ขณะเดียวกันได้ใช้เส้นทางลัดตัดผ่านไปทางด้านหลังทัพเลียวฮัวแล้วโจมตี ทำให้เลียวฮัวสับสนและตกใจกลัวถูกทัพขนาบสองด้าน จึงส่งมาเร็วไปขอกำลังสนับสนุนจากเกียงอุย ซึ่งได้ผล เพราะเกียงอุยได้ทิ้งค่ายที่จิวฉวน แล้วนำทัพพร้อมกำลังชนเผ่าเกี๋ยงมารวมกับเลียวฮัว ในระหว่างนั้น กุยห้วยก็ได้ใช้พันธมิตร ชนเผ่าหู่(Hu tribe) คอยโจมตีทัพเกียงอุยแบบกองโจร คอยก่อกวน ปลุกระดม รวมทั้งปล่อยข่าว ให้ทัพเกียงอุยเข้าใจว่าทัพกุยห้วยจะโจมตีทางนั้นทางนี้ จนทัพเกียงอุยระส่ำระส่ายและเหนื่อยล้า จนกระทั่งสามารถแยกทัพชนเผ่าออกจากเกียงอุย ให้ถูกหลอกคอยเฝ้าระวังทัพกุยห้วย

ในที่สุดทัพเกียงอุย ก็ถูกทัพวุยนำโดย แฮหัวป๋า ก็สามารถขนาบกับทัพเกียงอุยไว้กับทัพกุยห้วยได้ และชนะในที่สุด ส่วนทัพเลียวฮัวเมื่อถูกโดดเดี่ยว ก็ถูกบีบให้ต้องถอยทัพไปด้วยกำลังที่เหนือกว่า

ชัยชนะของกุยห้วยในครั้งนี้ทำให้ ชื่อเสียงของกุยห้วยโด่งดัง อิทธิพลและบารมีของกุยห้วยในภูมิภาคพายัพทั้งเองจิ๋ว ถึงเสเหลียงเติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้เป็นที่หวาดระแวงต่อกลุ่มการเมืองภายในเมืองหลวงอย่างมาก

ในปีถัดมา (792) สุมาอี้ สังหารโจซอง และก่อรัฐประหารควบคุมอำนาจการปกครองแทน

สุมาอี้หวาดระแวงอิทธิพลและกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของกุยห้วย ที่อยู่เองจิ๋วในเวลานั้นอย่างมาก เพราะเพิ่งเริ่มควบคุมการปกครองภายในเมืองหลวงที่มีกำลังทหารน้อยกว่า จึงได้เรียกตัว แฮหัวเทียนมาที่ลกเอี๋ยง(Luo Yang)เพื่อมอบตำแหน่ง เจ้ากระทรวงสารนิเทศหลวง(Grand Herald) แล้วเลื่อนตำแหน่งกุยห้วยเป็น จอมทัพพิชิตตะวันตก (General who conquer the west) อันเป็นตำแหน่งตามมรดก ตั้งแต่สมัยของแฮหัวเอี๋ยนเดิมจากแฮหัวเทียน รวมถึงเพิ่มตำแหน่งเจ้าเมืองเองจิ๋ว (Marshal of Yong) เพื่อซื้อใจกุยห้วย

แต่ในขณะเดียวกันเวลานั้น แฮหัวป๋า ไม่ได้รับการอวยยศตำแหน่งใดๆ และตำแหน่งที่กุยห้วยได้รับ คือตำแหน่งเดิมของตระกูลแฮหัว ซึ่งทำให้หลังจากนี้ กุยห้วยจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสายตระกูลแฮหัว อีกเลย นัยว่าเป็นการแยกกุยห้วยออกจากการเป็นผู้ถูกสนับสนุนจากตระกูลแฮหัว และสร้างความขัดแย้งไปในตัว เพื่อลดอิทธิพลของกุยห้วย และผลักดันกุยห้วยให้ออกจากในเมืองหลวง เพื่อง่ายต่อการควบคุมแรงกระเพื่อมและจัคการผู้อื่นได้ง่ายกว่าหลังจากที่เพิ่งผ่านการรัฐประหาร

ในขณะเดียวกัน ก็ส่งคนในสังกัดคือ ตันท่ายหรือต้านท่าย Chen Taiและ เตงงาย Deng Ai ไปคอยกำกับกุยห้วยในพื้นที่อิทธิพลนั้น โดยมอบให้ ตันท่าย รับตำแหน่ง ผู้ตรวจการณ์แห่งเอ็งจิ๋ว ( Inspector of Yong) แทนตัวกุยห้วยเองที่เลื่อนยศตำแหน่งไป และแต่งตั้ง เตงงายให้เป็น เจ้าพระยาธุรการแห่งลำอั๋น (Grand Administrator of Nań An)

แต่ขณะเดียวกันทั้งสองคนก็กลายเป็นลูกศิษย์ที่เรียนรู้และเพื่อนร่วมงานของกุยห้วย ที่คอยซึมซับความรู้และแนวคิดในด้านต่างๆของกุยห้วยไปด้วย

ไม่มีใครรู้ว่ากุยห้วย ที่ขณะนั้นอายุประมาน70ปี รับใช้วุยก๊กมาตั้งแต่สมัยโจโฉและมีความสนิทกับตระกูลแฮหัว มาตั้งแต่สมัยแฮหัวเอี๋ยนนั้น คิดเช่นใด กับการรัฐประหารของเพื่อนร่วมงานในวัยใก้ลเคียงกันอย่าง สุมาอี้ แต่ในฤดูหนาวปีนั้นเอง(792) เกียงอุยได้นำทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง กุยห้วยก็ได้นำ ตันท่าย และ เตงงาย เข้าป้องกันการบุกของเกียงอุย

เกียงอุยได้ให้ชนเผ่าเกี๋ยงเข้ายึดและตั้งค่ายบริเวณเขากิมก๊ก(Mount Chu)และปลุกระดมชนเผ่าบริเวณนั้น ตลอดจนรวบรวมกองกำลังเพื่อต่อต้านวุยก๊ก ในขณะที่เกียงอุยเองยกทัพมาตั้งค่ายที่บริเวณเขาเอียวสู๋(Mount Niutou)

อย่างไรก็ตาม ชนเผ่าเกี๋ยงที่สนับสนุนเกียงอุยในครั้งนี้ ไม่ได้เต็มใจที่จะทำเพื่อจ๊กก๊กมากนัก ที่สนับสนุนก็เพียงเพราะเกียงอุยมีสายสัมพันธ์ที่ดีและคำมั่นสัญญาแต่เก่าก่อนเท่านั้น อีกทั้งตันท่ายได้สังเกตว่า ค่ายเขากิมก๊ก แม้จะแข็งแรงแน่นหนา แต่ก็อยู่ห่างไกลจากจ๊กก๊กมากนักจึงยากต่อการส่งเสบียงสนับสนุนและง่ายต่อการถูกโจมตีเส้นทางเสบียง

กุยห้วยจึงได้นำเตงงายและตันท่าย ล้อมค่ายเขากิมก๊กไว้อย่างง่ายดาย และตัดเส้นทางเสบียงเพื่อให้ทหารในค่ายยอมแพ้ จากนั้นตันท่ายจึงแนะนำ ให้กุยห้วยนำทหารไปซุ่มยึดค่ายเกียงอุย เพื่อตลบหลังเกียงอุยและปิดทางกลับเข้าค่ายของเกียงอุย ที่จะยกทัพมาจากเขาเอียวสู๋เพื่อเปิดทางและช่วยเหลือค่ายบนเขากิมก๊ก

เมื่อเกียงอุยยกทหารมาช่วยทางกิมก๊กและรู้ตัวว่าตกในแผนแล้ว จึงทิ้งค่ายที่กิมก๊กและหลบหนีไป ทหารในค่ายเขากิมก๊กเมื่อเห็นดังนั้นจึงยอมแพ้อย่างง่ายดาย เมื่อตันท่ายยกทัพเข้าไปในค่าย

จากนั้น กุยห้วยได้ยกทัพต่อไปทางตะวันตกเพื่อปราบปราบชนเผ่าที่ยังมีการต่อต้านอยู่ต่อไป แต่ก็ระแวงว่า เกียงอุยอาจจะยังหนีไปไม่ไกล และจะย้อนกลับมาได้ จึงทิ้งเตงงายไว้ในขณะที่เดินทัพไปปราบกบฏชนเผ่าเกี๋ยง

ซึ่งเป็นไปตามที่กุยห้วยคาดการณ์ไว้ เกียงอุยได้ให้เลียวฮัวโจมตีเตงงาย แต่เป็นทัพหลอก เพื่อที่ตัวเกียงอุยเองจะได้ยกทัพไปยึดเมืองเตียวเอี๋ยง(Tao city)

เตงงายที่อยู่เฝ้าป้องกันเลียวฮัวนั้น ได้มอง แผนการของเกียงอุยออก จึงได้ส่งทหารไปดักซุ่มรอทัพเกียงอุยที่เตียวเอี๋ยงอย่างลับๆ ดังนั้นเมื่อทัพเกียงอุยเข้าเมืองจึงถูกดักซุ่มโจมตีแตกพ่ายไปอย่างรวดเร็ว

จากผลงานต่างๆของกุยห้วยทำให้ในปี793 กุยห้วยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพทหารรถม้า (General of the Chariots and Cavalry) รวมถึงเกียรติยศพิเศษที่เทียบเคียงระดับ สามผู้ยิ่งใหญ่แห่งรัฐ Three Ducal Ministers หรือ ซานกง (三公)

ในปีเดียวกันนั้น เกียงอุยได้ยกทัพเพื่อโจมตีอีกครั้งที่เองเปงก๋วน(Xiping)แต่ก็ถูกกุยห้วยสกัดไว้ก่อนไปถึง และขาดแคลนเสบียงสนับสนุนจึงล่าถอยไปหลังจากรบพุ่งกันเพียงเล็กน้อย

ในปี 794 อองเหลง(Wang Líng)ได้ร่วมมือกับ โจเปียว (Cao Biao)ก่อการกบฏต่อต้านสุมาอี้ เพื่อถอดถอนโจฮอง (Cao Fang)ที่เป็นหุ่นเชิดของสุมาอี้ แต่ล้มเหลว อองเหลงและโจเปียวฆ่าตัวตาย ภายหลังจากยอมแพ้ต่อสุมาอี้แล้ว

สุมาอี้ ได้สั่งประหารลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนการเหล่านี้รวมถึงญาติพี่น้องของอองเหลงด้วย แต่ได้ยกโทษให้แก่น้องสาวของอองเหลงที่เป็นภรรยาของกุยห้วย เพื่อเห็นแก่คุณงามความดีที่กุยห้วยได้ทำไว้

ในระหว่างทางที่ภรรยาของกุยห้วยเดินทางไปร่วมงานศพของพี่ชายนั้นเอง ได้ถูกชนเผ่าเกี๋ยงและชนเผ่าหู่จับตัวไป กุยห้วยจึงได้เดินทางไปช่วยภรรยา และเขียนจดหมายถึงสุมาอี้เพื่อรับโทษ อันเนื่องมาจากการทำผิดกฏกองทัพที่มีหน้าที่ป้องกันจ๊กก๊กที่บุกโจมตีแทบทุกปี อย่างไรก็ตามสุมาอี้ได้ตอบจดหมายแสดงความเข้าใจและไม่ได้ทำโทษกุยห้วยแต่อย่างใด

ในปีถัดมา 795 สุมาอี้ ถึงแก่กรรม สุมาสู Sima Shi ขึ้นสู่อำนาจแทน

บั้นปลายชีวิตและเสียชีวิต แก้

ปี 798 กุยห้วยได้สิ้นชีพลง สุมาสู ได้จัดพิธีศพอย่างสมเกียรติและมอบยศตำแหน่งแก่กุยห้วยอย่างยิ่งใหญ่ ลูกชายของกุยห้วยได้รับสืบทอดมรดกศักดินาต่อตามสิทธิ โดยภาระหน้าที่ทางทหารถูกส่งมอบต่อไปยัง ตันท่าย และ เตงงาย

ในนิยายสามก๊ก แก้

ภายหลังที่แฮหัวเอี๋ยนถูกฮองตงฆ่าตายที่เตงกุนสัน เขาก็รวบรวมกองกำลังทหารที่กระจัดกระจายเมื่อทัพแตกมาเข้ากับกองทัพของตน และไม่นานเตียวคับก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนแฮหัวเอี๋ยน จากนั้นกุยห้วยจึงเอากองทัพของตนมาเข้ากับเตียวคับทำให้กองทัพเตียวคับมั่นคงขึ้นมาก ต่อมาพระเจ้าโจผีตั้งตัวเป็นฮ่องเต้แล้ว กุยห้วยก็ถูกกำหนดให้เป็นที่ปรึกษา ควบคุมหัวเมืองทางตะวันตก ต่อมาเขาก็ถูกกำหนดให้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของวุยก๊ก

ต่อมาขงเบ้งได้ยกทัพบุกวุยก๊ก กุยห้วยถูกแต่งตั้งให้เป็นถึงผู้บังคับบัญชากองทหารภายใต้ โจจิ๋น เขาสามารถอ่านการยกทัพของกองทัพจ๊กและนำชัยชนะมาหลายครั้ง แต่ว่ากุยห้วยก็เสียหายมากเหมือนกัน ภายหลังสุมาอี้ถูกแต่งตั้งให้ยกทัพมาปราบขงเบ้ง กุยห้วยก็ได้ช่วยแนะนำสุมาอี้อย่างเต็มที่ จนขงเบ้งได้ป่วยตายที่อู่จั้งหยวน

เมื่อขงเบ้งตายเกียงอุยที่รับตำแหน่งแทนขงเบ้ง ก็ยกทัพบุกมาวุยอีกครั้ง เกียงอุยได้ใช้แผนลัดโจมตีเมืองของกุยห้วยแต่กุยห้วยก็อ่านการออกและ ยกทัพกระหนาบเข้าทัพเกียงอุย ทัพจ๊กเสียหายหนักและต้องยกทัพกลับจ๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยเมื่อทราบข่าวก็ยกย่องกุยห้วยเป็นอันมาก กุยห้วยจึงถูกแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ป้องกันชายแดนวุยก๊ก ในปี พ.ศ. 798 เกียงอุยได้ยกมาตีวุยก๊กอีกครั้ง กุยห้วยได้รบกับเกียงอุย หลังรบได้สักพัก เกียงอุยแกล้งแพ้ถอยม้าหนีไป กุยห้วยหลงกลจึงขับม้าตาม เกียงอุยจึงยิงเกาทัณฑ์ถูกกุยห้วยเสียชีวิต แต่ในประวัติศาสตร์นั้นรับราชการจนสิ้นอายุขัย

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่ากุยห้วยเสียชีวิตในวันกุ่ยเว่ย์ เดือน 1 รัชศกเจิ้งยฺเหวียนปีที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าโจมอ[1] ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 255 ในปฏิทินกริกอเรียน

อ้างอิง แก้

  1. ([正元二年春正月]癸未,車騎將軍郭淮薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. de Crespigny (2007), p. 283.
  3. (郭淮字伯濟,太原陽曲人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  4. (案郭氏譜:淮祖全,大司農;父縕,鴈門太守。) อรรถาธิบายจากกัวชื่อผู่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26
  5. (建安中舉孝廉,除平原府丞。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  6. (文帝為五官將,召淮署為門下賊曹,轉為丞相兵曹議令史, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  7. จือจื้งทงเจี้ยน เล่มที่ 62.
  8. จือจื้งทงเจี้ยน เล่มที่ 67.
  9. (... 從征漢中。太祖還,留征西將軍夏侯淵拒劉備,以淮為淵司馬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  10. 10.0 10.1 จือจื้งทงเจี้ยน เล่มที่ 68.
  11. (淵與備戰,淮時有疾不出。淵遇害,軍中擾擾,淮收散卒,推盪寇將軍張郃為軍主,諸營乃定。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  12. (其明日,備欲渡漢水來攻。諸將議衆寡不敵,備便乘勝,欲依水為陣以拒之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  13. (淮曰:「此示弱而不足挫敵,非筭也。不如遠水為陣,引而致之,半濟而後擊,備可破也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  14. (旣陣,備疑不渡,淮遂堅守,示無還心。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  15. (以狀聞,太祖善之,假郃節,復以淮為司馬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.