ลิโป้ (เสียชีวิต 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 199)[a] หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า ลฺหวี่ ปู้ (การออกเสียง; จีนตัวย่อ: 吕布; จีนตัวเต็ม: 呂布; พินอิน: Lǚ Bù; เวด-ไจลส์: 3 Pu4) มีชื่อรองว่า เฟิ่งเซียน (奉先) เป็นขุนพล ขุนนาง และขุนศึกที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนศึกเต๊งหงวน ลิโป้ทรยศและสังหารเต๊งหงวนแล้วแปรพักตร์ไปเข้าด้วยตั๋งโต๊ะ ขุนศึกผู้กุมอำนาจราชสำนักส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่นในช่วงต้นทศวรรษ 190 ในปี ค.ศ. 192 ลิโป้กลับทรยศและสังหารตั๋งโต๊ะหลังถูกยุยงโดยอ้องอุ้นและซุนซุย แต่ภายหลังพ่ายแพ้ให้กับผู้ติดตามของตั๋งโต๊ะและถูกขับไล่ออกไป

ลิโป้ (ลฺหวี่ ปู้)
呂布
ภาพวาดของลิโป้สมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลขวา /
ขุนพลสยบบูรพา
(左將軍 / 平東將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 197 – ค.ศ. 199
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เฟิ่นเวยเจียงจวิน (奮威將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 192 – ค.ศ. 197
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดอำเภอจิ่ว-ยฺเหวียน เมืองอู่-ยฺเหวียน (ปัจจุบันคือจิ่ว-ยฺเหวียน เมืองเปาโถว เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประเทศจีน)
เสียชีวิต7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 199[a]
อำเภอแห้ฝือ เมืองแห้ฝือ
อาชีพขุนศึก, ขุนพล
ชื่อรองเฟิ่งเซียน (奉先)
ฉายา"ขุนพลบิน" (飛將)
บรรดาศักดิ์เวินโหว (溫侯)
ลิโป้
อักษรจีนตัวเต็ม呂布
อักษรจีนตัวย่อ吕布

ระหว่างปี ค.ศ. 192 ถึงช่วงกลางปี ค.ศ. 195 ลิโป้เดินทางเร่ร่อนไปทั่วแผ่นดินจีนตอนกลางและตอนเหนือ ไปขอเข้าพึ่งพักพิงกับขุนศึกต่าง ๆ ได้แก่ อ้วนสุด, อ้วนเสี้ยว และเตียวเอี๋ยง ในปี ค.ศ. 194 ลิโป้เข้ายึดแคว้นกุนจิ๋วจากขุนศึกโจโฉด้วยความช่วยเหลือจากผู้แปรพักตร์จากฝ่ายโจโฉ แต่โจโฉยึดแดนดินคืนมาได้ภายในสองปี ในปี ค.ศ. 196 ลิโป้ทรยศเล่าปี่ที่ให้ที่พักพิงแก่ตนในแคว้นชีจิ๋วและเข้ายึดแคว้นชีจิ๋วจากเล่าปี่ ลิโป้ทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับอ้วนสุด แต่ภายหลังก็ตัดสัมพันธ์กับอ้วนสุดหลังจากอ้วนสุดตั้งตนเป็นจักรพรรดิซึ่งถือเป็นกบฏต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ ลิโป้เข้าร่วมกับโจโฉและคนอื่น ๆ เข้าโจมตีอ้วนสุด ทว่าในปี ค.ศ. 198 ลิโป้กลับร่วมเป็นพันธมิตรกับอ้วนสุดอีกครั้งแล้วถูกโจมตีโดยกองกำลังร่วมของโจโฉและเล่าปี่ ทำพ่ายแพ้ในยุทธการที่แห้ฝือ ลิโป้ถูกจับและถูกประหารโดยคำสั่งของโจโฉ

แม้ว่าบันทึกทางประวัติศาสตร์และนิยายจะบันทึกถึงลิโป้ในฐานะขุนศึกผู้เก่งกาจ แต่ลิโป้ก็ยังมีชื่อเสียงเรื่องพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ลิโป้มักจะเปลี่ยนนายด้วยเหตุผลที่ไม่ปกติและทรยศพันธมิตรได้ง่าย ๆ และยังมีบันทึกว่าลิโป้ขาดทักษะการวางแผนและการจัดการ ลิโป้มักจะหวาดระแวงคนอื่นและไม่สามารถควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมดนำไปสู่จุดจบของลิโป้ ในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 สามก๊ก รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของลิโป้ได้มีการเสริมเติมแต่ง และรายละเอียดที่แต่งเติมขึ้นบางอย่าง รวมถึงเรื่องความรักกับตัวละครเตียวเสียน ได้เสริมเข้าไปเพื่อสร้างภาพลิโป้ให้เป็นนักรบที่แทบจะไร้เทียมทาน และยังมีความโหดเหี้ยม หุนหันพลันแล่น และไร้คุณธรรม

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวประวติของลิโป้

แก้

ชีวประวัติอย่างเป็นทางการของลิโป้ปรากฏอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ 2 แหล่ง แหล่งแรกคือ จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) เขียนโดยตันซิ่วในศตวรรษที่ 3

ในศตวรรษที่ 5 เผย์ ซงจือ แทรกเชิงอรรถประกอบจดหมายเหตุสามก๊กโดยให้ข้อมูลจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากบันทึกที่ตันซิ่วเขียน รวมถึงเพิ่มข้อคิดเห็นของตนไปด้วย บันทึกบางฉบับที่ใช้ในเชิงอรรถของชีวประวัติลิโป้ ได้แก่ อิงสฺยงจี้ (พงศาวดารผู้กล้า) โดยอองซัน, เซี่ยนตี้ชุนชิว (พงศาวดารพระเจ้าเหี้ยนเต้) โดย ยฺเหวียน เหว่ย, เว่ย์ชื่อชุนชิว (พงศาวดารตระกูลวุย) โดย ซุน เซิ่ง, เฉาหมานจฺว้าน (ชีวประมาณเฉาหมาน) โดยนักเขียนไม่ทราบชื่อ

ชีวประวัติอย่างเป็นทางการของลิโป้แหล่งที่สองอยู่ใน พงศารดารฮั่นยุคหลัง (โฮ่วฮั่นชู) ซึ่งรวบรวมโดยฟั่น เย่ในศตวรรษที่ 5

ลักษณะภายนอก

แก้

ไม่มีคำบรรยายลักษณะภายนอกของลิโป้ปรากฏในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีบันทึกเพียงว่าลิโป้เชี่ยวชาญการยิงเกาทัณฑ์และขี่ม้า และมีพลังกำลังมหาศาล มีฉายาว่า "ขุนพลบิน" (飛將 เฟยเจียง) จากความห้าวหาญในการรบ [ซานกั๋วจื้อ 1] ลิโป้ยังมีม้าทรงพลังที่มีชื่อเรียกว่า "เซ็กเธาว์" (ชื่อทู่; แปลว่า กระต่ายแดง)[ซานกั๋วจื้อ 2][โฮ่วฮั่นชู 1] ใน เฉาหมานจฺว้าน ได้บันทึกว่าในยุคนั้นมีคำกล่าวเกี่ยวกับลิโป้และม้าเซ็กเธาว์ว่า "ยอดคนคือลิโป้ ยอดม้าคือเซ็กเธาว์"[ซานกั๋วจื้อจู้ 1]

ในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก ได้บรรยายลักษณะของลิโป้ไว้ว่า:

[...] รูปลักษณ์สูงส่งงามสง่า มีท่วงท่าน่าเกรงขาม ถือทวนกรีดนภา[b] [...] ผมรวบไปด้านหลังและสวมรัดเกล้าทองคำ สวมเสื้อคลุมออกรบลายดอกไม้ สวมชุดเกราะที่ประดับด้วยรูปของตัวหนี[c] สวมเข็มขัดล้ำค่าที่ประดับด้วยรูปของสิงโต[...][3]

รับใช้เต๊งหงวนและแปรพักตร์เข้าด้วยตั๋งโต๊ะ

แก้
 
ภาพจิตรกรรมแสดงเหตุการณ์ลิโป้สังหารเต๊งหงวน (呂布弒丁原) ในระเบียงยาวของพระราชวังฤดูร้อน กรุงปักกิ่ง

ลิโป้เป็นชาวอำเภอจิ่ว-ยฺเหวียน (九原縣 จิ่ว-ยฺเหวียนจฺวิ้น) เมืองอู่-ยฺเหวียน (五原郡 อู่-ยฺเหวียนจวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองเปาโถว เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีชื่อเสียงในเรื่องการรบอย่างกล้าหาญในมณฑลเป๊งจิ๋ว (ปิ้งโจว) เมื่อเต๊งหงวน ข้าหลวง (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเป๊งจิ๋ว ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย) โดยราชสำนักฮั่นและได้รับมอบหมายให้ไปประจำที่เมืองโห้ลาย (เหอเน่ย) เต๊งหงวนได้รับลิโป้เป็นนายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) และปฏิบัติต่อลิโป้อย่างดี[ซานกั๋วจื้อ 3]

หลังการสวรรคตของพระเจ้าเลนเต้ในปี ค.ศ. 189 เต๊งหงวนนำทัพไปยังเมืองหลวงลกเอี๋ยง (ลั่วหยัง) เพื่อช่วยสนับสนุนขุนพลโฮจิ๋นในการกำจัดกลุ่มขันที โฮจิ๋นกลับถูกลอบสังหารโดยขันที หลังจากนั้นตั๋งโต๊ะจึงนำทัพเข้าเมืองลกเอี๋ยงและยึดเมืองหลวงไว้ ตั๋งโต๊ะต้องการกำจัดเต๊งหงวนและเข้าคุมกองกำลังของเต๊งหงวน จึงเกลี้ยกล่อมลิโป้ให้ทรยศเต๊งหงวนแล้วแปรพักตร์เข้าด้วยตน ลิโป้จึงสังหารเต๊งหงวนแล้วตัดศีรษะนำมามอบให้ตั๋งโต๊ะซึ่งเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จในราชสำนักฮั่นได้ในที่สุด ตั๋งโต๊ะแต่งตั้งลิโป้เป็นผู้บังคับการทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย) และให้ความไว้วางใจเป็นอย่างมาก ตั๋งโต๊ะยังได้รับลิโป้เป็นบุตรบุญธรรม ภายหลังลิโป้ได้รับการเลื่อนตำนานจากผู้บังคับการทหารม้าเป็นขุนพลราชองครักษ์ (中郎將 จงหลังเจี้ยง) และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นตูถิงโหว (都亭侯)[ซานกั๋วจื้อ 4]

รับใช้ตั๋งโต๊ะ

แก้

ในปี ค.ศ. 190 แนวร่วมพันธมิตรขุนศึกนำโดยอ้วนเสี้ยวเริ่มการทัพต่อต้านตั๋งโต๊ะเพื่อโต้ตอบการปกครองแบบทรราชย์และการผูกขาดอำนาจในราชสำนักของตั๋งโต๊ะ ก่อนหน้านี้ในปีเดียวกันตั๋งโต๊ะได้ปลดหองจูเปียน (เล่าเปียน) จักรพรรดิที่ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าเลนเต้ แล้วสถาปนาพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นแทนที่ ซึ่งกลายเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของตั๋งโต๊ะ ลิโป้ทำหน้นาที่พิทักษ์ตั๋งโต๊ะและออกรบกับแนวร่วมพันธมิตร ในการศึกครั้งหนึ่งที่หยางเหริน (陽人; เชื่อว่าปัจจุบันคือบริเวณเทศบาลนครเวินเฉฺวียน เมืองหรู่โจว มณฑลเหอหนาน) ตั๋งโต๊ะมอบหมายให้ลิโป้และโฮจิ้นไปโจมตีซุนเกี๋ยน (หนึ่งในสมาชิกแนวร่วมพันธมิตร) แต่ลิโป้และโฮจิ้นต่างไม่ถูกกัน ส่งผลให้กองทัพเกิดความปั่นป่วน ซุนเกี๋ยนจึงใช้โอกาสนี้เข้าโจมตีและผลักดันจนล่าถอย[โฮ่วฮั่นชู 2][4] ภายในไม่กี่เดือน กองทัพแนวร่วมพันธมิตรได้ยกมาถึงเมืองหลวงลกเอี๋ยง ตั๋งโต๊ะยกทัพออกมาด้วยตนเองเข้ารบกับทัพหน้าของแนวร่วมพันธมิตรที่นำโดยซุนเกี๋ยนในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงของจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในอดีต แต่ตั๋งโต๊ะถูกโจมตีแตกพ่ายและต้องล่าถอย ซุนเกี๋ยนจึงผ่านเข้าไปถึงประตูเซฺวียนหยัง (宣陽城門 เซฺวียนหยังเฉิงเหมิน) ของเมืองลกเอี๋ยง แล้วเข้าโจมตีลิโป้จนล่าถอย[โฮ่วฮั่นชู 3][5] ตั๋งโต๊ะตื่นกลัวจึงตัดสินใจทิ้งเมืองลกเอี๋ยงแล้วย้ายเมืองหลวงไปเมืองเตียงฮัน (ฉางอัน) ทางตะวันตก ตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะส่งกองกำลังไปปล้นในเมืองลกเอี๋ยงและบังคับราษฎรให้ย้ายไปอยู่เมืองเตียงฮันเช่นกัน แล้วจึงเผาทำลายเมืองลกเอี๋ยง แนวร่วมพันธมิตรไม่ได้ไล่ตามตีตั๋งโต๊ะและในที่สุดก็สลายตัวไปเองในปีถัดไป

ตั๋งโต๊ะมักประพฤติหยาบคายต่อหน้าผู้อื่นจึงกลัวว่าอาจถูกลอบสังหาร ตั๋งโต๊ะจึงให้ลิโป้ติดตามอยู่ข้างกายในฐานะองครักษ์ ตั๋งโต๊ะมักอารมณ์เสียและรู้สึกหงุดหงิดได้ง่าย ครั้งหนึ่งอารมณ์ของตั๋งโต๊ะปะทุถึงกับขว้างทวนจี่สั้นใส่ลิโป้ ลิโป้ตอบสนองไวจึงหลบอาวุธได้ทัน อารมณ์โกรธของตั๋งโต๊ะก็บรรเทาลงหลังจากนั้น ลิโป้รู้สึกไม่เป็นสุขและน้อยใจตั๋งโต๊ะที่เป็นบิดาบุญธรรม เวลาเดียวกันนั้นลิโป้ได้รับมอบหมายให้พิทักษ์จวนที่พักส่วนกลางของตั๋งโต๊ะ และได้ลอบมีสัมพันธ์กับสาวใช้คนหนึ่งของตั๋งโต๊ะ ลิโป้กลัวว่าตั๋งโต๊ะจะรู้เข้าจึงรู้สึกไม่บายใจเป็นอย่างมาก[ซานกั๋วจื้อ 5]

ก่อนหน้านี้ลิโป้ได้รับการเชิญอย่างเป็นมิตรจากอ้องอุ้น เสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู) ลิโป้จึงไปพบอ้องอุ้นและพร่ำบ่นเรื่องที่ตั๋งโต๊ะเกือบฆ่าตน เวลานั้นอ้องอุ้นและขุนนางอีกคนชื่อซุนซุย (士孫瑞 ชื่อซุนรุ่ย) กำลังคิดการจะโค่นล้มตั๋งโต๊ะ จึงได้บอกลิโป้เกี่ยวกับแผนการของพวกตนและขอให้ลิโป้มาร่วมช่วยในแผนการ ลิโป้พูดว่า "แต่เราเป็นพ่อลูกกัน" อ้องอุ้นตอบว่า "ท่านมีแซ่ลิ (ลฺหวี่) จึงไม่ได้ร่วมสายเลือดกัน เขาไม่นึกถึงท่านเลยเมื่อท่านเกือบตาย ไหนล่ะคือสายสัมพันธ์ของพ่อลูก" ลิโป้จึงตกลงเข้าร่วมแผนการและกลายเป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยตนเองในภายหลัง หลังตั๋งโต๊ะเสียชีวิต อ้องอุ้นและลิโป้เข้าควบคุมราชสำนักส่วนกลาง ลิโป้ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลเฟิ่นเวย์ (奮威將軍 เฟิ่ยเวย์เจียงจฺวิน) และได้รับเกียรติเทียบเท่ากับซันกง ตำแหน่งขุนนางชั้นเสนาบดีสูงสุดในระบบการบริหารราชการของราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าเหี้ยนเต้ยังได้ตั้งให้ลิโป้มีบรรดาศักดิ์เป็นเวินโหว (溫侯)[ซานกั๋วจื้อ 6]

ถูกขับไล่จากเตียงฮัน

แก้

หลังตั๋งโต๊ะเสียชีวิต ผู้ติดตามของตั๋งโต๊ะในมณฑลเลียงจิ๋ว (เหลียงโจว) นำโดยลิฉุย กุยกี และคนอื่น ๆ ร่วมทัพเข้าโจมตีเมืองเตียงฮัน ในขณะที่อ้องอุ้นปฏิเสธที่จะให้มีการนิรโทษกรรมพวกลิฉุยจากการกระทำภายใต้การบัญชาของตั๋งโต๊ะในอดีต[โฮ่วฮั่นชู 4] กุยกีนำทหารเข้าโจมตีประตูเมืองด้านเหนือแล้วพบกับลิโป้ กุยกีบอกว่าลิโป้ว่า "อย่าส่งทหารมารบกันเลย เรามารบกันตัวต่อตัวดีกว่า" จากนั้นลิโป้จึงเอาชนะกุยกีได้ในการรบตัวต่อตัวและทำให้กุยกีบาดเจ็บสาหัส ทหารของกุยกีมาช่วยชีวิตกุยกีไว้ได้ ทั้งสองฝ่ายต่างถอนกำลังถอยไป[ซานกั๋วจื้อจู้ 2] ลิโป้ไม่สามารถต้านทานข้าศึกไว้ได้ ท้ายที่สุดจึงทิ้งเมืองเตียงฮันหนีไป การพ่ายแพ้และหลบหนีของลิโป้เกิดขึ้นหลังตั๋งโต๊ะเสียชีวิตได้ 60 วัน[ซานกั๋วจื้อ 7]

เผย์ ซงจือให้ความเห็นว่า "60 วัน" ที่อ้างในจดหมายเหตุสามก๊กต้นฉบับเป็นการระบุที่คลาดเคลื่อน จากข้อมูลในหลักฐานอื่น ลิโป้สังหารตั๋งโต๊ะเมื่อวันที่ 23 เดือน 4 ของรัชศกชูผิงปีที่ 3 (ค.ศ. 190–193) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ และลิโป้หนีจากเมืองเตียงฮันเมื่อวันที่ 1 เดือน 6 ลิโป้จึงอยู่ในเมืองเตียงฮันไม่ถึง 60 วันหลังการเสียชีวิตของตั๋งโต๊ะ[ซานกั๋วจื้อจู้ 3]

ขอพึ่งอ้วนสุด

แก้

หลังจากหนีออกจากเมืองเตียงฮัน ลิโป้พร้อมด้วยทหารม้าที่ติดตามไม่กี่ร้อยนายกับศีรษะของตั๋งโต๊ะที่ผูกกับอานม้า ได้เดินทางผ่านด่านอู่กวันและไปเข้าร่วมด้วยอ้วนสุดที่เมืองลำหยง (หนันหยัง) จดหมายเหตุสามก๊กและ พงศาวดารฮั่นยุคหลัง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีของอ้วนสุดต่อลิโป้ที่แตกต่างกัน จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าลิโป้คาดหวังการต้อนรับอย่างดีเพราะลิโป้คิดว่าตนมีบุญคุณกับอ้วนสุดที่ช่วยแก้แค้นโดยการสังหารตั๋งโต๊ะ แต่อ้วนสุดกลับเกลียดชังลิโป้เพราะนิสัยชอบทรยศของลิโป้จึงปฏิเสธที่จะรับลิโป้มาเข้าด้วย[ซานกั๋วจื้อ 8] พงศาวดารฮั่นยุคหลัง ระบุว่าอ้วนสุดปฏิบัติต่อลิโป้อย่างเอื้อเฟื้อ แต่ลิโป้กลับประพฤติตนเย่อหยิ่งจากการที่รู้สึกว่าตนควรได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่านี้เพราะเขาได้สร้างบุญคุณให้ตระกูลอ้วนในการสังหารตั๋งโต๊ะ ลิโป้ยังปล่อยให้ทหารของตนเข้าบุกรุกพื้นที่ อ้วนสุดกังวลว่าลิโป้ที่ท่าทีคุกคาม และลิโป้เองก็รู้สึกไม่สบายใจหลังได้ยินว่าอ้วนสุดไม่ไว้วางใจตน ลิโป้จึงตัดสินใจจากไป[โฮ่วฮั่นชู 5]

เข้าร่วมอ้วนเสี้ยวและเตียวเอี๋ยง

แก้

หลังจากตีจากอ้วนสุด ลิโป้มุ่งหน้าขึ้นทางเหนือของจีนเพื่อไปเข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยวที่เป็นญาติของอ้วนสุด ลิโป้ได้ช่วยอ้วนเสี้ยวในการโจมตีเตียวเอี๋ยนที่เมืองเสียงสัน (ฉางชาน) เตียวเอี๋ยนมีทหารเดินเท้าและทหารม้าฝีมือดีหลายพันนาย ลิโป้นำผู้ใต้บังคับบัญชาคือเซ้งเหลียม (成廉 เฉิง เหลียน) และเว่ย์ เยฺว่ (魏越) กับทหารม้าหลายสิบนายเข้าปล้นค่ายของเตียวเอี๋ยน สังหารข้าศึกไปหลายคนและไล่ต้อนที่ข้าศึกเหลือถอยไป ทำเช่นนี้วันละ 3-4 ครั้งต่อเนื่องเป็นเวลาสิบกว่าวัน ในที่สุดจึงสามารถปราบกองกำลังของเตียวเอี๋ยนได้[ซานกั๋วจื้อ 9][โฮ่วฮั่นชู 6]

ลิโป้แสดงท่าทางเย่อหยิ่งต่อหน้าอ้วนเสี้ยวเพราะลิโป้ถือว่าตนมีบุญคุณต่อตระกูลอ้วนจากการสังหารตั๋งโต๊ะ ลิโป้ดูถูกผู้ติดตามของอ้วนเสี้ยวและปฏิบัติอย่างเหยียดหยาม ครั้งหนึ่งลิโป้ร้องขอทหารเพิ่มเติมจากอ้วนเสี้ยวแต่อ้วนเสี้ยวปฏิเสธ ลิโป้จึงส่งคนไปปล้นในอาณาเขตของอ้วนเสี้ยว อ้วนเสี้ยวไม่พอใจเป็นอย่างมากและรู้สึกว่าลิโป้ทำตัวเป็นภัยคุกคามต่อตน ฝ่ายลิโป้ก็รู้ว่าอ้วนเสี้ยวไม่ไว้วางใจตนจึงต้องการจะจากภาคเหนือของจีนกลับไปยังลกเอี๋ยง อ้วนเสี้ยวแสร้งทำเป็นเห็นด้วยและแนะนำลิโป้รับตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลราชธานี (司隷校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์) ขณะเดียวก็วางแผนอย่างลับ ๆ ตั้งใจจะสังหารลิโป้[โฮ่วฮั่นชู 7][ซานกั๋วจื้อ 10]

ในวันที่ลิโป้ออกเดินทาง อ้วนเสี่ยวส่งทหารเกราะ 30 นายไปเป็นผู้คุ้มกัน ระหว่างการเดินทางลิโป้หยุดและพักผ่อนในกระโจม คืนนั้นทหารอ้วนเสี้ยวลอบเข้าไปในกระโจมและสังหารคนข้างในกระโจมที่เอาผ้าห่มคุลมตน จากนั้นทหารจึงกลับไปรายงานอ้วนเสี้ยวว่าลิโป้ตายแล้ว วันต่อมาอ้วนเสี้ยวได้รับข่าวว่าลิโป้ยังมีชีวิตอยู่ อ้วนเสี้วจึงสั่งให้เปิดประตูเมืองทันที ความจริงแล้วลิโป้แอบออกมาจากกระโจมในคืนก่อนหน้านี้โดยที่ทหารอ้วนเสี้ยวไม่รู้ และสั่งให้คนของตนคนหนึ่งให้ยังอยู่ในกระโจมเพื่อเป็นนกต่อ[ซานกั๋วจื้อ 11][ซานกั๋วจื้อจู้ 4]

ลิโป้หนีไปเมืองโห้ล้ายเพื่อไปเข้าพึ่งเตียวเอี๋ยง อ้วนเสี้ยวส่งคนมาไล่ตามลิโป้ แต่คนของอ้วนเสี้ยวกลัวลิโป้จึงไม่กล้าเข้าใกล้[ซานกั๋วจื้อ 12] ฝ่ายเตียวเอี๋ยงและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับสินบนจากลิฉุยและกุยกีให้สังหารลิโป้ เมื่อลิโป้ได้ยินเรื่องนั้นจึงพูดกับเตียวเอี๋ยงว่า "ข้าเป็นคนมณฑลเดียวกับท่าน หากท่านฆ่าข้า ท่านจะอ่อนแอลง แต่หากท่านรับเข้าเข้าร่วม ท่านก็จะได้รับเกียรติและตำแหน่งเฉกเช่นลิฉุยและกุยกี" เตียวเอี๋ยงแสร้งทำเป็นรับคำที่จะช่วยลิฉุยและกุยกีสังหารลิโป้ แต่ลอบมอบที่พักพิงให้ลิโป้แทน เมื่อลิฉุยและกุยกีรู้ว่าเตียวเอี๋ยงรับลิโป้เข้าร่วมก็วิตกกังวลจึงส่งราชโองการไปเมืองโห้ลายโดยพระปรมาภิไธยของพระเจ้าเหี้ยนเต้แต่งตั้งให้ลิโป้เป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉฺ่ว) ของเมืองเองฉวน (อิ่งชฺวาน)[ซานกั๋วจื้อจู้ 5]

บันทึกความเกี่ยวข้องของลิโป้กับเตียวเอี๋ยงในจดหมายเหตุสามก๊กมีความแตกต่างเล็กน้อยกับที่บันทึกในพงศาวดารฮั่นยุคหลัง ในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าลิโป้เข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยวหลังถูกอ้วนสุดปฏิเสธ จากนั้นจึงไปเข้าพึ่งเตียวเอี๋ยงหลังอ้วนเสี้ยวส่งมือสังหารว่าเพื่อจะฆ่าตน ส่วนในพงศาวดารฮั่นยุคหลังระบุว่าลิโป้เข้าร่วมกับเตียวเอี๋ยงหลังจากที่จากอ้วนสุดไป และโน้มน้าวเตียวเอี๋ยงให้เพิกเฉยต่อคำขอของลิฉุยและกุยกีให้สังหารตน และให้ที่พักพิงให้ตนแทน ภายหลังลิโป้ไดจากเตียวเอี๋ยงมาเข้าด้วยอ้วนเสี้ยว แต่เดินทางกลับมาเข้าด้วยเตียวเอี๋ยงอีกครั้งหลังรอดชีวิตจากการถูกลอบสังหารมาได้ ระหว่างทางไปเมืองโห้ลาย ลิโป้ผ่านมาทางเมืองตันลิว (陳留 เฉินหลิว; ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน) เตียวเมาเจ้าเมืองตันลิวให้การต้อนรับลิโป้อย่างดี เตียวเมาให้คำมั่นเป็นมิตรกับลิโป้เมื่อลิโป้จะออกจากเมืองตันลิว[โฮ่วฮั่นชู 8]

ยุทธการที่กุนจิ๋ว

แก้

อ้วนเสี้ยวโกรธเมื่อได้ยินว่าเตียวเมาซึ่งตนขัดแย้งด้วยกลายเป็นมิตรของลิโป้ เวลานั้นอ้วนเสี้ยวยังเป็นพันธมิตรกับโจโฉ เตียวเมาจึงกลัวว่าโจโฉจะร่วมมือกับอ้วนเสี้ยวโจมตีตน นอกจากนี้เมืองตันลิวที่เป็นเขตอิทธิพลของเตียวเมายังอยู่ในมณฑลกุนจิ๋วซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของโจโฉ[ซานกั๋วจื้อ 13]

ในปี ค.ศ. 194 โจโฉออกจากมณฑลกุนจิ๋วไปโจมตีมณฑลชีจิ๋ว น้องชายของเตียวเมาชื่อเตียวเถียว (張超 จาง เชา) พร้อมด้วยผู้ใต้บังคับบัญชาของโจโฉ ได้แก่ ตันก๋ง, เค้ากี๋ (許汜 สฺวี่ ซื่อ) และอ๋องก้าย (王楷 หวัง ไข่) เริ่มต้นก่อกบฏ ตันก๋งโน้มน้าวเตียวเมาให้ร่วมด้วยกับตนในการเชิญลิโป้มามณฑลกุนจิ๋ว ด้วยความช่วยเหลือของผู้แปรพักตร์ ลิโป้จึงเข้ายึดอำเภอปักเอี้ยง (ผูหยัง) และตั้งตนเป็นเจ้ามณฑล (牧 มู่) ของมณฑลกุนจิ๋ว เมืองและอำเภอหลายแห่งในมณฑลกุนจิ๋วสนองตอบการเรียกของลิโป้และแปรพักตร์ไปเข้าด้วยลิโป้ ยกเว้นอำเภออำเภอเอียนเสีย (เจฺวี้ยนเฉิง), อำเภอตองไฮ (ตงเออ) และอำเภอฮวนกวน (ฟั่นเซี่ยน) ซึ่งยังอยู่ภายใต้การควบคุมของโจโฉ[ซานกั๋วจื้อ 14]

เมื่อโจโฉได้รับข่าวการก่อกบฏและการบุกรุกของลิโป้ โจโฉจึงทิ้งการศึกที่มณฑลชีจิ๋วและนำทัพกลับมายังมณฑลกุนจิ๋ว ทัพของลิโป้และโจโฉปะทะกันที่ปักเอี้ยง โจโฉไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาวะคุมเชิงกันเป็นเวลามากกว่า 100 วัน เวลานั้นมณฑลกุนจิ๋วเกิดภาวะทุพภิกขภัยจากตั๊กแตนและฤดูแล้ง ผู้คนจึงทุกข์ทรมมานจากความอดอยาก หลายคนหันไปกินเนื้อมนุษย์เพื่อเอาชีวิตรอด ลิโป้ย้ายฐานกำลังจากปักเอี้ยงไปทางตะวันออกยังเมืองซันหยง (ซันหยัง) ภายในสองปี โจโฉสามารถยึดอาณาเขตของตนในมณฑลกุนจิ๋วคืนมาได้ทั้งหมด ภายหลังก็เอาชนะลิโป้ได้ในยุทธการที่อำเภอจฺวี้เหย่ ลิโป้หนีไปทางตะวันออกยังมณฑลชีจิ๋วและขอพึ่งพิงเล่าปี่[ซานกั๋วจื้อ 15]

ขุนศึกแห่งชีจิ๋ว

แก้

ยึดชีจิ๋วจากเล่าปี่

แก้
 
แผนที่แสดงอาณาเขตของขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์ฮั่นในช่วงทศวรรษ 190 รวมถึงอาณาเขตที่ครอบครองโดยลิโป้หลังยึดมณฑลชีจิ๋วจากเล่าปี่

ลิโป้ปฏิบัติต่อเล่าปี่อย่างให้ความเคารพเมื่อแรกพบ ลิโป้กล่าวว่า "ท่านกับข้าต่างก็มาจากชายแดนทางเหนือ เมื่อข้าเห็นพันธมิตรกวันตงลุกขึ้นต่อต้านตั๋งโต๊ะ ข้าก็หวังจะช่วยพวกเขากำจัดตั๋งโต๊ะแล้ว แต่หลังข้าฆ่าตั๋งโต๊ะ ออกจากเตียงฮัน ไม่มีอดีตฝ่ายพันธมิตรคนใดเลยที่ต้องการจะรับข้า แถมยังพยายามจะฆ่าข้าด้วยซ้ำ" จากนั้นลิโป้จึงพาเล่าปี่มาที่กระโจมของตน บอกให้เล่าปี่นั่งบนเตียงภรรยาของตน และให้ภรรยาคำนับเล่าปี่ จากนั้นจึงจัดงานเลี้ยงให้เล่าปี่และเรียกเล่าปี่ว่าเป็น "น้องชาย" ของตน เล่าปี่รู้ว่าลิโป้เป็นคนคาดเดาไม่ได้และไม่น่าไว้วางใจ แต่เล่าปี่ก็ยังนิ่งและแสร้งทำเป็นมิตรกับลิโป้[ซานกั๋วจื้อจู้ 6]

เมื่อเล่าปี่ปกครองมณฑลชีจิ๋ว ได้ประจำการอยู่ที่แห้ฝือ (เซี่ยพี) อันเป็นเมืองเอกของมณฑลและมีเขตแดนที่ติดต่อกับเขตอิทธิพลของอ้วนสุดในพื้นที่รอบแม่น้ำไหฺวเหอ เมื่ออ้วนสุดรู้ว่าลิโป้อยู่ในมณฑลชีจิ๋ว อ้วนสุดต้องการจะยุยงให้ลิโป้มาช่วยตนจัดการกับเล่าปี่ จึงเขียนหนังสือถึงลิโป้ว่า "ในอดีต ตั๋งโต๊ะผูกขาดอำนาจรัฐ คุกคามราชวงศ์ และสังหารครอบครัวของข้า ข้าเข้าร่วมการทัพปราบตั๋งโต๊ะแต่ไม่อาจสังหารตั๋งโต๊ะได้ ท่านสังหารตั๋งโต๊ะและส่งศีรษะมาให้ข้า ด้วยการทำเช่นนี้ท่านจึงช่วยข้าล้างแค้นและกอบกู้เกียรติของข้า นี่คือความชอบครั้งแรกที่ท่านทำให้ข้า เมื่อจิน ยฺเหวียนซิว (金元休) เดินทางไปรับตำแหน่งที่มณฑลกุนจิ๋ว โจโฉยกไปปราบและเกือบกวาดล้างจนสิ้น ภายหลังท่านโจมตีโจโฉที่กุนจิ๋วและช่วยฟื้นฟูเกียรติให้ข้า นี่เป็นความชอบครั้งที่สองที่ท่านทำให้ข้า ตลอดชีวิตของข้า ข้าไม่เคยได้ยินถึงการมีตัวตนของเล่าปี่ แต่ตัวเล่าปี่ก็เริ่มทำศึกกับข้า ท่านสามารถปราบเล่าปี่ได้ด้วยความองอาจเข้มแข็งของท่าน และนี่จะเป็นความชอบครั้งที่สามที่ท่านทำให้ข้า ด้วยความชอบสามครั้งที่ท่านทำให้ข้า ข้ายินดีมอบหมายเรื่องความเป็นความตายแก่ท่าน แม้ว่าข้าจะไม่มีค่าเพียงพอ ท่านทำศึกเป็นเวลานานและขาดแคลนเสบียงอาหาร ข้าจึงขอส่งข้าวให้ท่านยี่สิบหมื่นหู (斛) และเปิดประตูต้อนรับท่าน ถ้ายังไม่เพียงพอ ข้าจะจัดหาเสบียงให้ท่านอย่างต่อเนื่อง หากท่านต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ร้องขอมาได้" ลิโป้ยินดีมากและตกลงจะช่วยอ้วนสุดโจมตีแห้ฝือ[ซานกั๋วจื้อจู้ 7] ข้อความในหนังสือของอ้วนสุดที่มีบันทึกในพงศาวดารฮั่นยุคหลังมีความแตกต่างเล็กน้อยและมีเนื้อความสั้นกว่าเมื่อเทียบกับในจดหมายเหตุสามก๊ก[โฮ่วฮั่นชู 9]

ลิโป้นำทัพไปตั้งอยู่ห่างจากเมืองแห้ฝือไปทางตะวันตก 40 ลี้ สฺวี่ ตัน (許耽) ชาวเมืองตันเอี๋ยง (丹楊 ตันหยัง) ผู้มีตำแหน่งขุนพลองครักษ์ (中郎將 จงหลังเจี้ยง) ในการบังคับบัญชาของเล่าปี่ ได้ส่งจาง ขวัง (章誑) ไปพบลิโป้ในตอนกลางคืน จาง ขวังแจ้งลิโป้ว่า "เตียวเอ๊กเต๊ก (เตียวหุย) วิวาทกับโจป้าและฆ่าโจป้าตาย บัดนี้ในเมืองกำลังโกลาหล มีทหารหนึ่งพันนายจากตันเอี๋ยงประจำอยู่ที่ประตูขาวทางตะวันตก เมื่อทหารได้ยินว่าท่านมาถึงก็กระโดดโลดเต้นอย่างดีใจเหมือนได้ฟื้นคืนชีพ ทหารตันเอี๋ยงจะเปิดประตูตะวันตกต้อนรับท่านเมื่อท่านมาถึงที่นั่น" ลิโป้ระดมกำลังทหารในคืนนั้นและเดินทางไปถึงแห้ฝือตอนรุ่งสาง ทหารจากตันเอี๋ยงได้เปิดประตูตะวันตกให้ลิโป้ ลิโป้ไปนั่งบนแท่นชมทิวทัศน์เหนือประตูแล้วสั่งให้ทหารจุดไฟขึ้นในเมือง ทหารลิโป้เอาชนะเตียวหุยและทหารในการรบและจับตัวครอบครัวของเล่าปี่และครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชาของเล่าปี่ รวมถึงยึดเสบียงของเล่าปี่ไว้[ซานกั๋วจื้อจู้ 8]

 
ภาพจิตรกรรมแสดงเหตุการณ์ลิโป้ยิงทวนจี่ (轅門射戟) ในระเบียงยาวของพระราชวังฤดูร้อน กรุงปักกิ่ง

เวลานั้นเล่าปี่นำทหารยกไปต้านทัพอ้วนสุดที่กำลังรุกรานที่อำเภออุไถ (ซฺวีอี๋) และอำเภอชัวหยิน (ไหฺวอิน) ในช่วงที่ลิโป้โจมตีและยึดเมืองแห้ฝือจากเล่าปี่ เล่าปี่ยังพ่ายแพ้แก่อ้วนสุดและถอยทัพไปยังอำเภอไห่ซี (海西; ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจียงซู) แล้วตกอยู่ในสภาวะหิวโหยและสิ้นหวัง เล่าปี่จึงยอมสวามิภักดิ์ต่อลิโป้ เหตุการณ์นี้อยู่ในราวต้นปี ค.ศ. 196[ซานกั๋วจื้อ 16] ลิโป้ไม่พอใจที่เสบียงที่อ้วนสุดสัญญาว่าจะให้ยังมาไม่ถึง จึงนำทหารมาต้อนรับเล่าปี่และตั้งเล่าปี่ให้เป็นข้าหลวง (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลอิจิ๋ว (อฺวี้โจว) และมอบหมายให้ไปประจำที่อำเภอเสียวพ่าย (เสี่ยวเพ่ย์) ส่วนลิโป้ได้ตั้งตนเป็นเจ้ามณฑลของมณฑลชีจิ๋ว[d][ซานกั๋วจื้อ 17] และยังอยู่ที่เมืองแห้ฝือ[โฮ่วฮั่นชู 10]

การก่อกบฏของหลันเป้ง

แก้

ในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 196 ผู้ใต้บังคับบัญชาของลิโป้ชื่อหลันเป้งก่อกบฏต่อลิโป้และโจมตีที่ว่าการของลิโป้ในแห้ฝือ โกซุ่นขุนพลของลิโป้เข้าปราบปรามกบฏโดยมีความช่วยเหลือจากโจเสงผู้ใต้บังคับบัญชาของหลันเป้งที่ปฏิเสธที่จะทรยศลิโป้ ในที่สุดจึงสังหารหลันเป้งได้[e] ต่อมาในปีเดียวกัน ลิโป้ใช้ทักษะการยิงเกาทัณฑ์ป้องปรามการเกิดศึกระหว่างเล่าปี่และกิเหลงขุนพลของอ้วนสุด ลิโป้ให้ปักทวนจี่ไว้ที่ประตูค่ายและเสนอว่า "ท่านทั้งหลาย จงดูข้ายิงเกาทัณฑ์ถูกส่วนล่างของคมโค้งรูปจันทร์เสี้ยวของทวนจี่ ถ้าข้ายิงถูกในครั้งเดียว พวกท่านต้องถอยทัพกลับไป หากข้ายิงไม่ถูก พวกท่านก็อยู่ต่อและเตรียมรบกันได้" จากนั้นลิโป้จึงน้าวเกาทัณฑ์แล้วยิงออกไปถูกส่วนล่างของคมโค้งรูปจันทร์เสี้ยว ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างตกตะลึงและกล่าวว่า "ท่านขุนพลมีพลังแห่งฟ้า" วันถัดมาต่างฝ่ายต่างยกทัพแยกย้ายกลับไป[6][ซานกั๋วจื้อ 18][โฮ่วฮั่นชู 11]

เป็นพันธมิตรกับโจโฉต่อต้านอ้วนสุด

แก้
 
ภาพวาดลิโป้

ต้นปี ค.ศ. 197 อ้วนสุดตั้งตนเป็นจักรพรรดิที่ฉิวฉุน (โช่วชุน) อันเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาเขตในการปกครองของอ้วนสุด และสถาปนาราชวงศ์ต๋องซือ (仲 จ้ง)[7] ถือเป็นการกระทำที่เป็นกบฏต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น อ้วนสุดจึงตกเป็นเป้าการโจมตีของโจโฉ[f] และขุนศึกคนอื่น ๆ ที่ได้รับราชโองการจากราชสำนักราชวงศ์ฮั่นให้กำจัดผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์

ก่อนหน้านี้ อ้วนสุดต้องการผูกพันธมิตรกับลิโป้จึงเสนอการแต่งงานระหว่างบุตรชายของตนกับบุตรสาวของลิโป้ ตอนแรกลิโป้ตอบตกลง หลังจากอ้วนสุดตั้งตนเป็นจักรพรรดิได้ส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อหันอิ้น (韓胤 หัน อิ้น) ไปพบลิโป้และคุ้มกันบุตรสาวของลิโป้กลับไปยังอาณาเขตของอ้วนสุดเพื่อเข้าพิธีแต่งงาน แต่ลิโป้กลับเปลี่ยนใจหลังตันกุ๋ยโน้มน้าวลิโป้ไม่ให้ส่งตัวบุตรสาวและลิโป้ก็นึกขึ้นได้ถึงเรื่องที่อ้วนสุดเคยปฏิเสธตนเมื่อไปขอพึ่งพิงเป็นครั้งแรก ลิโป้จึงส่งคนไล่ตามขบวนคุ้มกันของหันอิ้นที่กำลังกลับไปฉิวฉุนและชิงตัวบุครกลับมา ลิโป้ยังให้จับตัวหันอิ้นแล้วส่งตัวไปในฐานะนักโทษยังฮูโต๋ที่ซึ่งหันอิ้นถูกประหารชีวิต[ซานกั๋วจื้อ 19]

ทำศึกกับอ้วนสุด

แก้

ขัดแย้งกับจงป้า

แก้

ยุทธการที่แห้ฝือ

แก้

พ่ายแพ้และเสียชีวิต

แก้

ข้อวิจารณ์

แก้
 
ลิโป้รับบทโดยนักแสดงงิ้วเสฉวนในปี ค.ศ. 2018

ครอบครัว

แก้

ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของลิโป้มากนัก ทราบเพียงว่าลิโป้มีภรรยาและบุตรสาวที่ไม่มีชื่อบันทึกในประวัติศาสร์ ลิโป้ทิ้งภรรยาไว้เมื่อหนีออกจากเมืองเตียงฮัน แต่บังสี (龐舒 ผัง ชู) เข้าไปช่วยปกป้องคุ้มครองภรรยาของลิโป้ไว้ และส่งคืนให้ลิโป้ในภายหลัง ภรรยาของลิโป้มีบทบาทโดดเด่นในช่วงยุทธการที่แห้ฝือ เมื่อนางเตือนลิโป้ไม่ให้เชื่อใจตันก๋งมากเกินไป ตอนแรกลิโป้จัดการตบแต่งจะให้บุตรสาวไปแต่งงานกับบุตรชายของอ้วนสุดเพื่อเชื่อมความเป็นพันธมิตรระหว่างลิโป้และอ้วนสุด แต่ลิโป้กลับคำและชิงบุตรสาวกลับไประหว่างที่บุตรสาวเดินทางไปแต่งงาน เมื่อเมืองแห้ฝือถูกกองกำลังของโจโฉล้อมไว้ ลิโป้พยายามนำบุตรสาวออกจากเมืองเพื่อไปส่งให้อ้วนสุด หวังจะให้อ้วนสุดนำกำลังเสริมมาช่วยหลังรับตัวบุตรสาวไปแล้ว แต่ลิโป้ฝ่าวงล้อมไม่สำเร็จจึงพาบุตรสาวกลับเมืองแห้ฝือ ท้ายที่สุดก็ไม่ทราบชะตาของภรรยาและบุตรสาวของลิโป้

ในนิยายอิงประวัติศาสตร์สามก๊ก ลิโป้มีภรรยา 2 คน อนุภรรยา 1 คนและบุตรสาว 1 คน อนุภรรยาคือเตียวเสียน ตัวละคนที่แต่งเสริมในนิยายและเป็นธิดาบุญธรรมของอ้องอุ้น เตียวเสียนมาอยู่ด้วยลิโป้หลังจากลิโป้สังหหารตั๋งโต๊ะ และมีการกล่าวถึงเตียวเสียนในระหว่างยุทธการที่แห้ฝือ ภรรยาคนแรกของลิโป้คือเหงียมซี (嚴氏 เหยียนชื่อ) ผู้ซึ่งอิงมาจากภรรยาตัวจริงของลิโป้ที่มีบันทึกในหลักฐานประวัติศาสตร์ ภรรยาคนที่สองของลิโป้มีการกล่าวถึงเฉพาะในนิยาย เป็นบุตรสาวของโจป้า ส่วนบุตรสาวของลิโป้ในนิยายมีบทบาทที่เหมือนกับบุตรสาวของลิโป้ในบันทึกประวัติศาสตร์ ในนิยายก็ไม่ปรากฏชื่อของบุตรสาวลิโป้ แต่ถูกเรียกด้วยชื่อ "ลฺหวี่ หลิงฉี่" (吕玲绮; 呂玲綺; Lǚ Língqǐ) ในวิดีโอเกมและวัฒนธรรมร่วมสมัย

ในนิยายสามก๊ก

แก้

วัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้
  • ลิโป้ ถูกใช้เป็นตัวละครในเกมส์ 360mobi Palace สงครามวังหลัง ค่าย VNG Games Studio สายองครักษ์
  • เป็นตัวละครในเกมส์ Arena of Valor ( ROV ) ค่าย Garena (การีน่า) ใช้ชื่อว่า Lu Bu (ลิโป้)
  • Lu Bu ถูกใช้เป็นตัวละครในเกมส์ ซีรีส์ Dynasty Warriors
  • เป็นตัวละครในเกมส์ Seven Knight [7K] ค่าย Netmarble (เน็ตมาเบิล) ใช้ชื่อว่า Lu Bu (ลิโป้)
  • เป็นตัวละครในเกมส์ Heroes Evolved ค่าย Reality Squared Games ใช้ชื่อว่า Lu Bu (ลิโป้)
  • เป็นตัวละครในเกมส์ Romance of the three kingdom ภาค 1 -13

ใช้ชื่อว่า Lu Bu

  • เป็นตัวละครในเกมส์ Fate/Grand Order ในคลาส Berserker
  • เป็นตัวละครในเกมส์ ตำนานซีเฟยสู้ศึกวังหลัง สายองครักษ์
  • เป็น Skin ในเกมส์ Overwatch ชื่อ Lu Bu
  • เป็นขุนพลในเกมส์ TS online
  • เป็นขุนพลในเกมส์ total war three kingdoms
  • เป็นขุนพลในเกม Sankok Arena
  • เป็นขุนพลสุดเท่ในเกม SAMKOK MOE

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 Rafe de Crespigny นักจีนวิทยาชาวออสเตรเลียเขียนในหนังสือ A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23–220 AD ว่าลิโป้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 198[1] วันที่นี้ไม่ถูกต้องแม้ว่ารัชศกเจี้ยนอันปีที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้จะเทียบได้กับปี ค.ศ. 198 ในปฏิทินจูเลียน ทั้งนี้เพราะเดือน 11 ของรัชศกเจี้ยนอันปีที่ 3 คือระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 198 ถึง 14 มกราคม ค.ศ. 199 ในปฏิทินจูเลียน ดังนั้นเดือนสิบสองจึงอยู่ในปี ค.ศ. 199 แล้ว จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่าลิโป้ยอมจำนนต่อโจโฉในวันกุ๋ยโหย่ว (วันที่ 24) เดือน 12 รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 3 และถูกประหารในวันเดียวกัน[2] วันที่นี้ตรงกับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 199 ตามปฏิทินจูเลียน
  2. ทวนกรีดนภา หรือ ฟางเทียนฮฺว่าจี่ (方天畫戟; 方天画戟; fāngtiān huàjǐ) เป็นชื่อที่ตั้งให้กับอาวุธของลิโป้ที่เป็นทวนจี่ในนิยายสามก๊ก
  3. หนี (; ) เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายสิงโตในเทพนิยายจีน
  4. พงศาวดารฮั่นยุคหลังบันทึกว่าลิโป้ตั้งต้นเป็นเจ้ามณฑลของมณฑลชีจิ๋ว แต่ในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าลิโป้ตั้งตนเป็นข้าหลวงของมณฑลชีจิ๋ว ตำแหน่ง "ข้าหลวง" (刺史 ชื่อฉื่อ) มีลำดับต่ำกว่า "เจ้ามณฑล" (牧 มู่) ในยุคราชวงศ์ฮั่น
  5. ดูรายละเอียดในบทความหลันเป้งและโจเสง
  6. โจโฉกลายมาเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของราชสำนักราชวงศ์ฮั่นหลังจากเชิญเสด็จพระเจ้าเหี้ยนเต้มาประทับที่ฮูโต๋ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของตนในปี ค.ศ. 196 ฮูโต๋ได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่และเป็นที่ตั้งราชสำนัก เมื่อจักรพรรดิอยู่ภายใต้การควบคุม โจโฉจึงถือเป็นผู้กุมอำนาจของราชสำนัก

อ้างอิง

แก้

อ้างอิงจากจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ)

แก้
  1. (布便弓馬,膂力過人,號為飛將。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  2. (北詣袁紹,紹與布擊張燕於常山。燕精兵萬餘,騎數千。布有良馬曰赤兎。) จดหมายเหตุวามก๊ก เล่มที่ 7.
  3. (呂布字奉先,五原郡九原人也。 ... 以驍武給并州。刺史丁原為騎都尉,屯河內,以布為主簿,大見親待。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  4. (靈帝崩,原將兵詣洛陽。與何進謀誅諸黃門,拜執金吾。進敗,董卓入京都,將為亂,欲殺原,并其兵衆。卓以布見信於原,誘布令殺原。布斬原首詣卓,卓以布為騎都尉,甚愛信之,誓為父子。 ... 稍遷至中郎將,封都亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  5. (卓自以遇人無禮,恐人謀己,行止常以布自衞。然卓性剛而褊,忿不思難,嘗小失意,拔手戟擲布。布拳捷避之,為卓顧謝,卓意亦解。由是陰怨卓。卓常使布守中閤,布與卓侍婢私通,恐事發覺,心不自安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  6. (先是,司徒王允以布州里壯健,厚接納之。後布詣允,陳卓幾見殺狀。時允與僕射士孫瑞密謀誅卓,是以告布使為內應。布曰:「柰如父子何!」允曰:「君自姓呂,本非骨肉。今憂死不暇,何謂父子?」布遂許之,手刃刺卓。語在卓傳。 ... 允以布為奮威將軍,假節,儀比三司,進封溫侯,共秉朝政。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  7. (布自殺卓後,畏惡涼州人,涼州人皆怨。由是李傕等遂相結還攻長安城。 ... 布不能拒,傕等遂入長安。卓死後六旬,布亦敗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  8. (將數百騎出武關,欲詣袁術。布自以殺卓為術報讎,欲以德之。術惡其反覆,拒而不受。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  9. (常與其親近成廉、魏越等陷鋒突陣,遂破燕軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  10. (而求益兵衆,將士鈔掠,紹患忌之。布覺其意,從紹求去。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  11. (紹恐還為己害,遣壯士夜掩殺布,不獲。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  12. (事露,布走河內,與張楊合。紹令衆追之,皆畏布,莫敢逼近者。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  13. (呂布之捨袁紹從張楊也,過邈臨別,把手共誓。紹聞之,大恨。邈畏太祖終為紹擊己也,心不自安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  14. (興平元年,太祖復征謙,邈弟超,與太祖將陳宮、從事中郎許汜、王楷共謀叛太祖。宮說邈曰:「今雄傑並起,天下分崩,君以千里之衆,當四戰之地,撫劒顧眄,亦足以為人豪,而反制於人,不以鄙乎!今州軍東征,其處空虛,呂布壯士,善戰無前,若權迎之,共牧兖州,觀天下形勢,俟時事之變通,此亦縱橫之一時也。」邈從之。太祖初使宮將兵留屯東郡,遂以其衆東迎布為兖州牧,據濮陽。郡縣皆應,唯鄄城、東阿、范為太祖守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  15. (太祖引軍還,與布戰於濮陽,太祖軍不利,相持百餘日。是時歲旱、蟲蝗、少穀,百姓相食,布東屯山陽。二年間,太祖乃盡復收諸城,擊破布於鉅野。布東奔劉備。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  16. (袁術來攻先主,先主拒之於盱眙、淮陰。曹公表先主為鎮東將軍,封宜城亭侯,是歲建安元年也。先主與術相持經月,呂布乘虛襲下邳。下邳守將曹豹反,間迎布。布虜先主妻子,先主轉軍海西。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 32.
  17. (備東擊術,布襲取下邳,備還歸布。布遣備屯小沛。布自稱徐州刺史。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  18. (布於沛西南一里安屯,遣鈴下請靈等,靈等亦請布共飲食。布謂靈等曰:「玄德,布弟也。弟為諸君所困,故來救之。布性不喜合鬬,但喜解鬬耳。」布令門候於營門中舉一隻戟,布言:「諸君觀布射戟小支,一發中者諸君當解去,不中可留決鬬。」布舉弓射戟,正中小支。諸將皆驚,言「將軍天威也」!明日復歡會,然後各罷。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 7.
  19. (術欲結布為援,乃為子索布女,布許之。術遣使韓胤以僭號議告布,并求迎婦。 ... 布亦怨術初不己受也,女已在塗,追還絕婚,械送韓胤,梟首許市。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.

อ้างอิงจากอรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้)

แก้
  1. (曹瞞傳曰:「時人語曰:『人中有呂布,馬中有赤菟。』」) อรรถาธิบายจาก เฉาหมานจฺว้าน ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7
  2. (英雄記曰:郭汜在城北。布開城門,將兵就汜,言「且却兵,但身決勝負」。汜、布乃獨共對戰,布以矛刺中汜,汜後騎遂前救汜,汜、布遂各兩罷。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  3. (臣松之案英雄記曰:諸書,布以四月二十三日殺卓,六月一日敗走,時又無閏,不及六旬。) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  4. (英雄記曰:布自以有功於袁氏,輕傲紹下諸將,以為擅相署置,不足貴也。布求還洛,紹假布領司隷校尉。外言當遣,內欲殺布。明日當發,紹遣甲士三十人,辭以送布。布使止於帳側,偽使人於帳中鼓箏。紹兵卧,布無何出帳去,而兵不覺。夜半兵起,亂斫布牀被,謂為已死。明日,紹訊問,知布尚在,乃閉城門。布遂引去。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  5. (英雄記曰:楊及部曲諸將皆受傕、汜購募,共圖布。布聞之,謂楊曰:「布,卿州里也。卿殺布,於卿弱。不如賣布,可極得汜、傕爵寵。」楊於是外許汜、傕,內實保護布。汜、傕患之,更下大封詔書,以布為頴川太守。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  6. (英雄記曰:布見備,甚敬之,謂備曰:「我與卿同邊地人也。布見關東起兵,欲誅董卓。布殺卓東出,關東諸將無安布者,皆欲殺布耳。」請備於帳中坐婦牀上,令婦向拜,酌酒飲食,名備為弟。備見布語言無常,外然之而內不說。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  7. (英雄記曰:布初入徐州,書與袁術。術報書曰:「昔董卓作亂,破壞王室,禍害術門戶,術舉兵關東,未能屠裂卓。將軍誅卓,送其頭首,為術掃滅讐耻,使術明目於當世,死生不愧,其功一也。昔將金元休向兖州,甫詣封部,為曹操逆所拒破,流離迸走,幾至滅亡。將軍破兖州,術復明目於遐邇,其功二也。術生年已來,不聞天下有劉備,備乃舉兵與術對戰;術憑將軍威靈,得以破備,其功三也。將軍有三大功在術,術雖不敏,奉以生死。將軍連年攻戰,軍糧苦少,今送米二十萬斛,迎逢道路,非直此止,當駱驛復致;若兵器戰具,佗所乏少,大小唯命。」布得書大喜,遂造下邳。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  8. (英雄記曰:布水陸東下,軍到下邳西四十里。備中郎將丹楊許耽夜遣司馬章誑來詣布,言「張益德與下邳相曹豹共爭,益德殺豹,城中大亂,不相信。丹楊兵有千人屯西白城門內,聞將軍來東,大小踊躍,如復更生。將軍兵向城西門,丹楊軍便開門內將軍矣」。布遂夜進,晨到城下。天明,丹楊兵悉開門內布兵。布於門上坐,步騎放火,大破益德兵,獲備妻子軍資及部曲將吏士家口。) อรรถาธิบายจาก อิงสฺยงจี้ ใน จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.

อ้างอิงจากพงศาวดารฮั่นยุคหลัง (โฮ่วฮั่นชู)

แก้
  1. (布常御良馬,號曰赤菟,能馳城飛塹, ...) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 75.
  2. (明年,孫堅收合散卒,進屯梁縣之陽人。卓遣將胡軫、呂布攻之,布與軫不相能,軍中自驚恐,士卒散亂。堅追擊之,軫、布敗走。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 72.
  3. (卓自出與堅戰於諸陵墓閒,卓敗走,灠屯黽池,聚兵於陝。堅進洛陽宣陽城門,更擊呂布,布復破走。) โฮ่วฮั่นชู เล่มที่ 72.
  4. (允旣不赦涼州人,由是卓將李傕等遂相結,還攻長安。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 75.
  5. (布與傕戰,敗,乃將數百騎,以卓頭繫馬鞌,走出武關,奔南陽。袁術待之甚厚。布自恃殺卓,有德袁氏,遂恣兵鈔掠。術患之。布不安,復去從張楊於河內。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 75.
  6. (... 與其健將成廉、魏越等數十騎馳突燕陣,一日或至三四,皆斬首而出。連戰十餘日,遂破燕軍。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 75.
  7. (布旣恃其功,更請兵於紹,紹不許,而將士多暴橫,紹患之。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่ม 75.
  8. (時李傕等購募求布急,楊下諸將皆欲圖之。布懼,謂楊曰:「與卿州里,今見殺,其功未必多。不如生賣布,可大得傕等爵寵。」楊以為然。 ... 紹聞,懼為患,募遣追之,皆莫敢逼,遂歸張楊。道經陳留,太守張邈遣使迎之,相待甚厚,臨別把臂言誓。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่ม 75.
  9. (時劉備領徐州,居下邳,與袁術相拒於淮上。術欲引布擊備,乃與布書曰:「術舉兵詣闕,未能屠裂董卓。將軍誅卓,為術報恥,功一也。昔金元休南至封丘,為曹操所敗。將軍伐之,令術復明目於遐邇,功二也。術生年以來,不聞天下有劉備,備乃舉兵與術對戰。憑將軍威靈,得以破備,功三也。將軍有三大功在術,術雖不敏,奉以死生。將軍連年攻戰,軍糧苦少,今送米二十萬斛。非唯此止,當駱驛復致。凡所短長亦唯命。」) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่ม 75.
  10. (布得書大恱,即勒兵襲下邳,獲備妻子。備敗走海西,飢困,請降於布。布又恚術運糧不復至,乃具車馬迎備,以為豫州刺史,遣屯小沛。布自號徐州牧。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่ม 75.
  11. (布屯沛城外,遣人招備,并請靈等與共饗飲。布謂靈曰:「玄德,布弟也,為諸君所困,故來救之。布性不喜合鬬,但喜解鬬耳。」乃令軍候植戟於營門,布彎弓顧曰:「諸君觀布射小戟支,中者當各解兵,不中可留決鬬。」布即一發,正中戟支。靈等皆驚,言「將軍天威也」。明日復歡會,然後各罷。) พงศาวดารฮั่นยุคหลัง เล่ม 75.

รายการอ้างอิงอื่น ๆ

แก้
  1. de Crespigny (2007), pp. 624–625.
  2. ([侯]成忿懼,十二月,癸酉,成與諸將宋憲、魏續等共執陳宮、高順,率其衆降。[呂]布與麾下登白門樓。兵圍之急,布令左右取其首詣[曹]操,左右不忍,乃下降。 ... 宮請就刑,遂出,不顧,操為之泣涕,幷布、順皆縊殺之,傳首許市。操召陳宮之母,養之終其身,嫁宮女,撫視其家,皆厚於初。) Zizhi Tongjian vol. 62.
  3. (時李儒見丁原背後一人,生得器字軒昂,威風凜凜,手執方天畫戟,怒目而視。 ... 兩陣對圓,只見呂布頂束髮金冠,披百花戰袍,擐唐猊鎧甲,繫獅蠻寶帶,縱馬挺戟,隨丁建陽出到陣前。) สามก๊ก ตอนที่ 3.
  4. (孫堅移屯梁東,為卓將徐榮所敗,復收散卒進屯陽人。卓遣東郡太守胡軫督步騎五千擊之,以呂布為騎督。軫與布不相得,堅出擊,大破之,梟其都督華雄。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 60.
  5. (卓自出,與堅戰於諸陵間。卓敗走,卻屯澠池,聚兵於陝。堅進至雒陽,擊呂布,復破走。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 60.
  6. (布屯沛城西南,遣鈴下請靈等,靈等亦請布,布往就之,與備共飲食。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่ม 62.
  7. ([獻帝建安二年] ... 袁術稱帝於壽春,自稱仲家, ...) จือจื้อจงเจี้ยน เล่มที่ 62.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Chen Shou (2002). San Guo Zhi. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80665-198-5.
  • Luo Guanzhong (1986). San Guo Yan Yi. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80520-013-0.
  • Lo Kuan-chung; tr. C.H. Brewitt-Taylor (2002). Romance of the Three Kingdoms. Tuttle Publishing. ISBN 0-8048-3467-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
ก่อนหน้า ลิโป้ ถัดไป
เล่าปี่   เจ้าเมืองชีจิ๋ว
(พ.ศ. 739 - พ.ศ. พ.ศ. 741)
  กีเหมา