อ้วนเสี้ยว หรือในภาษาจีนกลางว่า หยวน เซ่า (เสียชีวิตวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 202)[1][2]) ชื่อรอง เปิ่นชู (本初)[3]เป็นขุนพลทหาร นักการเมือง และขุนศึกชาวจีนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เขาครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของจีนในช่วงสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น นอกจากนี้เขายังเป็นพี่ชายต่างมารดาของอ้วนสุด(หยวนซู่) ขุนศึกผู้ควบคุมภูมิภาคแม่น้ำห้วย แม้ว่าทั้งสองคนจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกันก็ตาม

หยวน เซ่า (มาตรฐาน)
อ้วนเสี้ยว (ฮกเกี้ยน)
袁紹
ภาพวาดของอ้วนเสี้ยวยุคราชวงศ์ชิง
แม่ทัพใหญ่ (大將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 196 (196) – 28 มิถุนายน ค.ศ. 202
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
แม่ทัพขวา (右將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 195 (195) – ค.ศ. 196 (196)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ผู้ว่าราชการมณฑลกิจิ๋ว (冀州牧)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 191 (191) – 28 มิถุนายน ค.ศ. 202
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ก่อนหน้าฮันฮก
ถัดไปอ้วนซง
ซือลี่เซี่ยวเว่ย์ (司隸校尉)
(แต่งตั้งเอง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 190 (190) – ค.ศ. 191 (191)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
จวีจี้เจียงจวิน (車騎將軍)
(แต่งตั้งเอง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 190 (190) – ค.ศ. 191 (191)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองปั๋วไห่ (勃海太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 190
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอชางฉุ่ย มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิต28 มิถุนายน พ.ศ. 202[1]
หานตาน มณฑลเหอเป่ย์
คู่สมรส
บุตร
บุพการี
  • Yuan Feng (บิดา)
ความสัมพันธ์
  • Yuan An (บรรพบุรุษ)
  • Yuan Ji (พี่น้องร่วมบิดา)
  • Yuan Shu (พี่น้องร่วมบิดา)
  • ภรรยาของYang Biao (พี่/น้องสาว)
  • ภรรยาของGao Gong (พี่/น้องสาว)
  • อ้วนอุ๋ย (ลูกพี่ลูกน้อง)
  • โกกัน (หลานชาย)
อาชีพขุนพล, นักการเมือง, ขุนศึก
ชื่อรองเปิ่นชู (本初)
ตำแหน่งเหมย์โหว (郿侯)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้จักรวรรดิฮั่น
ทัพพันธมิตรกวันตง
กองกำลังของอ้วนเสี้ยว
ผ่านศึกการสังหารหมู่เหล่าขันที
การทัพปราบตั๋งโต๊ะ
ศึกสะพานศิลา
ยุทธการที่เฟิงชิว
การทัพปราบอ้วนสุด
ยุทธการที่กัวต๋อ
อ้วนเสี้ยว
อักษรจีนตัวเต็ม袁紹
อักษรจีนตัวย่อ袁绍

หนึ่งในขุนศึกที่ทรงอำนาจมากที่สุดในยุคสมัยนั้น อ้วนเสี้ยวเป็นหัวหอกของเหล่าขุนศึกที่จัดตั้งแนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะ ซึ่งมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ ยุวจักรพรรดิเป็นตัวประกันในเมืองลั่วหยาง(ลกเอี๊ยง) แต่ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดความแตกแยกกันเอง ใน ค.ศ. 200 เขาได้เปิดฉากการทัพต่อต้านโจโฉ(เฉาเชา) แต่กลับประสบความปราชัยอย่างพินาศย่อยยับในยุทธการที่กัวต๋อ เขาได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการป่วยในอีกสองปีต่อมาในเมืองเย่ ด้วยความล้มเหลวในตอนท้าย แม้ว่าจะมีภูมิหลังครอบครัวที่มีชื่อเสียงเลื่องลือว่ารับใช้ราชวงศ์ฮั่นถึงสี่ชั่วอายุคน และข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์มักจะถูกตำหนิว่าเป็นคนที่ไม่มีความเด็ดขาดและไม่รับฟังคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองของที่ปรึกษาของตนเอง

ประวัติ

แก้

อ้วนเสี้ยวเกิดในอำเภอยีเอ็ง(หรู่หยาง-汝陽縣) เมืองยีหลำ(หรู่หนาน) ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอชางฉุ่ย มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน ตระกูลของเขาเป็นกำลังที่สำคัญในราชการแผ่นดินของราชวงศ์ฮั่นมานานกว่าสี่ชั่วอายุคน ได้สร้างสมาชิกจำนวนมากอยู่ในตำแหน่งระดับสูงมาตั้งแต่ศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากอ้วนอัน(หยวนอัน) ซึ่งเข้ารับราชการในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจาง บิดาที่แท้จริงของอ้วนเสี้ยวเป็นที่มาของข้อโต้เถียงกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของความขัดแย้งกันระหว่างตัวเขาเองกับน้องชายต่างมารดาหรือลูกพี่ลูกน้องอย่างอ้วนสุด อ้วนเสี้ยวเป็นบุตรของอ้วนฮอง(หยวนเฝิง-袁逢) และพี่ชายคนโต ซึ่งเป็นที่คาดเดากันว่าน่าจะทำให้อ้วนสุดรู้สึกโกรธแค้นชิงชัง ทั้งอ้วนเสี้ยวและอ้วนสุดได้รับการยอมรับว่าเป็นเหลนของอ้วนอัน ตามบันทึกไว้ในบันทึกเว่ย์ของหวังเฉิน

มารดาของอ้วนเสี้ยวเดิมทีเป็นสาวใช้ของอ้วนฮอง เนื่องจากอ้วนฮองไม่มีทายาทชาย การเกิดของอ้วนเสี้ยวทำให้มารดาของเขามีสถานะเป็นอนุภรรยา ในจดหมายเหตุสามก๊กได้ยืนยันว่า อ้วนเสี้ยวเป็นลูกพี่ลูกน้องของอ้วนสุด และถูกรับเลี้ยงดูโดยพี่ชายของอ้วนฮองนามว่า อ้วนเทีย(หยวนเฉิง-袁成) ซึ่งไม่มีทายาทชายเช่นกัน การรับเลี้ยงดูอ้วนเสี้ยวได้ทำให้อ้วนสุดรู้สึกโกรธแค้นอย่างมาก เนื่องจากมารดาของตนซึ่งเป็นอนุภรรยาของอ้วนฮองซึ่งมีสถานะสูงกว่ามารดาของอ้วนเสี้ยว อย่างไรก็ตาม ด้วยการรับเลี้ยงดูอ้วนเสี้ยวของอ้วนเทียทำให้อ้วนสุดไม่ใช่ผู้ชายที่มีสถานะสูงสุดในตระกูลอ้วนอีกต่อไป อ้วนเสี้ยวได้รับอภิสิทธิ์มากกว่าอ้วนสุด แม้ว่าคนหลังจะเป็นสมาชิกสายเลือดเดียวกันของตระกูลก็ตาม

เมื่ออ้วนเสี้ยวและอ้วนสุดได้กลายเป็นคู่ขัดแย้งในภายหลัง อ้วนสุดได้ใช้มารดาของอ้วนเสี้ยวเป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่า เขาไม่ใช่"บุตรชายที่แท้จริง" ของตระกูลอ้วน เมื่อเทียบกับอ้วนสุด อ้วนเสี้ยวมีภาพลักษณ์ที่จริงจังกว่าและเคารพคนที่มีความสามารถโดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้รับการต้อนรับจากหลาย ๆ คนตั้งแต่วัยเด็ก รวมทั้งโจโฉและเตียวเมา

รับราชการภายใต้ราชวงศ์ฮั่น(ค.ศ. 169-189)

แก้

เมื่อครั้งที่อ้วนเสี้ยวยังอยู่ในวัยหนุ่ม เขาได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงหรือตังเหริน(黨人) บางคนให้รอดพ้นจากความตายหรือประสบชะตากรรมอันเลวร้ายอื่น ๆ ในช่วงที่สองของหายนะแห่งคณะอภิชน หนึ่งในคนของพวก"ตังเหริน" นามว่า ฮี หยง ซึ่งอ้วนเสี้ยวได้ตีสนิทกันภายหลังจากที่เขาหลบหนีมายังเมืองยีหลำ และกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่อช่วงที่สองของหายนะแห่งคณะอภิชนได้เริ่มต้นขึ้น ฮี หยงมักจะแอบเข้าไปในลกเอี๊ยงอย่างลับ ๆ ซึ่งเขาได้ปรึกษาหารือกับอ้วนเสี้ยวในการวางแผนหาวิธีช่วยเหลือพวก"ตังเหริน" เมื่อครั้งที่พวก"ตังเหริน"กำลังสิ้นเนื้อประดาตัว ได้มีแผนที่จะให้ความช่วยเหลือด้วยวัตถุปัจจัย เมื่อครั้งที่พวก"ตังเหริน"ถูกคุมขัง ได้มีแผนที่จะให้เข้ามาในระบบราชการเพื่อให้พวกตังเหรินสามารถหลบหนีไปได้[4] ภายหลังจากที่เขาได้เข้ารับราชการ ในช่วงแรก อ้วนเสี้ยวได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของแม่ทัพใหญ่ โฮจิ๋น ซึ่งได้มอบไว้วางใจแก่เขาอย่างสุดซึ้ง

ภายหลังจากจักรพรรดิฮั่นหลิงสวรรคตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 189 โฮจิ๋นและอ้วนเสี้ยวได้วางแผนลับที่จะกำจัดสิบขันที[5] แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีเหอซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นไทเฮาทรงไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกเขา จากนั้นโฮจิ๋นได้ตัดสินใจเรียกตั๋งโต๊ะนำกองทัพเข้ามายังลกเอี๊ยง ราชธานีของจักรวรรดิเพื่อกดดันไทเฮา สิบขันทีรู้สึกหวาดกลัวและปลอมรับสั่งพระราชเสานีย์ในนามของไทเฮา เรียกโฮจิ๋นเข้ามาในพระราชวังชั้นใน อ้วนเสี้ยวได้ห้ามปรามโฮจิ๋น โดยกล่าวเตือนว่าเขาควรออกคำสั่งให้บุกเข้าโจมตีสิบขันทีทันทีแทนที่จะเข้าไปในพระราชวัง ภายหลังโฮจิ๋นปฏิเสธที่ยอมรับคำแนะนำของเขาถึงสามครั้ง อ้วนเสี้ยวและอ้วนสุดได้นำกองกำลังทหารชั้นยอด 200 นาย ไปรออยู่ภายนอกวัง วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 189[6] ภายในพระราชวัง โฮจิ๋นถูกพวกสิบขันทีดักซุ่มและลอบสังหาร ศีรษะที่ถูกตัดขาดได้ถูกโยนข้ามกำแพง เหล่าผู้ติดตามของโฮจิ๋นต่างโกรธแค้นจึงจุดไฟเผาพระราชวังและบุกเข้าไปข้างใน เข่นฆ่าทุกคน(ยกเว้นอิสตรี) โดยเฉพาะคนที่ไม่มีหนวดขนบนใบหน้า ถึงขั้นให้ชายหนุ่มหลายคนที่ไม่มีหนวดขนบนใบหน้าต้องแสดงอวัยวะเพศชายของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเข้าใจผิดว่าเป็นขันทีและถูกสังหาร[7] มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คนในการสังหารหมู่ ในขณะที่จักรพรรดิฮั่นเช่าตี้ซึ่งเป็นยุวจักรพรรดิและตันหลิวอ๋อง(จักรพรรดิเซี่ยนตี้ในอนาคต) ได้หลบหนีในช่วงเหตุการณ์ชุลมุน ด้วยภาวะสูญญากาศทางอำนาจที่เกิดขึ้นทำให้ตั๋งโต๊ะซึ่งได้พบเจอจักรพรรดิและท่านอ๋อง พร้อมกับสบโอกาสยึดอำนาจควบคุมเมืองหลวงของจักรวรรดิเมื่อเขาเดินทางมาถึง

จากนั้นตั๋งโต๊ะได้ปรึกษาหารือกับอ้วนเสี้ยวเกี่ยวกับแผนการของเขาที่จะทำการปลดจักรพรรดิฮั่นเช่าตี้ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาตันหลิวอ๋องขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน แต่อ้วนเสี้ยวกลับไม่เห็นด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคนจึงตกต่ำลงและอ้วนเสี้ยวได้หลบหนีจากลกเอี๊ยงไปยังกิจิ๋ว(ตอนใต้ของมณฑลเหอเป๋ย์ในปัจจุบัน) ในตอนนั้น อ้วนเสี้ยวเพิ่งจะออกจากประตูเมืองลกเอี๊ยง ตั๋งโต๊ะได้มีความคิดที่จะส่งคนไปตามหาเขา แต่เลขาเจียวปี(โจวปี้) นายทหารเหงาเค่ง(อู่เฉียง) และฮี หยงได้ให้ความช่วยเหลืออ้วนเสี้ยวอย่างลับ ๆ โดยเกลี้ยกล่อมให้ตั๋งโต๊ะปล่อยเขาไป ด้วยคำแนะของทั้งสามคนดังกล่าว ตั๋งโต๊ะได้แต่งตั้งให้อ้วนเสี้ยวเป็นเจ้าเมืองปั๋วไห่เพื่อเป็นการเอาใจเขา[8]

แนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะ(ค.ศ. 190-191)

แก้

ความก้าวหน้าของซุนเกี๋ยน

แก้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี ค.ศ. 190 อ้วนเสี้ยวได้กลายเป็นศัตรูอย่างเปิดเผย แนวร่วมพันธมิตรของเจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคและเจ้าเมืองจากมณฑลตะวันออก รวมทั้งโจโฉ อ้วนสุด ฮันฮก เตียวเมา และเปาสิ้น รวมตัวกันเพื่อเปิดศึกโค่นล้มอำนาจของตั๋งโต๊ะ อ้วนเสี้ยวได้ประกาศตั้งตนเองเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารม้ารถศึก(車騎將軍) และตั้งค่ายที่เมืองโห้ลายหรือเหอเน่ย์(河內) ใกล้กับที่ลุยน้ำข้ามฟากบนแม่น้ำหวงทางตอนเหนือของลกเอี๊ยง วันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 190[9] ตั๋งโต๊ะได้สั่งประหารชีวิตสมาชิกตระกูลอ้วนทั้งหมดในลกเอี๊ยง จากนั้นเขาได้ส่งทูตออกไปพร้อมกับราชโองการรับสั่งให้เจ้าหน้าระดับภูมิภาคแยกย้ายสลายตัว อย่างไรก็ตาม สมาชิกของแนวร่วมพันธมิตรต่างเชื่อฟังอ้วนเสี้ยว และให้ประหารชีวิตทูตทั้งหมดแทน(ยกเว้นฮันหยง) จากนั้นตั๋งโต๊ะได้ส่งโฮจิ้น ลิโป้ และฮัวหยงไปต้านทานกองกำลังแนวหน้าของแนวร่วมพันธมิตรที่นำโดยซุนเกี๋ยน แม้จะประสบความสำเร็จในช่วงแรก ซุนเกี๋ยนได้ใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งกันเองระหว่างโฮจิ้นและลิโป้ และเอาชนะพวกเขาที่หยางเริน ภายหลังจากความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น ตั๋งโต๊ะได้ตัดสินใจที่จะย้ายเมืองราชธานีไปยังเมืองฉางอัน ซึ่งฐานที่มั่นบ้านเกิดของเขาในแคว้นเหลียงจิ๋วอยู่ใกล้กัน หนึ่งปีต่อมา ตั๋งโต๊ะได้ทำการเผาเมืองลกเอี๊ยงจนวอดวายและล่าถอยไปทางตะวันตกพร้อมกับผู้อพยพจำนวนมาก แม้ว่าจะไม่มีฐานที่มั่นในการส่งกำลังบำรุง แต่ซุนเกี๋ยนและโจโฉได้เรียกร้องให้เร่งติดตามกองทัพของตั๋งโต๊ะที่กำลังล่าถอย แต่อ้วนเสี้ยนและเหล่าผู้นำแนวร่วมพันธมิตรคนอื่น ๆ ต่างไม่เห็นด้วยกับพวกเขา ซุนเกี๋ยนได้รับคำสั่งนัดพบกับอ้วนสุด โจโฉจึงนำกองกำลังของตนออกติดตามไปเพียงลำพัง และประสบความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับให้กับลูกสมุนของตั๋งโต๊ะ นามว่า ซีเอ๋ง

การสลายตัว

แก้

ในช่วงเวลานี้ อ้วนเสี้ยวและฮันฮกได้ตั้งใจที่จะสร้างความชอบธรรมของแนวร่วมพันธมิตรโดยการสถาปนาเล่าหงี ผู้ตรวจการแคว้นอิวจิ๋ว(ตอนเหนือของมณฑลเหอเป๋ย์ในปัจจุบัน) ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แทนที่จักรพรรดิเซี่ยนตี้ อย่างไรก็ตาม เล่าหงีได้ปฏิเสธ เนื่องจากมีความจงรักภัดดีต่อจักรพรรดิเซี่ยนตี้อย่างเหนียวแน่น เมื่อภาพเมืองราชธานีที่ถูกเผาทำลายได้ปรากฏต่อสายตาของพวกเขา เหล่าผู้นำแนวร่วมพันธมิตรที่แตกคอกันเองต่างตระหนักว่าราชวงศ์ฮั่นได้มาถึงจุดจบแล้ว และเริ่มวางแผนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งสถานะของพวกเขาเอง และในไม่ช้าพวกเขาต่างแยกย้ายกลับไปยังฐานบ้านเกิดของตน

รวบรวมทางตอนเหนือของจีน (ค.ศ. 191-199)

แก้

การยึดครองและรวบรวมแคว้นกิจิ๋ว (ค.ศ. 191)

แก้
 
แผนที่ที่แสดงให้เห็นถึงขุนศึกที่สำคัญในยุคราชวงศ์ฮั่นใน ค.ศ. 190 รวมทั้งอ้วนเสี้ยว

เนื่องจากมีผู้คนอาสาสมัครจำนวนมากจากมณฑลต่าง ๆ แห่เข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยว เมืองปั๋วไห่จึงไม่เพียงพอที่จะเสริมกองทัพของเขาเพิ่มเติมได้ ดังนั้นอองกี่จึงแนะนำให้อ้วนเสี้ยวจัดตั้งพันธมิตรลับกับขุนศึกกองซุนจ้านและยุยงให้ฝ่ายหลังบุกเข้าโจมตีแคว้นกิจิ๋วของฮันฮก[10] เมื่อเผชิญหน้ากับการบุกเข้าโจมตีที่กำลังใกล้เข้ามาของกองซุนจ้าน ฮันฮกรู้สึกหวาดกลัวมาก ดังนั้นเขาจึงเชื่อฟังผู้วิ่งเต้นของอ้วนเสี้ยวอย่างโกกัน (หลานชายของอ้วนเสี้ยว)[11] และซุนซิม(ซุนเฉิน) ยินยอมมอบอำนาจการปกครองของแคว้นกิจิ๋วให้กับอ้วนเสี้ยวเพื่อที่จะขับไล่กองซุนจ้านออกไป จากนั้นอ้วนเสี้ยวได้เริ่มสร้างรัฐขุนศึกจากเมืองเงียบกุ๋นหรือเย่เฉิง เมืองหลวงของแคว้นกิจิ๋ว เพื่อสกัดการขยายอิทธิพลของอ้วนสุด อ้วนเสี้ยวได้จับมือพันธมิตรกับโจโฉและเตียวเมา และแต่งตั้งผู้ติดตามของเขานามว่า โจวหย่ง ให้เป็นผู้ตรวจการแคว้นอิจิ๋ว ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ซุนเกี๋ยนดำรงอยู่แล้ว และส่งเขาไปโจมตีดินแดนของซุนเกี๋ยนในแคว้นอิจิ๋ว ในขณะที่อีกฝ่ายกำลังเดินทางกลับจากเมืองลกเอี๊ยง เพื่อเป็นการตอบโต้ อ้วนสุดจับมือพันธมิตรกับกองซุนจ้านและโตเกี๋ยม และสั่งให้ซุนเกี๋ยนบุกเข้าโจมตีพี่ชายต่างมารดาของตน

แม้ว้าโจวหย่งจะสามารถเอาชนะกองทัพของซุนเกี๋ยนในยุทธการที่อำเภอหยงเซีย เขาได้พ่ายแพ้ให้กับซุนเกี๋ยนในการสู้รบครั้งต่อไป การสู้รบครั้งแรกระหว่างสองพี่น้องได้ยุติลงโดยการเข้าข้างอ้วนสุด: เขาได้เผชิญหน้าและเอาชนะกองทัพของอ้วนเสี้ยวทั้งในอำเภอหยงเซียและเมืองกิวกั๋ง(จิ่วเจียง)คืนตำแหน่งในเมืองเองฉ่วนภายใต้ซุนเกี๋ยนและกำจัดโจวหย่งในฐานะภัยคุกคามครั้งแล้วครั้งเล่า แม้ว่าเมืองกิวกั๋งจะยังไม่ถูกพิชิต ในอีกมุมมองหนึ่ง สำหรับอ้วนเสี้ยว สถานการณ์นั้นยากลำบากอย่างมาก นอกจากความล้มเหลวในทางตอนใต้แล้ว เขายังถูกคุกคามจากกองซุนจ้าน ซึ่งเชื่อว่าอ้วนเสี้ยวต้องรับผิดชอบต่อการตายในสนามรบของกองซุนอวด(公孫越) ลูกพี่ลูกน้องของเขา และประกาศสงครามกับเขาอย่างเป็นทางการ โดยปฏิเสธการคัดค้านด้วยความหวังดีของอ้วนเสี้ยวทั้งหมด[12] สิ่งนี้ได้นำไปสู่การปะทะสู้รบกันระหว่างอ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านในยุทธการที่เจี้ยเฉียว

ยุทธการที่อำเภอหยงเซีย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกในการต่อสู้รบระหว่างสองพี่น้องตระกูลอ้วนเป็นจุดเริ่มต้นของระยะใหม่ในความสับสนวุ่ยวายของสงครามซึ่งนำไปสู่จุดจบของราชวงศ์ฮั่น การสู้รบฆ่ากันเองเช่นนี้เป็นการยืนยันถึงการล้มเลิกแนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะ เมื่อขุนศึกแห่งที่ราบตอนเหนือของจีนได้เริ่มต่อสู้รบกันเพื่อแย่งชิงอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดินจีน

เพื่อมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งกับกองซุนจ้าน อ้วนเสี้ยวได้จับมือเป็นพันธมิตรกับเล่าเปียว เพื่อต่อต้านอ้วนสุด ในช่วงฤดูหนาวของปีนั้น อ้วนเสี้ยวได้เอาชนะกองทหารชั้นยอดของกองซุนจ้านในยุทธการที่เจี้ยเฉียวด้วยการใช้อาวุธหน้าไม้จำนวนมาก ราชสำนักฮั่นได้ออกคำสั่งให้อ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านทำสัญญาสงบศึก จากนั้นอ้วนเสี้ยวจึงกลับไปที่เมืองเงียบกุ๋นและเริ่มตั้งเป้าหมายไปยังกองโจรแห่งภูเขาดำ(เฮซานเจ๋ย) ซึ่งคอยสร้างปัญหาในแคว้นกิจิ๋ว ด้วยความช่วยเหลือชั่วคราวจากลิโป้ อ้วนเสี้ยวสามารถเอาชนะกองโจรแห่งภูเขาดำไว้ได้ แม้จะสูญเสียอย่างหนักก็ตาม[13] ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อ้วนเสี้ยวได้ประสบความสำเร็จในการลดภัยคุกคามจากกองโจรแห่งภูเขาดำที่มีต่อแนวปีกตะวันตกของเขาอย่างมาก

การพิชิตแคว้นเฉงจิ๋ว (ค.ศ. 192–196)

แก้

แม้ว่าจะได้รับคำเตือนจากจอสิวว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจะเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ของปัญหาในอนาคต แต่อ้วนเสี้ยวยืนยันที่จะส่งอ้วนถำ บุตรชายคนแรกของเขาไปปกครองที่แคว้นเฉงจิ๋ว

ในปีต่อมา อ้วนเสี้ยวประสบความสำเร็จอย่างมากในการรวบรวมดินแดนอาณาเขตของตน ในเวลาเดียวกัน อ้วนถำยังประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการขยายดินแดนของเขาในแคว้นเฉงจิ๋ว[14] สามารถขับไล่เต๊งไก๋ ขุนพลของกองซุนจ้านใน ค.ศ. 193[15] และเอาชนะขงหยง เสนาบดีแห่งเมืองปักไฮใน ค.ศ. 196[16]

การปฏิเสธตัวประกันจักรพรรดิ (ค.ศ. 195–196)

แก้

ใน ค.ศ. 195 จอสิวได้แนะนำให้อ้วนเสี้ยวทำการต้อนรับจักรพรรดิเซี่ยนตี้ที่แคว้นกิจิ๋วเพื่อที่เขาจะได้สามารถควบคุมรัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้จักรพรรดิเป็นหุ่นเชิดเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองของเขา อย่างไรก็ตาม กัวเต๋าและอิเขงได้คัดค้านข้อเสนอของเขาด้วยเหตุผลที่ผิดว่า หากอ้วนเสี้ยวทำเช่นนั้น เขาจะต้องยอมอ่อนข้อต่อจักรพรรดิเซี่ยนตี้ในการตัดสินใจที่สำคัญ อ้วนเสี้ยวซึ่งชื่นชอบการมีอิสระของตนอยู่แล้วจึงเชื่อฟังกัวเต๋าและอิเขงและปล่อยให้โอกาศหลุดลอยไป ในทางตรงกันข้าม โจโฉซึ่งเป็นคู่แข่งของเขาได้ฉวยโอกาศนี้ในการต้อนรับจักรพรรดิเซี่ยนตี้สู่ฐานที่มั่นในนครฮูโต๋ ซึ่งเป็นเมืองราชธานีใหม่ของจักรวรรดิที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้น

ใน ค.ศ. 196 ราชสำนักฮั่น ภายใต้การควบคุมของโจโฉ ได้แต่งตั้งอ้วนเสี้ยวให้ดำรงตำแหน่งเป็นมหาเสนา อย่างไรก็ตาม อ้วนเสี้ยวไม่ยอมรับการแต่งตั้ง เนื่องจากตำแหน่งมหาเสนานั้นต่ำกว่าตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่โจโฉดำรงอยู่ ด้วยเหตุนี้ โจโฉจึงยอมสละตำแหน่งและเสนอให้อ้วนเสี้ยวเข้ารับตำแหน่งทันที อ้วนเสี้ยวได้รับการอวยยศศักดิ์เป็นเหมย์โหว

การกวาดล้างกองซุนจ้าน (ค.ศ. 198–199)

แก้

ใน ค.ศ. 198 อ้วนเสี้ยวได้บุกเข้าโจมตีกองซุนจ้านและโอบล้อมกองกำลังที่เหลือของเขาที่เมืองอีจิ้ง (อำเภอสง มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน) ในช่วงต้นปี ค.ศ. 199 อ้วนเสี้ยวสามารถเอาชนะกองซุนจ้านได้อย่างเบ็ดเสร็จในยุทธการที่อี้จิง และมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือสี่มณฑลทางตอนเหนือของแม่น้ำฮวงโห จากนั้นภายหลังจากได้สร้างพันธมิตรกับชนเผ่าโฮห้วน(อูหวน)ที่ชายแดนทางเหนือ อ้วนเสี้ยวได้หันความสนใจไปที่โจโฉซึ่งกำลังรวบรวมฐานอำนาจไว้ที่ทางใต้ของแม่น้ำฮวงโห

การทัพกัวต๋อ

แก้
 
มณฑลของจีนใน ค.ศ. 199:
  อ้วนเสี้ยว
  อื่น ๆ

ทั้งสองฝ่ายต่างเตรียมพร้อมสำหรับศึกตัดสินชี้ขาด ในช่วงปลายปี ค.ศ. 199 ทั้งสองฝ่ายได้สู้รบปะทะกันที่อำเภอลิมหยงหรือหลี่หยาง(ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอซุน มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นจุดข้ามผ่านที่สำคัญของแม่น้ำฮวง โจโฉเตรียมการป้องกันที่ตำบลกัวต๋อหรือกวนตู้(ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอจงมู่ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ทางตอนใต้ของแม่น้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อเล่าปี่ได้แปรพักตร์จากโจโฉในเดือนแรกในปี ค.ศ. 200 และปักหลักที่แคว้นชีจิ๋ว โจโฉได้ละทิ้งออกจากแนวรบทางตอนเหนืออย่างเปิดเผยต่ออ้วนเสี้ยวและหันเหไปทางตะวันออกเพื่อจัดการกับเล่าปี่ เตียนห้องได้เร่งเร้ากระตุ้นให้อ้วนเสี้ยวฉวยโอกาศบุกเข้าโจมตีโจโฉอย่างเต็มกำลังในขณะที่เขาไม่อยู่ แต่อ้วนเสี้ยวกลับปฏิเสธที่จะเปิดฉากโจมตีอย่างเต็มกำลัง เขากลับส่งกองกำลังทหารขนาดเล็กไปก่อกวนข้าศึก อิกิ๋ม ขุนพลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยโจโฉให้ปกปองด่านข้ามแม่น้ำฮวง สามารถเอาชนะกองกำลังทหารของอ้วนเสี้ยวไว้ได้

ไม่นานภายหลังจากที่โจโฉกลับมายังกัวต๋อ อ้วนเสี้ยวได้ให้ตันหลิมแต่งหนังสือกล่าวโทษประณามโจโฉในสิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการประกาศสงคราม จากนั้นเขาได้เคลื่อนกองทัพหลักของเขาไปยังฐานทัพแนวหน้าของอำเภอหลิมหยง ทางตอนเหนือของแม่น้ำฮวง ในเวลานั้น กองทัพทหารผ่านศึกหลักของอ้วนเสี้ยวมีจำนวนมากกว่า 100,000 นาย เสริมด้วยหน่วยทหารอาสาสมัครที่มีทักษะน้อยกว่าจำนวนแสนนาย ด้วยจำนวนทหารที่มีมากกว่าของโจโฉและกองกำลังทหารม้าขนาดใหญ่ที่มีอยู่ การโจมตีครั้งแรกของอ้วนเสี้ยวเกือบที่จะครอบงำตำแหน่งข้าศึกของเขา มีการบันทึกในจดหมายเหตุสามก๊กว่า โจโฉได้พิจารณาที่จะสละตำแหน่งที่มั่นหลายครั้ง และปรึกษาหารือกับหัวหน้านักยุทธศาสตร์นามว่า ซุนฮก เกี่ยวกับการตัดสินใจนั้น ซึ่งซุนฮกไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและสนับสนุนให้โจโฉยึดที่มั่นต่อไป ภายหลังจากการแปรพักตร์อย่างไม่คาดคิดของเขาฮิว ซึ่งเป็นนักยุทธศาสตร์และเพื่อนสนิทของอ้วนเสี้ยว โจโฉได้รับข้อมูลลับที่น่าเชื่อเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของคลังเก็บเสบียงของอ้วนเสี้ยว ในช่วงปลายปี ค.ศ. 200 โจโฉและงักจิ้นได้นำกองกำลังทหารบุกเข้าโจมตีคลังเก็บเสบียงของอ้วนเสี้ยวที่อำเภออัวเจ๋า(อูเฉา) และเผาทำลายทิ้ง สร้ายความเสียหายอย่างมากต่อขวัญกำลังใจของกองทัพอ้วนเสี้ยว นายทหารสองคนของอ้วนเสี้ยวอย่างเตียวคับและโกลำได้แปรพักตร์ไปอยู่ข้างโจโฉทันที เมื่อพวกเขารู้เรื่องที่เกิดขึ้นในอำเภออัวเจ๋าและคนอื่น ๆ อีกหลายคนได้ทำตาม อ้วนเสี้ยวไม่สามารถหยุดยั้งกระแสความคิดนี้ได้และหนีไปทางเหนือข้ามแม่น้ำหวงพร้อมกับเหล่าผู้จงรักภักดีหลายร้อยคน

ความปราชัยครั้งแรกของอ้วนเสี้ยวถือว่าเป็นการตัดสินชี้ขาดเช่นกัน ภายหลังจากนั้น เขาได้สูญเสียความได้เปรียบเหนือโจโฉและไม่มีวันพลิกฟื้นกลับคืนมา ใน ค.ศ. 201 โจโฉได้เอาชนะเขาอีกครั้งในยุทธการที่อำเภอซองเต๋ง(ชังถิง) และดำเนินการยึดดินแดนหลายแห่งของอ้วนเสี้ยวในแคว้นกิจิ๋ว

ความพยายามที่จะพลิกวิกฤตอย่างไร้ประโยชน์และถึงแก่อสัญกรรม(ค.ศ. 201-202)

แก้

ภายหลังจากยุทธการที่อำเภอซองเต๋ง กองกำลังทหารที่กำลังอ่อนล้าของโจโฉได้เดินทางกลับไปยังทางใต้เพื่อพักผ่อน ในขณะเดียวกัน อ้วนเสี้ยวสามารถจัดตั้งกองทัพที่ปราชัยของเขาเสียใหม่เพื่อยับยั้งการก่อกบฎในดินแดนของเขาเอง ในไม่ช้าได้จัดตั้งระเบียบขึ้นมาใหม่และกลับคืนสู่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนสงคราม[17] อ้วนเสี้ยวมีบุตรชายสามคน และชื่นชอบบุตรชายคนที่สามของเขา นามว่า อ้วนซง เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดีของเขา และทั้งอ้วนถำและอ้วนซงต่างเป็นตัวเลือกของเขาในการสืบทอดตำแหน่ง[18] อย่างไรก็ตาม อ้วนเสี้ยวไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้ใครมาสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา ก่อนที่เขาจะถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 202 ปล่อยให้ดินแดนที่เขาปกครองถูกแก่งแย่งชิงกันโดยบุตรชายของเขาและโจโฉ

ไม่นานภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอ้วนเสี้ยว สิมโพยและฮองกี๋ สองที่ปรึกษาทรงอิทธิพล ต่างสนับสนุนอ้วนซง และผลักดันให้เขาสืบทอดตำแหน่งต่อจากอ้วนเสี้ยว แม้ว่าจะได้รับการคัดค้านจากอ้วนถำ[19] นางเล่าซือ(หลิวซือ) ภรรยาของอ้วนเสี้ยวได้ให้การสนับสนุนอ้วนซงและอ้วนถำไม่สามารถทำอะไรได้เลยเพื่อเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ เมื่อเขารีบเดินทางกลับมาจากแคว้นเฉงจิ๋ว จากนั้นนางเล่าซือได้กลายเป็นผู้คุมครอบครัวตระกูลอ้วน ภายหลังจากที่สามีของนางเสียชีวิต ได้สังหารอนุภรรยาทั้งห้าของอ้วนเสี้ยวด้วยความหึงหวงและทำให้พวกนางเสียโฉม ตามคำเตือนก่อนหน้าของจอสิว ความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นในกองทัพอ้วนเสี้ยว โจโฉได้ใช้ประโยชน์จากความวุ่นวายภายในครอบครัวตระกูลอ้วนให้เป็นประโยชน์ต่อเขาและกำจัดทายาทและคนที่เหลือของอ้วนเสี้ยวโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 207

โจโฉได้แสดงความเคารพหลุมฝังศพของอ้วนเสี้ยว ภายหลังจากได้พิชิตเมืองเงียบกุ๋นใน ค.ศ. 204 เขาได้ร้องไห้เสียใจถึงสหายเก่าของเขาต่อหน้าเหล่าผู้ติดตามของเขาและมอบของขวัญปลอบใจต่อครอบครัวอ้วนเสี้ยวและเงินบำนาญของรัฐบาล[20]

ครอบครัวตระกูล

แก้
  • บรรพบุรุษ:
    • อ้วนอัน หรือ หยวนอัน ทวด รับราชการทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมการศึกษาและเจ้ากรมโยธา
    • หยวนจิง (袁京), ปู่ทวด, รับราชการทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมโยธา
    • อ้วนถัง หรือ หยวนทาง (袁湯), ปู่, รับราชการทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมการศึกษาและเจ้ากรมโยธาและหัวหน้าฝ่ายทหาร
  • บิดา: อ้วนฮอง หรือ หยวนเฝิง (袁逢), รับราชการทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมโยธา
  • พี่น้อง:
    • หยวนจิ (袁基), พี่ชายคนโตต่างมารดา, เป็นรัฐมนตรีกระทรวงราชพาหนะ
    • อ้วนสุด หรือ หยวนซู่, น้องชายคนเล็กต่างมารดา, ขุนศึก, ได้ประกาศสถาปนาตั้งตนเป็นจักรพรรดินามว่า พระเจ้าต๋องซือ
  • คู่ครอง:
    • ภรรยาเอก, มารดาของอ้วนถำและอ้วนฮี
    • นางเล่าซือ หรือ หลิวซือ (劉夫人), มารดาของอ้วนซง
    • เหล่าอนุภรรยาทั้งห้า, ถูกสังหารทั้งหมดโดยเล่าฮูหยิน
  • บุตร:
    • อ้วนถำ, บุตรชายคนโต, ทำสงครามกับอ้วนซงภายหลังจากบิดาของเขาเสียชีวิต ถูกสังหารโดยโจโฉ
    • อ้วนฮี หรือ หยวนซี, บุตรชายคนที่สอง, ย้ายไปอยู่ที่อิวจิ๋วภายหลังจากบิดาของเขาเสียชีวิต, ต่อมาได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เหลียวตงร่วมกับอ้วนซ่ง, ถูกสังหารโดยกองซุนของ
    • อ้วนซง หรือ หยวนซาง, บุตรชายคนที่สาม, ทายาทของอ้วนเสี้ยว, ทำสงครามกับอ้วนถำภายหลังจากบิดาของเขาเสียชีวิต, ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เหลียวตงร่วมกับอ้วนฮี, ถูกสังหารโดยกองซุนของ
  • ญาติ:
    • อ้วนหงุย หรือ หยวนเว่ย (袁隗), ผู้เป็นอา, รับราชการทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมการศึกษาสองครั้ง, และมหาราชครู ถูกสังหารโดยตั๋งโต๊ะ
    • Yuan Cheng (袁成), uncle
    • Yuan Yi, elder cousin, served as Prefect of Chang'an, and Inspector of Yang Province
    • Yuan Xu (袁敘), younger cousin
    • Yuan Yin (袁胤), younger cousin, served as Administrator of Danyang
    • Yuan Manlai (袁滿來), cousin
    • Yuan Yida (袁懿達), cousin
    • Yuan Renda (袁仁達), cousin
    • โกกัน, หลาน

ลักษณะและอุปนิสัย

แก้

ตำราพิชัยสามก๊กของวรรณไว พัธโนทัย กล่าวถึงอ้วนเสี้ยวไว้ว่า อ้วนเสี้ยวนั้นมีข้อเสียเป็นผู้มีอุบายมาก แต่ความเด็ดขาดมีน้อย ชอบฟังแต่คำยุให้รำตำให้รั่ว เห็นแก่ญาติพี่น้องของตนอย่างเดียว ไม่มีความรู้ด้านตำราพิชัยสงคราม ชอบแต่คนมีหน้ามีตาและชอบพูดขัดคอคนอื่น

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 de Crespigny (2007), p. 1009.
  2. de Crespigny (1996), Note 4 of section Jian'an 7.
  3. เปิ่นชู ก็เป็นชื่อศักราชที่จักรพรรดิฮั่นจื้อใช้
  4. ([何颙]亡匿汝南闲。... 袁绍慕之,私与往来,结为奔走之友。是时党事起,天下多离其难,颙常私入洛阳,从绍计议。其穷困闭厄者,为求援救,以济其患。有被掩捕者,则广设权计,使得逃隐,全免者甚觿。) Houhanshu, vol.67
  5. (灵帝崩,太后兄大将军何进与绍谋诛诸阉官,) Sanguozhi, vol.06
  6. de Crespigny, Rafe (2007), p. 312.
  7. Sanguozhi vol. 6.
  8. Sanguozhi vol. 6.
  9. wuwu day of the 3rd month of the 1st year of the Chu'ping era, per Emperor Xian's biography in Book of the Later Han
  10. Houhanshu vol. 74, part 1.
  11. de Crespigny, Rafe (2007), p. 241.
  12. de Crespigny (1996), p. 123
  13. Houhanshu vol. 74, part 1.
  14. Sanguozhi vol. 6.
  15. de Crespigny, Rafe (2007), p. 272.
  16. de Crespigny, Rafe (2007), p. 392.
  17. Leban, p. 375
  18. Sanguozhi vol. 6.
  19. Sanguozhi vol. 6.
  20. de Crespigny (1996), p. 328
  • Chen, Shou (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (Sanguozhi).
  • de Crespigny, Rafe (1990). Generals of the South: The foundation and early history of the Three Kingdoms state of Wu (internet ed.). Canberra: Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07..
  • de Crespigny, Rafe (1996). To Establish Peace: being the Chronicle of the Later Han dynasty for the years 189 to 220 AD as recorded in Chapters 59 to 69 of the Zizhi tongjian of Sima Guang. Vol. 2. Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University. ISBN 978-0-7315-2526-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • Fan, Ye (คริสต์ศตวรรษที่ 5). Book of the Later Han (Houhanshu).
  • Pei, Songzhi (คริสต์ศตวรรษที่ 5). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).
  • Sima, Guang (1084). Zizhi Tongjian.