ซุนฮก
ซุนฮก (จีน: 荀彧; ค.ศ. 163-212)[1][2] ชื่อรอง เหวินรั่ว (文若) เป็นข้าราชการทหารและขุนนางที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของโจโฉในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ซุนฮก | |
---|---|
荀彧 | |
ภาพวาดซุนฮกในสมัยราชวงศ์ชิง (1734) | |
ช่างชูลิ่ง (尚書令) (รักษาการ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 196 – ค.ศ. 212 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
หัวหน้ารัฐบาล | โจโฉ |
ถัดไป | ฮัวหิม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 163[1] สฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | ค.ศ.212 (49 ปี)[1] เทศมณฑลโช่ว มณฑลอานฮุย |
บุตร | |
บุพการี |
|
อาชีพ | ข้อราชการทหาร, ขุนนาง |
ชื่อรอง | เหวินรั่ว (文若) |
ชื่อหลังเสียชีวิต | จิ้งโหว (敬侯) |
ตำแหน่ง | ว่านซุ่ยถิงโหว (萬歲亭侯) |
ประวัติ
แก้ซุนฮกมาจากเมืองเองฉวน (ประมาณเมืองสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) และเกิดในครอบครัวข้าราชการ เขาได้รับการอธิบายไว้ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นสุภาพบุรุษที่สูงและหล่อเหลา ปู่ของเขาคือ ซุนฉู่ (荀淑) รับราชการเป็นนายอำเภอ และมีลูกชาย 8 คน ซึ่งได้รับฉายาว่า "แปดมังกรแห่งตระกูลซุน"; ลุง/อาของซุนฮก คือซุนฉ่วง (荀爽) รับราชการเป็นหนึ่งในซันกง
ซุนฮกได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเด็กหนุ่มที่มีพรสวรรค์ และได้รับการประเมินโดยนักวิชาการชื่อเหอหย่ง ว่าเป็น "ผู้ที่สามารถช่วยเหลือกษัตริย์ได้" (王佐之才) ในปี ค.ศ. 189 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นเซียวเหลียน (ผู้สมัครรับราชการ) และเริ่มรับราชการ เมื่อตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจในเมืองหลวงลั่วหยาง ซุนฮกเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงลาออกจากราชการกลับไปยังกิจิ๋ว (มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน)
ซุนฮกรับใช้อ้วนเสี้ยวซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในกิจิ๋วเป็นครั้งแรก แต่ต่อมาซุนฮกก็ทิ้งเขาและไปรับใช้โจโฉแทนในปี ค.ศ. 191 โจโฉรับรู้ถึงพรสวรรค์ของซุนฮกและอุทานว่า "จื่อฟางของฉันมาแล้ว![3]" เมื่อซุนฮกมาถึง เขาได้แต่งตั้งซุนฮกเป็นผู้บัญชาการกองทัพ
รับใช้ภายใต้โจโฉ
แก้การมีส่วนร่วมของซุนฮกต่อกองกำลังและการบริหารของโจโฉนั้นมีมากมายมหาศาล ในด้านหนึ่ง เขาแนะนำคนที่มีความสามารถอีกหลายคนให้โจโฉ รวมทั้งซุนฮิว, ตันกุ๋น, จงฮิว, กุยแก และสุมาอี้ โดยสร้างคณะที่ปรึกษารอบๆ โจโฉ; ในเวลาเดียวกันเขาได้เข้าร่วมในการต่อสู้และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในยุคนั้นหลายครั้ง โดยมักจะให้คำแนะนำแก่เจ้านายของเขาอย่างทันท่วงที ในทางกลับกัน โจโฉก็เคารพซุนฮกอย่างมากและให้คำแนะนำที่ดีแก่เขา
ในปี ค.ศ. 194 ขณะที่โจโฉนำทัพรบกับโตเกี๋ยมในชีจิ๋ว ฐานอำนาจที่บ้านของเขาที่กุนจิ๋วก็ถูกลิโป้โจมตีอย่างกะทันหัน และขุนนางสองคนของโจโฉคือตันก๋งและเตียวเมาเลือกที่จะแปรพักตร์ไปรับใช้ลิโป้ ในเวลานั้น ซุนฮกรับผิดชอบการป้องกันเมืองเจียนเฉิง (鄄城) และการรักษาเมืองอย่างมั่นคงของเขาช่วยให้เมืองรอดพ้นจากการถูกยึดครอง ทำให้กองทัพของโจโฉกลับมาและขับไล่ลิโป้ออกไป ต่อมาหลังจากการตายของโตเกี๋ยม โจโฉก็หันกลับมาเพื่อที่จะพิชิตชีจิ๋ว ก่อนที่จะไปจัดการกับลิโป้; ซุนฮกเป็นผู้ห้ามปรามเขาจากสิ่งนี้ โดยเตือนเขาว่ากุนจิ๋วเป็นดินแดนหลักและฐานอำนาจของเขา และควรได้รับความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ ตามคำแนะนำของซุนฮกนั้น โจโฉเลือกที่จะคุ้มกันพระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ในซากปรักหักพังของลั่วหยาง ไปยังฐานอำนาจของเขาที่ Xu (ปัจจุบันคือสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน) ในปี ค.ศ. 196 โดยรับหน้าที่ในการปกป้องจักรพรรดิ แผนของซุนฮกคือ "ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์จักรพรรดิ" (奉天子以令不臣); ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก ได้บิดเบือนเรื่องนี้โดยเปลี่ยนเป็น "จับจักรพรรดิเป็นตัวประกันเพื่อควบคุมขุนนาง" (挾天子以令不臣) ในระยะยาว กลยุทธ์นี้จะทำให้โจโฉมีข้อได้เปรียบทางการเมืองเหนือคู่แข่ง ทำให้เขาสามารถกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์จักรพรรดิ
ในปี ค.ศ. 200 โจโฉทำสงครามกับอ้วนเสี้ยวในยุทธการที่กัวต๋อ เป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุดเสบียงอาหารของเขาก็หมดลง ในขณะที่เขาคิดที่จะล่าถอยเขาได้ส่งจดหมายถึงซุนฮก (ซึ่งตอนนั้นกำลังรักษาเมืองฮูโต๋) เพื่อขอคำแนะนำ ซุนฮกห้ามปรามโจโฉผ่านทางจดหมายโดยเน้นถึงข้อดีหลายประการและกระตุ้นให้เขายืนหยัด ผลสุดท้ายคือชัยชนะอย่างเด็ดขาดของโจโฉ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกครองจีนตอนเหนือของเขา
เสียชีวิต
แก้ในปี ค.ศ. 211 ตังเจี๋ยวและกลุ่มผู้ภักดีต่อโจโฉ ได้ยื่นฎีกาต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้โดยเสนอให้โจโฉได้รับตำแหน่ง ก๋ง (公) ข้อเสนอนี้มีความสำคัญเนื่องจากจะทำให้โจโฉสามารถจัดตั้งรัฐศักดินาที่มีขอบเขตในตัวเองได้ภายในราชวงศ์ฮั่น เมื่อถึงจุดนี้ ซุนฮกซึ่งมีอุดมการณ์ให้โจโฉเป็นผู้พิทักษ์ราชวงศ์ฮั่นต่อไป ได้คัดค้านข้อเสนอของตังเจี๋ยวและคณะ
เมื่อรู้ว่าตังเจี๋ยวเป็นตัวแทนของโจโฉเพื่อมาเจรจา ซุนฮกจึงบอกกับตังเจี๋ยวว่าภารกิจขอโจโฉคือการฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นและจะไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งนั่นอาจเป็นการบอกใบ้ถึงโจโฉว่าเขาควรละทิ้งความคิดนี้ คำพูดของซุนฮกทำให้โจโฉไม่พอใจอย่างมาก
ต่อจากนี้ ซุนฮกถูกส่งไปมอบรางวัลแก่ทหารที่เข้าร่วมการต่อสู้กับซุนกวน ขณะที่อยู่ที่นั่น กล่าวกันว่า ซุนฮกล้มป่วยและถูกนำตัวไปที่สิ่วชุ่น (寿春; ปัจจุบันคือ Shou County มณฑลอานฮุย) เพื่อรับการรักษาและพักฟื้น เขาเสียชีวิตในปีต่อมาคือในปี ค.ศ. 212 การตายของเขาทำให้เกิดความสงสัยอย่างมากและเป็นเรื่องของการถกเถียงหลังจากที่เขาคัดค้านการขึ้นเป็นก๋งของโจโฉ
ครอบครัว
แก้- หลานอา ซุนฮิว
- บุตร ซุนหุน
อ้างอิง
แก้การอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของซุนฮกใน จดหมายเหตุสามก๊ก ระบุว่าเขาเสียชีวิตตอนอายุ 50 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในปีเจี้ยนอัน 17 (ประมาณ ค.ศ. 212) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น (十七年, ... 以憂薨,時年五十。) เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของเขาน่าจะอยู่ประมาณ ค.ศ. 163
- ↑ de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Brill. p. 928. ISBN 978-90-04-15605-0.
- ↑ "จื่อฟาง" เป็นชื่อรองของเตียวเหลียงที่ปรึกษาคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ เตียวเหลียงมีส่วนอย่างมากในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ), เล่ม 10.
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้)