ซันกง
ซันกง (จีน: 三公; พินอิน: Sāngōng) แปลว่า สามเจ้าพระยา เป็นคำเรียกขุนนางชั้นสูงสุดสามตำแหน่งในจีนโบราณ
ความเป็นมา
แก้ขุนนางชั้นสูงสุดสามตำแหน่งนั้นมามีแต่โบราณ ขุนนางทั้งสามรับผิดชอบกันคนละฝ่าย ถือเป็นที่ปรึกษาที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาท แต่อำนาจหน้าที่มักทับซ้อนกัน ภายหลังมีการนำตำแหน่งไปขายเพื่อเพิ่มเงินในท้องพระคลัง ดังนั้น ใน ค.ศ. 208 เฉา เชา (曹操) จึงยุบซันกงทิ้งเสีย แล้วตั้งตำแหน่งเฉิงเซี่ยง (丞相) หรืออัครมหาเสนาบดี ขึ้นแทน เป็นอันสิ้นสุดตำแหน่งซันกง
องค์ประกอบ
แก้ในแต่ละสมัย สามเจ้าพระยาหมายถึงตำแหน่งแตกต่างกันไป ดังนี้
ราชวงศ์โจว
แก้สมัยราชวงศ์โจว (周朝) สามเจ้าพระยา ได้แก่
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
แก้สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西漢朝) สามเจ้าพระยา ได้แก่[1]
- เฉิงเซี่ยง (丞相) คือ อัครมหาเสนาบดี
- ยฺวี่ฉื่อต้าฟู (御史大夫) คือ สมุหพระอาลักษณ์
- ไท่เว่ย์ (太尉) คือ มหาโยธิน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
แก้สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (東漢朝) สามเจ้าพระยา ได้แก่
เนื่องจากตำแหน่งทั้งสามมีคำว่า "ซือ" (司) ในสมัยนี้จึงมักเรียก "ซันซือ" (三司) มากกว่า "ซันกง"[2]
ชั้นยศ
แก้ราชวงศ์ฮั่นแบ่งขุนนางออกเป็น 20 ขั้น (ลดเหลือ 16 ขั้นตั้งแต่หลัง 32 ปีก่อนคริสตกาล) แต่ละขั้นได้รับศักดินา (石) ต่างกันไป ข้าราชการในกลุ่มซันกงถือศักดินาสูงสุด คือ 10,000 ไร่[3]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Wang, p. 150.
- ↑ "Official Titles of the Han dynasty: A Tentative List Compiled for The Han Dynasty History Project" (PDF). University of Washington. p. 31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ March 21, 2013.
- ↑ Wang, 137.
บรรณานุกรม
แก้- de Crespigny, Rafe (2007), A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD), Leiden, The Netherlands: Brill, ISBN 978-90-04-15605-0.
- Wang, Yü-Ch'üan (June 1949). "An Outline of The Central Government of The Former Han Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 12 (1/2): 134–187. doi:10.2307/2718206. JSTOR 2718206.