จักรพรรดิฮั่นหลิง

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าเลนเต้)

สมเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (ค.ศ. 156/157[1] – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 189[2]) พระนามส่วนพระองค์ หลิว หง[3] เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิผู้มีอำนาจพระองค์ที่ 12 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส

หลิงตี้ (มาตรฐาน)
เลนเต้ (ฮกเกี้ยน)
漢靈帝
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
ครองราชย์17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 168– 13 พฤษภาคม ค.ศ. 189
ก่อนหน้าฮั่นฮวนตี้
ถัดไปหฺวังจื่อเปี้ยน
เจี่ยตู๋ถิงโหว (解瀆亭侯)
ดำรงตำแหน่ง? – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 168
ก่อนหน้าหลิว ฉาง
ประสูติค.ศ. 156
สวรรคต13 พฤษภาคม ค.ศ. 189(189-05-13) (32–33 ปี)
พระมเหสีจักรพรรดินีซ่ง
โฮเฮา
จักรพรรดินี Linghuai
พระราชบุตรหองจูเปียน
พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าหญิง Wannian
พระนามเต็ม
รัชศก
  • เจี้ยนหนิง (建寧) ค.ศ. 168–172
  • ซีผิง (熹平) ค.ศ. 172–178
  • กวงเหอ (光和) ค.ศ. 178–184
  • จงผิง (中平) ค.ศ. 184–189
พระนามหลังสวรรคต
จักรพรรดิเซี่ยวหลิง (孝靈皇帝)
ราชวงศ์ฮั่น
พระราชบิดาหลิว ฉาง
พระราชมารดาต่งไท่โฮ่ว
จักรพรรดิฮั่นหลิง
อักษรจีนตัวเต็ม漢靈帝
อักษรจีนตัวย่อ汉灵帝
หลิว หง
อักษรจีนตัวเต็ม劉宏
อักษรจีนตัวย่อ刘宏

เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ

ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

หมายเหตุ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระราชประวัติของหลิว หงใน โฮ่วฮั่นชู ยังระบุว่าตอนขึ้นเป้นจักรพรรดิ พระองค์มีพระชนมพรรษา 12 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ถ้าบันทึกนี้ถูกต้อง ปีพระราชสมภพจึงควรอยู่ใน ค.ศ. 157
  2. รายงานจากพระราชประวัติหลิว หงใน โฮ่วฮั่นชู พระองค์สวรรคตเมื่อพระชนมพรรษา 34 พรราา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในวัน bingchen เดือน 4 ปีที่ 6 ในศักราช Zhongping รัชสมัยของพะรองค์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 189 ตามปฏิทินก่อนกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้ว ปีพระราชสมภพของพระองค์จึงควรอยู่ใน ค.ศ. 156 [(中平六年四月)丙辰,帝崩于南宫嘉德殿,年三十四] Houhanshu, vol. 08
  3. de Crespigny, Rafe (2003), Emperor Huan and Emperor Ling: being the Chronicle of the Later Han dynasty for the years for the years 157 to 189 AD as recorded in Chapters 54 to 59 of the Zizhi Tongjian of Sima Guang (internet ed.), Australian National University
ก่อนหน้า จักรพรรดิฮั่นหลิง ถัดไป
จักรพรรดิฮั่นหฺวันตี้
  จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 168–189)
  หฺวังจื่อเปี้ยน
(หองจูเปียน)