ตันกุ๋ย
ตันกุ๋ย (ราว คริสต์ทศวรรษ 190) ชื่อรอง ฮั่น-อฺวี๋ เป็นขุนนางชาวจีนที่ใีชีวิตในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน[1] โดยรับใช้ลิโป้ ซึ่ง โจโฉ ได้ติดต่อให้ตันกุ๋ยและ ตันเต๋ง ผู้เป็นบุตรชายเป็นไส้ศึกคอยรายงานความเคลื่อนไหวภายในกองทัพของลิโป้และในเมือง ชีจิ๋ว จนกระทั่งสบโอกาสโจโฉจึงสามารถตีเมืองชีจิ๋วแตกและสามารถจับลิโป้ได้สำเร็จ
ตันกุ๋ย | |
---|---|
陳珪 | |
ไพเซี่ยง (沛相) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
จี่เป่ย์เซี่ยง (濟北相) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
จู้ลิ่ง (劇令) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ อำเภอเหลียนฉุ่ย มณฑลเจียงซู |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บุตร |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | ฮั่น-อฺวี๋ (漢瑜) |
ภูมิหลังครอบครัวและอาชีพช่วงต้น
แก้บ้านบรรพบุรุษ (และอาจเป็นบ้านเกิด) ของตันกุ๋ยอยู่ที่อำเภอหฺวายผู่ (淮浦縣) เซี่ยพีจฺวิ้น (下邳郡) ชีจิ๋ว (徐州) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอเหลียนฉุ่ย มณฑลเจียงซู เขามาจากครอบครัวขุนนาง โดยที่เฉิน ฉิว (陳球) ลุงของเขา ดำรงตำแหน่งชั้นสูงในราชสำนักฮั่นสมัยพระเจ้าเลนเต้ ส่วนเฉิน อฺวี่ (陳瑀) และเฉิน ฉง (陳琮) ลูกของเฉิน ฉิว ดำรงตำแหน่งในจฺวิ้น[2]
อาชีพช่วงต้น
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ไม่เข้าร่วมกับอ้วนสุด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รับใช้ลิโป้
แก้ใน ค.ศ. 196 ขุนศึก ลิโป้ เข้าควบคุมชีจิ๋วจากเล่าปี่ขณะที่ฝ่ายหลังเดินทางสู้รบต่ออ้วนสุด[3] ทำให้ตันกุ๋ยกับตันเต๋ง บุตรคนโต ต้องกลายเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของลิโป้ หลังอ้วนสุดประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 197[4] เขาเสนอการสถาปนาพันธมิตรกับลิโป้ และจัดการสมรสระหว่างบุตรของเขากับบุตรีของลิโป้ ตันกุ๋ยกังวลว่าถ้าเป็นพันธมิตรกัน ขุนศึกสองคนจะเป็นภัยที่ร้ายแรงกว่าราชสำนักฮั่น เขาจึงให้คำแนะนำให้ลิโป้ว่าอย่าสร้างพันธะกับอ้วนสุด เขายังเรียกร้องให้ลิโป้สร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรกับโจโฉ ขุนศึกที่ควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นหุ่นเชิด และราชสำนักฮั่นที่เมืองหลวง สฺวี่ (許; ปัจจุบันอยู่ที่สฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน)[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในช่วงยุทธการที่แห้ฝือเมื่อ ค.ศ. 198–199[6] ตันกุ๋ยเกษียณแล้ว ส่วนตันเต๋งช่วยโจโฉกำจัดลิโป้[1] ไม่มีใครทราบว่าตันกุ๋ยเสียชีวิตตอนไหน
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 de Crespigny (2007), p. 68.
- ↑ (陳球字伯真,下邳淮浦人也。... 弟子珪,沛相; ...) Houhanshu vol. 56.
- ↑ Sima (1084), vols. 61–62.
- ↑ Sima (1084), vol. 62.
- ↑ (沛相陳珪恐術、布成婚,則徐、揚合從,將為國難,於是往說布曰;「曹公奉迎天子,輔讚國政,威靈命世,將征四海,將軍宜與恊同策謀,圖太山之安。今與術結婚,受天下不義之名,必有累卵之危。」) Sanguozhi vol. 7.
- ↑ Sima (1084), vols. 62–63.
- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- ฟ่าน เย่ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). ตำราประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (โฮ่วฮั่นชู).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- Sima, Guang (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.