โกหยิว (ค.ศ. 174 – ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เกา โหรว (จีน: 高柔; พินอิน: Gāo Róu) ชื่อรอง เหวินฮุ่ย (จีน: 文惠; พินอิน: Wénhuì) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นญาติผู้น้องของโกกัน เดิมรับใช้ขุนศึกอ้วนเสี้ยวและโจโฉในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

โกหยิว (เกา โหรว)
高柔
เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์ฺ)
ดำรงตำแหน่ง
ตุลาคม ค.ศ. 256 (256) – ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์โจมอ / โจฮวน
ก่อนหน้าสุมาหู
ถัดไปเตงงาย
เสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู)
ดำรงตำแหน่ง
พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 248 (248) – ตุลาคม ค.ศ. 256 (256)
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ
ก่อนหน้าเว่ย์ เจิน
ถัดไปเจิ้ง ชง
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง)
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 245 (245) – พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 248 (248)
กษัตริย์โจฮอง
ก่อนหน้าเจ้า เหยี่ยน
ถัดไปหวาง หลิง
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – 27 กันยายน ค.ศ. 245 (245)
กษัตริย์โจฮอง
เสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
223–?
กษัตริย์โจผี / โจยอย
เสมียนหลวงผู้เตรียมเอกสาร
(治書侍御史 จื้อชูชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. 223 (223)
กษัตริย์โจผี
เจ้าเมืองเองฉวน (潁川太守 อิ่งชฺวานไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนนางสำนักราชเลขาธิการ
(尚書郎 ช่างชูหลาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 213 (213) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 174[a]
อำเภอฉี่ นครไคเฟิง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263 (89 ปี)[a]
บุตร
  • เกา จฺวิ้น
  • เกา ต้าน
  • เกา กวาง
บุพการี
  • เกา จิ้ง (บิดา)
ญาติ
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเหวินฮุ่ย (文惠)
สมัญญานามยฺเหวียนโหว (元侯)
บรรดาศักดิ์อานกั๋วโหว (安國侯)

ประวัติช่วงต้นและเข้าพึ่งโกกัน

แก้

โกหยิวเป็นชาวอำเภอยฺหวี่ (圉縣 ยฺหวี่เซี่ยน) เมืองตันลิว (陳留郡 เฉินหลิวจฺวิ้น)[3] ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณอำเภอฉี่ นครไคเฟิง มณฑลเหอหนาน บิดาของโกหยิวชื่อเกา จิ้ง (高靖) รับราชการเป็นนายกองร้อยประจำเมืองจ๊ก (蜀郡都尉 สู่จฺวิ้นตูเว่ย์)[4] แต่ตัวโกหยิวยังอยู่ที่เมืองตันลิวอันเป็นบ้านเกิด[5]

ในปี ค.ศ. 192 เวลานั้นโจโฉเป็นข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว (兗州刺史 เหยี่ยนโจวชื่อฉื่อ) โกหยิวบอกกับผู้คนในเมืองว่าตันลิวจะกลายเป็นดินแดนที่ถูกล้อมรอบด้วยการศึกทั้งสี่ทิศ โจโฉยังมีความต้องการจะเข้าบุกไปทั้งสี่ทิศ จะต้องไม่อยู่ป้องกันกุนจิ๋วอย่างสงบ นอกจากนั้นเตียวเมาเจ้าเมืองตันลิวแม้ว่าดูเหมือนจะติดตามโจโฉอยู่ แต่เกรงว่าอาจจะทรยศขึ้นได้ จึงแนะนำให้ผู้คนทั้งหลายรีบออกจากตันลิวโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้น[6] แต่ในเวลานั้นทุกคนต่างเชื่อว่าเตียวเมาและโจโฉเป็นมิตรกัน และโกหยิวก็อายุยังน้อย จึงไม่สนใจคำของโกหยิว[7]

โกหยิวมีลูกพี่ลูกน้องชื่อโกกันผู้เป็นหลานชาย (บุตรชายของพี่สาวหรือน้องสาว) ของอ้วนเสี้ยว เวลานั้นโกกันเชิญโกหยิวมาที่เหอเป่ย์ (河北; พื้นที่ฝั่งเหนือของแม่น้ำฮองโห) โกหยิวจึงพาครอบครัวเดินทางไปพึ่งโกกัน[8]

เมื่อเกา จิ้งบิดาของโกหยิวเสียชีวิต โกหยิวไม่หวั่นเกรงกำลังทหารที่ซุ่มปล้นตามทางยาวไกล เสี่ยงเดินทางไปยังเมืองจ๊กเพื่อไปร่วมงานศพ ประสบความยากลำบากอย่างมาก หลังจากนั้น 3 ปีจึงกลับไปทางเหนือ[9]

สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ

แก้

ในปี ค.ศ. 204 โกกันและโกหยิวสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ โจโฉตั้งให้โกหยิวเป็นนายอำเภอ (長 จ่าง) ของอำเภอเจียน (菅縣 เจียนเซี่ยน)[10] ทุกคนในอำเภอเจียนต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของโกหยิว ข้าราชการที่เคยทุจริตหลายคนต่างลาออกอย่างสมัครใจเมื่อทราบว่าโกหยิวมาเป็นนายอำเภอ แต่โกหยิวยังให้ข้าราชการเหล่านี้คงอยู่ในราชการ ให้อภัยต่อเรื่องที่พวกเขาเคยทำในอดีต และทำให้พวกเขาทั้งหมดกลายเป็นข้าราชการที่ดี[11]

ในปี ค.ศ. 205 โกกันก่อกบฏต่อโจโฉที่เป๊งจิ๋ว แม้ว่าโกหยิวไม่ได้เข้าร่วมกับโกกัน แต่โจโฉก็คิดจะสั่งประหารชีวิตโกหยิวเพราะเรื่องที่โกกันก่อขึ้น จึงให้โกหยิวเข้าไปในเรือนจำ ทำหน้าที่เป็นเสมียนตรวจสอบคนร้าย (刺奸令史 ชื่อเจียนลิ่งฉื่อ) แต่โกหยิวทำหน้าที่ได้ดีมาก การบังคับใช้กฎหมายถูกต้องเหมาะสม ในเรือนจำก็ไม่มีนักโทษยังที่ไม่ถูกตัดสินเหลืออยู่ โกหยิวตรวจสอบเอกสารจนดึกดื่นทุกคืนและเผลอหลับไปโดยถือเอกสารอยู่ เมื่อโจโฉทราบผลงานของโกหยิวดังนั้นก็เปลี่ยนใจเรื่องที่เคยคิดจะสั่งประหารชีวิตโกหยิว แล้วตั้งให้โกหยิวเป็นเจ้าหน้าที่สำนักยุ้งฉางของอัครมหาเสนาบดี (丞相倉曹屬 เฉิงเซี่ยงชางเฉาฉู่)[12]

ตรวจราชการและเสนอแผน

แก้

ในปี ค.ศ. 211 โจโฉต้องการส่งจงฮิวและคนอื่น ๆ ไปปราบเตียวฬ่อ และโกหยิวเห็นว่าหากนำทัพไปทางตะวันตกจะทำให้ม้าเฉียวและหันซุยในกวนต๋งระแวงว่าโจโฉต้องการโจมตีพวกตนและจะเป็นการบีบให้ทั้งคู่ก่อกบฏต่อโจโฉ จึงควรทำให้ซานฝู่ (三輔; เขตป้องกันสนับสนุน 3 เขตรอบเตียงฮัน) สงบลงเสียก่อน เมื่อซานฝู่สงบลงแล้ว เตียวฬ่อก็จะยอมจำนนแต่โดยดี แต่โจโฉไม่ฟังคำโกหยิว หลังจงฮิวและคนอื่น ๆ ยกทัพไปทางตะวันตก ม้าเฉียวและหันซุยก็ก่อกบฏขึ้นจริง ๆ [13]

ในปี ค.ศ. 213 โจโฉขึ้นเป็นวุยก๋ง (魏公 เว่ย์กง) ก่อตั้งราชรัฐวุยก๊ก (魏國 เว่ย์กั๋ว) โกหยิวได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) ต่อมาย้ายไปเป็นขุนนางสำนักตรรกะของอัครมหาเสนาบดี (丞相理曹掾 เฉิงเซี่ยงหลี่เฉาเยฺวี่ยน)[14] ในเวลานั้น นายทหารซ่ง จิน (宋金) และคนอื่น ๆ ในหับป๋า (合肥 เหอเฝย์) หนีืทัพ บางคนเสนอให้จับตัวมารดา ภรรยา และน้องชาย 2 คนของซ่ง จินมาประหารชีวิต แต่โกหยิวเห็นว่าการลงโทษอย่างรุนแรงไม่เพียงไม่ช่วยหยุดยั้งการหนีทัพของทหาร แต่ยังทำให้มีคนหนีทัพมากขึ้นเพราะเห็นว่าตนไม่เหลือทางอื่น การประนีประนอมอย่างมีน้ำใจต่างหากที่สามารถกุมใจทหารได้ โจโฉฟังคำของโกหยิว ครอบครัวที่ไม่มีความผิดของทหารหนีทัพจำนวนมากจึงรอดชีวิตมาได้[15]

ต่อมาโกหยิวได้รับตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเองฉวน (潁川 อิ่งชฺวาน) แล้วกลับมาเป็นขุนนางสำนักกฎหมาย (法曹掾 ฝ่าเฉาเยฺวี่ยน) เวลานั้นราชสำนักแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (校事 เซี่ยวชื่อ) เพื่อตรวจสอบเหล่าขุนนาง โกหยิวเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเหล่านี้ไม่ได้อยู่เหนือขุนนางใด ๆ และไม่ได้อยู่ใต้ขุนนางใด ๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเจ้า ต๋า (趙達) และคนอื่น ๆ ใช้ความชอบและไม่ชอบส่วนตัวในการแสวงอำนาจและทรัพย์สินให้ตนเองหลายครั้ง จึงควรที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่เหล่านี้ แต่โจโฉไว้วางใจเจ้า ต๋าด้วยเชื่อว่าเจ้า ต๋าและคนอื่น ๆ สามารถทำงานตรวจสอบขุนนางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังความผิดฐานแสวงประโยชน์ของเจ้า ต๋าและคนอื่น ๆ ถูกเปิดเผย โจโฉจึงสังหารพวกเขาทั้งหมดเพื่อเป็นการขอโทษที่ไม่ฟังคำแนะนำของโกหยิว[16]

ใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม

แก้

หลังจากที่โจผีขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 220 พระองค์ทรงแต่งตั้งให้โกหยิวเป็นเสมียนหลวงผู้เตรียมเอกสาร (治書侍御史 จื้อชูชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ) ให้มีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และตั้งตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นผู้เตรียมเอกสารบังคับกฎหมาย (治書執法 ชื่อชูจื๋อฝ่า) เวลานั้นมีคนจำนวนมากที่พูดให้ร้ายโจผี โจผีจึงมีรับสั่งให้จับตัวผู้ให้ร้ายมาประหารชีวิต และพระราชทานรางวัลให้กับผู้แจ้งชื่อผู้ให้ร้าย แต่ก็ทำให้มีหลายคนถูกกล่าวหาอย่างเป็นเท็จว่าเป็นผู้ให้ร้าย โกหยิวจึงทูลเสนอให้ยกเลิกรับสั่งนี้เพื่อปกป้องคนบริสุทธิ์จากการตกเป็นเหยื่อ แต่โจผีไม่ได้ทรงรับฟังในทันที ยังคงรับสั่งลงโทษผู้ให้ร้าย อย่างไรก็ตาม โกหยิวตรวจสอบทุกคดีว่าร้ายที่รายงานเข้ามาเพื่อหาข้อเท็จจริง หากเป็นความผิดเล็กน้อยก็จะตัดสินเป็นเพียงโทษปรับ[17]

ในปี ค.ศ. 223 โกหยิวได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์)[18]

ในปี ค.ศ. 226 เนื่องจากโจผีทรงมีความแค้นและไม่พอพระทัยเป้า ซฺวิน (鮑勳) มาเป็นเวลานาน จึงมีพระประสงค์จะเลี่ยงกฎหมายเพื่อหาเหตุประหารชีวิตเป้า ซฺวินด้วยความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ โกหยิวทูลปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามรับสั่ง โจผีจึงมีรับสั่งย้ายโกหยิวออกจากตำแหน่ง และตั้งเสนาบดีตุลาการคนใหม่ทันทีให้ปฏิบัติตามรับสั่ง และประหารเป้า ซฺวินได้ในที่สุดโดยไม่ทรงฟังคำทูลทัดทานของขุนนางหลายคน ภายหลังจากเป้า ซฺวินถูกประหารชีวิต โกหยิวได้กลับมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีตุลาการตามเดิม[19]

แนะนำช่วยเหลือนาย

แก้

เมื่อโจยอยขึ้นสืบราชบัลลังก์ถัดจากโจผีในปี ค.ศ. 226 โกหยิวได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเหยียนโช่วถิงโหว (延壽亭侯)[20] โกหยิวเคยทูลแนะนำให้โจยอยทรงคัดเลือกบัณฑิตผู้มีความสามารถมาเป็นขุนนางผู้ใหญ่เพื่อแสดงคำสอนในลัทธิขงจื๊อ[21] นอกจากนี้โกหยิวยังทูลแนะนำให้โจยอยหยุดการก่อสร้างพระราชวังและลดจำนวนพระสนมลง เพื่อลดภาระของราษฎรและป้องกันไม่ให้อำนาจรัฐสิ้นลง โจยอยทรงเห็นด้วยทั้งหมด[22]

ต่อมาหลิว กุย (劉龜) ผู้มีตำแหน่งขุนนางจัดการการเกษตรอำเภออี้หยาง (宜陽典農 อี้หยางเตี่ยนหนง) ได้ลอบล่ากระต่ายในเขตล่าสัตว์ส่วนพระองค์ จาง จิง (張京) ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹 กงเฉา) ของหลิว กุยจึงไปยื่นคำฟ้องกล่าวโทษหลิว กุย แต่โจยอยทรงเพียงให้จับตัวหลิว กุยมาขังคุก และปกปิดชื่อของจาง จิงในฐานะผู้ยื่นคำฟ้องไว้ โกหยิวทูลขอให้โจยอยเผยชื่อผู้ยื่นคำฟ้องแต่โจยอยทรงปฏิเสธ โกหยิวจึงทูลว่า "เสนาบดีตุลาการเป็นความยุติธรรมของแผ่นดิน จะปล่อยให้ความสุขและความโกรธของผู้ทรงเกียรติสูงสุดมาทำลายกฎหมายได้อย่างไร" หลังจากที่โกหยิวถวายฎีกาอีกครั้ง คำที่ลึกซึ้งของโกหยิวทำให้โจยอยทรงตระหนักได้ในที่สุด จึงเผยชื่อจาง จิงไปเพื่อให้จาง จิงและหลิว กุยได้รับการพิจารณาคดีใหม่และให้ได้รับโทษที่เหมาะสมกับความผิดของแต่ละคน[23]

ขึ้นมามีตำแหน่งชั้นซานกง

แก้

ภายหลังโกหยิวได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)[24] ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 245[b] ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง)[25] และในปี ค.ศ. 248 ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู)[26]

ในการช่วงชิงอำนาจระหว่างโจซองและสุมาอี้ โกหยิวให้การสนับสนุนสุมาอี้ ในปี ค.ศ. 249 สุมาอี้ก่อการรัฐประหารสุสานโกเบงเหลงโดยโกหยิวได้เข้าร่วมก่อการ โดยใช้คทาอาญาสิทธิ์เข้ารักษาการดูแลกิจการของมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) และยึดอำนาจในการบัญชาการค่ายทหารของโจซอง หลังจากโจซองถูกประหารชีวิตโดยคำสั่งของสุมาอี้ โกหยิวได้รับบรรดาศักดิ์เป็นว่ายซุ่ยเซียงโหว (萬歲鄉侯)[27]

ในปี ค.ศ. 254 โจมอขึ้นครองราชย์ โกหยิวได้รับบรรดาศักดิ์อานกั๋วโหว (安國侯) และขึ้นมามีตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์ฺ)[28]

หลังจากโจฮวนขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 260 ศักดินาของโกหยิวได้เพิ่มขึ้น โกหยิวมอบศักดินาทั้งหมดของตนให้กับบุตรชาย 2 คนที่มีบรรดาศักดิ์ระดับถิงโหว (亭侯)[29]

ในปี ค.ศ. 263 เดือน 9 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 โกหยิวเสียชีวิตขณะอายุ 90 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ได้รับสมัญญานามว่า ยฺเหวียนโหว (元侯)[30]

เกา หุน (高渾) หลานชายของโกหยิวได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ของโกหยิว ในช่วงศักราชเซียนซีในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮวน ได้มีการเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ของเกา หุนเป็นชางลู่จื่อ (昌陸子)[31]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจฮวนในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าโกหยิวเสียชีวิตในเดือน 9 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 ในรัชสมัยของโจฮวน[1] เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 ตุลาคมถึง 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน ชีวประวัติโกหยิวในจดหมายเหตุสามก๊กยังบันทึกว่าโกหยิวมีอายุ 90 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) เมื่อเขาเสียชีวิต[2] เมื่อคำนวณแล้วปีเกิดของโกหยิวจึงเป็นปี ค.ศ. 174
  2. ศักราชเจิ้งฉื่อปีที่ 6 เดือน 8 วันติงเม่า (丁卯) ในรัชสมัยของจักรพรรดิโจฮอง

อ้างอิง

แก้
  1. ([景元四年]秋九月,太尉高柔薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. (景元四年,年九十薨,謚曰元侯。) จดหมายเหตุสากก๊ก เล่มที่ 24.
  3. (高柔字文惠,陳留圉人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  4. (父靖,為蜀郡都尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  5. (柔留鄉里) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  6. (謂邑中曰:「今者英雄並起,陳留四戰之地也。曹將軍雖據兗州,本有四方之圖,未得安坐守也。而張府君先得志於陳留,吾恐變乘閒作也,欲與諸君避之。」)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  7. (眾人皆以張邈與太祖善,柔又年少,不然其言。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  8. (柔從兄幹,袁紹甥也,在河北呼柔,柔舉宗從之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  9. (會靖卒於西州,時道路艱澀,兵寇縱橫,而柔冒艱險詣蜀迎喪,辛苦荼毒,無所不嘗,三年乃還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  10. (太祖平袁氏,以柔為菅長。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  11. (縣中素聞其名,姧吏數人皆自引去。柔教曰:「昔邴吉臨政,吏嘗有非,猶尚容之。況此諸吏,於吾未有失乎!其召復之。」咸還,皆自勵,咸為佳吏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  12. (高幹旣降,頃之以并州叛。柔自歸太祖,太祖欲因事誅之,以為刺姧令史;處法允當,獄無留滯,辟為丞相倉曹屬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  13. (太祖欲遣鍾繇等討張魯,柔諫,以為今猥遣大兵,西有韓遂、馬超,謂為己舉,將相扇動作逆,宜先招集三輔,三輔苟平,漢中可傳檄而定也。繇入關,遂、超等果反。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  14. (魏國初建,為尚書郎。轉拜丞相理曹掾) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  15. (鼓吹宋金等在合肥亡逃。舊法,軍征士亡,考竟其妻子。太祖患猶不息,更重其刑。金有母妻及二弟皆給官,主者奏盡殺之。柔啟曰:「士卒亡軍,誠在可疾,然竊聞其中時有悔者。愚謂乃宜貸其妻子,一可使賊中不信,二可使誘其還心。正如前科,固已絕其意望,而猥復重之,柔恐自今在軍之士,見一人亡逃,誅將及己,亦且相隨而走,不可復得殺也。此重刑非所以止亡,乃所以益走耳。」太祖曰:「善。」即止不殺金母、弟,蒙活者甚衆。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  16. (遷為潁川太守,復還為法曹掾。時置校事盧洪、趙達等,使察羣下,柔諫曰:「設官分職,各有所司。今置校事,旣非居上信下之旨。又達等數以憎愛擅作威福,宜檢治之。」太祖曰:「卿知達等,恐不如吾也。要能刺舉而辨衆事,使賢人君子為之,則不能也。昔叔孫通用羣盜,良有以也。」達等後姧利發,太祖殺之以謝於柔。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  17. (民間數有誹謗妖言,帝疾之,有妖言輒殺,而賞告者。柔上疏曰:「今妖言者必戮,告之者輒賞。旣使過誤無反善之路,又將開凶狡之羣相誣罔之漸,誠非所以息姧省訟,緝熈治道也。昔周公作誥,稱殷之祖宗,咸不顧小人之怨。在漢太宗,亦除妖言誹謗之令。臣愚以為宜除妖謗賞告之法,以隆天父養物之仁。」帝不即從,而相誣告者滋甚。帝乃下詔:「敢以誹謗相告者,以所告者罪罪之。」於是遂絕。校事劉慈等,自黃初初數年之閒,舉吏民姧罪以萬數,柔皆請懲虛實;其餘小小挂法者,不過罰金。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  18. (四年,遷為廷尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  19. (帝以宿嫌,欲枉法誅治書執法鮑勛,而柔固執不從詔命。帝怒甚,遂召柔詣臺;遣使者承指至廷尉考竟勛,勛死乃遣柔還寺。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  20. (明帝即位,封柔延壽亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  21. (時博士執經,柔上疏曰:「臣聞遵道重學,聖人洪訓;褒文崇儒,帝者明義。昔漢末陵遲,禮樂崩壞,雄戰虎爭,以戰陣為務,遂使儒林之羣,幽隱而不顯。太祖初興,愍其如此,在於撥亂之際,並使郡縣立教學之官。高祖即位,遂闡其業,興復辟雍,州立課試,於是天下之士,復聞庠序之教,親俎豆之禮焉。陛下臨政,允迪叡哲,敷弘大猷,光濟先軌,雖夏啟之承基,周成之繼業,誠無以加也。然今博士皆經明行脩,一國清選,而使遷除限不過長,懼非所以崇顯儒術,帥勵怠惰也。孔子稱『舉善而教不能則勸』,故楚禮申公,學士銳精,漢隆卓茂,搢紳競慕。臣以為博士者,道之淵藪,六藝所宗,宜隨學行優劣,待以不次之位。敦崇道教,以勸學者,於化為弘。」帝納之。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  22. (後大興殿舍,百姓勞役;廣采衆女,充盈後宮;後宮皇子連夭,繼嗣未育。柔上疏曰:「二虜狡猾,潛自講肄,謀動干戈,未圖束手;宜畜養將士,繕治甲兵,以逸待之。而頃興造殿舍,上下勞擾;若使吳、蜀知人虛實,通謀并勢,復俱送死,甚不易也。昔漢文惜十家之資,不營小臺之娛;去病慮匈奴之害,不遑治第之事。況今所損者非惟百金之費,所憂者非徒北狄之患乎?可粗成見所營立,以充朝宴之儀。訖罷作者,使得就農。二方平定,復可徐興。昔軒轅以二十五子,傳祚彌遠;周室以姬國四十,歷年滋多。陛下聦達,窮理盡性,而頃皇子連多夭逝,熊羆之祥又未感應。羣下之心,莫不悒戚。周禮,天子后妃以下百二十人,嬪嬙之儀,旣以盛矣。竊聞後庭之數,或復過之,聖嗣不昌,殆能由此。臣愚以為可妙簡淑媛,以備內官之數,其餘盡遣還家。且以育精養神,專靜為寶。如此,則螽斯之徵,可庶而致矣。」帝報曰:「知卿忠允,乃心王室,輒克昌言;他復以聞。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  23. (時獵法甚峻。宜陽典農劉龜竊於禁內射兎,其功曹張京詣校事言之。帝匿京名,收龜付獄。柔表請告者名,帝大怒曰:「劉龜當死,乃敢獵吾禁地。送龜廷尉,廷尉便當考掠,何復請告者主名,吾豈妄收龜邪?」柔曰:「廷尉,天下之平也,安得以至尊喜怒而毀法乎?」重復為奏,辭指深切。帝意寤,乃下京名。即還訊,各當其罪。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  24. (轉為太常) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  25. (旬日遷司空) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  26. (後徙司徒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  27. (太傅司馬宣王奏免曹爽,皇太后詔召柔假節行大將軍事,據爽營。太傅謂柔曰:「君為周勃矣。」爽誅,進封萬歲鄉侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  28. (高貴鄉公即位,進封安國侯,轉為太尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  29. (常道鄉公即位,增邑并前四千,前後封二子亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  30. (景元四年,年九十薨,謚曰元侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  31. (孫渾嗣。咸熈中,開建五等,以柔等著勳前朝,改封渾昌陸子。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.

บรรณานุกรม

แก้