เตียวฬ่อ (เสียชีวิต ค.ศ. 216) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง หลู่ (จีน: 張魯; พินอิน: Zhāng Lǔ) ชื่อรอง กงฉี (จีน: 公祺; พินอิน: Gōngqí) เป็นนักการเมือง ผู้นำลัทธิ และขุนศึกที่มีชีวิตช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นผู้นำรุ่นที่สามของนิกายเทียนซูเต้า นิกายหนึ่งของลัทธิเต๋า เตียวฬ่อเป็นผู้ปกครองรัฐในฮันต๋ง ซึ่งตั้งชื่อใหม่ว่าฮานเหลง (漢寧 ฮั่นหนิง) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 215 เตียวฬ่อยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ได้รับราชการกับโจโฉจนกระทั่งเสียชีวิตในอีกหนึ่งปีต่อมา

เตียวฬ่อ (จางหลู่)
張魯
ขุนพลพิทักษ์ทิศใต้ (鎮南將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215) – ค.ศ. 216 (216)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
เจ้าเมืองฮานเหลง (漢寧太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 215 (215)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
อำเภอเฟิง มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตค.ศ. 216
ที่ไว้ศพหานตาน มณฑลเหอเป่ย์
บุตร
  • จาง ฟู่
  • จาง กวั่ง
  • จาง หย่ง
  • จาง เชิ่ง
  • จาง อี้
  • จาง จฺวี้
  • จาง เมิ่งเต๋อ
  • จาง ฉีอิง
  • ภรรยาของโจฮู
  • บุตรชายอีกอย่างน้อยสามคนและบุตรสาวอีกอย่างน้อยแปดคน
บุพการี
อาชีพนักการเมือง ผู้นำลัทธิ ขุนศึก
ชื่อรองกงฉี (公祺)
สมัญญานามยฺเหวียนโหฺว (原侯)
บรรดาศักดิ์ลั่งจงโหฺว (閬中侯)

ขุนศึกแห่งฮันต๋ง แก้

หลังการเสียชีวิตของจาง เหิง (张衡) บิดาของเตียวฬ่อ เตียวฬ่อได้สืบทอดอำนาจของนิกายเทียนซูเต้า และกลายเป็นผู้นำรุ่นที่สาม (ผู้นำคนแรกคือเตียวเหลง (จาง เต้าหลิง) ผู้เป็นปู่ของเตียวฬ่อ) ศาสนานี้ได้รับการกราบไหว้นับถือมากมายในเอ๊กจิ๋ว(ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในปัจจุบัน) แต่เมื่อเตียวฬ่อได้เข้าควบคุมศาสนาก็ถูกท้าทายในพื้นที่โดยศาสนาแชมันที่นำโดยจาง ซิ่ว (張脩, ซึ่งไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับเตียวฬ่อ)

ด้วยภูมิหลังนี้ ทั้งเตียวฬ่อและจาง ซิ่วได้รับคำสั่งอย่างกระทันหันจากเล่าเอี๋ยนให้ร่วมมือกันโจมตีซู กู้ (蘇固) เจ้าเมืองฮันต๋งซึ่งราชวงศ์ฮั่นได้แต่งตั้งและเข้ายึดดินแดนของเขา อย่างไรก็ตาม ด้วยการวางแผนอุบายของเขาเอง เตียวฬ่อได้สังหารจาง ซิ่วและเข้าควบคุมกองกำลังทหารและผู้ติดตามสาวกของเขาก่อนที่เขาจะออกไปสู้ศึกกับฮันต๋ง เขาสามารถเอาชนะซู กู้ได้สำเร็จและเข้าควบคุมฮันต๋ง ได้เปลี่ยนชื่อภูมิภาคแห่งนี้ว่าฮานเหลง (ฮั่นหนิง) ซึ่งปกครองโดยหลักคำสอนของศาสนาของเขา เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าเขาจะทำตามคำสั่งของเล่าเอี๋ยนเพียงแต่ในนาม แต่เมื่อเล่าเจี้ยงขึ้นมาแทนที่ในอีกหลายปีต่อมา เตียวฬ่อปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งของเล่าเจี้ยงเป็นเหตุทำให้เล่าเจี้ยงสั่งประหารชีวิตมารดาของเตียวฬ่อ น้องชาย และสมาชิกในครอบครัวอีกหลายคน

มีการกล่าวกันว่า การปกครองดินแดนของเตียวฬ่อนั้นดูมีมนุษยธรรมและศิวิไลซ์ในสมัยนั้น ถนนถูกสร้างขึ้นไปทั่วทั้งดินแดนโดยมีจุดพักพิงและมอบอาหารให้โดยไม่คิดเงิน ภาษีและเงินบริจาคที่ได้มาจากประชาชนก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อความสุขสำราญของตน แต่นำไปใช้เพื่อการสนับสนุนแก่ประชาราษฎร์ นอกจากนี้ภายใต้การนำของเขายังมีกองทัพที่ทรงพลังและการป้องกันที่แข็งแกร่ง ซึ่งทั้งโจโฉและลิฉุยก็ไม่สามารถเอาชนะเขาได้ง่าย ๆ รัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่นได้ให้การยอมรับอำนาจปกครอง เหนือเมืองฮันต๋งของเตียวฬ่อ และแต่งตั้งให้เขาเป็นนายพลแห่งราชวงศ์ผู้พิทักษ์พลเรือน (鎮民中郎將) และเจ้าเมืองฮานเหลง ตามจดหมายเหตุสามก๊กกล่าวว่า เตียวฬ่อได้รับตราอัญมนีจากประชาราษฏร์ในดินแดนของเขา ซึ่งเป็นสัญญาณจากสวรรค์ว่า เขาจะกลายเป็นอ๋อง ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาหลายคนต่างเรียกร้องให้เขาประกาศสถาปนาตนเป็นอ๋อง แต่ที่ปรึกษาของเขานามว่า เงียมเภา (閻圃 เหยียน ผู่) ได้ทัดทานว่าการทำเช่นนั้นจะนำภัยหายนะมาให้ เหยียนผู่จึงปฏิบัติตามคำแนะนำของเงียมเภา

 
แผนที่แสดงอาณาเขตของขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์ฮั่นในช่วงทศวรรษ 190 รวมถึงเตียวฬ่อ

สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ แก้

ในปี ค.ศ. 211 จงฮิวได้เสนอต่อขุนศึกโจโฉ ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่นโดยพฤตินัย ให้เปิดฉากการรุกรานเมืองฮันต๋ง โจโฉได้ทำตามข้อเสนอและระดมพลกองกำลังทหาร อย่างไรก็ตาม ขุนศึกม้าเฉียวและหันซุย ซึ่งประจำอยู่ในภูมิภาคกวนต๋ง (กวนจง) ในระหว่างดินแดนของโจโฉและเมืองฮันต๋ง ต่างคิดว่าโจโฉต้องการที่จะโจมตีพวกตน ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านรัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่น ได้นำไปสู่ยุทธการที่ด่านตงก๋วนและการสู้รบที่ตามมา แม้ว่ากองกำลังของโจโฉจะได้รับชัยชนะต่อขุนศึกกวนต๋ง แต่พวกเขาก็ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะโจมตีเมืองฮันต๋งต่อไปได้ ดังนั้นพวกเขาจึงได้ล่าถอย ม้าเฉียวได้หนีไปที่เมืองฮันต๋ง หลังจากพ่ายแพ้และให้คำมั่นสัญญาจะจงรักภักดีต่อเตียวฬ่อ ซึ่งมีความคิดที่จะแต่งงานกับลูกสาวของเขา อย่างไรก็ตาม เอียวเป๊ก (楊薄 หยาง ปั๋ว) ลูกน้องของเตียวฬ่อได้กล่าวว่า "ผู้ชายเช่นนี้ที่ไม่รักพ่อแม่ของตัวเอง (หมายถึงการที่ม้าเท้งถูกประหารนั้นที่เกิดขึ้นมาจากการก่อกบฏของม้าเฉียว) ไม่สามารถรักใครได้อีก" และข้อเสนอที่จะแต่งงานก็ได้ถูกล้มเลิกไป จากนั้นม้าเฉียวก็ได้ยืมทหารจากเตียวฬ่อและพยายามที่จะยึดดินแดนบางส่วนที่เสียไปกลับคืนจากโจโฉแต่ก็ไม่สำเร็จในที่สุด ความล้มเหลวของเขาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองดูแย่ลง เมื่อกองทัพของเล่าปี่เข้าปิดล้อมเล่าเจี้ยง ม้าเฉียวได้ตัดสินใจเวลานี้ที่จะออกจากเมืองฮันต๋งพร้อมกับผู้ติดตามของเขาและเข้าร่วมกับเล่าปี่ อย่างไรก็ตาม บังเต๊ก ลูกน้องของม้าเฉียวยังคงรับใช้เตียวฬ่ออยู่

ในปี ค.ศ. 211 โจโฉเปิดฉากการทัพอีกครั้งเพื่อพิชิตเมืองฮันต๋ง ในช่วงแรก เตียวฬ่อไม่มีความหวังที่จะหยืดยันต่อสู้รบกับกองทัพของโจโฉและวางแผนที่จะยอมสวามิภักดิ์ น้องชายของเขา เตียวโอย (張衛 จาง เว่ย์) ยืนกรานที่จะออกไปสู้รบและนำกองทัพของเขาเข้าต่อสู้รบกับกองกำลังที่รุกราน ในไม่ช้าเขาก็ถูกสังหารในสนามรบ และอีกครั้งที่เตียวฬ่อคิดจะยอมสวามิภักดิ์ เงียมเภาที่ปรึกษาของเขาได้บอกว่าจะยอมสวามิภักดิ์ง่าย ๆ เช่นนี้ ก็ดูไม่มีท่าทีจะเจรจาต่อรอง เตียวฬ่อจึงถอยกลับไปที่ป้อมปราการที่ปาต๋ง (巴中 ปาจง) แทน เมืองออกจากเมืองหลวง เขาไม่ได้ทำลายทรัพย์สินเงินทองและสมบัติหรือพยายามนำสิ่งเหล่านี้ไปด้วย กลับทิ้งมันไว้เบื้องหลังโดยกล่าวว่า "สิ่งเหล่านี้เป็นของแผ่นดิน ไม่ใช่ของข้า" โจโฉรู้สึกประทับใจสิ่งนี้มาก และส่งสารไปหาเตียวฬ่อเพื่อขอให้เขายอมสวามิภักดิ์ แผนของเงียมเภาประสบความสำเร็จ เนื่องจากเตียวฬ่อและกองกำลังของเขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากโจโฉ โจโฉได้แต่งตั้งเตียวฬ่อเป็นขุนพลพิทักษ์ทิศใต้ (鎮南將軍) และให้เหล่าบุตรชายทั้งห้าคนเป็นขุนนางตำแหน่งโหฺว เตียวฬ่อยังได้ให้ลูกสาวของตนแต่งงานกับโจฮู ซึ่งเป็นบุตรชายคนหนึ่งของโจโฉ เมื่อโจโฉได้ส่งตัวหม่า ชิว (馬秋) บุตรชายของม้าเฉียวให้กับเตียวฬ่อ เตียวฬ่อสังหาหม่า ชิวด้วยตนเอง - ดูเหมือนว่าจะเป็นการแก้แค้นที่ม้าเฉียวละทิ้งตน

เตียวฬ่อเสียชีวิตในปี ค.ศ. 216 และได้รับพระราชทายยศบรรดาศักดิ์ภายหลังมรณกรรม "ยฺเหวียนโหฺว"(原侯) โดยราชสำนักฮั่น บุตรชายของเขายังคงเป็นผู้นำลัทธิเต๋า "ห้าเมล็ดข้าว" ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นหนึ่งในสองโรงเรียนลัทธิเต๋าหลักที่อยู่รอดมาจนถึงยุคปัจจุบันที่รู้จักกันในชื่อว่าเจิ้งอีเต้า

ในนิยายสามก๊ก แก้

ในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ในศตวรรษที่ 14 เตียวฬ่อได้ถูกพรรณาว่า มีความต้องการอย่างมากในตำแหน่งอ๋องแห่งฮานเหลง และพยายามจะขยายอาณาเขตของตนอย่างจริงจัง ในนิยายเรื่องนี้ เขาได้พยายามจะเข้ารุกรานเอ๊กจิ๋วของเล่าเจี้ยง เพียงแต่ต้องหยุดชะงัก เมื่อม้าเฉียวได้หนีทัพออกไป เขาได้ส่งคนรับใช้นามว่า เอียวเป๊ก (楊薄 หยาง ปั๋ว) ไปสอดแนมเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อม้าเฉียวได้เข้าร่วมกับเล่าปี่ เขาก็ได้สังหารเอียวเป๊ก

อ้างอิง แก้