เล่าเจี้ยง (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 190-219) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว จาง (จีน: 劉璋; พินอิน: Liú Zhāng) ชื่อรอง จี้ยฺวี่ (จีน: 季玉; พินอิน: Jìyù) เป็นขุนนางและขุนศึกผู้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามณฑลในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เล่าเจี้ยงขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) สืบต่อจากเล่าเอี๋ยนผู้เป็นบิดา และปกครองภูมิภาคกระทั่งถึงปี ค.ศ. 214 เมื่อเล่าเจี้ยงยอมจำนนต่อเล่าปี่ หกปีต่อมาเล่าเจี้ยงยอมสวามิภักดิ์ต่อง่อก๊กและเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน เล่าเจี้ยงมักถูกมองว่าเป็นผู้นำที่ไร้ความสามารถ แต่ก็ถือว่าเป็นเจ้านายดั้งเดิมของขุนนางและขุนนางที่มีชื่อเสียงบางส่วนของจ๊กก๊ก เช่น หวดเจ้ง เบ้งตัด เตียวหงี เล่าป๋า อุยก๋วน งออี้ ลิเงียม ตั๋งโห เป็นต้น

เล่าเจี้ยง (หลิว จาง)
劉璋
ภาพวาดเล่าเจี้ยงในยุคราชวงศ์ชิง
ขุนพลกระตุ้นพลานุภาพ
(振威將軍 เจิ้นเวย์เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 214 (ป. 214) – ค.ศ. ป. 220 (ป. 220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州牧 อี้โจวมู่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 194 (ป. 194) – ค.ศ. 214 (214)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ก่อนหน้าเล่าเอี๋ยน
ถัดไปเล่าปี่
ข้าหลวงมณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州刺史 อี้โจวชื่อฉือ)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 194
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครเฉียงเจียง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตป. ค.ศ. 220[a]
บุตร
บุพการี
ญาติงอซี (พี่สะใภ้)
บังยี่ (ญาติจากการแต่งงาน)[b]
อาชีพขุนนาง, ขุนศึก
ชื่อรองจี้ยฺวี่ (季玉)

ประวัติช่วงต้น

แก้

เล่าเจี้ยงเป็นผู้เป็นสืบเชื้อสายของหลิว ยฺหวี (劉餘) ผู้เป็นหลังจงฮองหรืออ๋องกงแห่งฬ่อ (魯恭王 หลู่กงหวาง) ในช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่น[2]

เล่าเจี้ยงเป็นบุตรชายคนสุดท้องของเล่าเอี๋ยน (劉焉 หลิว เยียน) เล่าเจี้ยงรับราชการในช่วงต้นที่ราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นในฐานะผู้ช่วยของพี่ชาย 2 คนคือเลาเฉีย (劉範 หลิว ฟ่าน) และหลิว ต้าน (劉誕) ทั้งสามรับราชการในราชสำนักในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกลิฉุย (李傕 หลี่ เจฺว๋) และกุยกี (郭汜 กัว ซื่อ) ราชสำนักส่งเล่าเจี้ยงไปตักเตือนเล่าเอี๋ยนผู้บิดาในเรื่องที่กระทำการอุกอาจ แต่เมื่อเล่าเจี้ยงมาถึง เล่าเอี๋ยนก็ไม่ยอมให้เล่าเจี้ยงกลับไปราชสำนัก[3]

ปกครองมณฑลเอ๊กจิ๋ว

แก้
 
แผนที่แสดงขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์ฮั่นในคริสต์ทศวรรษ 190 รวมถึงเล่าเจี้ยง

ในปี ค.ศ. 194 ภายหลังการเสียชีวิตของพี่ชาย 2 คนของเล่าเจี้ยงโดยฝีมือของทัพลิฉุย (แม้ว่าเล่ามอที่เป็นพี่น้องอีกคนของเล่าเจี้ยงยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น)[c] เล่าเจี้ยงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑลของมณฑลเอ๊กจิ๋วโดยอดีตขุนนางของเล่าเอี๋ยนคือ เจ้า เหว่ย์ (赵韪) และหวาง ชาง (王商) รวมถึงขุนนางคนอื่น ๆ ในเอ๊กจิ๋ว เพราะเล่าเจี้ยงมีนิสัยสุภาพอ่อนโยน[4] หลังเล่าเจี้ยงขึ้นสืบทอดตำแหน่ง เฉิ่น หมี (沈彌) และโหลว ฟา (婁發) ที่อดีตผู้ใต้บังคับบัญชาก็กบฏขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากกำเหลง (甘寧 กาน หนิง) และได้รับการสนับสนุนจากหลิว เหอ (劉闔) ข้าราชการจากมณฑลเกงจิ๋ว (荊州 จิงโจว) แต่การก่อกบฏล้มเหลว เหล่าผู้นำกบฏจึงจำต้องหนีไปมณฑลเกงจิ๋ว[5]

ในช่วงที่เล่าเจี้ยงปกครองมณฑลเอ็กจิ๋ว นิสัยสุภาพอ่อนโยนและขาดความเด็ดขาดทำให้ประชาชนในเอ็กจิ๋วรู้สึกไม่พอใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเล่าเจี้ยงไม่เข้มงวดกฎหมายและอำนาจของเขาจึงอ่อนแอเกินกว่าที่จะควบคุมตระกูลและข้าราชการในเอ็กจิ๋วได้[6] ในขณะที่กองทัพเดิมของเล่าเอี๋ยนซึ่งประกอบไปด้วยผู้ลี้ภัยจากเมืองลำหยงและภูมิภาคโดยรอบของราชธานีเตียงอัน ซึ่งมีชื่อว่า กองทัพตงโจว(東州兵) ได้คอยปราบปรามและรังแกประชาชนในท้องถิ่น เจ้า เหว่ย์ได้ใช้โอกาสนี้เพื่อสร้างความไว้วางใจจากประชาชนอย่างลับหลังจากเล่าเจี้ยง เนื่องจากความเคียดแค้นของประชาชนเอ็กจิ๋ว เจ้า เหว่ย์จึงได้สร้างความสัมพันธ์กับตระกูลที่มีชื่อเสียงของเกงจิ๋ว โดยตั้งใจที่จะนำกองกำลังต่อต้านเล่าเจี้ยง[7]

ใน ค.ศ. 200 เจ้า เหว่ย์ได้เริ่มก่อกบฏเพื่อโค่นล้มเล่าเจี้ยง เล่าเจี้ยงได้สร้างป้อมปราการในเซงโต๋ (成都 เฉิงตู) กองทัพตงโจวกลัวว่าจะสูญเสียผลประโยชน์ถ้าหากเล่าเจี้ยงพ่ายแพ้ จึงเข้าช่วยเหลือเล่าเจี้ยง กองทัพผสมสามารถเอาชนะจ้าว เหว่ย์ได้ ทำให้เขาต้องล่าถอยกลับไปยังเกงจิ๋ว ซึ่งเขาจะเสียชีวิตในไม่ช้าหลังจากนั้น[8] ในปีเดียวกันนั้น[9] เตียวฬ่อ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยอมรับว่าเล่าเอี๋ยนเป็นเจ้านายของตน ได้ก่อกบฏต่อต้านเล่าเจี้ยงเช่นกัน เล่าเจี้ยงจึงสั่งประหารมารดาและน้องชายของเตียวฬ่อ ทั้งคู่กลายเป็นศัตรูกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[10]

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 208 เล่าเจี้ยงได้รับข่าวว่าโจโฉได้เข้าโจมตีเกงจิ๋วและยึดครองฮั่นตง เขาจึงส่งหยินผู่(阴溥) ไปเป็นฑูตเพื่อแสดงความเครารพต่อโจโฉ จากนัั้นโจโฉได้เสนอแนะให้เล่าเจี้ยงและเล่ามอ(สามีของงอซี) ได้รับตำแหน่งแม่ทัพ เล่ามอเสียชีวิตด้วยอาการป่วย[11]

ใน ค.ศ. 211 ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาของเขา เตียวสง(จางซง) เขาขอให้เล่าปี่มาช่วยเหลือเขาในการโค่นล้มเล่าเจี้ยง การต้องรับเล่าปี้เป็นแผนของเตียวสง หวดเจ้ง(ฝ่า เจิ้ง) และเบ้งตัด(เมิ่ง ต๋า) เพื่อให้เขาเป็นผู้นำของพวกเขาในที่สุด เนื่องจากพวกเขามองว่าเขามีความทะเยอทะยานและสมควรรับใช้มากกว่าเล่าเจี้ยง อองลุย(หวาง เล่ย์, 王累) อุยก๋วน (หฺวาง เฉฺวียน) ลิอิ๋น และคนอื่น ๆได้พยายามเกลี้ยกล่อมเล่าเจี้ยงไม่ให้รับเล่าปี่เข้ามาในดินแดน แต่คำวิงวอนของพวกเขาถูกเพิกเฉย และเล่าปี่ได้รับการต้อนรับในฐานะแขกของเล่าเจี้ยง โดยเขาจะไปยังแนวหน้าเพื่อต่อสู้รบกับเตียวฬ่อ[12]

เมื่อเตียวซก (張肅) พี่ชายของเตียวสงได้เปิดเผยแผนการที่แท้จริงของเตียวสงแก่เล่าเจี้ยง เขาก็สั่งประหารเตียวสงและริเริ่มต่อสู้รบกับเล่าปี่ ซึ่งได้เริ่มต้นการพิชิตเอ็กจิ๋ว แม้ว่าแม่ทัพอย่างเตียวหยิมจะต่อสู้รบอย่างหนักเพื่อปกป้องเจ้านายของตน แต่กองกำลังของเล่าปี่กลับมีชัยเหนือกว่า และเมื่อถึงปี ค.ศ. 214 พวกเขาได้ล้อมเมืองเอกของเอ๊กจิ๋วอย่างเซงโต๋ได้สำเร็จ ที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยง ได้แก่ เล่าป๋า ตั๋งโห และ Hu Jing ขอร้องให้เจ้านายของพวกเขาต่อต้านไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่เล่าเจี้ยงปฏิเสธคำร้องของพวกเขา โดยกล่าวว่า "ข้าไม่อยากให้ราษฎรของข้าต้องทนทุกข์อีกต่อไป" จา่กนั้นเขาก็ยอมสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่[13]

ประวัติช่วงปลาย

แก้

ภายหลังยอมสละดินแดนของตนไม่นาน เล่าปี่ได้ส่งเล่าเจี้ยงและหลิวชาน บุตรชายคนที่สองไปยังชายแดนที่ติดกับแดนตะวันตกของมณฑลเกงจิ๋ว อยู่ใกล้กับดินแดนของซุนกวน อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูหนาวของ ค.ศ. 219-220 กองกำลังที่โดยลิบอง(หลู่เหมิง) แม่ทัพของซุนกวน สามารถจับกุมกวนอู แม่ทัพของเล่าปี่และประหารชีวิต ส่งผลทำให้เกงจิ๋วถูกยึดครอง เล่าเจี้ยงและหลิวชานได้ถูกพาไปโดยกองทัพง่อก๊ก และซุนกวนต้องการอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เหลือของเล่าปี่ จึงแต่งตั้งเล่าเจี้ยงเป็นเจ้ามณฑลเอ็กจิ๋ว ซึ่งเป็นตำแหน่งก่อนหน้าที่เล่าปี่จะยึดครองจากเขา อย่างไรก็ตาม ซุนกวนไม่ได้พยายามรุกรานดินแดนของเล่าปี่อีกเลย และเล่าเจี้ยงก็เสียชีวิตในเวลาไม่นานหลังจากได้กลายเป็นข้าราชบริพารภายใต้ซุนกวน หลิวชานยังคงรับใช้ในง่อก๊ก ในขณะที่เล่าชุน(หลิวสุน) ลูกชายคนโตของเล่าเจี้ยงจะรับใช้ในจ๊กก๊ก

ครอบครัว

แก้

เล่าเจี้ยงมีบุตรชาย 2 คน ได้แก่ เล่าชุน (หลิวสุน-劉循) บุตรชายคนโต ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพนายทหารในจ๊กก๊กในช่วงยุคสมัยสามก๊ก บุตรชายคนที่สามก๊ก หลิวชาน (劉闡), เดินทางไปพร้อมกับบิดาไปยังเกงจิ๋วหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อเล่าปี่และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสมียนวัง(御史中丞) ในง่อก๊กในช่วงยุคสมัยสามก๊ก

การประเมินทางประวัติศาสตร์

แก้

ในบันทึกประวัติศาสตร์ยอดนิยมของยุคนั้น เช่น นิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 สามก๊ก เล่าเจี้ยงถูกพรรณาว่าเป็นผู้ปกครองที่โง่เขลาและไร้ความสามารถ

ในบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กของตันซิ่ว(เฉิ่นโซว) บันทึกร่วมสมัยได้ประเมินว่าเป็นผู้ปกครองที่เมตตาและไร้ความทะเยอทะยาน แต่เป็นผู้ปกครองที่อ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งขาดอำนาจและความเด็กขาดในการควบคุมและบริหารประเทศอย่างเพียงพอ ความเจียมตัวของเขาได้ปกป้องเอ็กจิ๋วจากภายนอก ความผ่อนปรนของเขาทำให้เกิดปัญหาภายในมากมายและความไม่จงรักภักดีต่อรัฐของเขา[14][15][16][17]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. กวนอูถูกสังหารในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 220 เนื่องจากเล่าเจี้ยงเสียชีวิตหลังจากเหตุการณ์นี้ไม่นาน เล่าเจี้ยงจึงน่าจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 220
  2. บุตรสาวของบังยี่แต่งงานกับเล่าชุน บุตรชายคนโตของเล่าเจี้ยง[1]
  3. เล่ามอพี่น้องของเล่าเจี้ยงยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น แต่ไม่แน่ชัดว่าเล่ามอเป็นพี่ชายหรือเป็นน้องชายของเล่าเจี้ยง

อ้างอิง

แก้
  1. (璋长子循妻,庞羲女也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 31
  2. Rafe de Crespigny (1967). "An Outline of the Local Administrations of the Later Han Empire" (PDF). Chung-chi Journal: 57–71.
  3. (献帝使璋晓谕焉,焉留璋不遣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 31. อรรถาธิบายจากเตี่ยนเลฺว่ (典略) ในเล่มเดียวกันนี้อ้างว่าเล่าเอี๋ยนแกล้งป่วยทำให้เล่าเจี้ยงมีข้ออ้างออกจากราชสำนัก (《典略》曰:时璋为奉车都尉,在京师。焉托疾召璋,璋自表省焉,焉遂留璋不还。)
  4. (兴平元年,痈疽发背而卒。州大吏赵韪等贪璋温仁,共上璋为益州刺史,诏书因以为监军使者,领益州牧,以韪为征东中郎将,率众击刘表。) อรรถาธิบายของเผย์ซงจือในสามก๊กจี่ เล่มที่ 31.
  5. (英雄記曰:焉死,子璋代為刺史。會長安拜潁川扈瑁為刺史,入漢中。荊州別駕劉闔,璋將沈彌、婁發、甘寧反,擊璋不勝,走入荊州。) อรรถาธิบายจากอิง-สฺยงจี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 31.
  6. (刘璋暗弱,自焉已来有累世之恩,文法羁縻,互相承奉,德政不举,威刑不肃。蜀土人士,专权自恣,君臣之道,渐以陵替;宠之以位,位极则贱,顺之以恩,恩竭则慢。所以致弊,实由於此。) Sanguozhi vol. 35, Shu ji annotation.
  7. ((先是,南陽、三輔人流入益州數万家,收以為兵,名曰東州兵。璋性寬柔,無威略,東州人侵暴舊民,璋不能禁,政令多闕,益州頗怨。趙韙素得人心,璋委任之。韪因民怨谋叛,乃厚赂荆州请和,阴结州中大姓,与俱起兵,还击璋。蜀郡、广汉、犍为皆应韪。璋驰入成都城守,东州人畏威,咸同心并力助璋,皆殊死战,遂破反者,进攻韪於江州。韪将庞乐、李异反杀韪军,斩韪。汉献帝春秋曰:汉朝闻益州乱,遣五官中郎将牛亶为益州刺史;徵璋为卿,不至。) Sanguozhi vol.31, Yingxiong Ji annotation.
  8. (蜀郡、广汉、犍为皆应韪。璋驰入成都城守,东州人畏威,咸同心并力助璋,皆殊死战,遂破反者,进攻韪於江州。韪将庞乐、李异反杀韪军,斩韪。汉献帝春秋曰:汉朝闻益州乱,遣五官中郎将牛亶为益州刺史;徵璋为卿,不至。) Sanguozhi vol.31, annotation of Records of Heroes.
  9. Zizhi Tongjian, vol.63
  10. (而张鲁稍骄恣,不承顺璋,璋杀鲁母及弟,遂为仇敌。) Sanguozhi vol.31
  11. (璋闻曹公征荆州,已定汉中,遣河内阴溥致敬于曹公。加璋振威将军,兄瑁平寇将军。瑁狂疾物故。) Sanguozhi, vol.31
  12. Zizhi Tongjian, vol.66
  13. Zizhi Tongjian, vol.67
  14. (刘璋暗弱,自焉已来有累世之恩,文法羁縻,互相承奉,德政不举,威刑不肃。蜀土人士,专权自恣,君臣之道,渐以陵替;宠之以位,位极则贱,顺之以恩,恩竭则慢。所以致弊,实由於此。) Sanguozhi vol. 35, Shu ji annotation.
  15. (璋性寬柔,無威略,東州人侵暴舊民,璋不能禁,政令多闕,益州頗怨。) Sanguozhi vol.31, Yingxiong Ji annotation.
  16. (璋才非人雄,而据土乱世,负乘致寇,自然之理,其见夺取,非不幸也。)Sanguozhi vol. 35
  17. (“璋能闭隘养力,守案先图,尚可与时推移,而遽输利器,静受流斥,所谓羊质虎皮,见豹则恐,吁哉!”) Book of Later Han vol.75

บรรณานุกรม

แก้