กบฏสามครั้งในฉิวฉุน

กบฏสามครั้งในฉิวฉุน (จีน: 壽春三叛) หรือ กบฏสามครั้งในห้วยหนำ (จีน: 淮南三叛) เป็นชุดการก่อการกำเริบที่เกิดขึ้นในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน กบฏเกิดขึ้นในช่วงปลายของสมัยวุยก๊กเมื่อตระกูลสุมานำโดยสุมาอี้แย่งชิงอำนาจรัฐ ผู้ว่าราชการทางการทหารของอำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) ลุกขึ้นก่อการกำเริบสามครั้งในนามของการก่อกบฏเพื่อโค่นล้มตระกูลสุมา ผู้นำของกบฏในแต่ละครั้ง ได้แก่ หวาง หลิง (ครั้งที่ 1), บู๊ขิวเขียมและบุนขิม (ครั้งที่ 2) และจูกัดเอี๋ยน (ครั้งที่ 3) การก่อการกำเริบทุกครั้งถูกปราบปรามลงในท้ายที่สุด

กบฏสามครั้งในฉิวฉุน
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก
วันที่กบฏครั้งแรก: 7–15 มิถุนายน ค.ศ. 251
กบฏครั้งที่สอง: 5 กุมภาพันธ์ – 11 มีนาคม ค.ศ. 255
กบฏครั้งที่สาม: มิถุนายน ค.ศ. 257 – มีนาคมหรือเมษายน ค.ศ. 258
สถานที่
ฉิวฉุน (ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย ประเทศจีน)
ผล กบฏถูกปราบปราม การควบคุมพระราชอำนาจเหนือวุยก๊กของตระกูลสุมาเข้มแข็งมากขึ้น
คู่สงคราม
กบฏครั้งแรก:
หวาง หลิง
กบฏครั้งที่สอง:
บู๊ขิวเขียม
บุนขิม
กบฏครั้งที่สาม:
จูกัดเอี๋ยน
ง่อก๊ก
วุยก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กบฏครั้งแรก:
หวาง หลิง Surrendered
กบฏครั้งที่สอง:
บู๊ขิวเขียม 
บุนขิม
กบฏครั้งที่สาม:
จูกัดเอี๋ยน 
ซุนหลิม
กบฏครั้งแรก:
สุมาอี้
กบฏครั้งที่สอง:
สุมาสู
เตงงาย
จูกัดเอี๋ยน
กบฏครั้งที่สาม:
สุมาเจียว
จงโฮย
เฮาหุน
อองกี๋
กบฏสามครั้งในฉิวฉุน
อักษรจีนตัวเต็ม壽春三叛
อักษรจีนตัวย่อ寿春三叛
กบฏสามครั้งในห้วยหนำ
อักษรจีนตัวเต็ม淮南三叛
อักษรจีนตัวย่อ淮南三叛

ภูมิหลัง แก้

ในปี ค.ศ. 249 ในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาอี้ยึดอำนาจจากโจซองในการก่อรัฐประหาร และสั่งให้ตระกูลของโจซองทั้งหมดถูกประหารชีวิต ตั้งแต่นั้นมาราชสำนักวุยก๊กก็ถูกอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลสุมา หลังการเสียชีวิตของสุมาอี้ อำนาจได้สืบทอดต่อมาโดยสุมาสูบุตรชายคนโต และต่อมาได้ส่งต่อไปยังสุมาเจียวบุตรชายคนรองของสุมาอี้ภายหลังสุมาสูเสียชีวิต

กบฏ แก้

กบฏหวาง หลิง แก้

หลังอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาอี้เลื่อนยศให้หวาง หลิง (王淩) ขุนพลผู้ดูแลอำเภอฉิวฉุนขึ้นเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เวย์) หวาง หลิงและลิ่งหู ยฺหวี (令狐愚) หลานชายเห็นว่าจักรพรรดิโจฮองยังทรงพระเยาว์เกินไปที่จะปกครอง และเห็นว่าสุมาอี้เป็นผู้กุมอำนาจรัฐอย่างแท้จริง ทั้งสองจึงวางแผนจะปลดโจฮองและตั้งเฉา เปี่ยว (曹彪) อ๋องแห่งฌ้อ (楚王 ฉู่หวาง) ขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ลิ่งหู ยฺหวีส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อจาง ชื่อ (張式) ไปติดต่อกับเฉา เปี่ยว

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 251 หวาง หลิงถือโอกาสส่งคำร้องถึงราชสำนักวุยก๊ก ขออนุญาตเข้าโจมตีทัพง่อก๊กในถูฉุ่ย (塗水) การทัพรบกับง่อก๊กนั้นแท้จริงเป็นหน้ากากบังหน้าที่ใช้ปกปิดเจตนาของหวาง หลิงที่จะก่อกบฏ หวาง หลิงไม่ได้รับการตอบกลับใด ๆ จึงส่งหยาง หง (楊弘) ไปแจ้งหฺวาง หฺวา (黃華) ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋วเรื่องแผนการก่อกบฏ ด้วยหวังว่าหฺวาง หฺวาจะสนับสนุนตน อย่างไรก็ตาม หยาง หงและหฺวาง หฺวารายงานสุมาอี้เรื่องที่หวาง หลิงคิดการก่อกบฏ ข่าวเรื่องการก่อกบฏไปถึงจักรพรรดิโจฮองในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 251[1] สุมาอี้จึงยกทัพออกปราบปรามกบฏด้วยตนเอง หวาง หลิงตระหนักดีว่าตนสู้ไม่ได้จึงตกลงยอมจำนนหลังสุมาอี้ให้คำมั่นว่าจะให้อภัยโทษหวาง หลิงในข้อหากบฏ หวาง หลิงรู้ดีว่าไม่ว่าอย่างไรตนก็คงถูกตัดสินโทษตาย จึงฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 251[1] ระหว่างถูกคุมตัวไปยังนครหลวงลกเอี๋ยง ตระกูลของหวาง หลิงก็ถูกกวาดล้างเช่นกัน ส่วนเฉา เปี่ยวก็ได้รับคำสั่งให้ปลิดชีวิตตนเอง

กบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม แก้

กบฏจูกัดเอี๋ยน แก้

ผลสืบเนื่อง แก้

บุคคลในยุทธการ แก้

กบฏหวาง หลิง แก้

กบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม แก้

กบฏจูกัดเอี๋ยน แก้

ในวัฒนธรรมประชานิยม แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.

บรรณานุกรม แก้