อองซก[4] (ค.ศ. 195–256)[5] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง ซู่ (จีน: 王肅; พินอิน: Wáng Sù) ชื่อรอง จื่อยง (จีน: 子雍; พินอิน: Zǐyōng) เป็นขุนนางและบัณฑิตลัทธิขงจื๊อของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของอองลอง เมื่อบู๊ขิวเขียมเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน อองซกแนะนำสุมาสูให้บั่นทอนขวัญกำลังใจของกลุ่มกบฏโดยการปฏิบัติต่อครอบครัวของกลุ่มกบฏอย่างให้เกียรติ ต่อมาออกซกทูลขอโจมอให้สุมาเจียวเป็นผู้สืบทอดอำนาจถัดจากสุมาสูในฐานะผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊ก[6]

อองซก (หวาง ซู่)
王肅
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 256 (256)
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
เจ้าเมืองกว่างผิง (廣平太守 กว่างผิงไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 240 (240) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 195
เสียชีวิตระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 และ 31 มกราคม ค.ศ. 257[a] (61 ปี)
คู่สมรสหยางชื่อ (羊氏)[b]
เซี่ยโหวชื่อ (夏侯氏)[c]
บุตร
บุพการี
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองจื่อยง (子雍)
สมัญญานามจิ่งโหว (景侯)
บรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯)

บุตรสาวของอองซกชื่อหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) สมรสกับสุมาเจียวและให้กำเนิดสุมาเอี๋ยน (จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้น) ในปี ค.ศ. 236 อองซกจึงเป็นตาของสุมาเอี๋ยน อองซกได้สืบทอดตำแหน่งและบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯) จากอองลองผู้บิดา[7]

อองซกรวบรวมขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ (孔子家語; คำสอนในสำนักของขงจื๊อ) ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นคำสอนของขงจื๊อที่ไม่ได้รวมอยู่ในหลุน-ยฺหวี่ (論語) นักวิชาการกังขามาเป็นเวลานานว่าอาจเป็นงานปลอมแปลงโดยอองซก[5] แต่ตำราที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1977 จากสุสานซฺวางกู่ตุน (雙古堆; ปิดผนึกในปี ค.ศ. 165) ที่มีชื่อว่า หรูเจียเจ่อเหยียน (儒家者言, คำสอนสำนักหรู) มีเนื้อหาที่คล้ายกับในขงจื่อเจีย-ยฺหวี่[8]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. บทชีวประวัติอองซกในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าอองซกเสียชีวิตในศักราชกำลอ (กานลู่; ค.ศ. 256-260) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจมอ[1] ในบทพระราชประวัติโจมอยังบันทึกว่าจักรพรรดิโจมอทรงเสด็จเยี่ยมสำนักศึกษาไท่เสฺว (太学) ในวันปิ่งเฉิน (丙辰) ของเดือน 4 ในปีนั้น ระหว่างการเสด็จเยือน อองซกได้ทูลตอบข้อซักถามของโจมอ อองซกจึงต้องเสียชีวิตหลังวันที่โจมอเสด็จเยือนซึ่งเทียบได้กับวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 ในปฏิทินจูเลียน ศักราชกำลอปีที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 257 ในปฏิทินจูเลียน
  2. หยางชื่อเป็นมารดาของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 267 หวางชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็นเซี่ยนจฺวิน (县君) และได้รับสมัญญานามว่า 'จิ้ง" (靖) สมัญญานามเต็มเป็น "ผิงหยางจิ้งจฺวิน" (平阳靖君)[2] ไม่ทราบแน่ชัดว่าหยางชื่อมีความเกี่ยวข้องกับเอียวเก๋า (羊祜 หยาง ฮู่) และหยาง ฮุย-ยฺหวี (羊徽瑜) หรือไม่
  3. เซี่ยโหวชื่อเป็นมารดาเลี้ยงของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 286 เซี่ยโหวชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็น"เซี่ยงจฺวินแห่งเอ๊งหยง" (荥阳乡君 สิงหยางเซี่ยงจฺวิน)[3]

อ้างอิง

แก้
  1. (甘露元年薨, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  2. (帝以后母羊氏未崇谥号,泰始三年下诏曰:“...其封夫人为县君,依德纪谥,主者详如旧典。”于是使使持节谒者何融追谥为平阳靖君。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
  3. (太康七年,追赠继祖母夏侯氏为荥阳乡君。) จิ้นชู เล่มที่ 31
  4. "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2024.
  5. 5.0 5.1 Goldin, Paul Rakita (1999). Rituals of the Way: The Philosophy of Xunzi. Open Court Publishing. p. 135. ISBN 978-0-8126-9400-0.
  6. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  7. จิ้นชู เล่มที่ 31.
  8. Shaughnessy, Edward L. (2014). Unearthing the Changes: Recently Discovered Manuscripts of the Yi Jing ( I Ching) and Related Texts. Columbia University Press. p. 190. ISBN 978-0-231-16184-8.

บรรณานุกรม

แก้