โฮอั๋น
โฮอั๋น (ป. ค.ศ. 195 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เหอ เยี่ยน (จีน: 何晏; พินอิน: Hé Yàn) ชื่อรอง ผิงชู (จีน: 平叔; พินอิน: Píngshū) เป็นนักปรัชญาและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นหลานปู่ของโฮจิ๋นผู้เป็นขุนพลและผู้สำเร็จราชการในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของโฮอั๋นชื่อเหอ เซี่ยน เสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่มาก อิ่นชื่อผู้เป็นมารดาของโฮอั๋นจึงแต่งงานใหม่กับขุนศึกโจโฉ โฮอั๋นจึงเติบโตในฐานะบุตรบุญธรรมของโจโฉ โฮอั๋นมีชื่อเสียงในเรื่องสติปัญญาและความเป็นนักวิชาการตั้งแต่อายุยังน้อย แต่โฮอั๋นไม่เป็นที่นิยมชมชอบทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นคนเย่อหยิ่งและเหลวไหล โฮอั๋นถูกปฏิเสธไม่ให้ดำรงตำแหน่งในราชสำนักทั้งจากจักรพรรดิโจผีและโจยอย แต่ในที่สุดก็กลายเป็นเสนาบดีในช่วงที่โจซองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิโจฮอง เมื่อสุมาอี้และตระกูลสุมาเข้ายึดอำนาจในราชสำนักในการก่อรัฐประหารในปี ค.ศ. 249 โฮอั๋นก็ถูกประหารชีวิตพร้อมกับขุนนางคนอื่น ๆ ที่ภักดีต่อโจซอง
โฮอั๋น (เหอ เยี่ยน) | |
---|---|
何晏 | |
ราชเลขาธิการกรมบุคลากร (吏部尚書 ลี่ปู้ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ป. ทศวรรษ 240 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ป. ค.ศ. 195 นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a] นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน |
คู่สมรส | เจ้าหญิงจินเซียง |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
อาชีพ | นักปรัชญา, ขุนนาง |
ชื่อรอง | ผิงชู (平叔) |
โฮอั๋นพร้อมด้วยหวาง ปี้ (王弼) เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมของสำนักเต๋าเสฺวียนเสฺว (玄學) โฮอั๋นสังเคราะห์สำนักปรัชญาของลัทธิเต๋าเข้ากับลัทธิขงจื๊อ เพราะโฮอั๋นเชื่อว่าทั้งสองสำนักส่งเสริมซึ่งกันและกัน โฮอั๋นเขียนตำราอธิบายเต้าเต๋อจิงซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น แต่ไม่มีฉบับสำเนาใด ๆ เหลือรอดมาถึงปัจจุบัน ตำราอธิบายหลุน-ยฺหวี่ที่โฮอั๋นเขียนถือเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับเกือบ 1,000 ปี จนกระทั่งการตีความของโฮอั๋นถูกแทนที่ด้วยตำราอธิบายโดยจู ซีในศตวรรษที่ 14
ประวัติ
แก้โฮอั๋นเกิดในเมืองลำหยงซึ่งปัจจุบันคือนครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน[2] ทวดของโฮอั๋นเป็นคนฆ่าสัตว์ขาย และปู่ของโฮอั๋นคือโฮจิ๋นผู้เป็นขุนพลและผู้สำเร็จราชการในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก น้องสาวของปู่ของโฮอั๋น (น้องสาวของโฮจิ๋น) คือโฮเฮา พระมเหสีของพระเจ้าเลนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[3][4] บิดาของโฮอั๋นชื่อเหอ เสียน (何咸) เสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่มาก[2] อำนาจทางการเมืองของตระกูลโฮถูกทำลายโดยขุนศึกตั๋งโต๊ะผู้เข้ายึดครองลกเอี๋ยงนครหลวงของราชวงศ์ฮั่น มารดาของโฮอั๋นหนีออกไปและให้กำเนิดโฮอั๋นระหว่างการหลบหนี[5]
เมื่อโฮอั๋นอายุ 6 ปี ขุนศึกโจโฉได้รับมารดาของโฮอั๋นมาเป็นอนุภรรยา หลังจากนั้นมารดาของโฮอั๋นจึงเป็นที่รู้จักในชื่อ "อิ่นชื่อ" (尹氏) โจโฉรับโฮอั๋นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม โฮอั๋นจึงได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับเจ้าชายคนอื่น ๆ ของวุยก๊ก รวมถึงโจผี (ครองราชย์ ค.ศ. 220-226) ซึ่งภายหลังเป็นรัชทายาทของโจโฉ โจผีไม่พอใจโฮอั๋นที่ทำตัวเหมือนกับตนเป็นรัชทายาท และกล่าวถึงโฮอั๋นด้วยชื่อว่า "ลูกปลอม" มากกว่าจะเรียกด้วยชื่อจริง ๆ ภายหลังโฮอั๋นแต่งงานกับเจ้าหญิงจินเซียง (金鄉公主 จินเซียงกงจู่) บุตรสาวคนหนึ่งของโจโฉ ซึงอาจจะเป็นน้องสาวต่างบิดาของโฮอั๋นด้วยเช่นกัน[6] จากการที่โจโฉรับโฮอั๋นเป็นบุตรบุญธรรม โฮอั๋นจึงใช้เวลาช่วงวัยเด็กอยู่กับโจโฉเป็นส่วนมาก[7]
โฮอั๋นในวัยเยาว์ชื่อเสียงในฐานะผู้มีความสามารถว่า "เฉลียวฉลาดราวกับเทพ"[8] โฮอั๋นชอบอ่านและเรียนหนังสือ โจโฉมักปรึกษาของโฮอั๋นเมื่อมีปัญหาในการตีความพิชัยสงครามซุนจื่อ และรู้สึกประทับใจกับการตีความของโฮอั๋น[7] ผู้อยู่ร่วมสมัยกับโฮอั๋น (ทั้งในวุยก๊กและราชวงศ์จิ้น) ต่างก็ไม่ชอบโฮอั๋น เขียนว่าโฮอั๋นนั้นท่าทางเหมือนผู้หญิง ชอบการแต่งหน้า เสเพล และเอาแต่ใจ โจยอยจักรพรรดิลำดับที่ 2 ของวุยก๊ก (ครองราชย์ ค.ศ. 226-239) ปฏิเสธที่จะรับโฮอั๋นเข้ารับราชการเพราะพระองค์เชื่อว่าโฮอั๋นเป็น "ดอกไม้ลอยน้ำ" คือขึ้นชื่อว่าใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย มีรายงานว่าโฮอั๋นเสพติด "ผงห้าแร่" ที่เป็นยาหลอนประสาท[8]
โฮอั๋นไม่สามารถขึ้นมามีบทบาททางการเมืองทั้งในรัชสมัยของโจผีและโจยอย เมื่อโจยอยสวรรคคในปี ค.ศ. 239 โดยให้โจฮองผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมซึ่งขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ได้สืบราชบัลลังก์ โจซองพระญาติของราชวงศ์โจได้กุมอำนาจในราชสำนักในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โฮอั๋นได้เข้ามาเป็นหนึ่งในขุนนางคนสนิทของโจซอง และในที่สุดก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นราชเลขาธิการกรมบุคลากร (吏部尚書 ลี่ปู้ช่างชู) และยังนำสหายและคนรู้จักหลายคนมารับราชการในตำแหน่งสำคัญ สหายคนหนึ่งของโฮอั๋นที่ได้เลื่อนตำแหน่งในช่วงเวลานี้คือหวาง ปี้ (王弼) นักปรัชญาผู้ทรงอิทธิพล[8]
เสืยชีวิต
แก้โฮอั๋นยังดำรงตำแหน่งราชการหลายตำแหน่งจนกระทั่งปี ค.ศ. 249 เมื่อสุมาอี้เข้ายึดอำนาจในราชสำนักจากการก่อรัฐประหาร หลังเข้ายึดราชสำนักได้ สุมาอี้สั่งให้ประหารชีวิตโจซองและพรรคพวกทั้งหมดรวมไปถึงโฮอั๋น [8]
ในเว่ย์ชื่อชุนชิวระบุว่าสุมาอี้มอบหมายให้โฮอั๋นรับหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับโจซอง โฮอั๋นต้องการพ้นผิดจึงตัดสินโทษโจซองอย่างรุนแรงเพื่อให้ได้รับความชื่นชมจากสุมาอี้ แต่สุมาอี้กลับเพิ่มชื่อของโฮอั๋นลงไปในรายชื่อคนร้ายที่ต้องถูกประหารชีวิตในท้ายที่สุด
ในช่วงเวลาที่โฮอั๋นเสียชีวิตนั้น โฮอั๋นมีบุตรชายอายุ 5 ปี ซึ่งสุมาอี้ส่งทหารไปจับกุม ก่อนที่ทหารจะไปถึง อิ่นชื่อมารดาของโฮอั๋นซึ่งยังมีชีวิตอยู่ได้ซ่อนหลานชายของตนไว้ แล้วไปที่พระราชวังขอร้องสุมาอี้ให้ไว้ชีวิตหลานชาย ในที่สุดอิ่นชื่อก็สามารถโน้มน้าวสุมาอี้ให้ละเว้นโทษหลานชาย บุตรชายของโฮอั๋นจึงรอดชีวิตมาได้
ปรัชญา
แก้ในบันทึกประวัติศาสตร์ของวุยก๊กระบุว่าโฮอั๋นชื่นชอบและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งในเรื่องงานเขียนของเล่าจื๊อและจวงจื่อนักปรัชญาของลัทธิเต๋า และในเรื่องคัมภีร์อี้จิง ตั้งแต่โฮอั๋นอายุยังน้อย โฮอั๋นเขียนตำราอธิบายเต้าเต๋อจิง (道论 เต้าหลุน) ที่มีชื่อเสียงซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในยุคนั้น แต่ไม่มีสำเนาของตำราดังกล่าวหลงเหลือในปัจจุบัน โฮอั๋นตั้งใจจะเขียนอรรถาธิบา่ยของเต้าเต๋อจิงที่มีรายละเอียดมากขึ้น แต่หลังจากเปรียบเทียบฉบับร่างของตนกับฉบับร่างที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันที่เขียนโดยหวาง ปี้ (王弼) ที่อายุน้อยกว่า โฮอั๋นก็ยอมรับว่าการตีความของตนด้อยกว่าหวาง ปี้ และตำราอธิบายที่ในที่สุดโฮอั๋นก็ผลิตขึ้นนั้นเป็นที่นิมและแพร่หลายมากกว่า[9]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ 2.0 2.1 三国志 一晋 陈寿 著 栗平夫 武彰 译 中华书局 P2-52 魏帝纪第一, 三国手册 逸安 著 中国古籍出版社 P186-191,曹操大事年表
- ↑ Gardner 10
- ↑ 闲云野鹤王定璋 著 四川教育出版社 P129
- ↑ 魏末传“晏妇金乡公主, 即晏同母妹.”
- ↑ Gardner 10-11
- ↑ 7.0 7.1 Fang Shiming, (2006).方诗铭论三国人物 上海古籍出版社 P225-226 ISBN 7-5325-4485-0
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Gardner 11
- ↑ Gardner 13
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- Gardner, Daniel K (2003). Zhu Xi's Reading of the Analects: Canon, Commentary, and the Classical Tradition. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-12865-0.