เตงเหยียง (เสียชีวิต 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เติ้ง หยาง (จีน: 鄧颺; พินอิน: Dèng Yáng) ชื่อรอง เสฺวียนเม่า (จีน: 玄茂; พินอิน: Xuánmào)[2] เป็นขุนนางชาวจีนของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

เตงเหยียง (เติ้ง หยาง)
鄧颺
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 (249)
กษัตริย์โจฮอง
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 (249)
กษัตริย์โจฮอง
หัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างฉื่อ)
(ภายใต้โจซอง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
เจ้าเมืองเองฉวน (潁川太守 อิ่งชฺวานไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอซินเย่ มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a]
นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
ญาติเตงอู (บรรพบุรุษ)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเสฺวียนเม่า (玄茂)

ประวัติ

แก้

เตงเหยียงสืบเชื้อสายจากเตงอู (鄧禹 เติ้ง ยฺหวี่)[3] ผู้เป็นขุนนางในช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เตงเหยียงเป็นชาวอำเภอซินเอี๋ย (新野縣 ซินเย่เซี่ยน) เมืองลำหยง (南陽郡 หนานหยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอซินเย่ มณฑลเหอหนาน

เตงเหยียงมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ในลกเอี๋ยง[4] ซึ่งเป็นนครหลวงของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก ชื่อเสียงของเตงเหยียงทำให้เตงเหยียงทัดเทียมกับคนรุ่นเดียวกันอย่างแฮเฮาเหียน จูกัดเอี๋ยน และเตียนติ๋ว เตงเหยียงดำรงตำแหน่งขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง), ขุนนางสำนักราชวัง (中書郎 จงชูหลาง) และนายอำเภอ ( ลิ่ง) ของลกเอี๋ยง[5] ในรัชสมัยของโจยอย (ครองราชย์ ค.ศ. 226–239) จักรพรรดิลำดับที่ 2 ของวุยก๊ก แต่ภายหลังเตงเหยียงถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะปฏิบัติหน้าที่อย่างผักชีโรยหน้าและมุ่งแต่แสวงชื่อเสียง[6]

ในปี ค.ศ. 239 ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิโจยอย โจฮองได้สืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ แต่เวลานั้นโจฮองยังทรงพระเยาว์ โจซองและสุมาอี้จึงบริหารราชการในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โจซองใช้กลวิธีทางการเมืองลิดลอนอำนาจของสุมาอี้แล้วตัวโจซองจึงได้กุมอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในราชสำนักวุยก๊ก[7] ฝ่ายสุมาอี้อ้างว่าป่วยและอยู่กับบ้าน ในช่วงเวลานี้ โจซองแต่งตั้งให้เตงเหยียงเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเองฉวน (潁川郡 อิ่งชฺวานจฺวิ้น) ภายหลังให้มีตำแหน่งหัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างฉื่อ) ภายใต้โจซอง ต่อมาเตงเหยียงในฐานะคนสนิทคนหนึ่งของโจซองได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[8]

ในช่วงที่เตงเหยียงดำรงตำแหน่ง ได้มีส่วนร่วมในการทุจริตและเล่นพรรคเล่นพวก ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งเตงเหยียงแต่งตั้งตำแหน่งขุนนางให้จาง อ้าย (臧艾) เพื่อตอบแทนที่จาง อ้ายมอบอนุภรรยาคนหนึ่งของบิดาให้เป็นอนุภรรยาของเตงเหยียง[9] เวลานั้นมีคำกล่าวในลกเอี๋ยงที่ล้อเลียนเตงเหยียงว่า "เติ้ง เสฺวียนเม่ามอบตำแหน่งตอบแทนเรื่องผู้หญิง"[10] ด้วยสถานะและความเกี่ยวข้องของเตงเหยียงที่มีต่อโจซอง ทำให้เตงเหยียงพร้อมด้วยเตงปิดและโฮอั๋นถูกเรียกว่าเป็น "สามสุนัข"[11] ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ที่โจซองกุมอำนาจในราชสำนัก ขุนนางชาวเมืองลำหยงชื่อกุย ท่าย (圭泰) กระทำการทำให้โจซองและผู้ติดตามรู้สึกไม่พอใจ เตงเหยียงต้องการลงโทษกุย ท่ายอย่างรุนแรง ซือหม่า ฉี (司馬岐) บุตรชายของซือหม่า จือ (司馬芝) ตำหนิเตงเหยียงที่ใช้อำนาจเพื่อแก้แค้น เตงเหยียงรู้สึกอับอายและโมโห แต่ก็ยอมต่อคำของซือหม่า ฉี[12]

ในปี ค.ศ. 244 เตงเหยียงและหลีซินแนะนำโจซองให้ยกทัพเข้ารบกับจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กเพื่อเพิ่มชื่อเสียงและอำนาจของตัวโจซองในวุยก๊ก[13] แต่ในที่สุดโจซองก็พ่ายแพ้ต่อทัพจ๊กก๊กในยุทธการที่ซิงชื่อ เกียรติภูมิของโจซองก็ด้อยลงด้วยเหตุที่ทัพวุยก๊กได้รับความเสียหายอย่างหนักในการรบ[14]

ในปี ค.ศ. 249 ระหว่างที่โจซองตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปยังสุสานโกเบงเหลง สุมาอี้ฉวยโอกาสนี้ก่อรัฐประหารในลกเอี๋ยงและยึดครองกำลังทหารในนครหลวง[15] โจซองยอมจำนนต่อสุมาอี้หลังสุมาอี้ให้คำมั่นว่าตัวโจซองและครอบครัวจะไม่ถูกทำร้ายหากโจซองยอมมอบอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[16] ภายหลังสุมาอี้ผิดคำมั่นโดยให้จับกุมโจซองและพรรคพวก (รวมถึงเตงเหยียง) ในข้อหากบฏและประหารชีวิตทั้งหมดพร้อมกับครอบครัว[17] ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น ในวันที่ 28 มกราคม หมอดูกวนลอได้พบกับโฮอั๋นตามคำเชิญของโฮอั๋น เตงเหยียงได้อยู่กับโฮอั๋นด้วยขณะพบกับกวนลอ กวนลอได้ทำนายถึงการเสียชีวิตของทั้งโฮอั๋นและเตงเหยียง[18]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 พระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่า โจซองกับผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เตงปิด, เตงเหยียง, โฮอั๋น, ปิดห้วน, หลีซิน และฮวนห้อม ถูกประหารชีวิตพร้อมกับครอบครัวในวันอู้ซฺวีของเดือน 1 ของศักราชเจียผิง ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮอง[1] ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ตามปฏิทินกริกอเรียน

อ้างอิง

แก้
  1. ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. (鄧颺字玄茂) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  3. (鄧颺……鄧禹後也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  4. (少得士名於京師。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  5. (明帝時爲尚書郎,除洛陽令,坐事免,拜中郎,又入兼中書郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  6. (初,颺與李勝等爲浮華友,及在中書,浮華事發,被斥出,遂不復用。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  7. (初,爽以宣王年德並高,恒父事之,不敢專行。及晏等進用,咸共推戴,說爽以權重不宜委之於人。乃以晏、颺、謐爲尚書,晏典選舉,軌司隷校尉,勝河南尹,諸事希復由宣王。宣王遂稱疾避爽。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  8. (正始初,乃出爲潁川太守,轉大將軍長史,遷侍中尚書。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  9. (颺爲人好貨,前在內職,許臧艾授以顯官,艾以父妾與颺) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  10. (故京師爲之語曰:「以官易婦鄧玄茂。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  11. (故于時謗書,謂「臺中有三狗,二狗崖柴不可當,一狗憑默作疽囊。」三狗,謂何、鄧、丁也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  12. (是時大將軍爽专权,尚書何晏、邓飏等爲之輔翼。南陽圭泰嘗以言迕指,考系廷尉。飏讯獄,將致泰重刑。岐數飏曰:『夫枢机大臣,王室之佐,既不能輔化成德,齊美古人,而乃肆其私忿,枉論無辜。使百姓危心,非此焉在?』飏於是惭怒而退。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 12.
  13. (颺等欲令爽立威名於天下,勸使伐蜀,爽從其言) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  14. (是時,關中及氐、羌轉輸不能供,牛馬騾驢多死,民夷號泣道路。入穀行數百里,賊因山爲固,兵不得進。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  15. (十年正月,車駕朝高平陵,爽兄弟皆從。宣王部勒兵馬,先據武庫,遂出屯洛水浮橋。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  16. (侍中許允、尚書陳泰說爽,使早自歸罪。爽於是遣允、泰詣宣王,歸罪請死,乃通宣王奏事。《世語》曰:宣王使許允、陳泰解語爽,蔣濟亦與書達宣王之旨,又使爽所信殿中校尉尹大目謂爽,唯免官而已,以洛水爲誓。爽信之,罷兵。《魏氏春秋》曰:爽旣罷兵,曰:「我不失作富家翁。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  17. (爽以支屬,世蒙殊寵,親受先帝握手遺詔,託以天下,而包藏禍心,蔑棄顧命,乃與晏、颺及當等謀圖神器,範黨同罪人,皆爲大逆不道」。於是收爽、羲、訓、晏、颺、謐、軌、勝、範、當等,皆伏誅,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  18. (正始九年十二月二十八日,吏部尚書何晏請之,鄧颺在晏許。晏謂輅曰:「聞君著爻神妙,試為作一卦,知位當至三公不?」又問:「連夢見青蠅數十頭,來在鼻上,驅之不肯去,有何意故?」輅曰:「夫飛鴞,天下賤鳥,及其在林食椹,則懷我好音,況輅心非草木,敢不盡忠?昔元、凱之弼重華,宣惠慈和,周公之翼成王,坐而待旦,故能流光六合,萬國咸寧。此乃履道休應。非卜筮之所明也。今君侯位重山岳,勢若雷電,而懷德者鮮,畏威者眾,殆非小心翼翼多福之仁。又鼻者艮,此天中之山,〈臣松之案:相書謂鼻之所在為天中。鼻有山象,故曰:「天中之山」也。〉高而不危,所以長守貴也。今青蠅臭惡,而集之焉。位峻者顛,輕豪者亡,不可不思害盈之數,盛衰之期。是故山在地中曰謙,雷在天上曰壯;謙則裒多益寡,壯則非禮不履。未有損己而不光大,行非而不傷敗。原君侯上追文王六爻之旨,下思尼父彖象之義,然後三公可決,青蠅可驅也。」颺曰:「此老生之常譚。」輅答曰:「夫老生者見不生,常譚者見不譚。」晏曰:「過歲更當相見。」輅還邑舍,具以此言語舅氏,舅氏責輅言太切至。輅曰:「與死人語,何所畏邪?」舅大怒,謂輅狂悖。歲朝,西北大風,塵埃蔽天,十餘日,聞晏、颺皆誅,然後舅氏乃服。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 29.

บรรณานุกรม

แก้