โจผี
พระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี (จีน: 曹丕; พินอิน: Cáo Pi) พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (จีน: 曹魏文帝; พินอิน: Cáo Wèi Wéndì - จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปีค.ศ. 220
เฉา พี (มาตรฐาน) โจผี (ฮกเกี้ยน) 曹丕 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพของพระเจ้าโจผียุค ราชวงศ์ถัง | |||||||||||||
จักรพรรดิแห่งวุยก๊ก | |||||||||||||
ครองราชย์ | 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 – 29 มิถุนายน ค.ศ. 226 | ||||||||||||
ถัดไป | โจยอย | ||||||||||||
อ๋องแห่งวุยก๊ก / เว่ย์หวัง (魏王) (ภายใต้ จักรวรรดิฮั่น) | |||||||||||||
ดำรงพระยศ | 15 มีนาคม ค.ศ. 220 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | โจโฉ | ||||||||||||
อัครมหาเสนาบดี (丞相) (ภายใต้ จักรวรรดิฮั่น) | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 15 มีนาคม ค.ศ. 220 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | โจโฉ | ||||||||||||
จักรพรรดิ | จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน | ||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 187 | ||||||||||||
สวรรคต | 29 มิถุนายน ค.ศ. 226 (38 - 39 พรรษา) | ||||||||||||
คู่อภิเษก | เจิ้นจี่ | ||||||||||||
พระราชบุตร | โจยอย | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | โจ/เฉา | ||||||||||||
พระราชบิดา | โจโฉ | ||||||||||||
พระราชมารดา | เปียนสี |
โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา
เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง
พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก
พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 6 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปีค.ศ. 226 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษา
พระราชกรณียกิจ
แก้พระเจ้าโจผีทรงย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ ลั่วหยาง ในปีค.ศ. 220
พระเจ้าโจผีทรงนำทัพเข้าโจมตีกังตั๋ง แต่ท้ายที่สุดถูก ลกซุน ต้านทัพไว้ได้ทำให้พ่ายแพ้กลับมา และยังเสียแม่ทัพคนสำคัญคือ เตียวเลี้ยว ในศึกนี้อีกด้วย
หลังจากพ่ายแพ้สงคราม พระเจ้าโจผีจึงหันมาสนใจทางด้านวรรณกรรมมากกว่าสงคราม เริ่มเกิดการเขียนวรรณกรรมแบบร้อยแก้ว จนทำให้ผู้คนรุ่นหลังยกย่องพระเจ้าโจผีเป็นพระบิดาแห่งวรรณกรรมร้อยแก้ว
พระราชวงศ์
แก้อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- [1] เก็บถาวร 2008-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | โจผี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิฮั่นเซี่ยนตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก |
จักรพรรดิจีน วุยก๊ก (ค.ศ. 220 – 226) |
จักรพรรดิเว่ยหมิงตี้ (พระเจ้าโจยอย) | ||
โจโฉ | อัครมหาเสนาบดี แห่งราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ. 220) |
สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น |