พระเจ้าเหี้ยนเต้
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
หลิว เสีย (จีน: 劉協; พินอิน: Liú Xié; สำเนียงฮกเกี้ยนว่า "เล่าเหียบ") พระนามรอง ปั๋วเหอ (伯和) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 14 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ด้วยพระนาม "เซี่ยนตี้" (獻帝; ฮกเกี้ยนว่า "เหี้ยนเต้"; แปลว่า "จักรพรรดิเซี่ยน/เหี้ยน") ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 189 จนถึงวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 นอกจากนี้ ยังเป็นที่รู้จักด้วยพระนาม "หฺวังจื่อเสีย" (皇子協; ฮกเกี้ยนว่า "หองจูเหียบ"; แปลว่า "ราชบุตรเหียบ/เสีย")
เซี่ยนตี้ (มาตรฐาน) เหี้ยนเต้ (ฮกเกี้ยน) 獻帝 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก | |||||||||
![]() ภาพวาดสมัยราชวงศ์ชิง | |||||||||
จักรพรรดิจีน | |||||||||
ครองราชย์ | 28 กันยายน ค.ศ. 189 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 220[1] | ||||||||
ก่อนหน้า | หฺวังจื่อเปี้ยน | ||||||||
ถัดไป | วุยก๊ก : เว่ยเหวินตี้ จ๊กก๊ก : ฮั่นเจาเลี่ยตี้ ง่อก๊ก : หวูต้าตี้ | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | |||||||||
ชานหยางกง (山陽公) | |||||||||
ดำรงพระยศ | 11 ธันวาคม ค.ศ. 220 – 21 เมษายน ค.ศ. 234 | ||||||||
ถัดไป | หลิว คัง (劉康) | ||||||||
ปั๋วไห่หวัง (渤海王) | |||||||||
ดำรงพระยศ | ค.ศ. 189 | ||||||||
เฉินหลิวหวัง (陳留王) | |||||||||
ดำรงพระยศ | ค.ศ. 189 | ||||||||
ประสูติ | 2 เมษายน ค.ศ. 181[2] ลั่วหยาง, จักรวรรดิฮั่น | ||||||||
สวรรคต | 21 เมษายน ค.ศ. 234[3] รัฐเฉาเว่ย์ | (53 ปี)||||||||
ภริยา | ฟู่ โช่ว เฉา เจี๋ย | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ฮั่น | ||||||||
พระราชบิดา | หลิว หง | ||||||||
พระราชมารดา | หลิงหฺวาย (靈懷) | ||||||||
ช่วงเวลา | ![]() | ||||||||
เหตุการณ์สำคัญ |
|
เจ้าชายหลิวเสียเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระเจ้าเลนเต้และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิองค์ก่อนคือจักรพรรดิฮั่นเฉา ในปี ค.ศ. 189 ขณะมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา พระองค์ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากขุนศึกตั๋งโต๊ะ ผู้ควบคุมราชสำนักฮั่นประกาศปลดพระเชษฐาของพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ เจ้าชายหลิวเสียที่เพิ่งขึ้นครองราชย์หรือที่รู้จักในพระนามพระเจ้าเหี้ยนเต้ แท้จริงแล้วเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของตั๋งโต๊ะ ในปี ค.ศ. 190 เมื่อกลุ่มขุนศึกจาก 18 หัวเมืองร่วมกันเปิดฉากการทัพปราบตั๋งโต๊ะในนามของการปลดปล่อยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั๋งโต๊ะสั่งทำลายเมืองหลวงของจักรวรรดิในเวลานั้นคือลั่วหยาง และบังคับย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิพร้อมกับผู้อยู่อาศัยไปยังฉางอานซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หลังจากการลอบสังหารตั๋งโต๊ะโดยลิโป้ซึ่งเป็นองครักษ์ส่วนตัวและบุตรบุญธรรมของเขาในปี ค.ศ. 192 พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของลิฉุยและกุยกี อดีตสองผู้ใต้บังคับบัญชาของตั๋งโต๊ะ ขุนศึกในหัวเมืองต่าง ๆ ยอมรับความชอบธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้อย่างเป็นทางการ แต่ไม่เคยดำเนินการใด ๆ เพื่อช่วยเขาจากการถูกจับเป็นตัวประกัน
ใน ค.ศ. 195 พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงสามารถหลบหนีออกมาจากฉางอันและกลับไปที่ซากเมืองลั่วหยางในช่วงที่เกิดความบาดหมางระหว่างลิฉุยและกุยกี ที่ซึ่งในไม่ช้าพระองค์ทรงติดอยู่ที่นั่น ปีต่อมา ขุนศึกโจโฉได้นำกองทัพเข้าสู่ลั่วหยาง ต้อนรับพระเจ้าเหี้ยนเต้ รับพระองค์ไว้ภายใต้การคุ้มครอง และคุ้มกันพาพระองค์ไปที่นครฮูโต๋ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิ แม้ว่าโจโฉจะจงรักภักดีต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้เพียงเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้ว เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลส่วนกลางโดยพฤตินัย เขาใช้พระเจ้าเหี้ยนเต้อย่างชาญฉลาดในฐานะ"ไพ่ตาย" เพื่อเสริมสร้างความชอบธรรมของเขา เมื่อเขาโจมตีและกำจัดขุนศึกที่เป็นคู่แข่งในเป้าหมายของเขาในการรวบรวมจักรวรรดิฮั่นอีกครั้งภายใต้การปกครองของรัฐบาลส่วนกลาง ความสำเร็จของโจโฉดูเหมือนใกล้จะเป็นจริงจนกระทั่งฤดูหนาว ค.ศ. 208-209 เมื่อเขาพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่ผาแดงให้แก่ขุนศึกฝ่ายใต้อย่างซุนกวนและเล่าปี่ การต่อสู้ครั้งนี้ได้ปูทางไปสู่การก่อกำเนิดของอาณาจักรสามก๊ก ได้แก่ วุย จ๊ก และง่อ ในเวลาต่อมา
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 220 ไม่กี่เดือนภายหลังโจโฉถึงแก่กรรม โจผี ทายาทผู้สืบทอดของโจโฉได้บีบบังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชบังลังก์แล้วยกให้แก่ตน จากนั้นเขาได้สถาปนารัฐเว่ย์ด้วยตัวเขาเองในฐานะจักรพรรดิองค์ใหม่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของราชวงศ์ฮั่นและเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในจีน พระเจ้าเหี้ยนเต้ ผู้ถูกปลดออกจากราชบังลังก์ได้รับตำแหน่งขุนนางเป็น ชางหยางกง (ภาษาจีน: 山陽公) จากพระเจ้าโจผี และทรงใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบสุขและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พระองค์สวรรคตเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 234 ประมาณ 14 ปีภายหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น
อ้างอิง แก้
- ↑ de Crespigny (2007), p. xxxiii.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 554.
- ↑ de Crespigny 2007, p. 555. Cao Rui's biography in the Sanguozhi recorded that the Duke of Shanyang died on the gengyin day of the 3rd month of the 2nd year of the Qinglong era of Cao Rui's reign. This date corresponds to 21 April 234 in the Gregorian calendar. Original quote in Sanguozhi vol. 3: [青龍二年]三月庚寅,山陽公薨
ก่อนหน้า | พระเจ้าเหี้ยนเต้ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หฺวังจื่อเปี้ยน (หองจูเปียน) |
จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 189–220) |
ยุคสามก๊ก วุยก๊ก : จักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ จ๊กก๊ก : จักรพรรดิฮั่นเจาเลี่ยตี้ ง่อก๊ก : จักรพรรดิหวูต้าตี้ |