โจงั่ง
โจงั่ง มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา อ๋าง (จีน: 曹昂; พินอิน: Cáo Áng; ; ป. ค.ศ. 177 – กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 197)[a] ชื่อรอง จื่อซิว (จีน: 子脩; พินอิน: Zǐxiū) เป็นบุตรชายคนโตของโจโฉขุนศึกผู้ขึ้นมามีอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและวางรากฐานให้กับรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน โจงั่งถูกสังหารในยุทธการที่อ้วนเซียในปี ค.ศ. 197[1]
โจงั่ง (เฉา อ๋าง) 曹昂 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประสูติ | ป. ค.ศ. 177[1] | ||||||||
สวรรคต | ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ถึง 6 มีนาคม[a] ค.ศ. 197 (20 ปี)[1] เขตหว่านเฉิง นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชตระกูลโจ | ||||||||
พระราชบิดา | โจโฉ | ||||||||
พระราชมารดา | เล่าซี |
ประวัติ
แก้โจงั่งเป็นบุตรชายคนแรกของโจโฉกับเล่าซี (劉氏 หลิวชื่อ หรือ 劉夫人 หลิวฟูเหริน) ผู้เป็นอนุภรรยา เล่าซียังให้กำเนิดบุตรชายของโจโฉอีกคนคือเฉา ชั่ว (曹鑠) และบุตรสาวคือเจ้าหญิงใหญ่[3]ชิงเหอ (清河長公主 ชิงเหอจ่างกงจู่)[4][5] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเล่าซีเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โจงั่งจึงได้รับการเลี้ยงดูจากติงฟูเหริน (丁夫人) ภรรยาหลวงคนแรกของของโจโฉที่ปฏิบัติต่อโจงั่งเหมือนเป็นบุตรชายของตนเอง[6]
ไม่มีบันทึกเกี่ยวประวัติช่วงต้นของโจงั่งในประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากเรื่องที่โจงั่งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเซี่ยวเหลียน (孝廉; ผู้ได้รับเลือกเข้ารับราชการพลเรือน) ขณะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ (ประมาณ 19 ปี)[7] ในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 197 โจงั่งติดตามบิดาในการศึกที่รบกับเตียวสิ้วในอ้วนเซีย (宛 หว่าน หรือ 宛城 หว่านเฉิง; ในปัจจุบันคือเขตหว่านเฉิง นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) เตียวสิ้วยอมจำนนในตอนแรก แต่กลับก่อกบฏในภายหลัง โดยเปิดฉากการโจมตีโจโฉโดยฉับพลันและทำให้โจโฉไม่ทันตั้งตน โจโฉได้รับบาดเจ็บที่แขนข้างขวาเพราะถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ระหว่างการรบ ในขณะที่ม้าเจฺว๋อิ่ง (絕影) ที่โจโฉขี่ถูกเกาทัณฑ์ยิงที่คอและขา[8] โจงั่งไม่สามารถขึ้นบนหลังม้าได้จึงมอบม้าของตนให้บิดาขี่ โจโฉจึงหนีออกจากอ้วนเซียได้ ส่วนโจงั่งเสียชีวิตในที่รบในเวลาต่อมา[9][10][11]
เหตุการณ์ในภายหลังและการสืบเชื้อสาย
แก้ติงฟูเหรินร้องไห้อยู่บ่อยครั้งให้กับการเสียชีวิตของโจงั่งและกล่าวหาโจโฉว่าเป็นต้นเหตุทำให้โจงั่งถูกสังหาร โจโฉโกรธมากและส่งติงฟูเหรินกลับไปอยู่กับครอบครัวเดิมด้วยหวังว่าติงฟูเหรินจะเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อโจโฉไปพบติงฟูเหรินเมื่อราวปี ค.ศ. 200 ติงฟูเหรินปฏิเสธที่จะสนทนากับโจโฉ ทั้งสองจึงหย่าร้างกันอย่างเป็นทางการ[12] หลังการเสียชีวิตของติงฟูเหริน โจโฉมักกังวลว่าตนจะพบหน้าวิญญาณของโจงั่งได้อย่างไรหากวิญญาณของโจงั่งถามถึงติงฟูเหริน[13]
ในปี ค.ศ. 221 หลังโจผี (บุตรชายอีกคนของโจโฉ) โค่นล้มราชวงศ์ฮั่นและก่อตั้งรัฐวุยก๊ก (ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊ก) พระองค์ทรงแต่งตั้งโจงั่งย้อนหลังให้มีสมัญญามนาม "เฟิงเต้ากง" (豐悼公) สามปีต่อมา โจงั่งได้รับการเลื่อนสถานะเป็นอ๋อง โดยมีสมัญญานามว่า "อ๋องเต้าแห่งเฟิง" (豐悼王 เฟิงเต้าหวาง) ในปี ค.ศ. 229 ในรัชสมัยของโจยอยพระโอรสของโจผี สมัญญานามของโจงั่งเปลี่ยนเป็น "อ๋องหมิ่นแห่งเฟิง" (豐愍王 เฟิงหมิ่นหวาง)[14]
โจงั่งไม่มีบุตรชายเป็นผู้สืบเชื้อสายหลังโจงั่งเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 222 เฉา หว่าน (曹琬) บุตรชายของเฉา จฺวิน (曹均) ที่เป็นพี่น้องต่างมารดาของโจงั่งได้รับการตั้งให้เป็นทายาทของโจงั่ง และได้รับการแต่งตั้งให้มีฐานันดรศักดิ์จงตูกง (中都公) ต่อมาในปีเดียวกัน เฉา หว่านได้รับการตั้งให้มีฐานันดรศักดิ์จ๋างจื่อกง (長子公) ในปี ค.ศ. 254 ในรัชสมัยของโจฮอง เฉา หว่านได้เลื่อนขึ้นเป็น "อ๋องแห่งเฟิง" (豐王 เฟิงหวาง) และได้รับเขตศักดินา "เฟิง" ตามสมัญญานามของโจงั่ง จำนวนศักดินาเพิ่มขึ้นในช่วงรัชสมัยของโจมอและโจฮวนจนถึงมาถึง 2,700 ครัวเรือน หลังเฉา หว่านสิ้นพระชนม์ ได้รับสมัญญานามว่า "อ๋องกงแห่งเฟิง" (豐恭王 เฟิงกงหวาง) เฉา เหลียน (曹廉) โอรสของเฉา หว่าได้สืบเชื้อสายต่อมา[15]
มีการค้นพบหลุมศพแห่งหนึ่งที่สุสานโจโฉในอำเภออานหยาง ซึ่งในหลุมศพมีเสื้อผ้าแต่ไม่มีศพมนุษย์ เสื้อผ้านี้อาจเป็นของโจงั่ง เพราะศพของโจงั่งไม่เคยถูกค้นพบ[16][17][18]
หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่ายุทธการที่อ้วนเซียเกิดขึ้นในเดือน 1 ของศักราชเจี้ยนอัน (建安) ปีที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[2] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ถึง 6 มีนาคม ค.ศ. 197 ในปฏิทินกริกอเรียน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 33.
- ↑ Sima (1084), vol. 62.
- ↑ Lee, Lily; Wiles, Sue, บ.ก. (2015). Biographical Dictionary of Chinese Women. Vol. II. Routledge. p. 609. ISBN 978-1-317-51562-3.
An emperor's [...] sister or a favorite daughter was called a grand princess (zhang gongzhu); and his aunt or grand-aunt was called a princess supreme (dazhang gongzhu).
- ↑ (武皇帝二十五男: ... 劉夫人生豐愍王昂、相殤王鑠, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
- ↑ (魏略曰:太祖始有丁夫人,又劉夫人生子脩及清河長公主。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 5.
- ↑ (魏略曰:太祖始有丁夫人,又劉夫人生子脩及清河長公主。劉早終,丁養子脩。子脩亡於穰,丁常言:「將我兒殺之,都不復念!」遂哭泣無節。)อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 5.
- ↑ (豐愍王昂字子脩。弱冠舉孝廉。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
- ↑ (魏書曰:公所乘馬名絕影,為流矢所中,傷頰及足,并中公右臂。) อรรถาธิบายจากเว่ยชูในสามก๊กจี่ เล่มที่ 5.
- ↑ (世語曰:昂不能騎,進馬於公,公故免,而昂遇害。) อรรถาธิบายชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 1.
- ↑ (二年春正月,公到宛。張繡降,旣而悔之,復反。公與戰,軍敗,為流矢所中,長子昂、弟子安民遇害。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 1.
- ↑ (隨太祖南征,為張繡所害。無子。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
- ↑ de Crespigny, Rafe (2010). Imperial Warlord A Biography of Cao Cao 155-220 AD (ebook) (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 401. ISBN 9789004188303. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 5.
- ↑ (黃初二年追封,謚曰豐悼公。 ... 五年,追加昂號曰豐悼王。太和三年改昂謚曰愍王。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
- ↑ ([黄初]三年,以樊安公均子琬奉昂後,封中都公。其年徙封長子公。 ... 嘉平六年,以琬襲昂爵為豐王。正元、景元中,累增邑,并前二千七百戶。琬薨,謚曰恭王。子廉嗣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
- ↑ Everington, Keoni (26 March 2018). "Tomb of legendary Chinese general Cao Cao found". Taiwan News. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
- ↑ Zhou, Laura (26 March 2018). "Archaeologists confident they have found body of fabled Chinese warlord Cao Cao". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
- ↑ "梟雄出土 河南考古找到曹操遺骸 [A xiaoxiong is unearthed; Henan archaeologists discover Cao Cao's remains]". Apple Daily (ภาษาจีน). 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.[ลิงก์เสีย]
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า, กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.