แม่น้ำแยงซี

แม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และยาวเป็นอันดับสามของโลก
(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำแยงซีเกียง)

แม่น้ำแยงซี (จีนตัวย่อ: 扬子江; จีนตัวเต็ม: 揚子江; พินอิน: Yángzǐ jiāng; อังกฤษ: Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง (จีนตัวย่อ: 长江; จีนตัวเต็ม: 長江; พินอิน: Cháng jiāng) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร[8] ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก

แม่น้ำแยงซี
长江
ช่วงพลบค่ำตรงกลางแม่น้ำแยงซี (ซานเสีย) ค.ศ. 2002
แผนที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซี
ชื่อท้องถิ่นCháng Jiāng (จีน)
ที่ตั้ง
ประเทศ จีน
มณฑลชิงไห่, ยูนนาน, เสฉวน, หูเป่ย์, หูหนาน, เจียงซี, อานฮุย, เจียงซู
นครปกครองโดยตรงฉงชิ่งและเซี่ยงไฮ้
เขตปกครองตนเองทิเบต
นครหลูโจว, ฉงชิ่ง, อี๋ชาง, จิงโจว, เยฺว่หยาง, ฉางซา, อู่ฮั่น, จิ่วเจียง, อานชิ่ง, ถงหลิง, อู๋หู, หนานจิง, เจิ้นเจียง, หยางโจว, หนานทง, เซี่ยงไฮ้
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำดัมชู (เนินจารี)
 • ตำแหน่งเทือกเขาถังกู่ลา มณฑลชิงไห่
 • พิกัด32°36′14″N 94°30′44″E / 32.60389°N 94.51222°E / 32.60389; 94.51222
 • ระดับความสูง5,170 m (16,960 ft)
แหล่งที่ 2อูลานโมโรน
 • พิกัด33°23′40″N 90°53′46″E / 33.39444°N 90.89611°E / 33.39444; 90.89611
แหล่งที่ 3แม่น้ำ Chuma'er
 • พิกัด35°27′19″N 90°55′50″E / 35.45528°N 90.93056°E / 35.45528; 90.93056
แหล่งที่ 4แม่น้ำ Muluwusu
 • พิกัด33°22′13″N 91°10′29″E / 33.37028°N 91.17472°E / 33.37028; 91.17472
แหล่งที่ 5Bi Qu
 • พิกัด33°16′58″N 91°23′29″E / 33.28278°N 91.39139°E / 33.28278; 91.39139
ปากน้ำทะเลจีนตะวันออก
 • ตำแหน่ง
เซี่ยงไฮ้และเจียงซู
 • พิกัด
31°23′37″N 121°58′59″E / 31.39361°N 121.98306°E / 31.39361; 121.98306
ความยาว6,300 km (3,900 mi)[1]
พื้นที่ลุ่มน้ำ1,808,500 km2 (698,300 sq mi)[2]
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย30,146 m3/s (1,064,600 cu ft/s)[3]
 • ต่ำสุด2,000 m3/s (71,000 cu ft/s)
 • สูงสุด110,000 m3/s (3,900,000 cu ft/s)[4][5]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งDatong hydrometric station, อานฮุย (ขอบบนสุดของน้ำทะเล)
 • เฉลี่ย(ช่วง: 1980–2020)905.7 km3/a (28,700 m3/s)[6] 30,708 m3/s (1,084,400 cu ft/s) (2019–2020)[7]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอู่ฮั่น (ฮั่นโข่ว)
 • เฉลี่ย(ช่วง: 1980–2020)711.1 km3/a (22,530 m3/s)[6]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอี๋ชาง (เขื่อนซานเสียต้าป้า)
 • เฉลี่ย(ช่วง: 1980–2020)428.7 km3/a (13,580 m3/s)[6]
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายหย่าหลง, หมิน, ถัว, เจียหลิง, ฮั่น
 • ขวาอู, หยวน, Zi, เซียง, ก้าน, หฺวางผู่
ฉางเจียง
"แม่น้ำแยงซี (ฉางเจียง)" ในอักษรจีนตัวย่อ (บน) และตัวเต็ม (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ长江
อักษรจีนตัวเต็ม長江
ความหมายตามตัวอักษร"แม่น้ำยาว"
แม่น้ำแยงซี
อักษรจีนตัวย่อ扬子江
อักษรจีนตัวเต็ม揚子江
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต འབྲི་ཆུ།

ชื่อ

แก้
 
โค้งแรกของแม่น้ำแยงซี ณ สือกุ (石鼓) มณฑลยูหนาน โค้ง 180 องศา จากใต้ สู่ เหนือ

ชื่อแม่น้ำแยงซีที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นชื่อที่ตกทอดมาจากแม่น้ำหยางจื่อเจียง (จีนตัวย่อ: 扬子江; จีนตัวเต็ม: 揚子江; พินอิน: Yángzǐ Jiāng) ซึ่งเริ่มเรียกในสมัยราชวงศ์สุย ชื่อแม่น้ำหยางจื่อเจียงถูกเรียกตามเรือบรรทุกสินค้าในสมัยก่อนจากเมืองหยางจื่อจิน (จีน: 扬子津, ความหมายว่า ข้ามหยางจึ) ในสมัยราชวงศ์หมิง ตัวเขียนของแม่น้ำหยางจึจินบางครั้งเขียนเป็น 洋子 (พินอิน: Yáng Zĭ) เนื่องจากกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ยินชื่อแม่น้ำหยางจึจินคือกลุ่มมิชชันนารีและพ่อค้า ชื่อแม่น้ำนี้จึงถูกเรียกแทนแม่น้ำทั้งสาย ในเวลาต่อมาชื่อของแม่น้ำหยางจื่อเจียงได้รับการพิจารณาว่าเป็นชื่อที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณคดีของประเทศจีน ชื่อใหม่ของแม่น้ำหยางจื่อเจียงคือ แม่น้ำฉางเจียง (จีนตัวย่อ: 长江; จีนตัวเต็ม: 長江; พินอิน: Cháng Jiāng) ซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำสายยาว (Long River) ซึ่งชาวตะวันตกก็เรียกเช่นเดียวกันนี้ในบางครั้ง

แม่น้ำแยงซีถูกเรียกต่างชื่อกันไปตามเส้นทางของลำน้ำเช่นเดียวกับแม่น้ำหลาย ๆ สาย เช่น ต้นทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกโดยชาวทิเบตว่า ตังฉวี่ (จีน: 当曲, ความหมายว่า บึงแม่น้ำหรือ หนองแม่น้ำ) ตามทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกว่า แม่น้ำถัวทัว (จีน: 沱沱河) ลาดลงมาอีกเรียกว่า แม่น้ำทงเทียน (จีน: 通天河, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า ผ่านแม่น้ำสวรรค์) นอกจากนี้แล้วแม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่า แม่น้ำจินชา (จีน: 金沙江; พินอิน: Jīnshā Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำหาดทรายทอง) จากเส้นทางน้ำไหลผ่านช่องแคบระหว่างเทือกเขาต่าง ๆ สู่ แม่น้ำแม่กองและ แม่น้ำสาละวิน ก่อนที่จะไหลผ่านเข้าสู่ที่ราบลุ่มเสฉวน หรือ ซื่อชวน (จีน: 四川; พินอิน: Sì Chuān) ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจีน ชาวจีนสมัยก่อนเรียกแม่น้ำแยงซีเพียงสั้น ๆ ว่า เจียง (จีน: ; พินอิน: Jiāng) หรือ ต้าเจียง (จีน: 大江; พินอิน: Dà Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำใหญ่) ซึ่งต่อมาชาวจีนเรียกแทนแม่น้ำว่า เจียง ชาวทิเบตเรียกแม่น้ำว่า บีร์ชู (ทิเบต: འབྲི་ཆུ་, ไวลี: 'bri chu, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำแม่วัวป่า) แม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่าเป็นแม่น้ำสายทองคำอีกด้วย

ภูมิศาสตร์

แก้

ต้นกำเนิดของแม่น้ำแยงซีอยู่ใต้ธารน้ำแข็งทางทิศตะวันตกของภูเขาเก้อลาตานตง (จีน: 各拉丹东; พินอิน: Gèlādāndōng) แม่น้ำแยงซีไหลผ่านไปฝั่งตะวันออกของมณฑลชิงไห่ และไหลลงไปทางใต้สู่หุบเขาที่ลึกตามแนวเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างมณฑลเสฉวน กับ ทิเบต แล้วไหลเข้าสู่มณฑลหูหนาน หรือ ฮูนาน (พินอิน: Húnán) ซึ่งเส้นทางไหลเลาะ ลาด ตามหุบเขานั้นได้ลดระดับความสูงของแม่น้ำจากมากกว่า 5,000 เมตร สู่ระดับที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร

แม่น้ำแยงซีไหลเข้าสู่ ที่ราบลุ่มเสฉวน (แอ่งเสฉวน) ณ อี๋ปิน (จีนตัวย่อ: 宜宾; จีนตัวเต็ม: 宜賓; พินอิน: Yíbīn) ซึ่งแม่น้ำแยงซีได้บรรจบกับแม่น้ำอีกหลายสาย ณ แอ่งเสฉวน นี้ จึงทำให้มีปริมาณน้ำมากขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากนั้นแม่น้ำแยงซีก็ไหลเลาะตามเส้นแบ่งเขตระหว่างมณฑลฉงชิ่ง (จีนตัวย่อ: 重庆; จีนตัวเต็ม: 重慶; พินอิน: Chóngqìng) กับ มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北; พินอิน: Húběi) จากเส้นทางไหลเลาะตามเส้นแบ่งเขตนี้ ก่อให้เกิดซานเชี่ย (จีนตัวย่อ: 三峡; จีนตัวเต็ม: 三峽; พินอิน: Sānxiá) อันโด่งดัง

แม่น้ำแยงซีได้รับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากทะเลสาบพัน ๆ แห่งหลังจากไหลเข้าสู่มณฑลหูเป่ย์ ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดที่มาบรรจบกับแม่น้ำแยงซีคือ ทะเลสาบต้งถิง (จีน: 洞庭湖; พินอิน: Dòngtíng Hú) ซึ่งเลาะเลียบตามเส้นแบ่งเขตของมณฑลหูหนานกับมณฑลหูเป่ย์ หลังจากเข้าสู่เมืองอู๋ฮั่น (จีนตัวย่อ: 武汉; จีนตัวเต็ม: 武漢; พินอิน: Wǔhàn) แม่น้ำแยงซีได้บรรจบกับแม่น้ำสายย่อยที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือแม่น้ำฮั่น โดยที่แม่น้ำฮั่นนำพาปริมาณน้ำมาจากเขตทางเหนือเริ่มจากมณฑลฉ่านซี (จีนตัวย่อ: 陕西; จีนตัวเต็ม: 陝西; พินอิน: Shǎnxī)

ทะเลสาบโป๋หยาง (จีน: 鄱阳湖; พินอิน: Póyáng Hú) ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนเข้าบรรจบกับแม่น้ำแยงซีที่ปลายทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี (จีน: 江西; พินอิน: Jiāngxī) จากนั้นแม่น้ำแยงซีก็ได้รับปริมาณน้ำเพิ่มจากทะเลสาบและแม่น้ำใหญ่น้อยที่นับไม่ถ้วนจากเส้นทางที่ไหลผ่านเข้าสู่มณฑลอานฮุย (จีน: 安徽; พินอิน: Ānhuī) และมณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏; จีนตัวเต็ม: 江蘇; พินอิน: Jiāngsū) แล้วสุดท้ายก็ไหลผ่านลงสู่ทะเลจีนตะวันออก (จีน: 中国东海) ที่เมืองช่างไห่ หรือ เซี่ยงไฮ้ (จีน: 上海; พินอิน: Shànghǎi)

นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำแยงซี เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "แหล่งมรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำสาละวิน ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง

สภาพแวดล้อม

แก้
 
เรือประมงเหนือแม่น้ำแยงซี ณ ใกล้รุ่ง (ใกล้หนานทง)

ในปี 2007 ความวิตกกังวลว่าปลาโลมาจีน (Finless Porpoise) หรือที่ชาวพื้นเมืองรู้จักในนาม เจียงจู (Jiangzhu) มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ตามปลาโลมาในแม่น้ำแยงซีนามว่า ป๋ายชื่อ (baiji) (จีน: 白鱀豚; พินอิน: Báijìtún) ในขณะที่ปลาโลมาพันธุ์ป๋ายชื่อถูกเปิดเผยเมื่อปี 2006 ว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

มีการเรียกร้องให้อนุรักษ์ปลาโลมาจีน ซึ่งมีจำนวนประชากรประมาณ 1,400 ตัว ปลาโลมาจีน 700-900 ตัวอาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซี และอีกประมาณ 500 ตัวอาศัยอยู่ในทะเลสาบต้งถิงและ ทะเลสาบโป๋หยาง (จีน: 鄱阳湖; พินอิน: Póyáng Hú)

จำนวนประชากรปลาโลมาจีนในปี 2007 ลดลงจากในปี 1997 มากกว่าครึ่ง และจำนวนประชากรปลาโลมาจีนลดลงที่ 7.3% ต่อปี

การจราจรที่คับแน่นบนผิวน้ำของแม่น้ำแยงซีได้ขับไล่ปลาโลมาจีนให้ไปอยู่ในทะเลสาบต่าง ๆ แทน ณ ทะเลสาบโป๋หยาง ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีการขุดลอกพื้นทรายใต้ทะเลสาบเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงปีหลัง ๆ ทั้งยังเป็นรายได้ที่สำคัญของภูมิภาคตามแนวทะเลสาบอีกด้วย ซึ่งโครงการขุดลอกพื้นทรายเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อประชากรสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ให้ถึงแก่ความตาย

การขุดลอกทำให้น้ำในทะเลสาบขุ่นมัวขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ปลาโลมาจีนไม่สามารถมองเห็นทางได้ไกลเหมือนเช่นแต่ก่อน จึงทำให้ปลาโลมาจีนต้องพึ่งพาระบบโซน่า (Sonar Systems) ของตนในการหลบหลีกอุปสรรคต่าง ๆ และหาอาหาร การขนส่งทางน้ำในทะเลสาบยังส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของเหยื่อของปลาโลมาจีนอีกด้วย นอกจากนี้ปฏิกูลหนักจากแอมโมเนีย (Ammonia) ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และอื่นๆยังสร้างมลพิษอย่างสาหัสแก่พื้นที่ประมาณหนึ่งในสามส่วนของแม่น้ำสายย่อยหลัก ๆ อย่าง แม่น้ำมินเจียง (จีน: 岷江; พินอิน: Mín Jiāng) แม่น้ำถัวเจียง แม่น้ำเซียงเจียง (จีน: 湘江; พินอิน: Xiāng Jiāng) และหวงผู่ (จีน: 黃浦江; พินอิน: Huángpŭ Jiāng) ซึ่งส่งผลให้ปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง

ปลาในแม่น้ำแยงซี 3 ชนิด ที่ได้รับการขนามนามว่าเป็น ราชาปลาแห่งแยงซี ได้แก่ ปลาเตาอี๋ว์ (จีน: 刀鱼, ชื่อวิทยาศาสตร์: Coilia ectenes) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) ปลาตะลุมพุกจีน (จีน: 鲥鱼, ชื่อวิทยาศาสตร์: Tenualosa reevesii) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) และปลาปักเป้าแม่น้ำ (จีน: 河豚, ชื่อวิทยาศาสตร์: Takifugu rubripes) ในวงศ์ปลาปักเป้า (Tetraodontidae) เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยขึ้นชื่อมานานคู่กับแม่น้ำแห่งนี้ แต่การถูกจับในปริมาณที่มาก ประกอบภับมลภาวะที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปลามีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จากเดิม ในทศวรรษที่ 1980 และจากปี 1996 ก็แทบจะไม่ได้เห็นอีกเลย หรือไม่ก็มีราคาแพงมาก[9]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

แก้
 
เขื่อนสามผา ตั้งเป้าก่อสร้างเสร็จในปี 2009

แม่น้ำแยงซีที่ไหลเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออกนั้นมีขนาดกว้างและลึกพอสำหรับการสัญจรของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เป็นระยะทางหลายพันไมล์จากปากทางเข้า แม้ว่าเขื่อนสามผา (จีน: 三峽大壩; พินอิน: Sānxiá Dàbà) จะยังไม่ได้สร้างก็ตาม ต่อมาในปี 2003 เดือนมิถุนายน เขื่อนสามผา ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำจากแม่น้ำแยงซีที่ไหลท่วมเขตการปกครองเฟิ้งเจี๋ย (จีน: 奉节县; พินอิน: Fèngjié Xiàn) จึงทำให้เขตการปกครองเฟิ้งเจี๋ยเป็นเมืองแรกที่ได้รับการคุ้มครองจากอุทกภัยและได้รับผลประโยชน์จากโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนสามผา

เขื่อนสามผา เป็นโครงการชลประทานแบบครอบคลุมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศจีนเป็นอย่างมาก ฝ่ายผู้สนับสนุนโครงการชี้แจงว่า เขื่อนสามผา สามารถให้ผู้คนอาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำแยงซีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในอดีต พร้อมทั้งยังจำหน่ายไฟฟ้าและลำเลียงเส้นทางน้ำให้ แม้ว่า เขื่อนสามผา จะถูกสร้างขึ้นทับเมืองต่าง ๆ (รวมถึงโบราณสถานหลายแห่ง) และส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในชุมชนขนาดใหญ่

ฝ่านผู้คัดค้านโครงการชี้แจงว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำแยงซีแบ่งได้เป็น 3 ชนิด กล่าวคือ อุทกภัยบนที่สูง อุทกภัยบนที่ต่ำ และอุทกภัยตามเส้นทางลำน้ำ ฝ่ายผู้คัดค้านกล่าวโต้แย้งว่าที่จริงแล้ว เขื่อนสามผา ทำให้อุทกภัยบนที่สูงร้ายแรงกว่าเดิม แต่บรรเทาอุทกภัยบนที่ต่ำจนแทบไม่ได้รับผลกระทบ เส้นขีดวัดแนวน้ำตื้นของแม่น้ำแยงซีที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์จีนตลอด 1,200 ปีที่แล้ว ปัจจุบันน้ำได้ขึ้นท่วมทับเส้นวัดระดับนี้

สายการผลิตทางอุตสาหกรรมอันทันสมัย เช่น การทำเหมืองแร่ โรงงานไฟฟ้า โรงงานก่อสร้าง ถูกสร้างระนาบตามลำน้ำแยงซีเกียง ซึ่งสายการผลิตทางอุตสาหกรรมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมระหว่างการส่งสินค้าจากต่างประเทศเข้าสู่ภายในประเทศ แม่น้ำแยงซีเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ บัดนี้สามารถรองรับการท่องเที่ยวทางน้ำ

ตั้งแต่ปี 2004 บริษัทเรือสำราญจากยุโรปได้นำมาตรฐานระดับสูงเข้ามา พร้อมทั้งความช่วยเหลือจากนักการโรงแรมชาวสวิตเซอร์แลนด์ ชื่อ นิโคลัส ซี โซลารี่ (Nicolas C. Solari) ช่วยกันพัฒนาและเปิดบริการเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่สามลำ ล่องเที่ยวบนแม่น้ำแยงซี แม่น้ำแยงซีเป็นหนึ่งในลำน้ำที่มีความวุ่นวายมากที่สุด การคมนาคมของลำน้ำนี้ประกอบด้วยการขนส่งสินค้าจำพวก ถ่านหิน และ สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการขนส่งผู้คนและนักท่องเที่ยว

ในปี 2005 ยอดการขนส่งมีถึง 795 ล้านตัน การท่องเรือใหญ่แบบกินนอนหลาย ๆ วันเพื่อไปชมทัศนียภาพของ หุบเขาซานเชี่ย กำลังเป็นที่นิยมเห็นได้จากการเจริญเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศจีน

น้ำท่วมตามแนวแม่น้ำแยงซีเป็นปัญหาใหญ่มาแต่ช้านาน ฤดูฝนในประเทศจีนเริ่มเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายนในทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี และเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมในทางตอนเหนือ ระบบแม่น้ำได้รับน้ำจากทางใต้และทางเหนือ ก่อเกิดปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปัญหาได้ทวีความรุนแรงขึ้นและเสียหายมากขึ้น เนื่องด้วยประชากรที่อาศัยกันหนาแน่นและเมืองที่คับคั่งตามแนวเส้นทางลำน้ำแยงซีเกียง ปัญหาน้ำท่วมขนาดหนักได้พรากชีวิตผู้คนในปี 1954 ประมาณ 30,000 คน ในปี 1935 ประมาณ 142,000 คน ในปี 1931 ประมาณ 145,000 คน ในปี 1911 ประมาณ 100,001 คน

มีการสร้างเขื่อนซานเสียต้าป้า เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเหนือแม่น้ำแยงซี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Yangtze River ที่สารานุกรมบริตานิกา
  2. Zhang Zengxin; Tao Hui; Zhang Qiang; Zhang Jinchi; Forher, Nicola; Hörmann, Georg (2009). "Moisture budget variations in the Yangtze River Basin, China, and possible associations with large-scale circulation". Stochastic Environmental Research and Risk Assessment. 24 (5): 579–589. doi:10.1007/s00477-009-0338-7. S2CID 122626377.
  3. "Main Rivers". National Conditions. China.org.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2012. สืบค้นเมื่อ July 27, 2010.
  4. "Flood types on the Yangtze River". probeinternational.org. September 12, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-21.
  5. "Three Gorges Says Yangtze River Flow Surpasses 1998". Bloomberg Businessweek. July 20, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2010. สืบค้นเมื่อ July 27, 2010.
  6. 6.0 6.1 6.2 Yunping, Yang; Mingjin, Zhang; Jinhai, Zheng; Lingling, Zhu (2023). "Sediment sink-source transitions in the middle and lower reaches of the Yangtze River estuary". Frontiers in Marine Science. 10. doi:10.3389/fmars.2023.1201533.
  7. Zhu, Ze-Nan; Zhu, Xiao-Hua; Zhang, Chuanzheng; Chen, Minmo; Zheng, Hua; Zhang, Zhensheng; Zhong, Jiwen; Wei, Lixin; Li, Qiang; Wang, Hua; Li, Shuming; Kaneko, Arata (2021). "Monitoring of Yangtze River Discharge at Datong Hydrometric Station Using Acoustic Tomography Technology". Frontiers in Earth Science. 9: 855. Bibcode:2021FrEaS...9..855Z. doi:10.3389/feart.2021.723123.
  8. แม่น้ำแยงซี จากสารานุกรมบริเตนนิกา
  9. [https://web.archive.org/web/20120412005341/http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043287 เก็บถาวร 2012-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปลาเตาอี๋ว์ 325 กรัม ร่วม 3 แสนบาท! จากผู้จัดการออนไลน์]

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้