น้ำท่วม
น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ[1] คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน[2]
ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและ การละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น
น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวลา
การควบคุม
แก้ในหลายประเทศทั่วโลก แม่น้ำซึ่งมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วมมักมีการจัดการอย่างระวัง การป้องกัน เช่น คันดิน ทางริมแม่น้ำ (bund) อ่างเก็บน้ำและฝาย (weir) ถูกใช้เพื่อป้องกันมิให้แม่น้ำพังตลิ่งเข้ามา เมื่อการป้องกันเหล่านี้ล้มเหลว จะมีการใช้มาตรการฉุกเฉิน เช่น กระสอบทรายหรือหลอดหรือท่อที่พองเคลื่อนย้ายง่าย น้ำท่วมชายฝั่งนั้นได้รับการจัดการในยุโรปและอเมริกาด้วยการป้องกันชายฝั่ง เช่น กำแพงกันคลื่นหรือกำแพงทะเล (sea wall), การสร้างหาดทรายและเกาะสันดอน
หลายคนเสนอว่า การสูญเสียพืชพรรณหรือการตัดไม้ทำลายป่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีป่าตามธรรมชาติปกคลุมอยู่ ระยะเวลาที่น้ำท่วมควรลดลง การลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่าจะช่วยลดความถี่การอุบัติและความรุนแรงของน้ำท่วมได้[3]
ผลกระทบ
แก้น้ำท่วมมีผลกระทบรบกวนมากมายต่อถิ่นฐานและกิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ อย่างไรก็ดี น้ำท่วม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง/เล็กกว่า) ยังสามารถนำมาซึ่งประโยชน์ได้ เช่น การเติมน้ำบาดาลใหม่ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นและให้สารอาหารแก่ดินที่ขาดน้ำท่วมทำให้บางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง มีทรัพยากรน้ำที่สำคัญยิ่ง ที่ซึ่งเหตุการณ์หยาดน้ำฟ้าสามารถมีการกระจายไม่สม่ำเสมอมากตลอดทั้งปี น้ำจืดท่วมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาระบบนิเวศในทางน้ำไหล และเป็นปัจจัยหลักในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของที่ราบน้ำท่วมถึง[4] น้ำท่วมได้เติมสารอาหารปริมาณมากแก่ทะเลสาบและแม่น้ำซึ่งทำให้การประมงดีขึ้นเป็นเวลาสองสามปี ซึ่งยังเป็นผลของความเหมาะสมของที่ราบน้ำท่วมถึงสำหรับการวางไข่ เพราะมีการล่าน้อยและสารอาหารมาก[5] นกและปลาได้ประโยชน์จากการเพิ่มการผลิตซึ่งเป็นผลจากน้ำท่วม[6]
น้ำท่วมเป็นเวลานั้นสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโบราณตามแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส, ไนล์, สินธุ, คงคาและแม่น้ำเหลือง เป็นต้น ความอยู่รอดได้สำหรับแหล่งพลังงานทดแทนได้ทางอุทกวิทยานั้นมีมากกว่าในพื้นที่น้ำมีโอกาสท่วม
น้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุด
แก้ด้านล่างเป็นรายการน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดทั่วโลก แสดงถึงเหตุการณ์ที่มียอดผู้เสียชีวิตเกิน 200,000 คน
ยอดผู้เสียชีวิต | เหตุการณ์ | ประเทศ | ปี |
---|---|---|---|
2,500,000–3,700,000[7] | อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 | จีน | พ.ศ. 2474 |
900,000–2,000,000 | อุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2430 | จีน | พ.ศ. 2430 |
500,000–700,000 | อุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2481 | จีน | พ.ศ. 2481 |
231,000 | เขื่อนป่านเฉียวแตก ผลจากพายุไต้ฝุ่นนีนา มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยประมาณ 86,000 คน และเสียชีวิตจากโรคภัยที่ตามมาอีก 145,000 คน | จีน | พ.ศ. 2518 |
230,000 | แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 | อินโดนีเซีย | พ.ศ. 2547 |
145,000 | น้ำท่วมแม่น้ำแยงซี พ.ศ. 2478 | จีน | พ.ศ. 2478 |
100,000+ | น้ำท่วมในเซนต์เฟลิกซ์ | เนเธอร์แลนด์ | พ.ศ. 2073 |
100,000 | ฮานอย และ น้ำท่วมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง | เวียดนามเหนือ | พ.ศ. 2514 |
100,000 | น้ำท่วมแม่น้ำแยงซี พ.ศ. 2454 | จีน | พ.ศ. 2454 |
อ้างอิง
แก้- ↑ MSN Encarta Dictionary. Flood. เก็บถาวร 2011-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2006-12-28. [http:/www.webcitation.org/query?id=1257023547055729 Archived] 2009-10-31.
- ↑ Glossary of Meteorology (June 2000). Flood. Retrieved on 2009-01-09.
- ↑ Bradshaw CJ, Sodhi NS, Peh SH, Brook BW. (2007). Global evidence that deforestation amplifies flood risk and severity in the developing. Also a flood has recently hit Pakistan which is said to be more devastating then the Tsunami of 2005 world. Global Change Biology, 13: 2379–2395.
- ↑ WMO/GWP Associated Programme on Flood Management "Environmental Aspects of Integrated Flood Management." เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน WMO, 2007
- ↑ Extension of the Flood Pulse Concept[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Birdlife soars above Botswana's floodplains". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-09.
- ↑ Worst Natural Disasters In History เก็บถาวร 2008-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2012-06-07), Retrieved on 2012-06-12