มณฑลเจียงซู

(เปลี่ยนทางจาก เจียงซู)

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ "ซู" (苏, 蘇) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล

มณฑลเจียงซู

江苏省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนเจียงซูเฉิ่ง (江苏省 Jiāngsū Shěng)
 • อักษรย่อJS / ซู ( )
 • ภาษาอู๋Kaonsu San
 • ภาษาจีนกลางแม่น้ำแยงซีตอนล่างJiang1 su1 Sen3
สถานที่ต่าง ๆ ในมณฑลเจียงซู
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจียงซู
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจียงซู
พิกัด: 32°54′N 119°48′E / 32.9°N 119.8°E / 32.9; 119.8
ตั้งชื่อจากเจียง ( Jiāng) – เจียงหนิง (ชื่อเก่าของหนานจิง)
ซู ( ) – ซูโจว
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
หนานจิง
จำนวนเขตการปกครอง13 จังหวัด, 106 อำเภอ, 1,488 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคโหลว ฉินเจี่ยน (娄勤俭)
 • ผู้ว่าการอู๋ เจิ้งหลง (吴政隆)
พื้นที่
 • ทั้งหมด102,600 ตร.กม. (39,600 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 25
ความสูงจุดสูงสุด625 เมตร (2,051 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2018)[1]
 • ทั้งหมด80,400,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 5
 • ความหนาแน่น780 คน/ตร.กม. (2,000 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 4
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 99.6%
หุย – 0.2%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลาง (ทางการ)
ภาษาจีนกลางแม่น้ำแยงซีตอนล่าง, ภาษาอู๋, ภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง
รหัส ISO 3166CN-JS
GDP (ค.ศ. 2018)9.3 ล้านล้านเหรินหมินปี้
1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (อันดับที่ 2)
 • ต่อหัว115,768 เหรินหมินปี้
17,488 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 4)
 • ความเติบโตเพิ่มขึ้น 6.7%
HDI (ค.ศ. 2018)0.802[3] (สูงมาก) (อันดับที่ 4)
เว็บไซต์www.jiangsu.gov.cn

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

มณฑลเจียงซูมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ข้อมูลทั่วไปของมณฑลเจียงซู

แก้

มณฑลเจียงซูมีเนื้อที่ 102,600 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.06% ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ ประเทศจีนติดกับนครเซี่ยงไฮ้ มีแม่น้ำแยงซีไหลผ่าน ประชากรมี 71.10 ล้านคน (สถิติปี 2539) ความหนาแน่น 689 คน/ ตร.กม.

ภูมิอากาศ

แก้

เจียงซู ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นต่อเนื่องกับเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้อากาศในภาคเหนือและภาคใต้ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก กล่าวคือ ตอนเหนือตั้งแต่ที่ราบลุ่มแม่น้ำหวยเหอมีภูมิอากาศร้อน และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดไม่ค่อยมีฝนแต่ทางใต้มีอากาศร้อนชื้นและฝนชุก ฤดูหนาวอุณหภูมิไม่เย็นจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 13-16 องศาเซลเซียส เดือนมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวที่สุดอุณหภูมิเฉลี่ย 3องศา ถึง -3 องศาเซลเซียส เดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด ของปีอุณหภูมิเฉลี่ย 26-29 องศาเซลเซียส

เขตการปกครอง

แก้

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เมือง ได้แก่ หนานจิง ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว หนานทง หยางโจว เจิ้นเจียง เหลียนหวีนกั่ง ฉูโจว หยางเฉิง และ หวยอิน โดยมีนครหนานจิงเป็นเมืองหลวงของมณฑล

สภาพเศรษฐกิจ

แก้

มณฑลเจียงซูมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่ น้ำแยงซี และมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีทะเลสาบน้ำจีด 2 แห่ง คือทะเลสาบไท่หู (太湖) และทะเลสาบหงเจ๋อ (洪泽湖) ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ในประเทศจีน ตามลำดับ พื้นที่บริเวณมณฑลเจียงซูจึงเหมาะสำหรับ ทำการเกษตร โดยมีเนื้อที่ทำการเกษตรประมาณ 4.6 ล้านเฮคเตอร์ ตามสถิติรายได้จากการทำการเกษตรของเจียงซูมีมูลค่า 84.5 พันล้าน หยวน (ประมาณ 4 แสนล้านบาท) ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นการปลูก ธัญพืช ฝ้าย ถั่วลิสงและปศุสัตว์ เป็นต้น นอกจากนั้น เจียงซูยังเป็น มณฑลที่ติดชายฝั่งทะเลเหลือง มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณ 1,000 กม. ทำให้มีรายได้จากการประมงและการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น

มณฑลเจียงซูยังมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ขึ้นโดยเน้น โครงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหลัก 6 ประเภท คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเบา เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมี และ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในปี 2539 รายได้จากอุตสาหกรรมของมณฑล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านหยวน ปัจจุบันมณฑลเจียงซูมีเขต อุตสาหกรรม (Industrial Township) เพื่อส่งเสริมโครงการลงทุน อุตสาหกรรมประมาณ 110,000 แห่ง ในปี 2539 มูลค่าการค้าของ มณฑลเจียงซูมีประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (สินค้าออก 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินค้าเข้า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมี บริษัท ซึ่งดำเนินการโดยรัฐ และบริษัทร่วมทุนกิจการค้าทั้งหมด 479 บริษัทจากหลายประเทศ อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐ เยอรมัน สหราช อาณาจักร สิงคโปร์ โตโก ชิลี ปานามา และโปแลนด์ เป็นต้น ในปี 2539 โครงการลงทุนต่างชาติทั้งหมดในมณฑลเจียงซูมีจำนวน 34,321 โครงการ มีมูลค่า 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (โครงการลงทุนของ ไทยมีจำนวน 263 โครงการ มูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัญ) มูลค่าการ ลงทุนของต่างชาติในมณฑลเจียงซูมีมากเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากมณฑลกวางตุ้ง

ในปี 2540 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของมณฑลเจียงซูมี มูลค่า 670 พันล้านหยวน โดยแยกเป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรมหลัก 102 พันล้านหยวน อุตสาหกรรมรอง 342 และด้านเกษตร 226 พันล้าน หยวน มูลค่าสินค้าส่งออก เท่ากับ 15.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินค้านำเข้ามูลค่า 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการท่องเที่ยวมี มูลค่า 40 พันล้านหยวน

ท่าอากาศยาน

แก้

ปัจจุบันมณฑลเจียงซูมีท่าอากาศยานทั้งสิ้น 8 แห่ง เส้นทางบิน 39 สาย ติดต่อกับเมืองสำคัญ ๆ ในทวีปยุโรปและแอฟริกา มีเที่ยวบินประมาณ 250 เที่ยวต่อสัปดาห์

เส้นทางรถไฟ

แก้

เส้นทางรถไฟหลักมี 3 สาย สายแรกจากปักกิ่งถึงนครเซี่ยงไฮ้ สายที่ สองจากหนานจิงถึงเมืองจูหู และสายที่ 3 จากเมืองเหลียนหยวินก่างถึง เมืองหลานโจว คิดเป็นระยะทางประมาณ 750 กม. มณฑลเจียงซูมีโครงการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอีกหลายสายเพื่อเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงและบริเวณ เมืองท่าริมชายฝั่งด้านตะวันออก

เส้นทางรถยนต์

แก้

มณฑลเจียงซูมีถนนรวม 27,000 ตร.กม. เชื่อมโยงเมืองต่าง ๆ 200 แห่งทั่วมณฑลเจียงซู และติดต่อกับมณฑลข้างเคียงอีก 7 มณฑล

ท่าเรือ

แก้

มณฑลเจียงซูมีเมืองท่า 7 แห่ง เมืองท่าสำคัญคือเหลียนหยวินก่าง (连云港) เป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดในจำนวน 6 แห่ง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ 100,000 ตันได้ และสามารถขนส่งสินค้าได้ปีละ 25 ล้านตัน ท่าเรือ ดังกล่าวมีสายการเดินเรือประมาณ 22 สายจากฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย ยุโรป และจากประเทศไทย ขนส่งสินค้าที่ท่าเรือ ดังกล่าว

การท่องเที่ยว

แก้

มณฑลเจียงซู เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจีน ในปี 2539 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนกว่า 820,000 คน เดินทางมา ท่องเที่ยวในมณฑลดังกล่าว ในปี 2540 รายได้จากการท่องเที่ยวมี มูลค่า 40 พันล้านหยวน

ความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องกับต่างประเทศ

แก้

มณฑลเจียงซูมีความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องกับ 13 เมืองคือ

ประวัติ

แก้

หนานจิง เป็นเมืองหลวงเก่าลำดับที่ 5 ของจีน (นครหลวงของ จีนในประวัติศาสตร์ตามลำดับได้แก่ อานหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคเฟิง หนานจิง หางโจวและ ปักกิ่ง) นครหนานจิงมีชื่อ ปรากฏในพงศาวดารมาเกือบ 2,000 ปี และเคยถูกสถาปนา เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนหลายสมัยคือ

1. ในสมัย 3 ก๊กนั้นหนานจิงเป็นที่รู้จักกันในนาม "เมืองกังตั๋ง" นครหลวงของก๊กซุนกวน ชาวกังตั๋งมีความชำนาญด้านการรบ ทางน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ที่หน้าเมืองกังตั๋ง (ชาวเมืองเรียก ทะเล) ทำให้สามารถฝึกการรบทางน้ำได้อย่างช่ำชอง ที่ทะเลเมืองกังตั๋งเป็นที่ซึ่ง กองทัพอันเกรียงไกรของโจโฉต้องพ่ายการรบทางเรือ สูญเสียไพร่พลทหารอย่างย่อยยับจากร้อยหมื่นคนเหลือไม่กี่สิบคน

2. หลังยุค 3 ก๊กประมาณ 900 ปี กรุงกังตั๋ง ได้ถูกสถาปนาเป็น เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งใต้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 8-9 ปี ต่อมาช่วงปี 1368 ขณะที่จีนตกอยู่ในสภาพแตกเป็นก๊กมากมาย มหาบุรุษชื่อ "จูหยวนจาง" มีชัยชนะเหนือก๊ก ทั้งหมดจึงได้ สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น และตั้งนครหลวงขึ้นที่เมืองกังตั๋งโดยให้ ชื่อว่า "กรุงกิมเล้ง" หรือมังกรทอง ต่อมากองทัพราชวงศ์หมิงได้ บุกขึ้นยึดกรุงปักกิ่งและขับไล่พวกมองโกลออกจากดินแดนจีน โดย จูหยวนจาง ทรงมอบให้องค์ชายสี่ปกครองปักกิ่ง ส่วนพระองค์ยังคงปกครองกรุงกิมเล้ง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หนานจิง" โดยองค์ชายสี่หรือจักรพรรดิ์หย่งเลอภายหลังโค่นอำนาจรัชกาล ที่ 2 ของราชวงศ์หมิงลงประมาณปีค.ศ. 1404 "นครหนานจิง" มีความหมายว่านครทางใต้ คู่ไปกับ "นครปักกิ่ง" ซึ่งหมายความ ว่า นครทางเหนือ จากนั้นจักรพรรดิ์หย่งเลอก็เสด็จไปประทับ ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งทรงสถาปนาเป็นนครหลวงอาณาจักรจีนแทนกรุงหนานจิง

3. ปี ค.ศ. 1853 ในสมัยราชวงศ์ชิง นครหนานจิงถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง ในสมัยที่ชาวฮั่นลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐบาลราชวงศ์ชิง โดย "หงซีกวาน" หัวหน้ากลุ่มปฏิวัติ ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงหนานจิงเป็นเวลา 11 ปีก่อนที่จะถูกปราบโดย กองทัพแมนจู ในที่สุด

4. ในปี ค.ศ. 1909 ดร. ซุน ยัดเซน ได้ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูลง และจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นที่กรุงหนานจิง ซึ่งกลับกลายมาเป็นเมืองหลวงของประเทศจีนอีกครั้งหนึ่งจนถึงปี ค.ศ. 1949 เมื่อรัฐบาลจอมพลเจียงไคเช็คพ่ายแพ้หลบหนีพรรคคอมมิวนิสต์จีนไปอยู่ไต้หวัน

สถานที่สำคัญ

แก้

พระราชวังโบราณ เป็นต้นแบบของพระราชวังหลวงที่กรุงปักกิ่งซึ่งจักรพรรดิ์หย่งเลอ รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง ทรงให้ช่างถ่ายแบบไปก่อสร้างเป็นพระราชวังโบราณในกรุงปักกิ่ง ปัจจุบัน สุสาน "จูหยวนจาง" อดีตลูกชาวนารูปร่างอัปลักษณ์ ผู้มีความห้าวหาญซึ่งมีชัยขนะเหนือก๊กชาวฮั่นได้และ ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้มีพระนามว่า "หมิงไท่จู" ตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น ทรงสร้างความเจริญแก่หนานจิงมาก กำแพงนครหนานจิง สร้างในสมัย จักรพรรดิ์หมิงไท่จู นับเป็นกำแพงเมืองที่สูงใหญ่และยาวที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง สุสาน ดร. ซุน ยัดเซน ผู้สถาปนาระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยสมัยใหม่ในจีน อนุสรณ์สถาน "ไท้ผิงเทียนกวั๋ว" นักสู้จีนแคะผู้ลุกฮือขึ้นต่อ ต้านการปกครองของราชวงศ์แมนจู

อ้างอิง

แก้
  1. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  2. 江苏省2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีน). Jiangsu Bureau of Statistics. 2019-01-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-26.
  3. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้