สถานีสามยอด

(เปลี่ยนทางจาก สถานีวังบูรพา)

สถานีสามยอด (อังกฤษ: Sam Yot Station, รหัส BL30 (สายสีน้ำเงิน), PP23 (สายสีม่วง)) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก ในแนวถนนเจริญกรุง (สายสีน้ำเงิน) และถนนมหาไชย (สายสีม่วง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์และแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สามยอด
BL30
PP23

Sam Yot
อาคารสถานีสามยอด ทางออก 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเจริญกรุง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′50.1″N 100°30′04.8″E / 13.747250°N 100.501333°E / 13.747250; 100.501333
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสีน้ำเงิน: BL30
สายสีม่วง: PP23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-07-29) (สายสีน้ำเงิน)
ชื่อเดิมวังบูรพา
ผู้โดยสาร
25641,758,892
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สนามไชย
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน วัดมังกร
มุ่งหน้า ท่าพระ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
มุ่งหน้า คลองบางไผ่
สายสีม่วง สะพานพุทธ
มุ่งหน้า เตาปูน
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

สถานีของสายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่ใต้ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่บริเวณแยกสามยอด (จุดตัดกับถนนมหาไชย) จนถึงแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา) ส่วนสถานีของสายฉลองรัชธรรม ตั้งอยู่ใต้ถนนมหาไชย หน้าสวนรมณีนาถ[1] ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์และแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สถานีสามยอดเป็นหนึ่งในสองสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ที่มีเขตที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ โดยตั้งอยู่ภายใต้บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก (อีกสถานีหนึ่งคือ สถานีสนามไชย ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน) การก่อสร้างสถานีจึงได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์อย่างหนักโดยเกรงว่าการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าจะทำให้ทัศนียภาพของบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอกเปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้การก่อสร้างสถานีดังกล่าว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีการระบุขอบเขตของงานเอาไว้ภายในสัญญาการก่อสร้างฉบับที่ 1 (โครงสร้างใต้ดินช่วงหัวลำโพง - สนามไชย) ว่าการก่อสร้างจะต้องเป็นการก่อสร้างแบบออกแบบแล้วดำเนินการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงสถาปัตยกรรมของพื้นที่โดยรอบของสถานีเป็นหลัก

ในแผนงานเบื้องต้น สถานีนี้เคยใช้ชื่อว่า สถานีวังบูรพา เพื่อสื่อถึงย่านวังบูรพา อันเคยเป็นที่ตั้งของวังบูรพาภิรมย์ มาก่อน แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ตั้งสถานีพบว่าตัวสถานีอยู่ไกลจากย่านวังบูรพาพอสมควร จึงมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น สถานีสามยอด ตามแยกสามยอดจะสามารถสื่อถึงได้ง่ายกว่า

การออกแบบ แก้

สถานีสามยอดเป็นสถานีร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เมื่อเริ่มก่อสร้างได้รื้อถอนอาคารพาณิชย์บางส่วนด้านทิศเหนือของถนนเพื่อก่อสร้างสถานี เมื่อดำเนินการก่อสร้างได้ขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2554 พบหลักฐานสำคัญ คือ แนวทางรถรางที่อยู่ใต้ถนนชั้นปัจจุบัน จึงได้วางแนวก่อสร้างให้ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการเดินรถให้น้อยที่สุด[2]

การออกแบบทั้งภายนอกและภายใน ได้รับการออกแบบจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ต้องการให้คงความเป็นย่านวังบูรพาเอาไว้ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่กับสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส[3] ด้วยการสร้างอาคารทางเข้าสถานีจำนวนสามหลัง โดยทั้งสามหลังได้รับการออกแบบให้มีความโอ่โถงและโปร่งโล่ง เพื่อเปิดรับลมจากภายนอกอย่างเต็มที่ บริเวณทางเข้าสถานี และผนังโดยรอบได้มีการขึ้นปูนเป็นประตูบานเฟี้ยมซึ่งเป็นรูปแบบของประตูในสมัยเก่ามาปรับใช้ ส่วนบริเวณเสาสถานีและพื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารได้มีการนำรูปทรงและลักษณะของซุ้มประตูสามยอดมาตกแต่งเพื่อสื่อถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และภายในสถานียังได้มีการติดรูปภาพสมัยเก่าเพื่อเล่าเรื่องถึงประวัติศาสตร์และที่มาของพื้นที่ให้ผู้โดยสารได้รับทราบและรับรู้[4]

ทั้งนี้การออกแบบพื้นที่ภายในสถานีจะใช้สีโทนเหลืองอ่อนเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมโดยรวมของตัวสถานี แต่ยกเว้นเฉพาะพื้นที่เชื่อมต่อสายฉลองรัชธรรม ที่จะแซมการออกแบบด้วยโทนสีม่วง ตั้งแต่ผนัง เพดาน และสภาพแสงไฟโดยรวมของพื้นที่ เพื่อสื่อให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของสายฉลองรัชธรรม โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่ชั้น B3

แผนผังสถานี แก้

2
ห้องควบคุมสถานี
- ห้องควบคุมสถานี (Station Control Center), ห้องเครื่อง
G
ระดับถนน,
ชั้นขายบัตรโดยสาร
- ป้ายรถประจำทาง, ทางออก 1-3, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร
B1
ทางเดินเชื่อม, ห้องเครื่อง
ชั้น Plant ชั้นคั่นกลาง ระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา
B2
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
B3
ชั้น Interchange Hall สายสีม่วง
(พื้นที่เตรียมสำหรับก่อสร้างชานชาลา)
ชานชาลา 3 สายสีม่วง มุ่งหน้า สถานีคลองบางไผ่
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายสีม่วง มุ่งหน้า สถานีครุใน
B4
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี แก้

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

สัญลักษณ์ของสถานีเป็นซุ้มประตูสามยอด เพื่อสื่อถึงกายภาพของประตูสามยอดที่ถือเป็นประตูเมืองเก่า และอาคารราชการบริเวณแยกสามยอด โดยการออกแบบเสาและเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารจะใช้รูปแบบของซุ้มประตูสามยอดทั้งหมด ในส่วนของสีประจำสถานีได้เลือกใช้สีน้ำตาลแทนการใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อถึงความเป็นสถานีเชื่อมต่อ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของประตูสามยอดในสมัยก่อนที่ใช้ไม้ทำประตู

รูปแบบของสถานี แก้

สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องมาจากแนวถนนเจริญกรุงมีพื้นที่คับแคบ ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน แต่สำหรับเส้นทางสายฉลองรัชธรรม ซึ่งมีเส้นทางเดินรถตามแนวถนนมหาไชย จะเป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform) ในแนวตัดขวางกับถนนเจริญกรุง

ทางเข้า-ออกสถานี แก้

สายสีน้ำเงิน แก้

ทางเข้า-ออกสถานีของสายสีน้ำเงิน มีทั้งหมดสามจุดโดยเป็นอาคารที่สร้างเหนือพื้นดินตามแนวถนนเจริญกรุง โดยทั้งสามอาคารตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างถนนเจริญกรุงและซอยสามยอด และคั่นกลางระหว่างอาคารด้วยซอยเจริญกรุง 5 และซอยเจริญกรุง 7 ทั้งนี้อาคารดังกล่าวทำหน้าที่เป็นชั้นขายบัตรโดยสารไปในตัว โดยผู้โดยสารจะต้องชำระค่าโดยสารและเข้าสู่พื้นที่ตรวจบัตรโดยสารตั้งแต่ชั้นนี้ก่อนลงไปยังตัวสถานีที่อยู่ใต้ดิน

  • อาคาร 1 ถนนมหาไชย, แยกสามยอด, พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์, สวนรมณีนาถ, โรงแรมมิราม่า, เมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก, ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ (บันไดเลื่อน)
  • อาคาร 2 ซอยเจริญกรุง 5 และซอยเจริญกรุง 7 (เฉพาะลิฟต์)
  • อาคาร 3 ถนนบูรพา, ถนนอุณากรรณ, วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร, ดิโอลด์สยามพลาซ่า (บันไดเลื่อน)

สายสีม่วง แก้

  • 1 ถนนหลวง, โรงแรมวิลลา เดอ พระนคร
  • 2 โรงแรมมิราม่า, ป้ายรถประจำทางไปเยาวราช (ลิฟต์)
  • 3 ซอยศิริชัย, สวนรมณีนาถ
  • 4   สามยอด, ป้ายรถประจำทางไปป้อมมหากาฬ (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แก้

แบ่งเป็น 6 ชั้น โดยเป็นอาคารเหนือพื้นดิน 2 ชั้น และชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 2 ชั้นสำนักงาน ห้องควบคุมสถานี และห้องเครื่อง
  • 1 ชั้นระดับถนน และชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • B1 ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารและชานชาลา
  • B2 ชั้นชานชาลาหมายเลข 2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)
  • B3 ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีม่วง ชานชาลา 3 มุ่งหน้าสถานีครุใน และชานชาลา 4 มุ่งหน้าสถานีคลองบางไผ่
  • B4 ชั้นชานชาลาหมายเลข 1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มุ่งหน้าสถานีหลักสอง

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[5]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:52 00:12
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 00:12
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:50 23:26
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:26
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:40

รถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนเจริญกรุง แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
5 (1) อู่กำแพงเพชร สะพานพระพุทธยอดฟ้า
25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

53 (1) วงกลม: สนามหลวง เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (2-45) (3)   อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง

ถนนมหาไชย แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

508 (2)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิษฐ์/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
  • ถนนเจริญกรุง สาย 1 8 25 (ขสมก.) 35 (ไปพระประแดง) 48 53 (วนซ้าย) 73 507 508 (ไปท่าราชวรดิฐ)
  • ถนนมหาไชย สาย 4 7 21 37 40 56 85 529
  • ถนนอุณากรรณ บริเวณสวนรมณีนาถ สาย 42

อุบัติเหตุ แก้

  • วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น. เกิดเหตุต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้าหักโค่น บริเวณอาคารทางออกที่ 1 สถานีสามยอด ส่งผลให้โครงสร้างสถาปัตยกรรม หลังคา และกล้องวงจรปิดของสถานีได้รับความเสียหาย รฟม. จึงดำเนินการแจ้งให้ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ปิดทางออกที่ 1 เป็นการชั่วคราว และแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงเข้ามาดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าและต้นไม้ที่หักทับโครงสร้างสถานีออก ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และรถไฟฟ้ายังคงเปิดให้บริการตามปกติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินรถแต่อย่างใด[6]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)" (PDF). 19 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 37.
  3. "BEM Magazine Vol. 9" (PDF). 29 กรกฎาคม 2562. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ยลโฉม 4 สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล สถาปัตยกรรมในรัชสมัยรัชกาลที่ 9". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  6. เสาไฟ-ต้นไม้ ล้มทับ “สถานีสามยอด” รฟม. ชี้ไม่กระทบบริการรถไฟฟ้า

แหล่งข้อมูลอื่น แก้