พูดคุย:รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิรถไฟฟ้าและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าในเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อโครงการ แก้

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลม มีชื่อพระราชทานโครงการจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนม์พรรษา เพื่อให้บทความเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานครที่ใช้ชื่อพระราชทานเหมือนกัน ขอให้ใช้ชื่อพระราชทานแทนชื่อที่เรียกกันทั่วไป เพราะที่นี่คือสารานุกรม ไม่ใช่บทความทั่วไปที่จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ --Magnamonkun (พูดคุย) 13:38, 17 มิถุนายน 2560 (ICT)

กล่องข้อมูลเป็นแม่แบบใช้สำหรับสรุปสาระสำคัญของบทความ การใช้ชื่อพระราชทานเป็นหัวกล่องข้อมูลเป็นการเย่นเย้อเกินไป --☭ Walker Emp (พูดคุย) 16:21, 17 มิถุนายน 2560 (ICT)
นั่นชื่อเฉพาะนะ ไม่ใช่เนื้อหา ยาวก็คือยาว --Potapt (พูดคุย) 18:19, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

ส่วนที่นำออกจากบทความ แก้

ด้วยโครงการเสร็จลุล่วงแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ในหน้าเนื้อหา--Magnamonkun (คุย) 02:44, 12 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ส่วนต่อขยายอ่อนนุช - แบริ่ง [1] แก้

รายชื่อสถานี แก้
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง หมายเหตุ
  สถานีอ่อนนุช (On Nut)
  สถานีบางจาก (Bang Chak) เดิมใช้ชื่อสถานีว่า "สุขุมวิท 95"
  สถานีปุณณวิถี (Punnawithi) เดิมใช้ชื่อสถานีว่า "สุขุมวิท 101"
  สถานีอุดมสุข (Udom Suk)
  สถานีบางนา (Bang Na)
  สถานีแบริ่ง (Bearing) เดิมใช้ชื่อสถานีว่า "สุขุมวิท 107"

ส่วนต่อขยายแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ [2] แก้

ไฟล์:สถานีสำโรง (รถไฟฟ้าบีทีเอส).jpg
ชานชาลาสถานีสำโรง
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ, เทศบาลนครสมุทรปราการ และเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
  • เส้นทาง หลังจากผ่านสถานีแบริ่งรถไฟฟ้าจะวิ่งต่อไปบนถนนสุขุมวิท และเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการจากนั้นเข้าสู่สถานีสำโรงเป็นสถานีแรกซึ่งจะใช้โครงสร้างสถานีแบบชานชาลาตรงกลาง (ในลักษณะเดียวกันกับสถานีของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง) เพื่อเพิ่มความสะดวกในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ให้บริการเกิดขึ้น และจะวิ่งสู่สถานีปู่เจ้า สถานีช้างเอราวัณ สถานีปากน้ำ สถานีศรีนครินทร์ สถานีแพรกษา และสถานีเคหะฯ ซึ่งเป็นสถานีปลายทางในระยะแรก
  • สถานี สถานียกระดับ 9 สถานี
  • ศูนย์ซ่อมบำรุง รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้ 12 ขบวน แบบ 6 ตู้ โดยบีทีเอสซีจะใช้ศูนย์นี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมภาคพื้นสาขาสมุทรปราการ ในขณะที่โรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงจะใช้จอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าซีเมนส์จำนวน 58 ขบวน
  • เปิดให้บริการ เปิดให้บริการเฉพาะสถานีสำโรง 3 เมษายน พ.ศ. 2560 / ทั้งโครงการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สัญญาการก่อสร้าง แก้
สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า (ภาพรวม 100.00% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 [3])
1 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ
ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
งานก่อสร้างสะพานข้ามคลองสำโรง, งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ
14,088.6 บมจ. ช. การช่าง (CK) เปิดใช้เฉพาะสถานีสำโรง
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560
100% (อยู่ระหว่างการตรวจรับมอบ)
2 งานออกแบบควบคู่การวางระบบราง 2,400 บมจ. ช. การช่าง (CK) 100.00% (อยู่ระหว่างการตรวจรับมอบ)
3 งานระบบรถไฟฟ้า (สำโรง - บางปู) อ้างอิงตามสัญญาความเข้าใจระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ กรุงเทพมหานคร เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จะทำการโอนย้ายโครงการให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร และให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ให้บริการ โดยค่าก่อสร้างทั้งหมด กรุงเทพมหานคร จะชำระคืนแก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นรายปี
4 งานระบบรถไฟฟ้า (แบริ่ง - สำโรง)
5 ที่ปรึกษาควบคุมงานจัดหาและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) กิจการค้าร่วม พีบี - โชติจินดา
(บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด, บริษัท โชติจินดา คอนซัลแทนต์ จำกัด)
การเวนคืนที่ดิน แก้

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น

“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่สำโรง และเคหะสมุทรปราการด้วย

รายชื่อสถานี แก้
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
  สถานีแบริ่ง (Bearing)
  สถานีสำโรง (Samrong)   แม่แบบ:BTS Lines สถานีสำโรง (โครงการ)
  สถานีปู่เจ้า (Pu Chao)
  สถานีช้างเอราวัณ (Chang Erawan)
  สถานีโรงเรียนนายเรือ (Royal Thai Naval Academy)
  สถานีปากน้ำ (Pak Nam)
  สถานีศรีนครินทร์ (Srinagarindra)
  สถานีแพรกษา (Phraek Sa)
  สถานีสายลวด (Sai Luat)
  สถานีเคหะฯ (Kheha)

ส่วนต่อขยายหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต แก้

ไฟล์:Wat Phrasri - Lak Si station at Laksi Circle.jpg
สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
ไฟล์:สถานีสะพานใหม่.jpg
แบบจำลองสถานีสะพานใหม่
ไฟล์:Capture-20150502-121234.png
สถานีแยก คปอ.
สัญญาการก่อสร้าง แก้
สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า
(ภาพรวม 100 % ณ สิ้นเดือน เมษายน 2562 [5])
1 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่
ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร
รวมงานรื้อถอนสะพานรัชโยธิน-เกษตรศาสตร์ และงานก่อสร้างทางลอดใต้แยกรัชโยธิน
15,279.9 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) 100 % (อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน)
2 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสะพานใหม่ - คูคต
ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
6,729 กิจการร่วมการค้ายูเอน-เอสเอช-ซีเอช (UN-SH-CH)
(ยูนิคฯ, ซิโนไฮโดร และไชน่าฮาร์เบอร์)
100 % (อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน)
3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย คูคต และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง (กม. 25 และคูคต) 4,042 กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)
(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ)
100 % (อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน)
4 งานออกแบบ จัดหาและติดตั้ง งานระบบรางรถไฟฟ้า 2,842.7 กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)
(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ)
100 % (อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน)
5 งานระบบรถไฟฟ้า (หอวัง - วงแหวนฯ) อ้างอิงตามสัญญาความเข้าใจระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จะทำการโอนย้ายโครงการให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร และให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ให้บริการ โดยค่าก่อสร้างทั้งหมด กรุงเทพมหานคร จะชำระคืนแก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นรายปี
6 งานระบบรถไฟฟ้า (หมอชิต - หอวัง)
การเวนคืนที่ดิน แก้

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน, ราคาประเมินของกรมที่ดิน, รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น

“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่ห้าแยกลาดพร้าว และคูคตด้วย

รายชื่อสถานี แก้
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
  สถานีหมอชิต (Mo Chit)   แม่แบบ:BTS Lines สถานีสวนจตุจักร
  สถานีห้าแยกลาดพร้าว (Ha Yaek Lat Phrao/Lad Phrao Intersection)   แม่แบบ:BTS Lines สถานีพหลโยธิน
  สถานีพหลโยธิน 24 (Phaholyothin 24) แม่แบบ:BTS Lines สถานีพหลโยธิน 24 (โครงการ)
  สถานีรัชโยธิน (Ratchayothin)
  สถานีเสนานิคม (Senanikhom)
  สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University) แม่แบบ:BTS Lines สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการ)
  สถานีกรมป่าไม้ (Royal Forest Department)
  สถานีบางบัว (Bang Bua)
  สถานีกรมทหารราบที่ 11 (11th Infantry Regiment)
  สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (Wat Phrasri Mahathat) แม่แบบ:BTS Lines สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (กำลังก่อสร้าง)
  สถานีพหลโยธิน 59 (Phaholyothin 59)
  สถานีสายหยุด (Sai Yud)
  สถานีสะพานใหม่ (Saphan Mai)
  สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (Bhumiphol Adulyadej Hospital)
  สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (Royal Thai Air Force Museum)
  สถานีแยก คปอ. (Kor Por Aor Junction)
  สถานีคูคต (Khu Khot)

การปรับปรุงจำนวนสถานี และสถานะการเปิดให้บริการ แก้

ไม่ควรแก้ไขวิกิพีเดีย ว่า เส้นทางนี้เปิดให้บริการแล้ว ก่อนวันที่ประชาชน หรือผู้คน จะสามารถเข้าใช้บริการได้จริงนะครับ ข้อมูลมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าเกินไป ซึ่งไม่จำเป็น และ อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะฉะนั้น สถานีส่วนต่อขยายใหม่ๆ ยังไม่ควร เอามาขึ้นว่า เปิดให้บริการแล้ว นะครับ รวมถึง ระยะทางด้วย ยังไม่เปิด ก็ยังไม่ควรปรับเปลี่ยน และสิ่งที่ปรับเปลี่ยน ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจาก เป็นการวัดระยะทางจาก Google Map ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือจริง จำเป็นต้องใช้จากเลขจำนวนไมล์ บนรถไฟฟ้า เท่านั้นครับ ซึ่งที่เปลี่ยนใหม่ ก็ไม่มีแหล่งอ้างอิงจากบีทีเอสด้วย --Wasin147 (คุย) 17:24, 29 พฤศจิกายน 2562 (+07)ตอบกลับ

โครงการส่วนต่อขยาย "สมุทรปราการ–บางปู" สรุปแล้วมี "สถานีตำหรุ" หรือไม่? แก้

คือผมสงสัยครับว่า โครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย "สมุทรปราการ-บางปู" ส่วนของ "สถานีตำหรุ" มีอยู่ในแผนหรือไม่ครับ เพราะถ้าอิงตามแผนแม่บทของ สนข. ไม่มีสถานีนี้อยู่ในแผน แต่ข้อมูลบางแหล่งบอกว่ามีสถานีนี้ในแผน จึงขอความกรุณาสรุปข้อเท็จจริงด้วยนะครับว่ายังไงกันแน่ --oum (คุย) 19:48, 15 มกราคม 2563 (+07)ตอบกลับ

  1. รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง เปิดใช้ 12 ส.ค. 54
  2. รฟม. เริ่มสร้างรถไฟฟ้าแบริ่ง-สมุทรปราการ
  3. http://www.mrta.co.th/th/MRTAproject/overAllProject/th_201612.pdf
  4. รฟม.เตรียมทุ่มงบ 615 ลบ.ตัดถนนบริเวณใต้แนวรถไฟฟ้าช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา
  5. http://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/
กลับไปที่หน้า "รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท"