พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

นักแสดง นักร้อง ผู้กำกับการแสดงและผู้จัดละคร
(เปลี่ยนทางจาก พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 กันยายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย
คู่สมรสธัญญา โสภณ
(2536–ปัจจุบัน)
บุตรเอกนรี วชิรบรรจง
ภูรีพงษ์ วชิรบรรจง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับ
  • ผู้จัดละคร
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2528–ปัจจุบัน
สังกัดคีตา
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2533–2565)
สุพรรณหงส์นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2534 – ต้องปล้น
พ.ศ. 2557 – แผลเก่า
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 – พันธุ์หมาบ้า
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงสมทบชายดีเด่น
พ.ศ. 2537 – โสมส่องแสง
พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง
นักแสดงนำชายดีเด่น
พ.ศ. 2546 – ดงดอกเหมย
ผู้กำกับละครดีเด่น
พ.ศ. 2548 – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2558 – เลือดมังกร
พ.ศ. 2560 – รากนครา
พ.ศ. 2562 – กรงกรรม
พ.ศ. 2564 – มนต์รักหนองผักกะแยง
เมขลาผู้กำกับละครดีเด่น
พ.ศ. 2554 – รอยไหม
นาฏราชนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง
ผู้กำกับยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2554 – รอยไหม
พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2559 – นาคี
พ.ศ. 2562 – กรงกรรม
คมชัดลึกนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2546 – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง

ประวัติ

แก้

การศึกษา

แก้

พงษ์พัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา​ที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม และโรงเรียน​วัด​สุทธิ​ว​รา​ราม จากนั้นไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยพลศึกษาเชียงใหม่ ​และระดับปริญญาตรีที่คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เข้าสู่วงการบันเทิง

แก้

พงษ์พัฒน์ มีบิดาคือ คมสัน วชิรบรรจง ซึ่งรับราชการครู พงษ์พัฒน์ได้เข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่งหนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้านที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัด และ พลิกล็อก และเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอล เมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีร่างกายกำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา

นักร้อง

แก้

พงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อก สังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง[1][2]

การเมือง

แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 พงษ์พัฒน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมกับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพื่อนนักแสดงรุ่นราวเดียวกัน

นอกจากนี้แล้วในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พ.ศ. 2535 พงษ์พัฒน์ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมครั้งนั้นด้วย[3]

รางวัลนาฏราช​

แก้

ในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมกองทัพเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในช่วงที่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดง พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทคุณพ่อผู้อาภัพในละครเรื่อง พระจันทร์สีรุ้งแล้ว ซึ่งเมื่อขึ้นรับรางวัล และกล่าวขอบคุณ รวมถึงกล่าวเทิดทูนและปกป้องในหลวง ได้สร้างความฮือฮาและซาบซึ้งให้แก่นักแสดงและแขกที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก[4] [5] รวมถึงยังได้เกิดกระแสบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีทั้งคล้อยตามและขัดแย้ง โดยต่างมีเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป[6]

ต่อมา ในงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม และละครยอดเยี่ยม จากเรื่องทองเนื้อเก้า เขาได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานอีกครั้ง เมื่อกล่าวขอบคุณผู้ที่คืนความสุขแก่คนไทย พร้อมชูนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย แสดงภาษามือสื่อถึงความรัก ในการรับรางวัลแรก[7] และกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เลียนแบบประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรับรางวัลที่สอง[8]

ผลงาน

แก้

เพลง

แก้

อัลบั้มเพลง

แก้

พงษ์พัฒน์ (พ.ศ. 2531)

แก้
  1. ตัวสำรอง
  2. อีกนาน
  3. ความสุขเล็กเล็ก
  4. ใจพเนจร
  5. นายดิบดิบ
  6. แล้วก็แล้วกันไป
  7. อย่าทำอย่างนั้น
  8. ใจมันร้าว
  9. อย่าทำอย่างนั้น ภาค 2 (ทำมันไปอีก)

พงษ์พัฒน์ ภาค 2 (พ.ศ. 2532)

แก้
  1. ฟั่นเฟือน
  2. ถึงลูกถึงคน
  3. ทรมาน
  4. ตัวจริง
  5. พูดจาภาษาไทย
  6. เวรกรรม
  7. กำกวม
  8. เท่าไหร่เท่ากัน
  9. นายครก
  10. คำพ่อ

พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534)

แก้
  1. สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ
  2. กะโหลกไขว้
  3. ทะเลทราย
  4. ระเบิดเวลา
  5. ยอมแพ้
  6. ตายไปแล้ว
  7. ชดใช้
  8. โชคดี
  9. หลอกซ้ำหลอกซาก
  10. ปฏิวัติใจ

พงษ์พัฒน์ ภาค 3 (18 ธันวาคม พ.ศ. 2535)

แก้
  1. คำสุดท้าย
  2. ฉันโง่เอง
  3. ก็เป็นอย่างนี้
  4. อีกไม่นาน
  5. เต็มแรงเต็มใบ
  6. สำออย
  7. สายลมที่จากไป (นายคนตรง)
  8. อย่าให้เจอ
  9. มากมาย
  10. ไม่มีทาง

พงษ์พัฒน์ ภาคพิเศษ (ตุลาคม พ.ศ. 2536)

แก้
  1. คำสุดท้าย
  2. ฉันโง่เอง
  3. ทรมาน
  4. ฟั่นเฟือน
  5. ทะเลทราย
  6. ถึงลูกถึงคน
  7. สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ
  8. อีสาน
  9. ตัวสำรอง
  10. สายลมที่จากไป
  11. ใจพเนจร
  12. ตายไปแล้ว
  13. อย่าให้เจอ
  14. กะโหลกไขว้

HOT​ HITS (พ.ศ. 2536)

แก้
  1. คำสุดท้าย
  2. ฉันโง่เอง
  3. ทะเลทราย
  4. โชคดี
  5. ใจร้าว
  6. ยอมแพ้
  7. เวรกรรม
  8. อีกนาน
  9. เท่าไหร่เท่ากัน
  10. หลอกช้ำหลอกชาก
  11. อย่าให้เจอ
  12. ถึงลูกถึงคน
  13. ก็เป็นอย่างนี้
  14. ฟั่นเฟือน
  15. ตายไปแล้ว

ร็อกนี่หว่า (ปกเหล็ก) (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)

แก้
  1. เอาให้ตาย
  2. ไม่รู้นี่หว่า
  3. คนเนรคุณ
  4. ใจนักเลง
  5. อย่าบ่อยเกินไป
  6. ชาติเดียว
  7. ปาก
  8. ขอเถอะฟ้า
  9. ทำร้ายตัวเอง
  10. หมายความว่าไง

หน้ากากร็อก (พ.ศ. 2538)

แก้
  1. สั่งเสีย
  2. ครายจะทำมาย
  3. ไม่ใช่ไม่รัก
  4. บาดเจ็บเล็กน้อย
  5. หน้ากากร็อก
  6. ข้ามศพ
  7. เดี๋ยวเจอดี
  8. หนึ่งนาที
  9. ตัวต่อตัว
  10. อย่าขวางทางปืน

101-7-ย่านร็อก (ตุลาคม พ.ศ. 2541)

แก้
  1. รุนแรง
  2. โดน (ถามคำเจ็บไหม)
  3. เธออยู่ที่ไหน
  4. ห้ามรังแกเด็ก
  5. พงษ์พัฒน์
  6. อยากเลวกว่านี้
  7. เป็นอะไรไม่รู้
  8. อยากให้เธอได้ยิน
  9. หลบไป
  10. CONVERSE

เพลงประกอบภาพยนตร์

แก้
  • ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว เพลง ความสุขเล็ก ๆ

เพลงประกอบละคร

แก้

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ

แก้
  • เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ พงษ์พัฒน์)

ละครโทรทัศน์

แก้

ภาพยนตร์

แก้

พิธีกร

แก้

โฆษณา

แก้

ผู้จัดละคร

แก้

ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครช่อง 3 และ กำกับการแสดง บริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด (Act Art Generation co.,Ltd)

ในฐานะผู้จัดละครอิสระ

แก้

กำกับภาพยนตร์

แก้

บทภาพยนตร์

แก้

รางวัล

แก้

สุขภาพ

แก้

ด้วยความที่มีภาระหน้าที่หลายด้าน ทั้งเป็นผู้จัด กำกับละคร กำกับภาพยนตร์ แสดงคอนเสิรต์ และออกกำลังกายค่อนข้างหนัก เป็นผลทำให้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กลางกองถ่ายละครเรื่องกรงกรรม จนต้องถูกหามส่งโรงพยาบาลเป็นการเร่งด่วน[10] ปัจจุบันมีอาการดีขึ้นตามลำดับ [11] และยังแบ่งปันประสบการณ์ การดูแลตัวเองเมื่ออยู่ในภาวะโรคหลอดเลือดสมองบ่อย ๆ [12]

อ้างอิง

แก้
  1. นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 122 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 หน้า 112-117
  2. "พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-09-08.
  3. หน้า 0164-0165, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง. นิตยสาร LIPS 15/16: ปักหลัง กุมภาพันธ์ 2557
  4. ดาราหลั่งน้ำตาในงานนาฏราช น้อมเกล้าฯเทิดทูน 'ในหลวง'
  5. ""อ๊อฟ พงษ์พัฒน์" ลั่นกลางเวทีนาฏราช พร้อมพลีชีพเพื่อพ่อ ใครไม่รัก "ในหลวง" ออกไป!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-17. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  6. กระหึ่มเน็ต"อ๊อฟ พงษ์พัฒน์"ถวายหัวป้องสถาบัน
  7. 'อ๊อฟ พงษ์พัฒน์'ชูสามนิ้วกลางงานนาฏราช เว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
  8. "พงษ์พัฒน์"ขึ้นเวทีนาฏราช ชู 3 นิ้ว I Love You บอกขอให้ประเทศไทยมีความสุขตลอดไป โพสต์ทูเดย์
  9. งานมอบรางวัล Howe Awards 2015[ลิงก์เสีย] krobkruakao.com
  10. "อัพเดตด่วน! พงษ์พัฒน์ เส้นเลือดในสมองตีบ | แพทย์เฝ้าดูอาการใกล้ชิด 48 ชม".
  11. "อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ เผยสุขภาพแข็งแรงขึ้นเยอะ | หลังป่วยสโตรกนาน 5 ปี".
  12. "แชร์ประสบการณ์ การดูแลตัวเองเมื่ออยู่ในภาวะโรคหลอดเลือดสมอง | จากคุณพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และภรรยา".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้