ปางไสยาสน์ หรือ ปางสีหไสยาสน์ เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไป ของลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้า (พุทธลักษณะ) ในอิริยาบถบรรทม (นอน) ซึ่งแต่เดิมนั้นหมายถึงเฉพาะปางปรินิพพาน[1] แต่ในประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนคตินอกเหนือไปจากปางปรินิพพาน โดยอาจจำแนกอย่างไม่เป็นทางการ เป็น 9 ปาง ตามรายละเอียดในพุทธประวัติ ดังนี้[2][3]

  • ปางทรงพระสุบิน ประทับนอนตะแคงขวา พระหัตย์ซ้ายทอดทาบไว้กับพระวรกาย พระพาหาขวาแนบพื้น งอหลังพระหัตถ์ขวาแนบกับพระปราง หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย
  • ปางทรงพักผ่อนปรกติ ประทับนอน มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก คอยนวดเฟ้นอยู่ด้านหลัง หลับพระเนตร ซึ่งเป็นอากัปกิริยาของการพักผ่อนโดยทั่วไป หรือสำราญพระอิริยาบถของพระพุทธองค์
  • ปางโปรดอสุรินทราหู ประทับนอน พระกัจฉะ (รักแร้) ทับพระเขนย และพระหัตถ์ยกขึ้นประคองพระเศียร
  • ปางทรงพยากรณ์พระอานนท์ ประทับนอนตะแคงขวา ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทาบบนพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นวางระหว่างพระนาภี
  • ปางโปรดสุภัททปริพาชก ประทับนอนตะแคงขวา ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์เสมอระหว่างพระอังสา เป็นกิริยาขณะทรงแสดงธรรม
  • ปางปัจฉิมโอวาท ประทับนอน และมีลักษณะพิเศษ คือ พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้นจีบพระองคุลี (จีบนิ้วหัวแม่มือจดข้อนิ้วมือแรกของนิ้วชี้) เสมอพระอุระ
  • ปางปรินิพพาน ประกอบด้วย 3 ปาง
    • ปางที่ 1 ประทับนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ที่พื้นขนาบพระเขนย เป็นพระอิริยาบถขณะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    • ปางที่ 2 ประทับนอนหงาย พระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี เป็นพระอิริยาบถหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    • ปางที่ 3 ประทับนอนหงาย พระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทาบยาวขนาบพระวรกาย พระมหากัสสปะยืนถวายบังคมอยู่เบื้องพระบาท เป็นพระอิริยาบถหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระพุทธไสยา ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ทั้งนี้ การจำแนกพุทธลักษณะว่าเป็นปางใดนั้น ต้องพิจารณาทิศเบื้องพระเศียร ประวัติและคติความเชื่อขณะที่สร้างพุทธลักษณะนั้น ๆ ด้วย[1]

อนึ่ง ปางไสยาสน์ที่นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปในไทย คือ ปางโปรดอสุรินทราหู และปางปรินิพพาน ส่วนปางอื่น ๆ มักปรากฏเป็นภาพวาด

ในต่างประเทศ

แก้
 
ภาพแกะสลักพระพุทธองค์ขณะปรินิพพาน ศิลปะคันธาระ

ปางไสยาสน์ในทางสากล กล่าวคือ ในวัฒนธรรมต้นทางที่อินเดียและดินแดนโดยรอบ หมายถึง พุทธลักษณะขณะปรินิพพาน[1] โดยแสดงภาพพระพุทธองค์นอนตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา หลักฐานสำคัญ เช่น ถ้ำอชันตาในประเทศอินเดีย ซากพุทธสถานแห่งตัขต์ภาอีและซากนครใกล้เคียงที่ซาห์รีบาห์ลอลในอดีตแคว้นคันธาระในประเทศปากีสถานในปัจจุบัน และนครโบราณโปโลนนรุวะในศรีลังกา เป็นต้น

การสร้างพุทธปฏิมาไสยาสน์ได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ในประเทศพม่า (พระนอนชเวตาลย่อง และพระนอนตาหวาน) พระพุทธรูปหินที่ปราสาทบาปวน ประเทศกัมพูชา และวัดไชยมังคลาราม ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น

ในประเทศไทย

แก้

ประวัติ

แก้
 
พระนอน วัดธรรมจักรเสมาราม
 
วัดพระแก้ว กำแพงเพชร

ปรากฏหลักฐานพุทธลักษณะปางไสยาสน์ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ครั้งวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ ภาพสลักหินนูนต่ำที่ถ้ำฝาโถ เขางู จังหวัดราชบุรี[1] องค์พระมีความยาว 8.75 เมตร สูง 1.85 เมตร หันพระเศียรไปทางปากถ้ำ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 พบบริบทประกอบอย่างชัดเจนว่าเป็นปางปรินิพพาน[4] และพระพุทธรูปปางไสยาสน์วัดธรรมจักรเสมาราม สลักจากหินทราย ยาว 13.3 เมตร สูง 2.8 เมตร ที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา[5]

ในสมัยสุโขทัย พบพุทธปฏิมาไสยาสน์ที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระสี่อิริยาบถ คือ อิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ที่วัดพระสี่อิริยาบถและวัดพระแก้วในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร คาดว่าสื่อความหมายว่าพุทธองค์ทรงสำราญอิริยาบถไสยาสน์ ขณะที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตามพระอรรถกถาแห่งกลิสูตร[1]

ในสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเวลาที่มีความนิยมการสร้างพุทธปฏิมาไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ และปรากฏให้เห็นอย่างแพร่หลาย เช่น พระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี, พระพุทธไสยาสน์ที่วัดขุนอิทรประมูล และวัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพมหานคร

การสร้างพุทธปฏิมาไสยาสน์ขนาดใหญ่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ปรากฏคติความเชื่อในการสร้างพุทธปฏิมาไสยาสน์ขนาดใหญ่ว่าเป็น ปางโปรดอสุรินทราหู อย่างไรก็ตาม ปางนี้ไม่ปรากฏอยู่ในตำราพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ตามมติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ด้วยตำราดังกล่าวได้มีการรวบรวมปางพระพุทธรูปที่ทรงคิดจากเรื่องราวในพุทธประวัติรวมทั้งสิ้น 40 ปาง ซึ่งถือเป็นต้นแบบของปางพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ปรากฏอยู่ในหนังสือตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ. 2505 โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)[1]

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ในไทย

แก้
อันดับ ชื่อ วัด ที่ตั้ง ความยาว ความสูง ปีที่สร้างเสร็จ ภาพ อ้างอิง
1 พระพุทธไสยาสน์ วัดสะพานเลือก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 56 เมตร 16 เมตร พ.ศ. 2547   [6]
2 พระพุทธไสยาสน์ วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 54.19 เมตร พ.ศ. 2531   [7]
3 พระศากยมุนีศรีสุเมธบพิตร วัดบางพลีใหญ่กลาง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 52.7 เมตร 18 เมตร [8]
4 พระพุทธไสยาสน์ วัดสะตือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 52 เมตร พ.ศ. 2413   [9]
5 พระศรีเมืองทอง วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 50 เมตร ก่อน พ.ศ. 2296   [10]
พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 50 เมตร ก่อน พ.ศ. 2135   [11]
พระพุทธไสยาสน์วิเชียรบุรีศรีรัตนมิ่งมงคล วัดวิเชียรบำรุง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 50 เมตร 5 เมตร ก่อน พ.ศ. 2135 [12]
8 พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี 47.40 เมตร ก่อน พ.ศ. 2297   [13]
9 พระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
46 เมตร 15 เมตร พ.ศ. 2375   [14]
10 พระนอนแหลมพ้อ วัดแหลมพ้อ อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา 42.99 เมตร พ.ศ. 2537   [15]
11 พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 43 เมตร   [16]
12 พระพุทธไสยาสน์ วัดโลกยสุธาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 42 เมตร 8 เมตร พ.ศ. 1995   [17]
13 พระโสคันธ์ วัดพิกุลโสคันธ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 40 เมตร พ.ศ. 2456 [18]
พระพุทธไสยาสน์ วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 40 เมตร [19]
15 พระพุทธมหัตตมงคล วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 35 เมตร 15 เมตร พ.ศ. 2519   [20] [21]
16 พระพุทธไสยาสน์ วัดราษฎร์ประคองธรรม อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 32 เมตร [22]

อื่น ๆ

แก้

กำลังก่อสร้าง

แก้
  • พระพุทธเมตตามหาโลกนารถ ยาว 99 เมตร อุทยานลานบุญมหาวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา[26]
  • พระนอนใหญ่ (พระพุทธสีหไสยาสน์) ยาว 209 เมตร วัดป่าสว่างบุญ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
  • พระพุทธสีหไสยาสน์ชนะมาร 108 เมตร วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 [1] พุทธปฏิมาไสยาสน์ขนาดใหญ่ในดินแดนไทย:คติการสร้างที่ปรับเปลี่ยน และความสัมพันธ์กับขนาดการสร้าง
  2. พระพุทธไสยาสน์ปางต่างๆ
  3. ไขข้อข้องใจ “พระนอน...เพราะอะไร?”
  4. ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
  5. วัดธรรมจักรเสมาราม
  6. "พระพุทธไสยาสน์(พระนอน) ในร่ม ที่มีความสูง ยาว ที่สุดในประเทศไทยและในโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  7. ขอพรพระนอนองค์ใหญ่ วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
  8. ceediz.com. "วัดบางพลีใหญ่กลาง". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ไปด้วยกัน.คอม. "วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. จังหวัดอ่างทอง. "วัดขุนอินทประมูล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ธรรมมะไทย. "พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ททท. "วัดวิเชียรบำรุง". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ไปด้วยกัน.คอม. "วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดอ่างทอง. "วัดม่วง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 03-10-2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. อบจ.สงขลา (2017-07-13). "พระนอนวัดแหลมพ้อ หนึ่งเดียว พระนอนบนเกาะยอ ที่ต้องไปชม". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ททท. (2017-07-13). "วัดโลกยสุธาราม". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2017-07-13). "วัดโลกยสุธาราม". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2017-07-13). "วัดโลกยสุธาราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. พระนอนศักดิ์สิทธิ์เมืองไทย
  20. ททท. "วัดราษฎร์ประคองธรรม". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. https://www.bloggertrip.com/mahattamangkhalaramtemple/ วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  22. ททท. "วัดราษฎร์ประคองธรรม". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. http://www.mahathera.onab.go.th/files/mati_doc/CCF01792551_00144.pdf
  24. "สายธรรมห้ามพลาด : อิ่มบุญ อุ่นใจ ตะเวนไหว้พระ (นอน) ณ อยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  25. วัดพระนอน ตำนานวัดพระนอนจากใบลาน
  26. ‘สรพงศ์ ชาตรี’ ตั้งเศียรพระนอนยาว 99 เมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในโลก