อรรถกถา
อรรถกถา (บาลี: อตฺถกถา; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา
แหล่งที่มาของคัมภีร์อรรถกถา ถูกแบ่งเป็น 2 ทฤษฎี ในการศึกษาเถรวาทดั้งเดิม เชื่อกันว่าคัมภีร์อรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล[1] เนื่องจากมี "พุทธสังวัณณิตอรรถกถา" คำอธิบายจากพระพุทธเจ้าและ "อนุพุทธสังวัณณิตอรรถกถา" คำอธิบายจากพระอรหันต์ที่ทำการสังคายนาอยู่ในนั้น
และทฤษฎีที่ 2 คือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาว ๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง
(อรรถกถาในส่วนของพระพุทธเจ้าทรงอธิบายเอง อยู่ในปกิณณกเทสนา เป็นเรื่องที่เล็กน้อยที่ท่านรวบรวมเอาไว้จัดไว้ในชั้นอรรถกถาก็มี อรรถกถาในส่วนของพระอริยสาวกอธิบาย ในบางที่ได้แสดงชี้แจงคำที่ยากและอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ พระอรหันต์เหล่านั้นท่านมีความพิเศษท่านรู้พุทธประสงค์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระองค์ตรัสอย่างนี้ๆมุ่งหมายถึงสิ่งใดไม่ผิดพลาด ซึ่งผู้ที่มีภูมิความรู้แปลพระบาลีปฐมภูมิได้ ท่านจะเข้าใจว่า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้ามาในรูปของ อุเทส[หัวข้อยกขึ้นแสดง มีทั้งพระคาถา และจุณณียะ]และปริปุจฉา[คำอธิบายในแต่ละอุเทสนั้นๆ] เป็นไปในทิศทางเดียวกันและคล้อยตามกันไม่มีข้อใดบทความใดที่ขัดแย้งกัน)
อย่างไรก็ตาม อรรถกถานั้นไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมดเนื่องจากอรรถกถาเป็นเนื้อหาที่ถูกแต่งขึ้นใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นบางอย่างไม่ได้ถูกระบุไว้ในพระไตรปิฎก เช่น 1. การที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่พระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 2. การที่พระพุทธเจ้าให้พระอานนท์ทำพระปริตร 3. มีการแต่งบัวเหล่าที่ 4 เพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้แค่ 3 เหล่า ดังนั้นผู้ที่อ่านหรือศึกษาคัมภีร์อรรถกถาควรใช้วิจารณญาณในการศึกษาว่าส่วนไหนเชื่อถือได้ มีความสมเหตุผล และส่วนไหนไม่ควรเชื่อถือ เป็นสิ่งที่ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง[2]
ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในทางประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
- อรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
- อรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 236
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหายจากประเทศอินเดียไป เหลือเพียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่งพระมหินทเถระได้นำอรรถกถาในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 236)"
ดังนั้นในปี พ.ศ. 945 พระพุทธโฆสะ พระภิกษุชาวอินเดีย จึงได้รับอาราธนามาที่เกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่ภาษาบาลี ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆสะ[3]
ทั้งนี้ อรรถกถาภาษาสิงหลโบราณที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นต่อมา เช่น พระพุทธโฆสะและพระธัมมปาละ ได้ทำการเรียบเรียงขึ้นเป็นภาษามคธนั้น ต้นฉบับได้สูญหายไปหมดแล้ว แต่จากข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ สามารถจำแนกแยกอรรถกถาโบราณเหล่านี้ออกเป็น 3 หมวด คือ
อรรถกถาวินัยปิฎก
แก้- มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา เป็นผลงานของพระสงฆ์คณะมหาวิหารเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา แก้ครบทั้ง 3 ปิฎก ซึ่งมหาอรรถกถานี้ นำมาจากชมพูทวีปสู่เกาะสิงหล โดยพระมหามหินทเถระ แล้วแปลเรียบเรียงเป็นภาษาสิงหลไว้โดยพระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกชาวสิงหล เพื่อหลีกเลี่ยงความเลอะเลือนแห่งคำวินิจฉัยที่มาจากต่างลัทธิต่างนิกาย และที่มาจากศาสนาอื่น ๆ รวมถึงเพื่อความสะดวกแก่การศึกษาของพระสงฆ์ชาวสิงหล อรรถกถานี้เป็นความเป็นมาแต่เริ่มที่พระพุทธโฆสาจารย์ยึดถือเป็นต้นแบบในการแต่งอภินวอรรถกถา ซึ่งปรากฏเป็นผลงานของพระโปราณาจารย์ เรียกชื่อ ว่า สมันตปาสาทิกา และมหาปัจจรี เป็นต้น[4]
- มหาปัจจรีอรรถกถา คือ อรรถกถาแพใหญ่ แต่งขณะที่นั่งบนแพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
- กุรุนทีอรรถกถา แต่งที่กุรุนทีมหาวิหารในศรีลังกา ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
- อันธกัฏฐกถา แต่งเป็นภาษาอันธกะ แล้วสืบต่อกันมาขยายไปยังเมืองกัฏฐิปุระ หรือเมืองคอนเจวารามในอินเดียภาคใต้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
- สังเขปัฏฐกถา คือ อรรถกถาย่อ สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งในอินเดียภาคใต้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
- วินัยอัฏฐกถา ไม่ปรากฏสถานที่แต่งและชื่อผู้แต่ง [5]
อรรถกถาสุตตันตปิฎก
แก้- มหาอรรถกถา หรือ มูลอรรถกถา
- สุตตันตอรรถกถา หรือ อรรถกถาพระสูตร
- อาคมัฏฐกกถา อรรถกถานิกาย 4
- ทีมัฏฐกถา อรรถกถาทีฆนิกาย
- มัชฌิมัฏฐกถา คืออรรถกถามัชฌิมนิกาย
- สังยุตตัฏฐกถา คืออรรถกถาสังยุตตนิกาย
- อังคุตตรัฏฐกถา คืออรรถกถาอังคุตตรนิกาย [5]
อรรถกถาอภิธรรมปิฎก
แก้- มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา
- อภิธัมมัฏฐกถา คืออรรถกถาอภิธรรม [5]
นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอื่น ๆ อีก คือ
- จูฬปัจจรีย์อรรถกถา คือ สังเขปอรรถกถานั่นเอง
- อริยอรรถกถา คือ อรรถกถาภาษาอริยะ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
- ปันนวาร (อรรถกถา) คือ อรรกถาที่ประมวลข้อวินิจฉัยจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถา
อรรถกถาเหล่านี้เรียกว่า โปราณอรรถกถา หรือ อรรถกถาเก่า ซึ่งพระสังคีติกาจารย์ได้ยกขึ้นสู่สังคายนาถึง 3 ครั้งและนำเผยแพร่ยังเกาะสิงหลโดยพระมหามหินทเถระชาวชมพูทวีปภายหลังสังคายนาครั้งที่ 3 แล้วได้รับการแปลเรียบเรียงเป็นภาษาสิงหลเพื่อหลีกเลี่ยงความเลอะเลือนแห่งคำวินิจฉัยที่มาจากต่างลัทธิต่างนิกาย และที่มาจากศาสนาอื่น ๆ [4]
คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก (บางส่วน)
แก้อรรถกถาที่พระพุทธโฆสะ พระพุทธทัตตะ พระธรรมปาละ พระอุปเสน และพระมหานามะ เป็นต้น แต่งและแปลเรียบเรียงจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถาภาษาสิงหล เรียกว่า อภินวอรรถกถา หรืออรรถกถาใหม่ ซึ่งอรรถกถาของยุคอภินวอรรถกถาเริ่มจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้นมาจัดว่าเป็นยุคที่วงการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาแสดงมติว่าเป็น “ยุคทองของอรรถกถา” เพราะมีอรรถกถาเกิดขึ้นมากมาย โดยเนื้อหาของอรรถกถาเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันในลักษณะอธิบายความที่สื่อต่อกันเป็นลำดับตามกระแสความ ซึ่งมีทั้งอรรถกถาพระวินัยปิฎก อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกและอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก [4]
ต่อไปนี้คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีทั้งหมด 23 คัมภีร์ โดยอาจมีชื่อคัมภีร์ซ้ำกันบ้าง
คัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก
แก้- มหาวิภังค์ ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- มหาวิภังค์ ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- ภิกขุนีวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- มหาวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- มหาวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- จุลวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- จุลวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
- ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์กังขาวิตรณี อรรถกถาพระปาติโมกข์
คัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก
แก้พระวินัยปิฎก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระสุตตันตปิฎก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระอภิธรรมปิฎก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
- ทีฆนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
- ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
- มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
- มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
- มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
- สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
- สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
- สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
- สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
- สังยุตตนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
- อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
- อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
- อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
- อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
- อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
- ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
- ขุททกนิกาย ธรรมบท มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธัมมปทัฏฐกถา
- ขุททกนิกาย อุทาน-อิติวุตตกะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
- ขุททกนิกาย สุตตนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
- ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
- ขุททกนิกาย เถรคาถา-เถรีคาถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
- ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
- ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
- ขุททกนิกาย มหานิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
- ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
- ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปกาสินี
- ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
- ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
- ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มธุรัตถวิลาสินี
- ขุททกนิกาย จริยาปิฎก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
- นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร อธิบายเนื้อหาของพระสูตรและปาฐะต่าง ๆ จากพระสูตรและข้อควาจากพระวินัยหลากหลายที่มา ที่ปรากฏในภาณวาร หรือหนังสือสวดมนต์หลวง
คัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก
แก้- ธัมมสังคณี มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ อัฏฐสาลินี
- วิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัมโมหวิโนทนี
- ธาตุกถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา หรือปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปุคคลบัญญัติ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา หรือปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- กถาวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ กถาวัตถุอรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ยมก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ยมกปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ยมก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ยมกปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 3 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 4 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 5 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
- ปัฏฐาน ภาค 6 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
ดูเพิ่ม
แก้- พระไตรปิฎกภาษาบาลี คัมภีร์หลักทางพระพุทธศาสนา (คัมภีร์ชั้นต้น หรือชั้น 1)
- ฎีกา คัมภีร์อธิบายความในอรรถกถาหรือฎีกา (คัมภีร์ชั้น 3)
- อนุฎีกา คัมภีร์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมฎีกา
- โยชนา คัมภีร์ที่อธิบายความหมายของศัพท์และความสัมพันธ์ในประโยคของภาษาช่วยให้การแปลคัมภีร์อรรถกถาและฎีกา
- คัณฐี คัมภีร์ที่พรรณาไปตามลำดับบท เลือกพรรณนาเฉพาะบทปาฐะ
- ทีปนี คัมภีร์ที่พรรณนาความหมายคำอธิบายอย่างชัดเจน
- มธุ คัมภีร์ที่รจนาขึ้นรวมกับมูลฎีกา โดยพรรณนาขอความของมูลฎีกา
- ละตัน (ละตันอัฎฐกถา) คัมภีร์ชนิดเล็ก ๆ สั้น ๆ เขียนโดยสังเขป ให้จำง่าย
- นิสสยะ หรือ นิสสัย คัมภีร์แปลพระไตรปิฎกเป็นต้น เช่นแปลมาสู่ภาษาพม่า โดยวิธีการยกศัพท์
- ปกรณ์วิเสส คัมภีร์หรือหนังสือที่พิเศษ ที่ไม่ได้แต่งอธิบายธรรมะตามคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งโดยเฉพาะ
- สัททาวิเสส กลุ่มคัมภีร์ไวยกรณ์บาลีที่ว่าด้วยหลักภาษาในพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์พื้นฐาน แห่งความเข้าใจในภาษาบาลีตลอดจนการเรียนรู้และวินิจฉัยข้ออรรถข้อธรรมในพระ ไตรปิฎก
- คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ "ไม่รู้จักพระไตรปิฎก-อรรถกถา จะพูดเรื่องพุทธศาสนาให้ชัดได้อย่างไร - หนังสือธรรมะ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)". www.papayutto.org.
- ↑ ณรงค์ จิตฺตโสภโณ, พระมหา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2527
- ↑ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524. 184 หน้า. (อัดสำเนา)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 วรรณคดีบาลี. หน้า 68
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. ประวัติพระพุทธโฆษาจารย์.
บรรณานุกรม
แก้- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- E.W.Adikaram,Early History of Buddhism in Ceylon (Columbo:M.D.Gunasena Co.,Ltd.,1953),p. 1.
- คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา [1] เก็บถาวร 2006-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฝ่ายคัมภีร์พุทธศาสน์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [2] เก็บถาวร 2007-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย
- ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย
- สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย
- มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์