อนุฎีกา (Sub-sub-commentaries) คือปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมฎีกา [1] ซึ่งอนุฎีกานี้นับเป็นหลักฐานชั้น 4 รองจาก พระไตรปิฎก อรรถกา และฎีกา เช่น อนุฎีกาวิมติวิโนทนี ของพระวินัย เป็นต้น ในบางกรณีอนุฎีกา เรียกตามคำศัพท์เฉพาะตามภาษาบาลีว่า อภินวฎีกา ที่แปลว่า ฎีกาใหม่ [2]

ทั้งนี้ พระอนุฎีกาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์ในชั้นนี้มักไม่ระบุนามตรง ๆ เหมือนพระอรรถกถาจารย์ โดยนักศึกษาในเวลาต่อมามักเรียกท่านผู้รจนาคัมภีร์ฎีกาอย่างรวม ๆ ว่า อนุฎีกาจารย์ ซึ่งท่านเหล่านี้ได้แสดงภาวะความเป็นปราชญ์ในทางภาษาบาลีอธิบายความของคัมภีร์อรรถกถา และฎีกาเป็นลำดับ [3]

อนุฎีกา แบ่งเป็น 3 ประเภทตามสายแห่งพระไตรปิฎก คือ อนุฎีกาพระวินัยปิฎก อนุฎีกาพระสุตตันตปิฎก และอนุฎีกาพระอภิธรรมปิฎก ดังนี้

อนุฎีกาพระวินัยปิฎก

แก้
  1. วินยาลังการฎีกา พระมุนินทโฆสะ แต่งที่ประเทศพม่า
  2. ขุททกสิกขาฎีกา เรียกว่า สุมังคลปสาทนีฎีกาก็ได้ พระสังฆรักขิต แต่งที่เมืองวิชัยปุระ
  3. มูลสิกขาฎีกา เรียกว่า วิมติจเฉทฎีกาก็ได้ พระสมันตคุณสาคระ แต่งที่เมืองวิชัยปุระ [4]

อนุฎีกาพระสุตตันตปิฎก

แก้
  1. เอกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  2. ทุกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  3. ติกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  4. จตุกกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  5. ปัญจกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  6. ฉักกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  7. สัตตังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  8. อัฎฐังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  9. นวังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  10. ทสังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  11. เอกาทสังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง
  12. ธัมมปทัฎฐกถาฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระวรสัมโพธิแต่ง
  13. เปฎกาลังการฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสังฆราช ญาณวังสะ ธรรมเสนาบดี แต่ง [5]

อนุฎีกาพระอภิธรรมปิฎก

แก้
  1. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกาธัมมสังคณี พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  2. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกาวิภังคปกรณ์ พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  3. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกาธาตุกถา พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  4. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกาปุคคลบัญญัติ พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  5. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกายมกปกรณ์ พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  6. ลีนัตถปกาสินี อนุฎีกาปัฏฐาน พระอานันทะ แต่งที่ลังกา
  7. อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสุมังคละแต่งที่ลังกา
  8. อภิธัมมาวตารฎีกา คัมภีร์ใหม่ พระสุมังคละ แต่งที่ลังกา
  9. ปรมัตถวินิจฉยฎีกา คัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
  10. นามรูปปริจเฉทฎีกา คัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
  11. สัจจสังเขปฎีกาคัมภีร์ใหม่ เรียกว่าสารัตถสาลินีฎีกาก็ได้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
  12. ปรมัตถมัญชุสา อนุฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
  13. มณิสารมัญชุสา อนุฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง [6]

อ้างอิง

แก้
  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). หน้า 484
  2. พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). หน้า 76
  3. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). หน้า 28
  4. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). หน้า 103
  5. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). หน้า 103 - 104
  6. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). หน้า 104

บรรณานุกรม

แก้
  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร.
  • พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี. กรุงเทพมหานคร. มหามกุฏราชวิทยาลัย.
  • คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.