ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว พ.ศ. 1,000 [1] โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหลที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ทั้งนี้ ชื่อคัมภีร์ "ปปัญจสูทนี" มีหมายความว่า การไขความกระจ่างแก่อุปสรรคแก่ความก้าวหน้าทางจิต [2] [3]

ที่มา แก้

พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ ได้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นตามคำอาราธนาของพระพุทธมิตตะเถระ[4] เริ่มต้นคัมภีร์ พระพุทธโฆษาจารย์ได้เกริ่นถึงที่มาที่ไปของการรจนาปปัญจสูทนี กล่าวคือ เป็นการแปลจากอรรถกาเดิมที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ 500 องค์สังคายนาเป็นภาษามคธ หรือภาษาบาลีไว้ตอนปฐมสังคายนา รวมถึงที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายสังคายนาเพิ่มเติมในเวลาต่อมา เพื่อเนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ต่อมาพระมหินทเถระได้นำอรรถกถาเหล่านี้มาเผยแผ่ที่ลังกาทวีป แล้วแปลเป็นภาษาสิงหล เพื่อยังประโยชน์แก่ชาวลังกา ในเวลาต่อมาอรรถกาเดิมในภาษามคธสูญหายไป พระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางมาลังกาเพื่อแปลอรรถกาต่างๆ รวมถึงอรรถกถาที่อธิบายมัชฌิมนิกาย กลับเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง นอกจากนี้ ในการแปลครั้งนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ยังประกาศว่า อรรถกาเนื้อความมีความสอดคล้องกับคำสอนของพระเถระคณะวัดมหาวิหาร ซึ่งรักษาคำสอนตามแนวทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไว้อย่างครบถ้วน [5]

เนื้อหา แก้

ปปัญจสูทนี มีลักษณะเดียวกับคัมภีร์อรรถกถาอื่นๆ กล่าวคือ ผู้รจนา จะกล่าวถึงเบื้องหลังที่มีการแสดงพระสูตรนั้น มีการอธิบายคำศัพท์สำคัญในพระสูตร และมีการอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งรายละเอียดของข้อธรรมซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพระสูตรนั้น ๆ โดยในที่นี้จะมีการแบ่งเนื้อหาโดยสรุปของปปัญจสูทนี ตามลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของมัชฌิมนิกาย ดังนี้

อรรถกถามูลปริยายวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสีหนาทวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาโอปัมมวรรค (10 สูตร)

อรรถกถามหายมกวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาจูฬยมกวรรค (10 สูตร)

  • ปปัญจสูทนี อรรถกามัชฌิมนิกาย หมวดมัชฌิมปัณณาสก์

อรรถกถาคหปติวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาภิกขุวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาปริพพาชกวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาราชวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาพราหมณวรรค (10 สูตร)

  • ปปัญจสูทนี อรรถกามัชฌิมนิกาย หมวดอุปริปัณณาสก์

อรรถกถาเทวทหวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาอนุปทวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสุญญตวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาวิภังควรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสฬายตนวรรค (10 สูตร)

อ้างอิง แก้

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ หน้า 200
  2. ดู "papanca" ใน palikanon.com
  3. Jayarava Attwood. (2012)
  4. Bimala Charan Law. (1923). หน้า 79
  5. พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปปัญจสูทนี. อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย หน้า 16 - 17

บรรณานุกรม แก้

  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร.
  • Jayarava Attwood. (2012). Proliferation : An exploration of the concept of papanca in the Pali Suttas with translations of relevant texts.
  • พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปปัญจสูทนี. อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
  • พระศรีปริยัติโมลี. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 129 - 144
  • Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.

ตัวบทคัมภีร์ แก้

ปปญจสูทนี (บาลี)

ปปญจสูทนี ๑

ปปญจสูทนี ๒

ปปญจสูทนี ๓