โอซากะ

นครและเมืองหลวงของจังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก นครโอซากะ)

นครโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪市โรมาจิŌsaka-shi) เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด นครโอซากะมีประชากรราว 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน เป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซโตะ โอซากะเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ (ญี่ปุ่น: 天下の台所โรมาจิTenka no Daidokoro) เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะ

โอซากะ

大阪
大阪市 · นครโอซากะ
อูเมดะสกาย โดตมโบริ และสึเต็งกากุ วัดชิเต็นโน ศาลเจ้าซูมิโยชิ และปราสาทโอซากะในตอนกลางคืน
Miotsukushi
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโอซากะ
ตรา
ที่ตั้งของโอซากะในจังหวัดโอซากะ
ที่ตั้งของโอซากะในจังหวัดโอซากะ
โอซากะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โอซากะ
โอซากะ
 
พิกัด: 34°41′38″N 135°30′8″E / 34.69389°N 135.50222°E / 34.69389; 135.50222
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
จังหวัดโอซากะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอิจิโร มัตซุย (松井 一郎)[1]
พื้นที่
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด223.00 ตร.กม. (86.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พฤษภาคม 2556)
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด2,682,221 คน
 • ความหนาแน่น12,000 คน/ตร.กม. (31,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[2] (2558)19,302,746 คน
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
- ต้นไม้ซากูระ
- ดอกไม้แพนซี
โทรศัพท์06-6208-8181
ที่อยู่1-3-20 Nakanoshima, Kita-ku, Ōsaka-shi, Ōsaka-fu
530-8201
เว็บไซต์Osaka Official Website

นครโอซากะได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุคโคฟุง (ค.ศ. 300–508) เมืองนี้ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นท่าเรือที่สำคัญของภูมิภาค และมีสถานะเป็นเมืองหลวงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 โอซากะยังคงเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603–1867) และกลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น และภายหลังจากการฟื้นฟูเมจิ โอซากะได้รับการขยายและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ต่อมา ใน ค.ศ. 1889 โอซากะได้รับสถานะให้กลายเป็นเทศบาลเป็นทางการ ความเฟื่องฟูในการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็วในหลายทศวรรษต่อมา และกลายเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของประเทศในยุคเมจิ และ ยุคไทโช โอซากะยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับการจัดระเบียบการปกครอง และการวางผังเมืองในช่วงหลังสงคราม นำไปสู่การก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเคฮันชิง

ในปัจจุบัน นครโอซากะเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีความเป็นสากลมากที่สุดในประเทศ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์โอซากะ รวมถึงสำนักงานใหญ่ของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก รวมถึง พานาโซนิค และ ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น โอซากะยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการวิจัยและการพัฒนาในระดับนานาชาติ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น มหาวิทยาลัยโอซากะ และ มหาวิทยาลัยคันไซ สถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ปราสาทโอซากะ, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง, โดตมโบริ, หอคอยทสึเทงคาคุ, สวนพฤกศาสตร์เทนโนจิ, ศาลเจ้าซูมิโยชิ และ วัดชิเทนโนจิ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง

แก้

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตโอซากะ คือ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์โมริโนะมิยะ (森の宮遺跡 Morinomiya iseki) มีการค้นพบสุสานหอยนางรมและโครงกระดูกมนุษย์ในสมัย 500-600 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่า บริเวณที่ชื่ออูเอฮมมิยะในทุกวันนี้น่าจะเป็นคาบสมุทรและมีทะเลในแผ่นดินทางตะวันออก ในสมัยยาโยอิ มีการค้นพบการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรก ในบริเวณที่ราบของโอซากะ โดยยึดการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก

ในยุคโคะฟุง โอซากะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือเชื่อมต่อดินแดนทางตะวันตกของญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานที่บริเวณพื้นที่ราบของโอซากะจำนวนมาก เป็นหลักฐานของความมั่นคงทางการเมือง นำไปสู่การสร้างประเทศในเวลาต่อมา[3]

ยุคอาซูกะและยุคนาระ

แก้

ในปี พ.ศ. 1188 จักรพรรดิโคโตกุได้สร้างพระราชวังชื่อ "นานิวะ นางาระ-โทโยซางิ" ขึ้นที่โอซากะ[4] และได้เนรมิตให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองหลวง (กรุงนานิวะ) พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองใหม่ในสมัยนั้นและมีชื่อว่า นานิวะ และชื่อนี้ก็ยังมีการใช้กันในปัจจุบัน เป็นการเรียกชื่อใจกลางของโอซากะว่านานิวะ (浪速) และกร่อนมาเป็นนัมบะ (難波) ในทุกวันนี้ แม้จะมีการย้ายเมืองหลวงไปที่อาซูกะ (ในจังหวัดนาระในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1198 นานิวะก็ยังเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างยามาโตะ (จังหวัดนาระ) เกาหลี และ จีน[5]

ในปี พ.ศ. 1287 นานิวะได้กลายมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของจักรพรรดิโชมุ แต่ได้เป็นเมืองหลวงถึงปี พ.ศ. 1288 ราชสำนักก็ย้ายกลับไปที่เฮโจ (ปัจจุบันคือนาระ) อีกครั้ง ในปลายยุคนาระ ท่าเรือจึงค่อย ๆ กลายเป็นที่พักอาศัยของชาวเดินเรือ แต่ยังคงมีความคึกคักตามบริเวณแม่น้ำ คลอง และเส้นทางการคมนาคมทางบกไปยังกรุงเฮอัง (ปัจจุบันคือเกียวโต) และเมืองอื่น ๆ

ยุคเฮอังถึงยุคเอโดะ

แก้

ในปี พ.ศ. 2039 มีการก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายโจโดชินชู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิชิยามะฮงกันจิ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของพระราชวังนานิวะ ไดเมียวโอดะ โนบูนางะ หนึ่งในสามผู้รวมประเทศญี่ปุ่นเริ่มโอบล้อมวัดในปี พ.ศ. 2113 หลังจากอีกสิบปี พระในวัดก็ยอมจำนน และวัดก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไดเมียวโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ จึงได้สร้างปราสาทโอซากะขึ้นแทนในที่แห่งนั้น

โอซากะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน[6] มีประชากรที่เป็นชนชั้นพ่อค้าในสัดส่วนที่สูง โดยในยุคเอโดะ (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2410) โอซากะเติบโตไปเป็นเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นเมืองท่าที่คึกคักอีกครั้ง วัฒนธรรมของโอซากะมีความเกี่ยวข้องกับภาพอูกิโยะ อันเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงในยุคเอโดะ โดยในปี พ.ศ. 2323 โอซากะเป็นแหล่งวัฒนธรรม มีชื่อเสียงด้านการแสดงของโรงละครคาบูกิและละครหุ่นบุนรากุ

ในปี พ.ศ. 2380 โอชิโอะ เฮฮาจิโร ซามูไรชั้นผู้น้อย ได้นำกลุ่มชาวนาก่อการกบฏขึ้นเพื่อประท้วงผู้ปกครองเมือง ที่เฉยเมยต่อคนจนและครอบครัวที่ตกต่ำในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่เมืองเกือบ 1 ใน 4 ถูกเผาทำลายจากการกบฏในครั้งนั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากโชกุนจะปราบกบฏลงได้ และโอชิโอะก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเวลาต่อมา

รัฐบาลโชกุนเปิดให้โอซากะเป็นเมืองที่เปิดรับการค้ากับต่างประเทศเช่นเดียวกับเฮียวโงะ (มีเมืองเอกคือโคเบะ) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2411 ก่อนการฟื้นฟูเมจิเพียงเล็กน้อย

โอซากะยุคใหม่

แก้
 
บริเวณเซนนิชิมะเอะ ในปี พ.ศ. 2459

กฤษฎีการัฐบาลได้ก่อตั้งโอซากะให้เป็นนครที่มีการปกครองพิเศษ ในฐานะนครใหญ่ที่รัฐกำหนด ในปี พ.ศ. 2432[7] มีพื้นที่เริ่มต้น 15 ตารางกิโลเมตร คือบริเวณเขตชูโอและเขตนิชิในปัจจุบัน ต่อมา เมืองได้ขยายตัวจนมีพื้นที่ 222 ตารางกิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน โอซากะเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยมของญี่ปุ่น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้ชาวเกาหลีหลายคนอพยพเข้ามาตั้งตัว ระบอบการปกครองจึงเป็นแบบผสมโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญ อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และระบบการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่รู้หนังสือและมีความชื่นชอบในงานศิลปะ

แต่ในอีกมุมหนึ่งของการเจริญเติบโต โอซากะก็มีสลัม คนว่างงาน และคนจน เช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา เทศบาลนครโอซากะจึงจัดตั้งระบบจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเยียวยาคนจนขึ้น โดยใช้แบบฉบับมาจากอังกฤษ ผู้ร่างนโยบายของโอซากะได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัว และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดงบประมาณของนโยบายเปลี่ยนแปลงเมืองไปสู่ความร่ำรวย [8]

อย่างไรก็ตาม โอซากะก็เสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ต่างๆของโอซากะในช่วงปีสุดท้ายของสงคราม ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมืองก็กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดสงคราม และกลับมาเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว[9]

ที่มาของชื่อ

แก้

"โอซากะ" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซากะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นานิวะ และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซากะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซากะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซากะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า กบฏซามูไร เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซากะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบองโยมิว่า ฮัน) ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซากะ และจังหวัดโอซากะเท่านั้น

สภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

แก้

ภูมิศาสตร์

แก้

นครโอซากะตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทางตะวันตกของแม่น้ำโยโดะ ริมอ่าวโอซากะ ล้อมรอบด้วยเมืองเล็กกว่าสิบเมืองในจังหวัดโอซากะ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของจังหวัดโอซากะ โดยสมัยก่อตั้งเมืองในปี 1880 เมืองแบ่งออกเป็นสองเขตเท่านั้นคือ เขตชูโอ และเขตนิชิ มีพื้นที่เพียง 15.27 ตารางกิโลเมตร และปัจจุบัน เมืองเติบโตจนมีพื้นที่ 222.30 ตารางกิโลเมตร โดยการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเมืองได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีก 126.01 ตารางกิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของนครโอซากะอยู่ในเขตสึรูมิ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37.5 เมตร และจุดที่ต่ำที่สุด อยู่ที่เขตนิชิโยโดงาวะ ความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 2.2 เมตร[10]

ภูมิอากาศ

แก้

โอซากะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มี 4 ฤดูกาลแบ่งแยกกันชัดเจน ในหน้าหนาวในอากาศหนาว อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 9.3 องศาเซลเซียส โอซากะเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว ส่วนในฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศเย็น แต่จะค่อยๆร้อนและชื้นมากขึ้น จนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม จากนั้น หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนและชื้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ฤดูใบไม้ร่วงที่นครโอซากะค่อนข้างเย็น โดยช่วงต้นฤดูจะคล้ายกับฤดูร้อน และปลายฤดูจะคล้ายกับฤดูหนาว

ข้อมูลภูมิอากาศของนครโอซากะ (พ.ศ. 2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.5
(49.1)
10.2
(50.4)
13.7
(56.7)
19.9
(67.8)
24.5
(76.1)
27.8
(82)
31.6
(88.9)
33.4
(92.1)
29.3
(84.7)
23.3
(73.9)
17.6
(63.7)
12.3
(54.1)
21.1
(70)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.0
(42.8)
6.3
(43.3)
9.4
(48.9)
15.1
(59.2)
19.7
(67.5)
23.5
(74.3)
27.4
(81.3)
28.8
(83.8)
25.0
(77)
19.0
(66.2)
13.6
(56.5)
8.6
(47.5)
16.9
(62.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.8
(37)
2.9
(37.2)
5.6
(42.1)
10.7
(51.3)
15.6
(60.1)
20.0
(68)
24.3
(75.7)
25.4
(77.7)
21.7
(71.1)
15.5
(59.9)
9.9
(49.8)
5.1
(41.2)
13.3
(55.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 45.4
(1.787)
61.7
(2.429)
104.2
(4.102)
103.8
(4.087)
145.5
(5.728)
184.5
(7.264)
157.0
(6.181)
90.9
(3.579)
160.7
(6.327)
112.3
(4.421)
69.3
(2.728)
43.8
(1.724)
1,279.0
(50.354)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 1
(0.4)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
3
(1.2)
ความชื้นร้อยละ 61 60 59 59 62 68 70 66 67 65 64 62 64
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 5.6 6.3 9.9 9.3 10.0 11.2 9.9 6.9 9.4 7.9 6.2 5.5 98.1
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 5.0 6.3 2.3 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1.9 15.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 142.6 135.4 159.5 188.6 194.3 156.2 182.1 216.9 156.7 163.9 148.5 151.6 1,996.4
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[11]
แหล่งที่มา 2: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (จำนวนวันที่ฝนตก)[12]

ทิวทัศน์ของเมือง

แก้
ภาพทิวทัศน์ของโอซากะ เมื่อมองจากตึกอูเมดะสกาย
ภาพโอซากะตอนใต้ จากโรงแรมริตซ์ชาร์ลตันในย่านอูเมดะ

ใจกลางเมือง

แก้

ใจกลางของโอซากะแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ คิตะ (北 แปลว่า เหนือ) กับ มินามิ (南 แปลว่า ใต้) และทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางมิดตสึจิ

บริเวณคิตะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ธุรกิจและค้าปลีกในย่านอูเมดะ ส่วนบริเวณมินามิหมายรวมถึงย่านช็อปปิ้งอย่างนัมบะ ชินไซบาชิ และโดตมโบริ มีแหล่งบันเทิงตั้งอยู่มากมายที่สะพานโดตมโบริ รวมทั้งสัญลักษณ์ปูยักษ์ที่มีชื่อเสียง ป้ายไฟกูลิโกะ สวนสามเหลี่ยม และหมู่บ้านอเมริกา ส่วนบริเวณระหว่างคิตะกับมินามิ ก็มีโยโดยาบาชิและฮมมาจิ ที่เป็นแหล่งธุรกิจดั้งเดิม มีสถานที่ราชการ สำนักงานของธนาคารใหญ่ ๆ ตั้งอยู่มากมาย ส่วนบริเวณพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ของโอซากะจะอยู่ที่บริเวณอุทยานธุรกิจโอซากะใกล้กับปราสาทโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีย่านธุรกิจสำคัญอื่น ๆ ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีเท็นโนจิ และสถานีเคียวบาชิ

808 สะพานแห่งนานิวะ คือคำกล่าวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของโอซากะในยุคโบราณ โดยตัวเลข 808 นี้เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดที่ว่า"นับไม่ได้"แม้ในสมัยเอโดะ โอซากะจะมีสะพานเพียงแค่ประมาณ 200 แห่งก็ตาม และเนื่องจากโอซากะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแม่น้ำ คลอง สะพานแต่ละแห่งจึงมีชื่อ และบริเวณเหล่านั้นก็มักเรียกตามชื่อของสะพานไปด้วย แม้ว่าคลองบางแห่งจากถูกถม แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ในปี พ.ศ. 2468 โอซากะมีสะพานอยู่ประมาณ 1629 แห่ง บางคลองบางแห่งก็ถูกถมไปจนเหลือสะพานเพียงแค่ 872 แห่ง โดยในจำนวนนี้ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของนครโอซากะ 760 แห่ง[13]

ประชากร

แก้

จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 โอซากะมีผู้อยู่อาศัย 2,628,811 คน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 30,037 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2[14] แบ่งเป็น 1,280,325 ครัวเรือน หรือประมาณครัวเรือนละ 2.1 คน ความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 11,836 คนต่อตารางกิโมตร โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นอพยพมาอยู่โอซากะจำนวนมากในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2463-2473 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 เมืองมีประชากร 2,453,573 คน กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นแซงหน้าโตเกียวที่มีประชากร 2,070,913 คนในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2483 โอซากะมีประชากรสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,252,340 คน ส่วนช่วงหลังสงคราม นครโอซากะมีประชากรสูงสุดที่ 3,156,222 คน ในปี พ.ศ. 2508 และค่อย ๆ ลดลงไปเนื่องจากประชาชนเริ่มทยอยย้ายออกไปอยู่ตามเขตชานเมือง[15]

ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในนครโอซากะมีจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ 99,775 คน โดยมีกลุ่มใหญ่คือ เกาหลี 71,015 คน และจีน 11,848 คน

สำเนียง

แก้

สำเนียงที่พูดกันโดยทั่วไปในโอซากะคือ สำเนียงโอซากะ อันเป็นหนึ่งในตระกูล สำเนียงคันไซ ลักษณะที่โดดเด่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เฮง แทนคำว่า ไน ในประโยคปฏิเสธของภาษาทางการ

การแบ่งเขตปกครอง

แก้
 
24 เขตการปกครองของนครโอซากะ

เขต (区) ในนครโอซากะมีทั้งหมด 24 เขตได้แก่

ชื่อเขต คันจิ พื้นที่ (ตร.กม.)
คิตะ 10.33
โคโนฮานะ 此花 16.04
โจโต 城東 8.42
ชูโอ 中央 8.87
ซูมิโนเอะ 住之江 20.77
ซูมิโยชิ 住吉 9.34
เท็นโนจิ 天王寺 4.80
ไทโช 大正 9.43
นานิวะ 浪速 4.37
นิชิ 西 5.20
นิชินาริ 西成 7.35
นิชิโยโดงาวะ 西淀川 14.23
ฟูกูชิมะ 福島 4.67
มินาโตะ 7.90
มิยาโกะจิมะ 都島 6.05
โยโดงาวะ 淀川 12.64
สึรูมิ 鶴見 8.16
อาซาฮิ 6.30
อาเบโนะ 阿倍野 5.99
อิกูโนะ 生野 8.38
ฮิงาชิซูมิโยชิ 東住吉 9.75
ฮิงาชินาริ 東成 4.55
ฮิงาชิโยโดงาวะ 東淀川 13.26
ฮิราโนะ 平野 15.30

เศรษฐกิจ

แก้
 
แถบโอซากะเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับที่ 7 ของโลก รองจากโตเกียว นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ชิคาโก ปารีส และลอนดอน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโอซากะในปีงบประมาณ 2547 อยู่ที่ 21.3 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตที่ได้จากจังหวัดโอซากะ และคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของแถบคันไซ สามอุตสาหกรรมหลักของโอซากะคือ การพาณิชย์ การบริการ การผลิต ในปี พ.ศ. 2547 มีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 11 ตามลำดับ รายได้ต่อหัวของเมืองอยู่ที่ 3.3 ล้านเยน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดโอซากะร้อยละ 10[16] ขณะที่บริษัทมาสเตอร์การ์ดรายงานว่า โอซากะเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 19 ของโลก และเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจของโลก[17]

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในส่วนของโอซากะและโคเบะอยู่ที่ 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเมืองปากแม่น้ำที่มีผลผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเช่นเดียวกับปารีสและลอนดอน[18]

ตามประวัติศาสตร์แล้ว โอซากะเป็นศูนย์กลางการค้าของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในยุคกลางและก่อนยุคใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2468 มีการก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ อันเป็นบริษัทโบรกเกอร์หุ้นบริษัทแรกของญี่ปุ่น จนกระทั่งปัจจุบัน โอซากะก็ยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนฟิวเจอร์สที่สำคัญของโลก แม้จะมมีบริษัทหลายแห่งได้ย้ายสำนักงานหลักไปอยู่ที่โตเกียว แต่ก็มีบริษัทใหญ่หลายแห่งที่สำนักงานใหญ่ยังตั้งอยู่ที่โอซากะ เช่น พานาโซนิค ชาร์ป และซันโย และเมื่อเร็วๆนี้ นายกเทศมนตรีจุนอิจิ เซกิ ได้เริ่มโครงการดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ[19]

ศูนย์แลกเปลี่ยนหลักทรัพย์โอซากะ ตั้งอยู่ที่นครโอซากะ เน้นความสำคัญด้านการแลกเปลี่ยนอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นอกจากนี้ การควบรวมกับ JASDAQ ก็ช่วยให้การแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ของโอซากะ กลายเป็นแหล่งก่อตั้งบริษัทแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น[20]

จากการศึกษาของสหรัฐอเมริกา โอซากะเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับคนต่างด้าว เป็นรองเพียงแค่โตเกียว[21]

การคมนาคม

แก้

การคมนาคมทางอากาศ

แก้

โอซากะ มีท่าอากาศยานที่สำคัญสองแห่งคือ

  • ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (KIX) เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเที่ยวบินในประเทศบางเที่ยวบิน เป็นแหล่งของการขนส่งสินค้า ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลในบริเวณอ่าวโอซากะ มีรถประจำทางและรถไฟให้บริเวณรับส่งระหว่างเมืองและชานเมืองที่สำคัญ
  • ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (ITM) ตั้งอยู่ที่บริเวณรอยต่อของเมืองอิตามิ และเมืองโทโยนากะ เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบางเส้นทาง รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานสำหรับรับรองแขกพิเศษจากต่างประเทศ

การคมนาคมทางทะเล

แก้

ท่าเรือโอซากะเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญเคียงคู่กับท่าเรือโคเบะ

เรือโดยสาร

แก้

ท่าเรือโดยสารนานาชาติโอซากะจะเชื่อมต่อในวงที่ไกลกว่าท่าเรือของโตเกียว เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เรือโดยสารระหว่างประเทศที่ออกจากโอซากะจะเดินทางไป เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เกาหลี และไต้หวัน ส่วนเรือโดยสารในประเทศจะเชื่อมต่อกับคิตะกีวชู คาโงชิมะ มิยาซากิ และ โอกินาวะ

การขนส่งทางเรือ

แก้

ท่าเรือในแถบโอซากะและโคเบะนำเข้าและส่งออกสินค้าวัตถุดิบจากทั่วโลก โดยไม่มีท่าใดโดดเด่นกว่ากัน ประกอบไปด้วย ท่าเรือโอซากะ ท่าเรือโคเบะ ท่าเรือซะไก และท่าเรือฮิเมะจิ

ท่าเรือพี่น้อง

แก้

การขนส่งทางราง

แก้

แถบนครโอซากะมีการเชื่อมต่อทางระบบรางที่หนาแน่น โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ อูเมดะ นัมบะ เท็นโนจิ เคียวบาชิ และ โยโดยะบาชิ

รถไฟความเร็วสูง

แก้

บริษัทเจอาร์เซนทรัลและเจอาร์เวสต์ ให้บริการรถไฟความเร็วสูงซันโยชิงกันเซ็งและโทไกโดชิงกันเซ็ง โดยมีสถานีชินโอซากะเป็นสถานีรถไฟชิงกันเซ็งในโอซากะ สถานีเชื่อมต่อกับสถานีโอซากะในอูเมดะโดยรถไฟเจอาร์ รถไฟชิงกันเซ็งทุกขบวนจะหยุดที่สถานีชินโอซากะแห่งนี้

รถไฟสัญจร

แก้

บริษัทเจอาร์เวสต์แและบริษัทรถไฟเอกชนให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโอซะกับเขตชานเมือง โดยรถไฟของเจอาร์เวสต์จะให้บริการในชื่อรถไฟเครือข่ายมหานคร โดยมีสถานีใหญ่อยู่ตามเส้นทางรถไฟวงกลมของโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทรถไฟเอกชนอย่าง รถไฟฟ้าเคฮัน รถไฟฮันกีว รถไฟฟ้าฮันชิง รถไฟคินเต็ตสึ และรถไฟฟ้านังไก ร่วมให้บริการรับส่งผู้โดยสารในเขตเกียวโต โคเบะ โอซากะ นาระ โยชิโนะ อิเซะ และนาโงยะ รวมถึงวากายามะ และท่าอากาศยานนาชาชาติคันไซอีกด้วย

รถไฟใต้ดิน

แก้

ระบบรถไฟใต้ดินของโอซากะเป็นส่วนหนึ่งของระบบคมนาคมของโอซากะ โดยรถไฟใต้ดินของโอซากะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นรถไฟที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก รับส่งผู้โดยสารกว่า 912 ล้านคนต่อปี (ระบบรถไฟของโอซากะรับส่งผู้โดยสารกว่า 4 พันล้านคนต่อปี)

รถประจำทาง

แก้

รถประจำทางให้บริการในเขตเทศบาลนครโอซากะ และยังมีการให้บริการจากกลุ่มบริษัทฮันกีว ฮันชิน และคินเต็ตสึ ในพื้นที่ให้บริการรถไฟของแต่ละบริษัทด้วย ทำให้การคมนาคมในเมืองค่อนข้างครอบคลุม ค่าโดยสารของรถประจำทางอยู่ที่ประมาณ 200 เยน

วัฒนธรรมและวิถีชีวิต

แก้

แหล่งซื้อสินค้าและอาหาร

แก้

โอซากะเป็นแหล่งค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ มีร้านค้าส่ง 25,228 ร้านและร้านค้าปลีก 34,707 ร้านในปี พ.ศ. 2547[22] ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชูโอ (10,468 ร้าน) และเขตคิตะ (6,335 ร้าน) มีร้านค้าหลายรูปแบบตั้งแต่ "โชเต็งไก(商店街)" แบบดั้งเดิมไปจนถึงห้างสรรพสินค้าบนดินและใต้ดิน โชเต็งไกเป็นรูปแบบของร้านแบบดั้งเดิมที่พบได้ทั่วญี่ปุ่น และโอซากะมีโชเต็งไกที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่ เท็นจิมบาชิ ความยาว 2.6 กิโลเมตร ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่ของใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์

พื้นที่สินค้าอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญคือ เดนเดนทาวน์ เป็นแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการ์ตูน/อนิเมะที่สำคัญของโอซากะ คล้ายกับย่านอากิฮาบาระของโตเกียว ส่วนย่านอูเมดะเป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้าและห้างโยโดบาชิคาเมร่า อันเป็นห้างสรรพสินค้าด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่น

โอซากะ ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองอาหาร ทั้งอาหารญี่ปุ่นและจากนานชาติ โดยนักเขียนอย่างไมเคิล บูธ และฟรองซัวส์ ไซมอน นักวิจารณ์อาหารชื่อดังของหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร บอกว่า โอซากะเป็นเมืองหลวงด้านอาหารของโลก[23] ผู้ที่ชื่นชอบอาหารโอซากะคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เกียวโตซื้อเสื้อผ้าจนหมดตัว โอซากะซื้ออาหารจนหมดตัว"[24]

อาหารที่มีชื่อเสียงของโอซากะคือ โอโคโนมิยากิ ทาโกยากิ อูดง และโอชิซูชิ

แหล่งช็อปปิ้งแหล่งอื่นๆของโอซากะได้แก่

  • หมู่บ้านอเมริกา - สินค้าสำหรับวัยรุ่น
  • โดตมโบริ - ส่วนหนึ่งของนัมบะและจัดเป็นใจกลางเมือง
  • นัมบะ - พื้นที่ซื้อขายสินค้าหลัก ๆ ท่องเที่ยว และร้านอาหาร
  • ชินไซบาชิ - ของประดับ เสื้อผ้า และห้างสรรพสินค้า
  • อูเมดะ - โรงภาพยนตร์ เครื่องสำอาง และห้างสรรพสินค้า

เทศกาลประจำปี

แก้
 
เทศกาลเทนจิน

เทศกาลที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของโอซากะ คือ เทศกาลเทนจิน จัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคม

กีฬา

แก้

โอซากะเป็นเมืองของทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายทีม ได้แก่

นอกจากนี้ โอซากะยังมีจัดทัวร์นาเมนต์ซูโม่เป็นประจำทุกปี ที่ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ ในชื่อ ซังกัตสึบาโชะ (三月場所 sangatsu basho)

สถานที่ที่น่าสนใจ

แก้

สวนสนุก

แก้

สวนสาธารณะ

แก้
  • สวนนะกะโนะชิมะ
  • สวนปราสาทโอซากะ
  • สวนเทนโนจิ
  • สวนซุมิโยะชิ
  • อุตสึโบะ
  • สวนนะไง

วัด ศาลเจ้า และสถานที่ทางประวัติศาสตร์

แก้
 
ปราสาทโอซากะ สร้างโดยฮิเดโยชิ
  • ปราสาทโอซากะ
  • ศาลเจ้าซังโค
  • วัดชิเทนโนจิ - วัดพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นใน พ.ศ. 1136
  • ศาลเจ้าซุมิโยะชิ ไทชะ - ศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น สร้างในปี พ.ศ. 754

แหล่งบันเทิง

แก้
  • โดตมโบริ - แหล่งท่องเที่ยว อาหาร เป็นสัญลักษณ์ของโอซากะ
  • นัมบะและชินไซบาชิ - ตั้งอยู่ที่เขตชูโอ มักเรียกรวมว่าบริเวณมินามิ เป็นถนนช็อปปิง ร้านอาหาร บาร์ และแหล่งเที่ยวกลางคืนที่ไม่รู้จบ
  • ชินเซไก - อีกสัญลักษณ์หนึ่งของโอซากะ แหล่งอาหาร เครื่องดื่ม มีหอคอยซือเต็งกากุ และขายคะชิคะสึราคาย่อมเยา
  • เดนเดนทาวน์ - แหล่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้า อนิเมะ เทียบเท่ากับอากิฮาบาระของโตเกียว

การศึกษา

แก้
 
มหาวิทยาลัยโอซากะ

นครโอซากะให้บริการการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในการควบคุมดูแลของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซากะ

โอซากะเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมปลายจำนวนมาก มีจำนวนวิทยาเขตมากมายตั้งอยู่กระจายโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตชานเมือง โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโอซากะ ดังต่อไปนี้

  • มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University)
  • มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University)
  • มหาวิทยาลัยโอซากะซิตี (Osaka City University)
  • สถาบันเทคโนโลยีโอซากะ (Osaka Institute of Technology)
  • Osaka University of Economics
  • มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โมริโนะมิยะ (Morinomiya University of Medical Sciences)
  • Osaka Jogakuin College
  • Osaka Seikei University
  • Osaka University of Arts, Minamikawachi District, Osaka
  • Osaka University of Comprehensive Children education
  • Osaka University of Education
  • Soai University
  • Tokiwakai Gakuen University

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

แก้
 
หอคอยซือเทนคาคุ สัญลักษณ์ของโอซากะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เมืองแฝดและเมืองพี่น้อง

แก้

เมืองแฝดและเลืองพี่น้องของโอซากะมีดังนี้[25]

ความร่วมมือทางธุรกิจ

แก้

พันธมิตรความร่วมมือทางธุรกิจของนครโอซากะ มีดังนี้[30]

อ้างอิง

แก้
  1. Johnston, Eric (8 April 2019). "Osaka leaders win in elections to swap roles, but merger prospects unclear" – โดยทาง Japan Times Online.
  2. 国勢調査 平成27年国勢調査 大都市圏・都市圏 - ファイル - 統計データを探す. Official Statistics of Japan.
  3. Wada, Stephanie (2003). Tsuneko S. Sadao, Stephanie Wada, Discovering the Arts of Japan: A Historical Overview. ISBN 978-4-7700-2939-3. สืบค้นเมื่อ 2007-03-25.
  4. "史跡 難波宮跡, 財団法人 大阪都市協会 (Naniwa Palace Site, by Osaka Toshi Kyokai)" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-25.
  5. Peter G. Stone; Philippe G. Planel, บ.ก. (1999). The constructed past: experimental archaeology, education, and the public. London: Routledge in association with English Heritage. p. 68. ISBN 0-415-11768-2.
  6. "Osaka city, Historical Overview". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2009. สืบค้นเมื่อ March 21, 2009.
  7. "Osaka city". Osaka-info.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  8. Kingo Tamai, "Images of the Poor in an Official Survey of Osaka, 1923-1926." Continuity and Change 2000 15(1): 99-116. ISSN 0268-4160 Fulltext: Cambridge UP.
  9. Carola Hein, Jeffry M. Diefendorf, and Ishida Yorifusa, eds, Rebuilding Urban Japan after 1945. (2003). ISBN 978-1-349-64612-8.
  10. http://www.city.osaka.jp/keikakuchousei/toukei/G000/Gyh19/Gb00/Gb00.html[ลิงก์เสีย]
  11. "平年値(年・月ごとの値)". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ June 28, 2013.
  12. "World Weather Information Service - Osaka". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ June 28, 2013.
  13. Eiichi Watanabe; Dan M. Frangopol; Tomoaki Utsunomiya (2004). Bridge Maintenance, Safety, Management and Cost: Proceedings of the 2nd International Conference on Bridge Maintenance, Safety and Management. Kyoto, Japan: Taylor & Francis. p. 195. ISBN 978-90-5809-680-7.
  14. "2005 Population Census". Statistics Bureau, Director-General for Policy Planning (Statistical Standards) and Statistical Research and Training Institute, Japan. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  15. Prasad Karan, Pradyumna; Kristin Eileen Stapleton (1997). The Japanese City. University Press of Kentucky. pp. 79–81. ISBN 0-8131-2035-7.
  16. "大阪市データネット 市民経済計算 (Osaka City Datanet: Osaka City Economy)" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2007-03-25.
  17. http://www.mastercard.com/us/company/en/insights/pdfs/2008/MCWW_WCoC-Report_2008.pdf
  18. "III – Which are the largest city economies in the world and how might this change by 2020?" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 25, 2007. สืบค้นเมื่อ October 9, 2007.
  19. "Osaka aims to stem exodus of firms to Tokyo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2007. สืบค้นเมื่อ June 1, 2016.
  20. 経営に資する統合的内部監査. "大証との経営統合、ようやく決着 ジャスダック : J-CASTニュース". J-cast.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  21. "Worldwide Cost of Living survey 2009". Mercer.com. 2009-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  23. Booth, Michael (2009-07-13). "Osaka - the world's greatest food city". The Guardian.
  24. Shinbunsha, Asahi (1979). Japan Quarterly, Asahi Shinbunsha 1954. สืบค้นเมื่อ 2007-03-25.
  25. "Sister Cities, the official website of the Osaka city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
  26. "Pesquisa de Legislação Municipal - No 14471" [Research Municipal Legislation - No 14471]. Prefeitura da Cidade de São Paulo [Municipality of the City of São Paulo] (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 2013-08-23.
  27. Lei Municipal de São Paulo 14471 de 2007 WikiSource (โปรตุเกส)
  28. "Saint Petersburg in figures - International and Interregional Ties". Saint Petersburg City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  29. "Milano - Città Gemellate". Municipality of Milan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-10. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  30. "Business Partner Cities (BPC), the official website of Osaka city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้