มหาวิทยาลัยโอซากะ

มหาวิทยาลัยโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪大学โรมาจิOosaka Daigakuทับศัพท์: โอซากะไดงะกุ) หรือย่อว่า ฮันได (阪大) เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่จังหวัดโอซากะ มีพื้นที่แยกออกเป็น 4 วิทยาเขต ใน ซูอิตะ โทโยนากะ มิโน และ นางาโนชิมะ มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคือ ฮิเดกิ ยูกาวะ นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล

มหาวิทยาลัยโอซากะ
大阪大学
คติพจน์Live Locally, Grow Globally
ประเภทมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
สถาปนาค.ศ. 1931
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศ.ดร.โชจิโร นิชิโอะ
ปริญญาตรี15,563 คน [1]
บัณฑิตศึกษา7,999 คน [2]
ที่ตั้ง, ,
วิทยาเขต4
ฉายาฮันได (ญี่ปุ่น: 阪大โรมาจิHandai)
มาสคอต
จระเข้ Macchi
เว็บไซต์www.osaka-u.ac.jp

ประวัติ

แก้
 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโอซากะ

แบบแผนการเรียนแบบมหาวิทยาลัยนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ยุคเอโดะ เมื่อมีการก่อตั้งโรงเรียนพ่อค้า ในนาม ไคโตกุโด ((懐徳堂) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1724 และโรงเรียนสอนศิลปวิทยาการตะวันตกสำหรับซามูไร หรือ รังงะกุ (適塾) ในนาม เทกิจูกุ (適塾) โดยนายแพทย์โอกาตะ โคอันเมื่อปี ค.ศ. 1838 จิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยจึงดำรงไว้ซึ่งความเป็นมนุษยวิทยาที่ฝั่งรากอยู่ในโรงเรียนไคโตกุโด และการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวมทั้งการแพทย์ ที่อยู่บนพื้นฐานของโรงเรียนเทกิจูกุ

เมื่อปี ค.ศ. 1869 มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทยศาสตร์จังหวัดโอซากะขึ้นที่ใจกลางเมืองโอซากะ หลังจากนั้น ในปี 1919 ได้ยกสถานะขึ้นเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์จังหวัดโอซากะพร้อมกับเลื่อนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยโดยกฤษฎีกาก่อตั้งมหาวิทยาลัย (กฤษฎีกาหลวง เลขที่ 388 ปี 1918) จากนั้น วิทยาลัยถูกควบรวมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยหลวงโอซากะในปี ค.ศ. 1931 จัดเป็นมหาวิทยาลัยหลวงแห่งที่ 6 ของญี่ปุ่น หลังจากนั้นอีก 2 ปี วิทยาลัยเทคนิคโอซากะได้ถูกผนวกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย และกลายเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1947 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยโอซากะ และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ผลจากการปฏิรูประบบการศึกษาของรัฐบาลในปี ค.ศ. 1949 มหาวิทยาลัยโอซากะถูกควบรวมเข้ากับโรงเรียนมัธยมปลายนะนิวะและโรงเรียนมัธยมปลายโอซากะ และเริ่มต้นยุคใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วย 5 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ หลังจากนั้น ได้มีการก่อตั้งคณะใหม่ตามมาอีกมากมาย รวมทั้งคณะวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ (School of Engineering Science) ที่เป็นแหล่งศึกษาสู่ความเป็นเลิศทั้งด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จัดว่าเป็นคณะรูปแบบใหม่ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติของญี่ปุ่นด้วย นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งคณะมนุษยศาสตร์ที่เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณนาการทั้งจากสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์

และเมื่อครั้งที่มีการปฏิรูประบบการศึกษาของรัฐบาลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1953 มหาวิทยาลัยโอซากะก็มีการเรียนการสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยทั้งหมด 10 คณะ ตามมาด้วยการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยในคณะภาษาศาสตร์และวัฒนธรรม และวิทยาลัยนโยบายสาธารณะระหว่างประเทศ จนกระทั่งมีบัณฑิตวิทยาลัยครบ 12 คณะในปี 1994

ในปี ค.ศ. 1993 ได้มีการย้ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโอซากะจากวิทยาเขตนางาโนชิมะ ใจกลางเมืองโอซากะมายังวิทยาเขตซูอิตะ ตามมาด้วยการรวมเอาสถาบันต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในวิทยาเขตซูอิตะและโทโยนากะเข้ามาไว้ด้วยกัน จนกระทั่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 มหาวิทยาลัยโอซากะได้ผนวกรวมเข้ากับมหาวิทยาลัยโอซากะสาขาต่างประเทศศึกษา ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นหนึ่งในสองมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นที่มีวิทยาลัยต่างประเทศศึกษาอยู่ด้วย (อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยโตเกียวสาขาต่างประเทศศึกษา) นอกจากนี้ การผนวกรวมในครั้งนี้ยังทำให้มหาวิทยาลัยโอซากะเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอีกด้วย

วิทยาเขต

แก้
 
ประตูทางเข้าหลัก วิทยาเขตโทโยนากะ

มหาวิทยาลัยโอซากะ มีวิทยาเขตหลักอยู่ 3 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตซูอิตะ วิทยาเขตโทโยนากะ และวิทยาเขตมิโน

วิทยาเขตซูอิตะ เป็นสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างเมืองซูอิตะกับเมืองอิบารากิในจังหวัดโอซากะ ส่วนวิทยาเขตโทโยนากะ เป็นแหล่งศึกษาของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ตลอดทั้งปีการศึกษา ขณะที่วิทยาเขตมิโน เป็นแหล่งที่ตั้งของคณะต่างประเทศศึกษา สถาบันวิจัยภาษาของโลก และศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยโอซากะยังมีวิทยาเขตนางาโนชิมะ อันเป็นแหล่งที่ตั้งแหล่งแรกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโอซากะ เคยเป็นศูนย์กลางของคณะแพทยศาสตร์ก่อนที่จะย้ายไปวิทยาเขตซูอิตะในปี ค.ศ. 1993 จากนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 วิทยาเขตนางาโนชิมะถูกจัดเป็น"ศูนย์นะะโนะชิมะ" เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูล ชั้นเรียนของการศึกษาผู้ใหญ่ และสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆทั้งทางด้านวิชาการและทั่วไป

อันดับมหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยโอซากะ จัดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น จากการจัดอันดับต่อไปนี้

อันดับโดยทั่วไป

แก้

มหาวิทยาลัยโอซากะ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของญี่ปุ่นในปี 2009 และอันดับ 4 ในปี 2010 จากการจัดอันดับภายในประเทศ "Truly Strong Universities" โดยนิตยสารโทโย เคไซ[1] นอกจากนี้ จากการจัดอันดับโดยโรงเรียนสาธิตคะวะอิจุกุ มหาวิทยาลัยโอซากะก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น[2]

มหาวิทยาลัยโอซากะ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เทคโนโลยี และการแพทย์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก อันดับที่ 43 ในปี ค.ศ. 2009[3] ก่อนที่จะมาอยู่ที่อันดับที่ 55 ในปี ค.ศ. 2013 จากการจัดอันดับโดย QS World university rankings [4]

ขีดความสามารถด้านการวิจัย

แก้

มหาวิทยาลัยโอซากะ เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น [5] ความเป็นเลิศด้านการวิจัยนี้นับว่าโดดเด่นมากในสาขาชีววิทยาและชีวเคมี สาขาวัสดุศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี และสาขาภูมิคุ้มกันวิทยา

คณะและบัณฑิตวิทยาลัย

แก้

คณะ

แก้
  • อักษรศาสตร์ (文学部)
  • มนุษยศาสตร์ (人間科学部)
  • ต่างประเทศศึกษา (外国語学部)
  • นิติศาสตร์ (法学部)
  • เศรษฐศาสตร์ (経済学部)
  • วิทยาศาสตร์ (理学部)
  • แพทยศาสตร์ (医学部)
  • ทันตแพทยศาสตร์ (歯学部)
  • เภสัชศาสตร์ (薬学部)
  • วิศวกรรมศาสตร์ (工学部)
  • วิทยาศาสตร์วิศวกรรม (基礎工学部)

บัณฑิตวิทยาลัย

แก้
  • อักษรศาสตร์ (文学研究科)
  • มนุษยศาสตร์ (人間科学研究科)
  • นิติศาสตร์และการเมือง (法学研究科)
  • เศรษฐศาสตร์ (経済学研究科)
  • วิทยาศาสตร์ (理学研究科)
  • แพทยศาสตร์ (医学系研究科)
  • ทันตแพทยศาสตร์ (歯学研究科)
  • เภสัชศาสตร์ (薬学研究科)
  • วิศวกรรมศาสตร์ (工学研究科)
  • วิทยาศาสตร์วิศวกรรม (基礎工学研究科)
  • ภาษาและวัฒนธรรม (言語文化研究科)
  • นโยบายสาธารณะระหว่างประเทศ (国際公共政策研究科)
  • วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (情報科学研究科)
  • ชีววิทยาล้ำยุค (生命機能研究科)
  • ตุลาการศาสตร์ขั้นสูง (高等司法研究科)

สถาบันวิจัย

แก้
  • Research Institute for Microbial Diseases
  • Institute of Scientific and Industrial Research
  • Institute for Protein Research
  • Institute of Social and Economic Research
  • Joining and Welding Research Institute

โรงพยาบาล

แก้
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโอซากะ
  • โรงพยาบาลทันตกรรมมหาวิทยาลัยโอซากะ

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อันดับมหาวิทยาลัย

แก้
อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
QS WORLD (2019) 4(67)

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี 2019 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยโอซากะอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลก อันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 4 ของประเทศญี่ปุ่น[6]

อ้างอิง

แก้
  1. http://toyokeizai.net/articles/-/5286?page=1/ จัดอันดับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นโดยนิตยสารโทโญ เคไซ
  2. http://www.nigelward.com/top30.html จัดอันดับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นโดยโรงเรียนสาธิตคะวะอิจุกุ
  3. "Top 100 Universities". The Times Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  4. "Top 100 Universities". QS World University Rankings. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  5. http://thomsonreuters.com/content/science/pdf/ssr/Top_20_Japanese_Research_Insts.pdf เก็บถาวร 2012-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยในญี่ปุ่นโดย Thomson Reuters
  6. http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2019#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้