โดตมโบริ

ย่านในโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น

โดตมโบริ (ญี่ปุ่น: 道頓堀โรมาจิDōtonbori หรือ Dōtombori) เป็นย่านการท่องเที่ยวและการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครโอซากะ มีลักษณะเป็นถนนเส้นเดียวเลียบขนานกับคลองโดตมโบริตั้งแต่สะพานโดตมโบริบะชิไปจนถึงสะพานนิปปงบะชิในเขตนัมบะของโอซากะ โดตมโบริเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจากการที่มีโรงภาพยนตร์ในสมัยโบราณ (ปัจจุบันไม่มีหลงเหลือแล้ว) มีร้านค้า ร้านอาหาร และป้ายโฆษณานีออนที่โด่งดัง โดยเฉพาะป้ายโฆษณานีออนของกูลิโกะ บริษัทผลิตขนมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น

โดตมโบริ

道頓堀
มุมมหาชนของโดตมโบริในโอซากะ
มุมมหาชนของโดตมโบริในโอซากะ
แผนที่
ที่ตั้งของโดตมโบริ
พิกัด: 34°40′7.21″N 135°30′11.18″E / 34.6686694°N 135.5031056°E / 34.6686694; 135.5031056
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จังหวัด โอซากะ
เทศบาล โอซากะ
เขตเขตชูโอ
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด0.105808622 ตร.กม. (0.040852937 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 มีนาคม ค.ศ. 2019)[2]
 • ทั้งหมด431 คน
 • ความหนาแน่น4,100 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสไปรษณีย์542-0077 (โจเมะ 1 ตะวันออก)[3]
542-0071 (ที่เหลือ)[4]
รหัสพื้นที่06 (เขตมหานครโอซากะ)[5]
ทะเบียนพาหนะなにわ (นานิวะ)
คลองโดตมโบริในช่วงกลางวัน

ประวัติศาสตร์ แก้

 
โดตมโบริในทศวรรษ 1930

โดตมโบริ เป็นถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ย้อนกลับไปตั้งแต่ ค.ศ. 1612 เมื่อ ยาซูอิ โดตง พ่อค้าท้องถิ่นเริ่มขุดขยายแม่น้ำอูเมซุที่ไหลจากตะวันออกไปตะวันตก หวังจะช่วยเพิ่มรายได้จากการค้าขายในแถบนั้นด้วยการขุดคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำสองสายย่อยที่ไหลจากเหนือลงใต้ของแม่น้ำโยโดะ โครงการของพ่อค้าโดตงต้องหยุดชะงักไปเมื่อเสียชีวิตจากการรบในศึกการล้อมโอซะกะเพื่อปกป้องโทโยโตมิ ฮิเดโยริ แต่หลานชายของพ่อค้าโดตงได้สานต่อเจตนารมณ์และขุดคลองจนสำเร็จในปี ค.ศ. 1615 ทาดากิ มัตสึไดระ ผู้ปกครองคนใหม่ประจำปราสาทโอซากะจึงได้ตั้งชื่อคลองและถนนเลียบคลองว่า "โดตมโบริ" (โบริ มาจากคำว่า โฮริ ที่แปลว่า "คลอง" หรือ "คูเมือง") แม้ว่าชายที่ชื่อ "โดตง" จะเสียชีวิตไปตั้งแต่ศึกระหว่างสองผู้ปกครองญี่ปุ่นในครานั้น

ในปี ค.ศ. 1621 รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้วางโครงสร้างเมืองใหม่ ออกแบบให้โดตมโบริเป็นแหล่งบันเทิงของโอซากะ จากนั้นใน ค.ศ. 1662 ก็มีโรงละครคาบูกิและโรงละครบุนรากุตั้งขึ้น ตลอดจนโรงละครหุ่นทาเกดะ คารากูริ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ร้านอาหารและคาเฟ่ต่างก็ทยอยเปิดเพื่อรองรับการหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวตลอดจนนักท่องราตรีในยามค่ำคืนของโอซากะ

โรงละครต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และปัจจุบันก็ไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้ว

จุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แก้

  • ป้ายหนุ่มกูลิโกะ: เริ่มติดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1935 เป็นป้ายไฟนีออนรูปนักกรีฑาวิ่งบนลู่วิ่งอันเป็นสัญลักษณ์ของกูลิโกะ สัญลักษณ์นี้ถูกเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง เช่น ช่วงฟุตบอลโลก 2002[โปรดขยายความ] และปัจจุบัน[เมื่อไร?]ก็เปลี่ยนให้เป็นการแสดงการสนับสนุนทีมเบสบอล ฮันชิง ไทเกอร์ส ที่โด่งดังของเมือง
  • คูอิดาโอเระ ทาโร: หน้าร้านคูอิดาโอเระ (Cui-daore) มีตุ๊กตาจักรกลรูปตัวตลกตีกลอง นำมาแสดงเพื่อเรียกลูกค้าเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1950 ปัจจุบันร้านอาหารได้ปิดไปแล้ว แต่ตุ๊กตาจักรกลยังตั้งอยู่ใกล้บริเวณเดิม
  • ปูยักษ์คานิโดรากุ: [6] ปูจักรกลยักษ์ขนาด 6 เมตรครึ่ง ตั้งอยู่หน้าร้านอาหารคานิโดรากุ สามารถขยับแขนและลูกตาได้ ติดตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 สีสันโดดเด่นโดยเฉพาะเวลากลางคืน

อ้างอิง แก้

  1. "大阪府大阪市中央区の町丁・字一覧". 人口統計ラボ. สืบค้นเมื่อ 2019-10-04.
  2. "住民基本台帳人口・外国人人口". 大阪市. 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 2019-10-04.
  3. "道頓堀の郵便番号". 日本郵便. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  4. "道頓堀の郵便番号". 日本郵便. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  5. "市外局番の一覧". 総務省. สืบค้นเมื่อ 2019-06-24.
  6. Dourakuคานิโดรากุ