สนามกีฬาฮันชิงโคชิเอ็ง หรือชื่อเดิมว่า สนามกีฬาโคชิเอ็ง (ญี่ปุ่น: 阪神甲子園球場โรมาจิHanshin Kōshien Kyūjō) เป็นสนามเบสบอล ตั้งอยู่ในเมืองนิชิโนมิยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดใช้เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 จุคนได้ 53,000 คน โดยเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่อรับรองการแข่งขันเบสบอล ของโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย ในเดือนสิงหาคมและมีนาคม

สนามกีฬาฮันชิงโคชิเอ็ง เมืองนิชิโนมิยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น

ในปี พ.ศ. 2479 ได้มาเป็นสนามกีฬาประจำทีมเบสบอล ฮันชิง ไทเกอร์ ประจำจังหวัดเฮียวโงะ และได้เปลี่ยนชื่อสนามมาเป็น สนามกีฬาฮันชิงโคชิเอ็ง ลักษณะสถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพลมาจาก สนามโปโลกราวส์ ในนครนิวยอร์ก

ผู้ตีโฮมรันระดับตำนานอย่างเบบ รูธ ได้เล่นในรายการแข่งขันที่โคชิเอ็งในการทัวร์ประเทศญี่ปุ่นของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1934 และได้มีการมอบแผ่นประกาศเกียรติคุณเพื่อระลึกถึงการมาเยือนที่สนามกีฬาแห่งนี้[1]

การซ่อมแซมในศตวรรษที่ 21 แก้

เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ทำให้เกิดรอยร้าวและส่วนหนึ่งของอัฒจันทร์ได้ทรุดตัวลง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้มีแผนทำคอนกรีตผิวหน้าให้ดีขึ้น

การปรากฏในนิยาย แก้

โคชิเอ็งมักปรากฏในมังงะซีรีส์เบสบอลเป็นส่วนใหญ่หลายเรื่อง ซึ่งประกอบด้วย ทัช, ครอสเกม และเอชทู โดยมิตสึรุ อาดาจิ และในผลงานของนักเขียนอื่น ๆ เช่น Big Windup! ของอาซะ ฮิงูจิ และมือใหม่ไฟแรง โดยมาซาโนริ โมะริตะ รวมถึงมีการกล่าวถึงในถนนนักสู้สู่ทีมเบสบอล ที่โคชิเอ็งเป็นเป้าหมายของทีมเบสบอลมัธยมปลายทุกทีมที่ต้องการไปให้ถึง ชื่อของสนามแห่งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในอนิเมะปรินเซสไนน์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 2 ชั่วโมงในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนพิเศษที่มีชื่อว่าปาฏิหาริย์แห่งโคชิเอน ไม่ยอมแพ้ปิศาจที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสนามกีฬา ตลอดจนไลท์โนเวลกับอนิเมะฉบับดัดแปลงอย่างสึซึมิยะ ฮารุฮิ (โดยเฉพาะตอนเสียงถอนหายใจของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ตอนที่ 5) โดยมีคำอธิบายของฮารุฮิที่ว่าทำไมเธอถึงค้นหาพลังเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับเบสบอล ซึ่งเธอได้เข้าสำรวจพร้อมกับครอบครัวของเธอในโคชิเอ็ง สนามกีฬาแห่งนี้ยังปรากฏในฐานะฉากเกมต่อสู้ เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '97 โดยมีผู้ชมอย่างเนืองแน่นและได้รับการแปลงเป็นสังเวียนศึก KOF และมีปรากฏในมังงะซีรีส์เบสบอลเรื่อง ace of diamond อีกด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Povich, Shirley (February 5, 2005). "Legend, Truth Mix With Ruth: 100th Anniversary of Babe's Birth". Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้