จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ

จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ (ญี่ปุ่น: 後花園天皇) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 102 ตามประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์[1] รัชสมัยของพระองค์กินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1428 ถึง ค.ศ. 1464[2]

จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 102
ครองราชย์
30 สิงหาคม ค.ศ. 1428 - 21 สิงหาคม ค.ศ. 1464
ราชาภิเษก21 มกราคม ค.ศ. 1430
ไดโจไซ3 ธันวาคม ค.ศ. 1430
พระนามหลังสวรรคตโกะ-ฮานาโซโนะอิง (後花園院)
จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ (後花園天皇)
ถวายพระนามเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1471
รัชกาลก่อนหน้าโชโก
รัชกาลถัดไปโกะ-สึจิมิกาโดะ

พระราชสมภพ10 กรกฎาคม ค.ศ. 1419
พระบรมนามาภิไธยฮิโกฮิโตะ
สวรรคต18 มกราคม ค.ศ. 1471
ฝังพระบรมศพ23 มกราคม ค.ศ. 1471
สุสานหลวงสุสานหลวงโนะชิ โนะ ยะมะกุนิ
พิธีฉลองการเจริญวัย24 มกราคม ค.ศ. 1433
พระราชบิดาเจ้าชายซะดะฟุซะ เจ้าฟุชิมิ
พระราชมารดานิวาตะ ซาชิโกะ
พระสนมโออิโนะมิกะโดะ โนะบุโกะ
พระราชโอรส-ธิดาเจ้าชายฟูซาฮิโตะ , จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ

จักรพรรดิในศตวรรษที่ 15 พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามตามจักรพรรดิฮานาโซโนะในศตวรรษที่ 14 และ โกะ (後) แปลว่า "ภายหลัง" หรือ "ยุคหลัง" ดังนั้นพระองค์จึงถูกเรียกว่า "จักรพรรดิฮานาโซโนะยุคหลัง"

พระราชประวัติ แก้

ก่อนจะขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิโกฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 彦仁親王)[3]

เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน เจ้าชายฟุชิมิ โนะ มิยะ ซาดาฟูสะ (伏見宮定房親王) ส่วนพระราชมารดาคือ นิวาตะ ซาชิโกะ (庭田幸子)

ซึ่งเจ้าชายซาดาฟูสะะเป็นผู้นำราชสกุล ฟุชิมิ โนะ มิยะ องค์ที่ 3 ซึ่งราชสกุลนี้เป็นสาขาย่อยของราชสกุล จิเมียวอิง ที่สืบเชื้อสายจาก จักรพรรดิฟุชิมิ

พระราชบุตร แก้

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ แก้

เนื่องจากจักรพรรดิองค์ก่อนคือ จักรพรรดิโชโกไม่มีพระราชโอรสไว้เป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ อดีตจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึจำเป็นต้องรักษาราชบัลลังก์ของสายราชสกุลจิเมียวอิงจากสายราชสกุลไดกากูจิ โดยก่อนที่จักรพรรดิโชโกจะสวรรคต พระองค์รับเจ้าชายจากราชสกุลฟุชิมิ โนะ มิยะมาเป็นพระราชโอรสบุญธรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิโชโก

  • 30 สิงหาคม ค.ศ. 1428 (วันที่ 20 เดือน 7 ปี โชโช ที่ 1) : ปีที่ 17 ในรัชสมัย จักรพรรดิโชโก (称光天皇十七年) องค์จักรพรรดิสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 27 พรรษาเท่านั้น และสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ (高御座) โดยพระโอรสบุญธรรมของพระองค์[4]
  • 7 กันยายน ค.ศ. 1428 (วันที่ 28 เดือน 7 ปี โชโช ที่ 1): เจ้าชายฮิโกฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ (即位) อย่างเป็นทางการ จักรพรรดิองค์ใหม่มีพระชนมายุเพียง 10 พรรษา[5]
  • 14 เมษายน ค.ศ. 1429 (วันที่ 9 เดือน 3 ปี เอเคียว ที่ 1): มินาโมโตะ โนะ โยชิโนบุได้ขึ้นเป็นโชกุนคนที่ 6 แห่ง รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ เป็นที่รู้จักกันในนาม อาชิกางะ โยชิโนริ[6]
  • ค.ศ. 1433 (เดือน 6 ปี เอเคียว ที่ 5): จักรพรรดิจีนในขณะนั้นคือจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ มีพระราชสาส์นประทานตำแหน่งให้โชกุนโยชิโนริเป็น กษัตริย์แห่งญี่ปุ่น[7]
  • 1 ธันวาคม ค.ศ. 1433 (วันที่ 20 เดือน 10 ปี เอเคียว ที่ 5): ไดโจโฮโอโกะ-โคมัตสึ สวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 61 พรรษา
  • 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1441 (วันที่ 24 เดือน 6 ปี กะกิสึ ที่ 1): โชกุนโยชิโนริถูกสังหารเมื่ออายุเพียง 48 ปี โดยอากามัตสึ มิตสึซูเกะ และหลังจากนั้นไม่นาน บุตรชายวัย 8 ปีของเขาคืออาชิกางะ โยชิคัตสึ ได้รับการประกาศให้เป็นโชกุนคนใหม่
  • ค.ศ. 1441 (เดือน 9 ปี กะกิสึ ที่ 1): มิตสึซุเกะมือสังหารโชกุนโยะชิโนะริฆ่าตัวตาย
  • 16 สิงหาคม ค.ศ. 1442 (วันที่ 21 เดือน 7 ปี กะกิสึ ที่ 3): โชกุน โยชิคัตสึเสียชีวิตกะทันหันเมื่ออายุเพียง 10 ปี เขาชอบขี่ม้า แต่เขาได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการตกจากหลังม้า และเสียชีวิตด้วยเหตุนี้ เขาเป็นโชกุนเพียงสามปี โยชินาริ น้องชายวัย 8 ปีของเขาจึงได้รับการเสนอชื่อเป็นโชกุน
  • 16 ตุลาคม ค.ศ. 1442 (วันที่ 24 เดือน 9 ปี กะกิสึ ที่ 3): กลุ่มกบฏติดอาวุธบุกทะลวงการป้องกันวัง จนเกิดเพลิงไหม้และชายคนหนึ่งในกลุ่มกบฏพยายามลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ แต่จักรพรรดิก็หลบหนีไปได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บุกรุกก็สามารถขโมยไตรราชกกุธภัณฑ์ ได้แก่ กระจก ดาบ และอัญมณี ไปได้ ต่อมายามพบกระจกและนักบวชพบดาบ แต่ไม่ทราบตำแหน่งของอัญมณีจนกระทั่งถึงเดือน 8 ของศักราชบุนอัน (ค.ศ.1444)
  • ค.ศ. 1451 (ปีโฮโตกุที่ 3, เดือน 7): คณะผู้แทนจากหมู่เกาะรีวกีวเดินทางมาถึงเฮอังเกียว (เกียวโต) เป็นครั้งแรก
  • ค.ศ. 1451 (ปีโฮโตกุที่ 3, เดือน 8): โชกุนโยชินาริ ถวายจดหมายถึงจักรพรรดิจีนในขณะนั้นคือจักรพรรดิจิ่งไท่
  • ค.ศ. 1453 (เดือน 6, ปี เคียวโตกุ ที่ 2): ชื่อของโชกุน มินาโมโตะ โนะ โยชินาริ ถูกเปลี่ยนเป็นอาชิกางะ โยชิมาซะ
  • 21 สิงหาคม ค.ศ. 1464 (วันที่ 19 เดือน 7, ปี คังโช ที่ 5): ปีที่ 36 ในรัชสมัยจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ (後花園天皇三六年) องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายนารูฮิโตะ พระราชโอรสองค์โปรด ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ (後土御門天皇)

จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการของไดริ แต่พระราชอำนาจที่แท้จริงของราชสำนักเป็นของพระปิตุลา (อา) ของพระองค์คืออดีตจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึที่ยังคงว่าราชการในวัดต่อไปจนกระทั่งอดีตจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึสวรรคตในปี ค.ศ. 1433 ต่อจากนี้จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะก็ปกครองด้วยพระองค์เองเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่งสละราชบัลลังก์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1464 การปกครองทางอ้อมแบบการว่าราชการในวัดก็กลับมาอีกครั้ง

  • 18 มกราคม ค.ศ. 1471 (วันที่ 27 เดือน 12 ปี บุนเม ที่ 2) : ไดโจเท็นโน โกะ-ฮานาโซโนะ สวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 52 พรรษา
  • 23 มกราคม ค.ศ. 1471 (วันที่ 3 เดือน 1 ปี บุนเม ที่ 3) : ได้มีการฝังพระศพอดีตจักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะไว้ที่พระราชสุสาน

แผนผังจักรพรรดิญี่ปุ่น แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 後花園天皇 (102); retrieved 2013-8-28.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 331–351.
  3. Titsingh, p. 331.
  4. Titsingh, p. 330.
  5. Titsingh, p. 332.
  6. Titsingh, p. 333.
  7. Titsingh, p. 335

อ้างอิง แก้