จักรพรรดิโชเก (ญี่ปุ่น: 長慶天皇โรมาจิChōkei-tennō; ค.ศ. 1343 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1394) เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 98 ตามประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ ครองราชบัลลังก์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1368 ก่อนสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1383 พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายยูตะนาริ (寛成親王)

จักรพรรดิโชเก
長慶天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 1368 – 1383
ก่อนหน้าโกะ-มูรากามิ
ถัดไปโกะ-คาเมยามะ
โชกุนอาชิกางะ โยชิมิตสึ
ประสูติค.ศ. 1343
ยูตานาริ (ญี่ปุ่น: 寛成โรมาจิYutanari)
สวรรคต27 สิงหาคม ค.ศ. 1394(1394-08-27) (50–51 ปี)
ฝังพระศพซางะ โนะ มิซาซางิ (嵯峨東陵)
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโชเก (長慶院 หรือ 長慶天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ
พระราชมารดาคากิมง-อิง

จักรพรรดิโชเกครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1383 โดยเป็นสมาชิกจาก ราชสำนักใต้ แห่ง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้

ราชตระกูล

แก้

พระราชบิดาของพระองค์คือจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ และพระมารดาของพระองค์อาจเป็นคากิมง-อิง[1]

  • จักรพรรดินี (ชูงู): ธิดาในไซอนจิ คินชิเงะ
    • เกียวโงะ (行悟; 1377–1406)
  • เนียวโงะ: โนริโกะ (ไม่ทราบบิดาและนามสกุล)
    • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโทกิยาซุ (世泰親王)
  • ไม่ทราบ
    • ไคมนจิ โคโชะ (海門承朝; 1374–1443)
    • ซนเซ (尊聖; 1376–1432),
    • พระราชโอรส: ผู้ก่อตั้งตระกูลทามางาวะ (玉川宮)

พระราชประวัติ

แก้

วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1368 (โชเฮปีที่ 23 วันที่ 11 เดือน 3)[2] ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ พระองค์ได้สืบราชบัลลังก์ในบ้านของหัวหน้านักบวชที่ศาลเจ้าซูมิโยชิ ในเขตซูมิโยชิ โอซากะ ที่ราชสำนักภาคใต้ได้ใช้เป็นเมืองหลวง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอิทธิพลของราชสำนักใต้กำลังลดลง การสืบราชบัลลังก์ของพระองค์จึงยังคงมีข้อสงสัยอยู่บ้างจนถึงยุคไทโช ในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยของจักรพรรดิไทโช การสืบราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโชเกจึงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการและถูกสอดแทรกเข้าไปอยู่ในสายราชสกุลหลัก

จักรพรรดิโชเกยืนกรานตลอดรัชสมัยของพระองค์ในการต่อสู้กับราชสำนักเหนือ แต่มันก็สายเกินไปแล้ว ในปี 1383 หรือ 1384 พระองค์สละราชบัลลังก์ให้จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ พระอนุชาของพระองค์

หลังจากการรวมกันอีกครั้งของราชสำนักคู่อริ พระองค์ก็เสด็จกลับไปยังโยชิโนะ ที่ซึ่งพระองค์สวรรคตเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1394 ดวงพระวิญญาณของจักรพรรดิโชเกได้รับการสักการะที่ศาลเจ้าชิโชในโทสึงาวะ[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hamaguchi 1983, p. 588.
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 158.
  3. Ponsonby-Fane, p. 128.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Hamaguchi, Hiroaki (1983). "Kaki Mon'in". Nihon Koten Bungaku Daijiten 日本古典文学大辞典 (ภาษาJapanese). Vol. 1. Tokyo: Iwanami Shoten. p. 588. OCLC 11917421.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac, ed. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 251800045