จักรพรรดิซูโก
จักรพรรดิซูโก (ญี่ปุ่น: 崇光天皇; โรมาจิ: Sukō Tennō; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1334 – 31 มกราคม ค.ศ. 1398) เป็นจักรพรรดิแห่งราชสำนักเหนือองค์ที่ 3 ในสมัยราชสำนักเหนือ-ใต้ของญี่ปุ่น นักวิชาการก่อนยุคเมจิรายงานว่า พระองค์ครองราชย์ใน ค.ศ. 1348 ถึง 1351[1]
จักรพรรดิซูโก 崇光天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิทางเหนือองค์ที่ 3 | |||||
ครองราชย์ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1348 – 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351 | ||||
ราชาภิเษก | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1350 | ||||
ก่อนหน้า | โคเมียว | ||||
ถัดไป | โกะ-โคงง | ||||
ประสูติ | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1334 | ||||
สวรรคต | มกราคม 31, 1398 | (63 ปี)||||
ฝังพระศพ | ไดโกเมียวจิ โนะ มิซาซางิ (大光明寺陵) | ||||
พระราชบุตร | ดูรายพระนาม | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคงง | ||||
พระราชมารดา | ซันโจ ชูชิ [ja] |
พระราชประวัติ
แก้จักรพรรดิซูโกมีพระนามเดิมว่า มาซูฮิโตะ (益仁) ก่อนที่ในภายหลังจะเปลี่ยนเป็น โอกิฮิโตะ (興仁)
พระองค์มีพระราชบิดานามว่าจักรพรรดิโคงง ส่วนจักรพรรดิโคเมียว ผู้ครองราชย์องค์ก่อนหน้า เป็นพระปิตุลาที่มีศักดิ์เป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโคงง
- นางกำนัล: นิวาตะ (มินาโมโตะ) โมโตโกะ (庭田(源)資子; สวรรคต ค.ศ.1394) ธิดาในนิวาตะ ชิเงโมโตะ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายฟูชิมิ-โนะ-มิยะ โยชิฮิโตะ (1351–1416; 伏見宮栄仁親王) (ผู้ก่อตั้งราชตระกูลฟูชิมิ-โนะ-มิยะ อนุวงศ์ของราชวงศ์ญี่ปุ่นและรวมไว้ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ญี่ปุ่นจนถึง ค.ศ. 1947)
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายนักบวชโคชิง (1358–1391; 興信法親王)
- นางข้าหลวง: อันฟูกุ-โดโนะ-ไนชิ (安福殿女御)
- พระมเหสี: ซันโจ-โนะ-สึโบเนะ (三条局)
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงซูอิโฮะ (瑞宝女王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายนักบวชโคโจะ (弘助法親王)
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิซูโก
แก้จักรพรรดิซูโกครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1348 ถึง 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351[2]
ใน ค.ศ. 1348 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร ในปีเดียวกัน พระองค์กลายเป็นจักรพรรดิฝ่ายเหนือหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโคเมียว แม้ว่าจักรพรรดิโคงงทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิว่าราชการในวัด ความเป็นศัตรูระหว่างอาชิกางะ ทากาอูจิกับอาชิกางะ ทาดาโยชิเริ่มต้นขึ้น และใน ค.ศ. 1351 ทากาอูจิหันมาสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักฝ่ายใต้ บีบบังคับให้จักรพรรดิซูโกสละราชสมบัติ โดยมีจุดประสงค์รวมสายจักรพรรดิให้เป็นหนึ่งอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ความสงบสุขก็พังทลายลงในไม่ช้า และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1352 ทางราชวงศ์ฝ่ายใต้อพยพออกจากเกียวโต โดยลักพาตัวจักรพรรดิที่เกษียณอายุราชการ (ฝ่ายเหนือ) ได้แก่ จักรพรรดิโคงงและจักรพรรดิโคเมียว รวมถึงจักรพรรดิซูโกและมกุฎราชกุมารทาดาฮิโตะไปด้วย เนื่องด้วยเหตุนี้ ทำให้ทาดาอูจิแต่งตั้งให้เจ้าชายอิยาฮิโตะ พระราชโอรสองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิโคงง ขึ้นเป็นจักรพรรดิ (ฟูชิมิ-โนะ-มิยะองค์แรก)[2]: 88, 93
หลังเสด็จกลับเกียวโตใน ค.ศ. 1357 เจ้าชายโยชิฮิโตะ พระราชโอรสในจักรพรรดิซูโก เริ่มทรงงานกับบากูฟุเพื่อให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร แต่ทางบากูฟุตัดสินให้พระราชโอรสของจักรพรรดิโกะ-โคงง (จักรพรรดิโกะ-เอ็นยูในอนาคต) เป็นมกุฎราชกุมารแทน
จักรพรรดิซูโกสวรรคตใน ค.ศ. 1398 แต่เมื่อ ค.ศ. 1428 30 ปีหลังการสวรรคตของจักรพรรดิซูโก ฮิโกฮิโตะ (彦仁) พระราชปนัดดาที่เป็นพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิโชโก ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ เป็นการเติมเต็มพระราชประสงค์ของจักรพรรดิซูโก ซูโกได้รับการประดิษฐานอยู่ที่ ไดโกเมียวจิ โนะ มิซาซางิ (大光明寺陵) ในเขตฟูชิมิ เกียวโต
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิซูโก[3] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 296–301.
- ↑ 2.0 2.1 Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334-1615. Stanford University Press. p. 82,86. ISBN 0804705259.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 4 December 2020.
ข้อมูล
แก้- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac, ed. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.