จักรพรรดิโกะ-โคงง
จักรพรรดิโกะ-โคงง (ญี่ปุ่น: 後光厳天皇; โรมาจิ: Go-Kōgon-tennō; 23 มีนาคม ค.ศ. 1338 – 12 มีนาคม ค.ศ. 1374) เป็นจักรพรรดิแห่งราชสำนักเหนือองค์ที่ 4 ในช่วงยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ นักวิชาการยุคก่อนเมจิบันทึกว่า รัชสมัยของพระองค์อยู่ในช่วง ค.ศ. 1352 ถึง 1371[1]
จักรพรรดิโกะ-โคงง 後光厳天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิราชสำนักเหนือองค์ที่ 4 | |||||
ครองราชย์ | 25 กันยายน ค.ศ. 1352 – 9 เมษายน ค.ศ. 1371 | ||||
ราชาภิเษก | 21 มกราคม ค.ศ. 1354 | ||||
ก่อนหน้า | ซูโก | ||||
ถัดไป | โกะ-เอ็นยู | ||||
พระราชสมภพ | 23 มีนาคม ค.ศ. 1338 | ||||
สวรรคต | 12 มีนาคม ค.ศ. 1374 | (35 ปี)||||
ฝังพระศพ | ฟูกากูซะ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (深草北陵) เกียวโต | ||||
คู่อภิเษก | ฮิโรฮาชิ นากาโกะ | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | จักรพรรดิโกะ-เอ็นยู | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคงง | ||||
พระราชมารดา | ซันโจ ฮิเดโกะ [ja] | ||||
ลายพระอภิไธย | ![]() |
พระนามของพระองค์นั้นนำมาจากพระนามของจักรพรรดิโคงง พระราชบิดาผู้เป็นจักรพรรดิแห่งยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ กับคำว่า โกะ- (後) เข้าไปทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิโคงงยุคหลัง หรือ จักรพรรดิโคงงที่ 2
พระราชประวัติ
แก้พระองค์มีพระนามส่วนพระองค์ว่า อิยาฮิโตะ (彌仁)
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิโคงง และเป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกันกับจักรพรรดิซูโก พระราชมารดามีพระนามว่าฮิเดโกะ (秀子) ธิดาในซันโจ คินฮิเดะ
- นางกำนัล: ฮิโรฮาชิ (ฟูจิวาระ) นากาโกะ (廣橋(藤原)仲子; 1336/9-1427) ภายหลังเป็น ซูเก็นมนอิง (崇賢門院) ธิดาในฮิโรฮาชิ คาเน็ตสึนะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายโอฮิโตะ (緒仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโกะ-เอ็นยู
- พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายนักบวชเอโจะ (1362–1437; 永助入道親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายนักบวชเกียวนิง (堯仁法親王; 1363–1430)
- พระราชโอรสองค์ที่ 12: เจ้าชายนักบวชเกียวโชะ (堯性法親王; 1371–1388)
- พระมเหสี: อูเอมง-โนะ-ซูเกะ โนะ สึโบเนะ (右衛門佐局)
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายนักบวชเรียวนิง (1355–1370; 亮仁入道親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายนักบวชเกียวโจะ (行助法親王; 1360–1386)
- พระราชโอรส: (1361–1369)
- พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายนักบวชคากูโซ (1363–1390; 覺増法親王)
- พระมเหสี: ซาเกียวไดบุ-โนะ-สึโบเนะ (左京大夫局) ธิดาในโฮอิง โชไก
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงฮารูโกะ (สวรรคต ค.ศ. 1390; 治子内親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายนักบวชคากูเอ (覺叡法親王; 1361–1377)
- พระราชโอรสองค์ที่ 8: เจ้าชายนักบวชโดเอ็ง (道圓入道親王; 1364–1385)
- พระราชโอรสองค์ที่ 11: เจ้าชายนักบวชโชโจะ (聖助法親王; ประสูติ ค.ศ. 1371)
- พระมเหสี: โชนางง-ไนชิ (少納言内侍) ธิดาในทาจิบานะ ดนะ โมจิชิเงะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 10: เจ้าชายนักบวชเมียวโช (1367–1396; 明承法親王)
- จากสตรีไม่ทราบนาม
- พระราชโอรสองค์ที่ 9: เจ้าชายนักบวชคันชุ (1366–1401; 寬守法親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 13: เจ้าชายนักบวชคันเกียว (1373–1405; 寬教入道親王)
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงเค็นชิ (見子內親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 14: ?
- พระราชธิดา: เจ้าหญิงชูนิง (秀仁女王)
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-โคงง
แก้จักรพรรดิโกะ-โคงงครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1352 - 9 เมษายน ค.ศ. 1371
- 23 มีนาคม ค.ศ. 1338 (วันที่ 2 เดือน 3 ปี เก็งมู ที่ 5) : เจ้าชายอิยะฮิโตะประสูติโดยเป็นพระราชโอรสองค์แรกภายหลังการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโคงงพระราชบิดา
- 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351 (วันที่ 7 เดือน 11 ปี โชเฮ ที่ 3) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยจักรพรรดิซุโกพระองค์ถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ทำให้เจ้าชายอิยะฮิโตะได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-โคงง
- 25 กันยายน ค.ศ. 1352 (วันที่ 19 เดือน 8 ปี โชเฮ ที่ 4) : จักรพรรดิโกะ-โคงงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเคียวโตะ
- 9 เมษายน ค.ศ. 1371 (วันที่ 23 เดือน 3 ปี โออัง ที่ 4) : ปีที่ 18 ในรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-โคงง พระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายโอะฮิโตะ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู โดยอดีตจักรพรรดิโกะ-โคงงเป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) และ ว่าราชการในวัด กุมพระราชอำนาจเหนือพระราชโอรส
- 12 มีนาคม ค.ศ. 1374 (วันที่ 1 เดือน 4 ปี โฮอัง ที่ 7) : อดีตจักรพรรดิโกะ-โคงงประชวรสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 35 พรรษา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 302–309.
ข้อมูล
แก้- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac, ed. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.