สมัญญานาม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สมัญญานาม หรือ ชื่อเฮ่า คือนามที่แต่งตั้งให้บุคคลที่เสียชีวิตไปเพื่อบ่งบอกถึงการกระทำในช่วงที่มีชีวิตอยู่[1]
สมัญญานาม | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 諡號 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 谥号 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | thụy hiệu | ||||||||
จื๋อฮ้าน | 諡號 | ||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||
ฮันกึล | 시호 | ||||||||
ฮันจา | 諡號 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||
คันจิ | 諡号 | ||||||||
คานะ | しごう | ||||||||
|
สำหรับยุคราชวงศ์จักรวรรดิ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิหรือสมเด็จพระจักรพรรดินีเสด็จสวรรคต เหล่าราชบัณฑิตก็จะรวมตัวกันประชุมเพื่อคัดสรรพระราชสมัญญานามและเมื่อมีฉันทามติก็จึงนำขึ้นทูลเกล้าถวายแด่องค์จักรพรรดิในรัชกาลปัจจุบันเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นชอบ แล้วจึงประกาศใช้
สำหรับพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ก็จะได้รับพระราชทานพระสมัญญานามจากสมเด็จพระจักรพรรดิ ตัวอย่างเช่น กงชินอ๋อง (恭亲王) ทรงได้รับพระราชทานพระสมัญญานามว่า จง (忠) แปลว่า ภักดี, ซื่อสัตย์
สำหรับขุนนาง เมื่อถึงแก่กรรม ก็จะได้รับพระราชทานสมัญญาจากราชสำนัก ตัวอย่างเช่น จูกัดเหลียง ได้รับพระราชทานสมัญญานามว่า จงอู่โหฺว (忠武侯 Zhōngwǔ hóu)[2]
ในยุคแรกเริ่มสมัญญานามนั่นยังมีความยาวไม่มาก และสมัยต่อมาสมัญญานามก็เริ่มมีความยาวมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น
สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
แก้พระราชสมัญญานาม | |
---|---|
แบบเต็ม |
เซี่ยวกงซวนฮุ่ยเหวินซู่ติ้งอวี้ฉือฉุนชินมู่จ้านเทียนเฉิงเซิ่งเหรินหวงโฮ่ว
|
แบบสั้น | "เซี่ยวกงเหรินหวงโฮ่ว" (孝恭仁皇后) |
สมเด็จพระจักรพรรดิหมิงไท่จู่
แก้พระราชสมัญญานาม | |
---|---|
แบบเต็ม |
ไคเทียนสิงเต้าจ้าวจี้ลี่จี๋ต้าเซิ่งจื้อเสินเหรินเหวินอี้อู่จวิ้นเต๋อเฉิงกงเกาหวงตี้
|
แบบสั้น | "เกาหวงตี้" (จีน: 高皇帝; พินอิน: gāo huángdì) |
ในบันทึกส่วนใหญ่นิยมนำเอาพระอารามนามและสมัญญานามมารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งพระอารามนามจะถูกวางไว้ก่อน ตัวอย่าง
พระราชอารามนาม | พระราชสมัญญานาม | รวมกัน | |||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ | |||||
ไท่จู่ (太祖) |
เกาหวงตี้ (高皇帝) |
ไท่จู่เกาหวงตี้ (太祖高皇帝) | |||
สมเด็จพระจักรพรรดิคังซี | |||||
เซิ่งจู่ (聖祖) |
เหรินหวงตี้ (仁皇帝) |
เซิ่งจู่เหรินหวงตี้ (聖祖仁皇帝) |
ประเภทสมัญญานาม
แก้สมัญญานามสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท
ประเภทยกย่อง | |||||
อักษร | ความหมาย | สำหรับ | ผู้ได้รับ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
เหวิน (文) | คุณธรรม, ความรู้ (วรรณกรรม, ภาษา) |
|
จักรพรรดิสุยเหวิน | หนึ่งในสมัญญานามที่มีเกียรติที่สุด | |
อู่ (武)[3] | หาญกล้า |
|
หนึ่งในสมัญญานามที่มีเกียรติที่สุด | ||
เฉิง (诚) | สัตย์ซื่อจริงใจ |
|
จักรพรรดิจิ้นเฉิง | มาจากพระนามของพระเจ้าชางทัง | |
กง (恭) | นับถือ |
|
จักรพรรดิเว่ย์กง | ||
อี้ (懿) | ความดีงาม |
|
พระเจ้าโจวอี้ | ||
จิ่ง (景)[4] | สง่างาม (มุมมอง, ทิวทัศน์) |
|
|||
ฮุ่ย (惠) | เมตตา |
|
|||
ทัง (湯) | ฟื้นฟู, ชี้นำ (ซุป, น้ำร้อน) |
|
มาจากพระนามของพระเจ้าชางทัง | ||
หมิง (明) | สว่าง, ชัดเจน, แจ่มใส, รุ่งโรจน์ |
|
|||
มู่ (穆)[5] | ทรงธรรม |
|
|||
เกา (高) | สูง |
|
หนึ่งในสมัญญานามที่มีเกียรติที่สุด | ||
หวน (桓)[6] | มั่นคง (ไม้, ต้นไม้) |
|
|||
ประเภทติเตียน | |||||
อักษร | ความหมาย | สำหรับ | ผู้ได้รับ | หมายเหตุ | |
หยาง (煬) | เผาผลาญ |
|
จักรพรรดิสุยหยาง | ||
ประเภทสงสาร | |||||
อักษร | ความหมาย | สำหรับ | ผู้ได้รับ | หมายเหตุ | |
อาย (哀) | คร่ำครวญ |
|
จักรพรรดิฮั่นอาย | ||
เต้า (悼) | อาลัย |
|
|||
หมิน (愍) | สงสาร |
|
|||
ชาง (殤) | โศกเศร้า |
|
สมัญญานามในญี่ปุ่น
แก้เมื่อจักรพรรดิญี่ปุ่นเสด็จสวรรคต จะได้รับพระราชสมัญญานาม โดยญี่ปุ่นมีหลักการตั้งสมัญญานามแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
สมัญญานามแบบจีน
แก้สืบเนื่องจากญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีการตั้งสมัญญานามให้ผู้ที่ถึงแก่กรรมในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งนิยมใช้อักษรเพียง 2 ตัว เช่น จักรพรรดิจิมมุ (神武天皇), จักรพรรดิโคเม (孝明天皇), จักรพรรดินีเก็มเม (元明天皇), หรือ จักรพรรดินินโก (仁孝天皇)[7]
สมัญญานามแบบญี่ปุ่น
แก้เป็นนามที่ใช้เรียกจักรพรรดิและบุคคลสำคัญในญี่ปุ่น นิยมใช้อักษรหลายตัว เช่น จักรพรรดิคามุยามาโตะอิวาเรบิโกะโนะ (神日本磐余彦天皇), จักรพรรดิโอฮัตสึเซะวากาตาเกรุ (大泊瀬幼武天皇) และ จักรพรรดินีนาถยามาโตะเนโกะทากามิซูกิโยตาราชิฮิเมะ (日本根子天津御代豊国成姫)[8]
ต่อมาในช่วงปลายยุคเฮอังความนิยมสมัญญานามแบบญี่ปุ่นค่อยๆลดลง จนกระทั้งเมื่อจักรพรรดิโคกากุสวรรคตในช่วงปลายสมัยเฮอัง พระองค์ทรงได้รับการเฉลิมพระราชสมัญญานามแบบจีน ทำให้การตั้งสมัญญานามแบบญี่ปุ่นจึงหมดความนิยมลง
การเฉลิมพระราชสมัญญานามแด่พระเจ้าแผ่นดินญี่ปุ่นครั้งล่าสุดคือ เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1989 เป็นการประกาศพระราชสมัญญานามทางการแด่จักรพรรดิโชวะ (昭和天皇) อันเป็นสมัญญานามแบบจีน[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordvall, L. Christian (2020)."The Inconsistent Translation of Posthumous Epithets". Translation Quarterly, no. 96, pp. 69–79.
- ↑ 邱煇塘,中央圖書館:〈《全臺詩》之大醇小疵〉[ลิงก์เสีย]
- ↑ 武:刚强直理曰武;威强敌德曰武;克定祸乱曰武;刑民克服曰武;夸志多穷曰武;威强睿德曰武;除伪宁真曰武;威强恢远曰武;帅众以顺曰武;保大定功曰武;刚强以顺曰武;辟土斥境曰武;折冲御侮曰武;除奸靖难曰武;拓地开封曰武;肃将天威曰武;安民和众曰武;克有天下曰武;睿智不杀曰武;恤民除害曰武;赴敌无避曰武;德威遐畅曰武;
- ↑ 景:由义而济曰景;耆意大虑曰景;布义行刚曰景;致志大图曰景;繇义而成曰景;德行可仰曰景;法义而齐曰景;明照旁周曰景
- ↑ 穆:布德执义曰穆;中情见貌曰穆;贤德信修曰穆;德政应和曰穆;敬和在位曰穆;德化肃和曰穆;圣敬有仪曰穆;粹德深远曰穆;肃容持敬曰穆;容仪肃敬曰穆
- ↑ 桓:辟土服远曰桓;克敬勤民曰桓;辟土兼国曰桓;武定四方曰桓;克亟成功曰桓;克敌服远曰桓;能成武志曰桓;壮以有力曰桓;
- ↑ 汉风谥号指为中国式的谥号,通常为两字如:“神武天皇”、“孝明天皇”、“元明天皇”和“仁孝天皇”。但在平安时代中后期渐渐放弃了汉风谥号。直至光格天皇薨逝时恢复自光孝天皇以来近千年没有使用的汉风谥号。明治维新后,汉风谥号渐渐不使用,转而使用一世一元的追号。
- ↑ 指为日本式的谥号,通常为多字如:“神日本磐余彦天皇”、“大泊瀬幼武天皇”、“渟中仓太珠敷天皇”和“日本根子天津御代豊国成姫天皇”。但在平安时代中后期渐渐放弃了和风谥号。光格天皇薨逝时并没恢复自平安时代早期以来近千年没有使用的和风谥号。和风谥号至此消失在历史的长河。
- ↑ 目前最后一次上谥号,是在昭和天皇的大丧之礼,昭和六十四年1月31日,由海部俊树公布大行天皇裕仁的正式谥号,即“昭和天皇”。
หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:สมัญญานาม