จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ
จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ (ญี่ปุ่น: 後土御門天皇; โรมาจิ: Go-Tsuchimikado-tennō; 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1442 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1500) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 103[1] ตามลำดีบการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม รัชสมัยของพระองค์อยู่ในช่วง ค.ศ. 1464 ถึง 1500[2]
จักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะ 後土御門天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1464 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1500 | ||||
ราชาภิเษก | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 | ||||
ก่อนหน้า | โกะ-ฮานาโซโนะ | ||||
ถัดไป | โกะ-คาชิวาบาระ | ||||
โชกุน | |||||
พระราชสมภพ | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1442 ฟูซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 成仁; โรมาจิ: Fusahito) | ||||
สวรรคต | ตุลาคม 21, 1500 | (58 ปี)||||
ฝังพระศพ | ฟูกากูซะ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 深草北陵; โรมาจิ: Fukakusa no kita no Misasagi; เกียวโต) | ||||
พระราชบุตร อื่น ๆ... | จักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ | ||||
พระราชมารดา | โออิโนมิกาโดะ (ฟูจิวาระ) โนบูโกะ [ja] | ||||
ลายพระอภิไธย | ![]() |
พระนามของจักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิสึชิมิกะโดะ จักรพรรดิใน คริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อใส่คำว่า โกะ (後) เข้าไปในพระนามทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิสึชิมิกะโดะยุคหลัง หรือ จักรพรรดิสึชิมิกะโดะที่ 2
พระราชประวัติ
แก้ก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฟูซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 成仁親王; โรมาจิ: Fusahito-shinnō)[3]
โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ จักรพรรดิองค์ที่ 102 กับโออิโนมิกาโดะ (ฟูจิวาระ) โนบูโกะ (大炊御門(藤原)信子) ธิดาในฟูจิวาระ ทากานางะ (藤原高長)
- นางสนองพระโอษฐ์: นิวาตะ (มินาโมโตะ) อาซาโกะ (庭田(源)朝子; 1437–1492) ภายหลังเป็น โซเงียวกุ-มนอิง (蒼玉門院) ธิดาในนิวาตะ ชิเงกาตะ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายคัตสึฮิโตะ (勝仁親王) ภายหลังเป็น จักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายทากาอาซะ (1472–1504; 尊敦親王) ภายหลังเป็น เจ้าชายนักบวชซนเด็ง (尊伝入道親王)
- พระราชโอรส: (1475)
- นางสนองพระโอษฐ์: คาจูจิ (ฟูจิวาระ) ฟูซาโกะ (勧修寺(藤原)房子) ธิดาในคาจูจิ โนริฮิเดะ
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงไดจิโกอิง (大慈光院宮)
- พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงริชุ (理秀女王)
- พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงชิเอ็ง (智円女王)
- พระราชธิดา: (1485)
- พระมเหสี: คาซันโนอิง (ฟูจิวาระ) โทโมโกะ (花山院(藤原)兼子) ธิดาในคาซันโนอิง โมจิตาดะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงโยเซ็ง (応善女王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายนักบวชนินซง (仁尊法親王)
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงชิเอ็ง (知円女王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายอิมาวากะ (今若宮)
- ไม่ทราบ
- เจ้าหญิงจิโชะ (慈勝女王)
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะ
แก้- 21 สิงหาคม ค.ศ. 1464 (วันที่ 19 เดือน 7 ปี คังโช ที่ 5) : ปีที่ 36 ในรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะ พระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสคือ เจ้าชายนะรุฮิโตะ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะ หลังจากนั้นไม่นานได้มีการจัดพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเคียวโตะ โดยอดีตจักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะได้เป็น ไดโจเท็นโน (มหาจักรพรรดิ)[4]
ในปี ค.ศ. 1467 ได้เกิด สงครามโอนิน ที่ได้สร้างความเสียหายแก่นครหลวงเคียวโตะอย่างมากทำให้ฐานะทางการเงินของราชสำนักย่ำแย่อย่างหนัก
- 18 มกราคม ค.ศ. 1471 (วันที่ 27 เดือน 12 ปี บุนเม ที่ 2) : อดีตจักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะสวรรคตทำให้จักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง
- 21 ตุลาคม ค.ศ. 1500 (วันที่ 28 เดือน 9 ปี เมโอะ ที่ 9) : ปีที่ 36 ในรัชสมัยจักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 58 พรรษาเจ้าชายคะสึฮิโตะพระราชโอรสองค์ใหญ่ที่รัชทายาทจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-คะชิวะบะระ
จักรพรรดิโกะ-สึชิมิกะโดะนับเป็นจักรพรรดิที่ครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดเป็นอันดับ 2 คือ 36 ปีเป็นรองแค่ จักรพรรดิเมจิ ที่ครองสิริราชสมบัติยาวนานถึง 45 ปี
พระราชพงศาวลี
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後土御門天皇 (103); retrieved 2013-8-28.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 352–364.
- ↑ Titsingh, p. 352.
- ↑ Titsingh, p. 351.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 25 January 2018.
ข้อมูล
แก้- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691