สงครามโอนิง
สงครามโอนิง (ญี่ปุ่น: 応仁の乱; โรมาจิ: Ōnin no Ran) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม กลียุคแห่งโอนิง[3] และ สงครามโอนิง-บุมเม[4] เป็นสงครามกลางเมืองช่วง ค.ศ. 1467 ถึง 1477 ในยุคมูโรมาจิของประเทศญี่ปุ่น คำว่าโอนิง สื่อถึงปีศักราชญี่ปุ่นที่เกิดสงครามนี้ขึ้น สงครามสิ้นสุดลงในศักราชบุมเม ข้อพิพาทระหว่างโฮโซกาวะ คัตสึโมโตะกับยามานะ โซเซ็นบานปลายไปเป็นสงครามกลางเมืองระดับประเทศในรัฐบาลโชกุนอาชิกางะกับไดเมียวจำนวนมากในหลายภูมิภาค
สงครามโอนิง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพวาดสงครามโดยอูตางาวะ โยชิโตระ คริสต์ศตวรรษที่ 19 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ค่ายตะวันออก:[1]
|
ค่ายตะวันตก:[1]
| ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
| ||||||
กำลัง | |||||||
ป. 160,000 นาย[2] | ป. 116,000 นาย[2] |
ภูมิหลัง
แก้ในตอนเริ่มต้น ข้อพิพาทโอนิง เป็นการโต้เถียงต่อผู้สืบตำแหน่งเป็นโชกุน ต่อจากอาชิกางะ โยชิมาซะ ใน ค.ศ. 1464 โยชิมาซะไม่มีผู้สืบสกุล จึงเกลี้ยกล่อมให้อาชิกางะ โยชิมิ น้องชายของเขาสึกจากการเป็นพระ แล้วให้เขาสืบสกุล ต่อมาใน ค.ศ. 1465 การที่โยชิมาซะให้กำเนิดลูกชายโดยไม่คาดคิดทำให้แผนการเหล่านี้เป็นปัญหา อาชิกางะ โยชิฮิซะ ในตอนนั้นยังเป็นเด็กทารก ได้สร้างความไม่ลงรอยกันระหว่างโชกุนโยชิมิและโฮโซกาวะต่อฮิโนะ โทมิโกะ ภรรยาของโยชิมาซะกับแม่ของโยชิฮิซะ และยามานะ[5]: 220 [6]
โฮโซกาวะทำงานใกล้ชิดกับอาชิกางะ โยชิมิ พี่/น้องชายโชกุนเสมอ และสนับสนุนข้ออ้างในการเป็นโชกุนของเขา ยามานะใช้โอกาสนี้ต่อต้านโฮโซกาวะมากกว่าเดิม โดยการสนับสนุนลูกของตนเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งโชกุน จนทำให้เกิดสงครามขึ้นที่เกียวโต ฝ่ายอาชิกางะพยายามหลีกเลี่ยงการปะทุของสงคราม แต่สถานการณ์เริ่มนำไปสู่สงครามที่ออกแบบให้ผู้นำจากกลุ่มที่ชนะสงครามเป็นโชกุนคนต่อไป ใน ค.ศ. 1467 ตระกูลนักรบต่างแตกแยกกันจนปัญหานี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในความดิ้นรนต่อความเป็นใหญ่ทางทหาร ท้ายที่สุด ก็ยังไม่มีผู้ชนะอย่างเด็ดขาด และกองทัพหลายกลุ่มก็ต่อสู้กันเองจนหมดแรง[7]
ลำดับเหตุการณ์
แก้ลำดับเหตุการณ์นี้ใช้ปีคริสต์ศักราช
ตอนต้น[5]: 218
- 1443 อาชิกางะ โยชิมาซะกลายเป็น โชกุน.
- 1445 โฮโซกาวะ คัตสึโมโตะกลายเป็น คันเร แห่งเกียวโต
- 1449 อาชิกางะ ชิเงอูจิครองตำแหน่งที่คันโต
- 1457 โอตะ โดกันสร้างปราสาทเอโดะ อาชิกางะ มาซาโมโตะถูกส่งไปบริหารคันโต
- 1458 โยชิมาซะสร้างพระราชวังมูโรมาจิแห่งใหม่
- 1464 โยชิมาซะตัดสินใจสละตำแหน่งโชกุนให้อาชิกางะ โยชิมิ พี่/น้องชายของเขา ฮิโนะ โทมิโกะต่อต้านข้อเสนอนี้ และหาการสนับสนุนทางทหารไว้สำหรับลูกชายในอนาคตของเธอดำรงตำแหน่งโชกุน
- 1465 อาชิกางะ โยชิฮิซะ ลูกชายของฮิโนะ โทมิโกะ ถือกำเนิด และเธอเรียกตนเองเป็นอุปราช
- 1466 ยามานะ โซเซ็นกับโฮโซกาวะ คัตสึโมโตะเคลื่อนทัพใกล้เกียวโต
เกิดสงคราม[5]: 218
- 1467 การปะทุของสงครามโอนิง ยามานะถูกประกาศเป็นกบฏ ในเดือนพฤศจิกายน โชโกกุ-จิถูกทำลาย
- 1468 โยชิมิเข้าร่วมกับฝ่ายยามานะ
- 1469 โยชิมาซะตั้งโยชิฮิซะเป็นผู้สืบทอด
- 1471 อิกโก-อิกกิ ลัทธิศาสนาพุทธ ได้กำลงในภาคเหนือ อาซากูระ โทชิกาเงะกลายเป็นขุนวัง (ชูโงะ) แห่งเอจิเซ็ง[5]: 247–250
- 1473 ยามานะและโฮโกาวะเสียชีวิต โยชิมาซะเกษษียณ
- 1477 ตระกูลโออูจิออาจากเกียวโต สงครามโอนิงสิ้นสุดลง
ตอนท้าย[5]: 218
- 1485 การลุกฮือของชาวไร่ที่ยามาชิโระ
- 1489 โยชิฮิซะเสียชีวิต
- 1490 โยชิมาซะเสียชีวิต อาชิกางะ โยชิตาเนะกลายเป็น โชกุน
- 1492 โฮโจ โซอุงกลายเป็นปรมจารย์แห่งอิซุ
- 1493 โยชิตาเนะสละอำนาจ
- 1494 โฮโซกาวะ มาซาโมโตะกลายเป็นคันเรแห่งเกียวโต
- 1495 โซอุงยึดเมืองโอดาวาระ
- 1496 ฮิโนะ โทมิโกะเสียชีวิต
- 1508 โออูจิฟื้นฟูโยชิตาเนะ.
- 1545 โฮโจ อูจิยาซุพ่ายแพ้ต่อกองทัพตระกูลอูเอซูงิที่คาวาโงเอะ
- 1551 ตระกูลโมริพ่ายแพ้ต่อตระกูลโออูจิที่นำโดยซูเอะ ฮารูกาตะในยุทธการที่มิยาจิมะ
- 1554 ตระกูลโมริสืบต่ออำนาจและดินแดนจากโออูจิ
- 1555 อูเอซูงิ เค็นชินกับทาเกดะ ชิงเง็งสู้รบที่คาวานากาจิมะ
- 1560 โอดะ โนบูนางะชนะที่โอเกฮาซานะ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Berry (1997), p. 14.
- ↑ 2.0 2.1 Berry (1997), p. 27.
- ↑ Berry (1997), p. 11.
- ↑ Berry (1997), p. xvii.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334–1615. Stanford University Press. p. 217. ISBN 0804705259.
- ↑ Ackroyd, Joyce. (1982) Lessons from History: The Tokushi Yoron, p. 331.
- ↑ Varley, H. Paul. (1973). Japanese Culture: A Short History, p. 84.
งานที่อ้างอิง
แก้- Berry, Mary Elizabeth (1997) [1st pub. 1994]. The Culture of civil War in Kyoto (Paperback ed.). Berkeley, California: University of California Press. ISBN 978-0520208773.
- Ackroyd, Joyce. (1982) Lessons from History: The Tokushi Yoron. Brisbane: University of Queensland Press. ISBN 978-0-7022-1485-1
- Ravina, Mark (1995). "State Building and Political Economy in Early Modern Japan," Journal of Asian Studies, 54:4, 997–1022.
- Turnbull, Stephen R. (1996). The Samurai: A Military History.. London: Routledge. ISBN 1-873410-38-7
- Varley, H. Paul. (1973). Japanese Culture: A Short History. London: Farber and Farber. ISBN 978-0-275-64370-6; OCLC 2542423