คันเร (ญี่ปุ่น: 管領โรมาจิKanrei) หรือ คันเรียว (Kanryō) คือ ตำแหน่งการเมืองชั้นสูงในญี่ปุ่นสมัยเจ้าขุนมูลนาย มักถือกันว่า เป็นผู้ช่วยของโชกุน และนับแต่ ค.ศ. 1349 มักมีคันเรสองคน คนหนึ่งประจำอยู่เคียวโตะ อีกคนอยู่คันโต

เดิมที ในช่วง ค.ศ. 1219 ถึง 1333 ตำแหน่งนี้เป็นอันเดียวกับโรกูฮาระทันได[1] และผู้ดำรงตำแหน่งต้องประจำอยู่ในเคียวโตะ โดยตระกูลโฮโจครองตำแหน่งนี้แต่ฝ่ายเดียวเรื่อยมา จนกระทั่งมีการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนี้สองคน ให้ประจำทางเหนือคนหนึ่ง ทางใต้คนหนึ่ง ต่อมาในช่วง ค.ศ. 1336 ถึง 1367 ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเรียก ชิตสึจิ (執事) คนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้ คือ โค โนะ โมรานาโอะ

ครั้น ค.ศ. 1367 ซามูไรโฮโซกาวะ โยริยูกิ ได้รับแต่งตั้งเป็นคันเรประจำเคียวโตะ และเพื่อให้มั่นใจว่า เพื่อนร่วมงานของเขา โดยเฉพาะตระกูลฮาตาเกยามะและตระกูลชิบะ จะภักดีต่อเขา เขาจึงเสนอให้สมาชิกตระกูลทั้งสาม คือ โฮโซกาวะ ฮาตาเกยามะ และชิบะ ดำรงตำแหน่งคันเรร่วมกัน จึงเกิดคันเรสามคน แต่ใน ค.ศ. 1379 ขุนนางที่ทรงอำนาจเริ่มไม่พอใจวิธีการดังกล่าว จึงบีบให้เขาลาออก จากนั้น คันเรประจำเคียวโตก็ไม่ได้รับผิดชอบงานในฐานะผู้ช่วยโชกุนอีก เป็นแต่ทำตามคำสั่งของโชกุนในฐานะที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่บริหาร

เมื่อรัฐบาลโชกุนคามากูระล่มสลายลง ตำแหน่งโรกูฮาระทันไดก็ล้มเลิกไปด้วย อาชิกางะ ทากาอูจิ โชกุนที่ขึ้นมาใหม่ ได้จัดตั้งตำแหน่งคันเรประจำคันโตขึ้น จึงเกิดมีคันเรสำหรับเคียวโตะ และสำหรับคันโต นับแต่นั้น

หมายเหตุ แก้

  1. รัฐบาลโชกุนคามากูระสงวนพื้นที่ส่วนหนึ่งในเคียวโตะไว้ให้ตนเอง เรียกว่า "โรกูฮาระ" พื้นที่นี้ยกให้ผู้แทนของรัฐบาลอยู่อาศัย โดยคาดหมายว่า ผู้แทนเหล่านี้จะช่วยปกปักรักษาผลประโยชน์ของรัฐบาล

บรรณานุกรม แก้

  • Kokushi Daijiten Iinkai. Kokushi Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 3 (1983 ed.).
  • Jansen, Marius (1995). Warrior Rule in Japan. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9780521482394;ISBN 9780521484046; OCLC 31515317
  • Sansom, George Bailey. (1961). A History of Japan: 1334-1615. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0523-3; OCLC 224793047