จักรพรรดิโกะ-ไซ

จักรพรรดิโกะ-ไซ (ญี่ปุ่น: 後西天皇โรมาจิGo-Sai-tennō) เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 111[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]

จักรพรรดิโกะ-ไซ
จักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 111
30 ตุลาคม ค.ศ. 1654 — 5 มีนาคม ค.ศ. 1663
พิธีขึ้น5 มกราคม ค.ศ. 1655
พระราชวังหลวงเฮอัง
พระมรณนามจักรพรรดิโกะ-ไซ
โชกุนโทกูงาวะ อิเอสึนะ
ยุคยุคเอโดะ
ก่อนหน้าโกะ-โคเมียว
ถัดไปเรเง็ง

พระนามเต็มสมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-ไซ
พระบรมนามาภิไธยเจ้าชายนางาฮิโตะ (長仁)
พระราชสมภพ1 มกราคม ค.ศ. 1638
สวรรคต26 มีนาคม ค.ศ. 1685
พิธีฉลองการเจริญวัย6 มกราคม 1652
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-มิซุโน

รัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-ไซกินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1655 ถึงปี ค.ศ. 1663[3]

พระนามของจักรพรรดิโกะ-ไซนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิจุนนะ (ญี่ปุ่น: 淳和天皇โรมาจิJunna-tennō) จักรพรรดิองค์ที่ 53 ที่ปกครองญี่ปุ่นในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งมีพระสมัญญาว่า ไซอิง โนะ มิกะโดะ ที่แปลว่า จักรพรรดิวังตะวันตก เมื่อใส่คำว่า โกะ (後) เข้าไปทำให้พระนามของจักรพรรดิโกะ-ไซมีความหมายว่า จักรพรรดิไซที่สอง หรือ จักรพรรดิไซยุคหลัง

พงศาวลี

แก้

ก่อนที่จักรพรรดิโกะไซจะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิมว่านางาฮิโตะ[4]หรือโยชิฮิโตะ[3] และพระอิสริยยศก่อนการขึ้นครองราชบัลลังก์คือ เจ้าฮิเดะ หรือ เจ้าโมโมโซโนะ[2]

พระองค์เป็นโอรสองค์ที่แปดของจักรพรรดิโกะ-มิซุโน พระองค์ถูกเลี้ยงดูมาราวกับว่าพระองค์เป็นโอรสของโทฟูกูมอนอิง[2] ทั้งอดีตจักรพรรดินีเมโช และอดีตจักรพรรดิโกะ-โคเมียว เป็นพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีต่างพระราชมารดาของพระองค์

พระราชวงศ์ของจักรพรรดิโกะ-ไซประทับอยู่ใน ไดริ หรือเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังหลวงเกียวโต พระราชวงศ์ของจักรพรรดิโกะ-ไซประกอบด้วยพระราชโอรสอย่างน้อย 16 พระองค์และพระราชธิดา 17 พระองค์ และไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาของจักรพรรดิโกะ-ไซที่ได้สืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ[5]

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-ไซ

แก้

เจ้าชายนางาฮิโตะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศเมื่อจักรพรรดิโกะ-โคเมียวสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท การสวรรคตของจักรพรรดิโกะ-โคเมียวทำให้ตำแหน่งจักรพรรดิว่างลง หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าชายนางาฮิโตะซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิโกะ-โคเมียว ได้สืบทอดราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ[6] รัชสมัยของจักรพรรดิโกไซตรงกับช่วงเวลาที่โทกูงาวะ อิเอสึนะเป็นผู้นำของรัฐบาลเอโดะ

จักรพรรดิโกะ-ไซอภิเษกกับพระธิดาของ ทากามัตสึ-โนะ-มิยะ องค์แรกคือเจ้าชายโยชิฮิโตะ (高松宮好仁親王) และพระองค์ก็สืบทอดพระอิสริยยศ ทากามัตสึ-โนะ-มิยะ เป็นองค์ที่ 2 จากนั้นเจ้าชายพระองค์นี้ก็กลายเป็นจักรพรรดิเป็นการชั่วคราวจนกว่าพระอนุชาต่างพระมารดาอีกพระองค์หนึ่งของพระองค์คือเจ้าชายซาโตฮิโตะ (識仁親王) จะเจริญพระชนม์พอที่จะสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศได้

  • 1 มกราคม ค.ศ. 1638: การประสูติของเจ้าชายที่จะกลายเป็นที่รู้จักในพระนามจักรพรรดิโกะ-ไซ[7]
  • 5 มกราคม ค.ศ. 1655: การสวรรคตของจักรพรรดิโกะ-โคเมียวทำให้การสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศสืบทอดต่อไปยังพระอนุชาต่างพระมารดาของพระองค์ และเมื่อสืบราชบัลลังก์แล้ว รัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-ไซก็ได้เริ่มต้นขึ้น[7]
  • ค.ศ. 1655: ราชทูตเกาหลีคนใหม่เดินทางมาถึงญี่ปุ่น[3]
  • 2-3 มีนาคม ค.ศ. 1657: ไฟไหม้ครั้งใหญ่ปีเมเรกิ: เมืองเอโดะถูกทำลายด้วยไฟอย่างรุนแรง[2]
  • ค.ศ. 1659: ในเอโดะ เริ่มก่อสร้างสะพานเรียวโงกุ[3]
  • 20 มีนาคม ค.ศ. 1662: เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเกียวโตซึ่งทำลายหลุมฝังศพของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ[3]
  • 5 มีนาคม ค.ศ. 1663: จักรพรรดิโกะ-ไซสละราชบัลลังก์[7] ซึ่งหมายความว่าเจ้าชายซาโตฮิโตะ พระอนุชาต่างพระมารดาได้รับสืบทอดราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าชายซาโตฮิโตะได้ประกอบพิธีเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอย่างเป็นทางการ[8]

ภายหลังสละราชบัลลังก์ อดีตจักรพรรดิโกะ-ไซ พระราชนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม รวมทั้ง "น้ำและแสงแดด" (水日集) พระองค์มีพรสวรรค์ในบทกวีวากะ; และพระองค์มีพระปรีชาญาณอย่างลึกซึ้ง

ในรัชสมัยของพระองค์ เกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ที่ศาลเจ้าอิเสะ ปราสาทโอซากะ และพระราชวังหลวง เป็นต้น ไฟไหม้ใหญ่ปีเมเรกิ แผ่นดินไหว และน้ำท่วมซ้ำซาก ทำให้หลายคนตำหนิองค์จักรพรรดิ

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 後西天皇 (111)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 116.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 413.
  4. Ponsonby-Fane, p. 9.
  5. Ponsonby-Fane, p. 116.
  6. Titsingh, p. 413. A distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakamisee Varley, H. Paul. (1980).Jinnō Shōtōki, p. 44.
  7. 7.0 7.1 7.2 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
  8. Titsingh, p. 414.